บอร์ดปฏิรูป ศธ.เห็นชอบกรอบแนวทางปฏิรูปอาชีวะ 3 ประเด็นหลัก พร้อมให้ข้อเสนอแนะจัดการศึกษาอาชีวะให้มีคุณภาพ เน้นเชื่อมโยงจัดการศึกษาพื้นฐาน กำหนดสัดส่วนผลิตคนแต่ละสาขาให้เหมาะสม และความจำเป็นของประเทศ รวมทั้งให้ปรับระบบงบประมาณ โดยให้ สอศ.นำกลับไปประชาพิจารณ์อีกรอบแล้วทำเป็นโรดแมป คาดใช้เวลา 2 เดือนแล้วเสร็จจะเสนอ สปช.ต่อไป
วันนี้ (26 ก.พ.) นายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (เลขาธิการ กอศ.) เปิดเผยผลการประชุมคณะกรรมการอำนวยการปฏิรูปการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ที่มี พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย เมื่อเร็วๆ นี้ ว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบกรอบแนวทางการปฏิรูปการอาชีวศึกษา ตามที่สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา(สอศ.) นำเสนอ โดยกรอบดังกล่าวจัดทำขึ้นภายหลังมีการระดมความคิดจากภาคส่วนต่างๆ ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2557 เป็นต้นมาประกอบด้วย 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1.การปฏิรูปการผลิตและพัฒนากำลังคนที่ตอบโจทย์การสร้างสัมมาชีพ และคุณภาพชีวิตคนไทยอย่างมีคุณภาพ และปริมาณที่เหมาะสม สอดคล้องต่อความต้องการ และการพัฒนาประเทศ 2.ปฏิรูปความร่วมมือกับสถานประกอบการสร้างความเป็นหุ้นส่วนกับสถานประกอบการเพื่อขับเคลื่อนการจัดการศึกษาทั้งระบบอย่างมีคุณภาพ และ 3.ปฏิรูปเส้นทางอาชีพและความก้าวหน้าของผู้สำเร็จอาชีวศึกษา ให้ได้รับค่าตอบแทนตามสมรรถนะ และเป็นที่ยอมรับของสังคม
ทั้งนี้ ที่ประชุมยังให้ข้อเสนอแนะในการขับเคลื่อนการปฏิรูปการอาชีวศึกษาในเรื่องสำคัญๆ ได้แก่ การจัดการอาชีวศึกษาจะต้องมีความเชื่อมโยงกับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยเฉพาะในระดับจังหวัดอย่างมีคุณภาพ เพื่อสร้างผลิตภาคระดับจังหวัด หรือกลุ่มจังหวัด ขณะเดียวกัน ต้องมีการจัดทำแผนการผลิตกำลังคนที่เชื่อมโยงกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยกำหนดสัดส่วนการผลิตกำลังในแต่ละสาขาอย่างเหมาะสม และต้องคำนึงถึงสาขาที่เป็นความจำเป็นของประเทศ เช่น การบริการสังคม การดูแลผุ้สูงอายุ ภูมิปัญญาชาวบ้าน เป็นต้น รวมทั้งยังให้ข้อเสนอแนะเรื่องการพัฒนาครูอาชีวศึกษาที่ควรดูความต้องการเป็นตัวตั้ง และเน้นการพัฒนาครูร่วมกับสถานประกอบการ ขณะที่ควรร่วมมือในการจัดการศึกษากับภาคเอกชน หรือสถานประกอบการอย่างครบวงจร และควรดูแลเรื่องสิทธิประโยชน์ของทั้ง 2 ฝ่าย ซึ่งอาจจะมีอะไรที่มากกว่าเรื่องสิทธิประโยชน์ทางภาษีก็ได้สำหรับสถานประกอบการ เป็นต้น
“สำหรับเรื่องงบประมาณนั้น ที่ประชุมเสนอแนะว่า ควรปรับให้สอดคล้องต่องบประมาณที่กำลังปฏิรูปให้เป็นระบบงบประมาณตามตัวผู้เรียน โดยกำหนดค่าใช้จ่ายรายหัวจะต้องมีความเหมาะสมเพื่อให้การจัดการอาชีวศึกษามีคุณภาพ และมีการเสนอปฏิรูปสถานศึกษาอาชีวะเพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้การอาชีพตลอดชีวิต และให้อาชีวะเป็นอาชีวะของประเทศ ดูแลการจัดการศึกษาสายอาชีพของทุกสังกัด และให้ปรับบทบาท สอศ.จากผู้จัดเป็นผู้ควบคุม กำกับ สนับสนุนการจัดอาชีวศึกษา ทั้งนี้ ที่ประชุมได้มอบให้ สอศ.กลับมาจัดทำโรดแมป เพื่อสรุปแนวทางการปฏิรูปการอาชีวศึกษาที่ชัดเจน โดยไปรับฟังความเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และผู้เชี่ยวชาญก่อนที่จะนำเสนอต่อคณะกรรมการปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ต่อไป คาดว่าจะใช้เวลา 2 เดือนในการจัดทำโรดแมป”นายชัยพฤกษ์ กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (26 ก.พ.) นายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (เลขาธิการ กอศ.) เปิดเผยผลการประชุมคณะกรรมการอำนวยการปฏิรูปการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ที่มี พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย เมื่อเร็วๆ นี้ ว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบกรอบแนวทางการปฏิรูปการอาชีวศึกษา ตามที่สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา(สอศ.) นำเสนอ โดยกรอบดังกล่าวจัดทำขึ้นภายหลังมีการระดมความคิดจากภาคส่วนต่างๆ ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2557 เป็นต้นมาประกอบด้วย 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1.การปฏิรูปการผลิตและพัฒนากำลังคนที่ตอบโจทย์การสร้างสัมมาชีพ และคุณภาพชีวิตคนไทยอย่างมีคุณภาพ และปริมาณที่เหมาะสม สอดคล้องต่อความต้องการ และการพัฒนาประเทศ 2.ปฏิรูปความร่วมมือกับสถานประกอบการสร้างความเป็นหุ้นส่วนกับสถานประกอบการเพื่อขับเคลื่อนการจัดการศึกษาทั้งระบบอย่างมีคุณภาพ และ 3.ปฏิรูปเส้นทางอาชีพและความก้าวหน้าของผู้สำเร็จอาชีวศึกษา ให้ได้รับค่าตอบแทนตามสมรรถนะ และเป็นที่ยอมรับของสังคม
ทั้งนี้ ที่ประชุมยังให้ข้อเสนอแนะในการขับเคลื่อนการปฏิรูปการอาชีวศึกษาในเรื่องสำคัญๆ ได้แก่ การจัดการอาชีวศึกษาจะต้องมีความเชื่อมโยงกับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยเฉพาะในระดับจังหวัดอย่างมีคุณภาพ เพื่อสร้างผลิตภาคระดับจังหวัด หรือกลุ่มจังหวัด ขณะเดียวกัน ต้องมีการจัดทำแผนการผลิตกำลังคนที่เชื่อมโยงกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยกำหนดสัดส่วนการผลิตกำลังในแต่ละสาขาอย่างเหมาะสม และต้องคำนึงถึงสาขาที่เป็นความจำเป็นของประเทศ เช่น การบริการสังคม การดูแลผุ้สูงอายุ ภูมิปัญญาชาวบ้าน เป็นต้น รวมทั้งยังให้ข้อเสนอแนะเรื่องการพัฒนาครูอาชีวศึกษาที่ควรดูความต้องการเป็นตัวตั้ง และเน้นการพัฒนาครูร่วมกับสถานประกอบการ ขณะที่ควรร่วมมือในการจัดการศึกษากับภาคเอกชน หรือสถานประกอบการอย่างครบวงจร และควรดูแลเรื่องสิทธิประโยชน์ของทั้ง 2 ฝ่าย ซึ่งอาจจะมีอะไรที่มากกว่าเรื่องสิทธิประโยชน์ทางภาษีก็ได้สำหรับสถานประกอบการ เป็นต้น
“สำหรับเรื่องงบประมาณนั้น ที่ประชุมเสนอแนะว่า ควรปรับให้สอดคล้องต่องบประมาณที่กำลังปฏิรูปให้เป็นระบบงบประมาณตามตัวผู้เรียน โดยกำหนดค่าใช้จ่ายรายหัวจะต้องมีความเหมาะสมเพื่อให้การจัดการอาชีวศึกษามีคุณภาพ และมีการเสนอปฏิรูปสถานศึกษาอาชีวะเพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้การอาชีพตลอดชีวิต และให้อาชีวะเป็นอาชีวะของประเทศ ดูแลการจัดการศึกษาสายอาชีพของทุกสังกัด และให้ปรับบทบาท สอศ.จากผู้จัดเป็นผู้ควบคุม กำกับ สนับสนุนการจัดอาชีวศึกษา ทั้งนี้ ที่ประชุมได้มอบให้ สอศ.กลับมาจัดทำโรดแมป เพื่อสรุปแนวทางการปฏิรูปการอาชีวศึกษาที่ชัดเจน โดยไปรับฟังความเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และผู้เชี่ยวชาญก่อนที่จะนำเสนอต่อคณะกรรมการปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ต่อไป คาดว่าจะใช้เวลา 2 เดือนในการจัดทำโรดแมป”นายชัยพฤกษ์ กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่