วัยรุ่นไทยท้องซ้ำซาก เป็นหนุ่มสาวเร็วขึ้น เข้าใจเรื่องเซ็กซ์ผิดๆ อึ๊บครั้งเดียวไม่ท้อง เร่งแก้ปัญหาร่วม 7 กระทรวง จ่อขยายคลินิกวัยรุ่นครอบคลุม รพ.สต. ให้บริการคุมกำเนิด รับคำปรึกษา พร้อมร่วม สปสช. จัดคอนดอมแจกฟรี 53.7 ล้านชิน ถุงยางสตรี 1 ล้านชิ้น
วันนี้ (25 ก.พ.) ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังเปิดประชุมเครือข่ายเพื่อแก้ไขปัญหา “การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น สตรีท้องไม่พร้อม และการแท้งที่ไม่ปลอดภัย” ที่ จ.นครราชสีมา ว่า ประเทศไทยประสบผลสำเร็จในการวางแผนครอบครัว อัตราการเจริญพันธุ์ลดจาก 6.4 คน เป็น 1.6 คน แต่กลับประสบปัญหาอัตราการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นสูงเป็นอันดับต้นๆ ของเอเชีย ส่วนหนึ่งเกิดจากเด็กเป็นหนุ่มเป็นสาวเร็วขึ้น และความทันสมัยของเทคโนโลยีที่ง่ายต่อการเข้าถึงสื่อที่กระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมเสี่ยง มีเพศสัมพันธ์เร็วขึ้น และไม่ได้ป้องกันสูงถึงร้อยละ 50 เนื่องจากขาดความรู้ในการคุมกำเนิด เข้าใจผิดว่ามีเพศสัมพันธ์ครั้งเดียวไม่ตั้งครรภ์ หรือหากใช้ถุงยางอนามัยจะขัดขวางความรู้สึกทางเพศ ส่งผลให้เกิดปัญหาติดกามโรคและตั้งครรภ์
ศ.นพ.รัชตะ กล่าวว่า ปี 2556 พบการคลอดบุตรในแม่วัยรุ่นอายุต่ำกว่า 20 ปี มีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอด 10 ปีที่ผ่านมาจากร้อยละ 14 ในปี 2546 เป็นร้อยละ 17 ในปี 2556 จำนวน 130,000 กว่าคน ที่น่าสลดใจคือ เด็กหญิงอายุ 10 ขวบ คลอดบุตรปีละประมาณ 60 - 70 คน เนื่องจากเข้าไม่ถึงบริการทางเลือกและหากต้องการยุติการตั้งครรภ์ก็เข้าไม่ถึงบริการที่ปลอดภัย หรือถูกเจ้าหน้าที่แนะนำให้ตั้งครรภ์ต่อ ทั้งที่วัยรุ่นหรือผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ไม่พร้อม จะมีความเครียดสูงกว่าหญิงที่มีความพร้อมหลายเท่า ส่งผลต่อสุขภาพเด็ก เช่น น้ำหนักตัวน้อย ขาดสารอาหาร เนื่องจากแม่ขาดการเอาใจใส่ นอกจากนี้ ยังพบปัญหาการทำแท้ง โดยร้อยละ 40 เป็นนักเรียนนักศึกษา และร้อยละ 60 อายุต่ำกว่า 25 ปี และไม่ได้คุมกำเนิดสูงถึงร้อยละ 70 มีแนวโน้มยุติการตั้งครรภ์ด้วยตัวเองสูงขึ้น โดยซื้อยาทำแท้งจากร้านขายยา หรืออินเทอร์เน็ต ทำให้เกิดปัญหาตามมา เช่น ใช้ยาผิดขนาด เสี่ยงอันตรายเสียชีวิตได้ จึงเป็นเรื่องที่ทุกหน่วยงานต้องร่วมมือกันป้องกันแก้ไข
“รัฐบาลให้ความสำคัญในเรื่องนี้ โดยเน้นการทำงานร่วม 7 กระทรวง ทั้ง สธ. กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงมหาดไทย กระทรวงแรงงาน และองค์กรเอกชน โดยจัดทำยุทธศาสตร์ป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นแบบบูรณาการ พ.ศ.2558 - 2567 โดยหนึ่งในนั้นคือ การจัดให้มีระบบบริการสุขภาวะทางเพศและอนามัยการเจริญพันธุ์ที่มีคุณภาพและเป็นมิตร โดย สธ. เปิดคลินิกวัยรุ่นในโรงพยาบาล 541 แห่ง ให้บริการคำปรึกษา ส่งต่อ บริการคุมกำเนิดฟรี เมื่อจำเป็นต้องยุติการตั้งครรภ์จะได้รับสิทธิ์ในการรักษาพยาบาล โดยจะขยายให้ครอบคลุมทั่วประเทศและครอบคุล รพ.สต.” รมว.สธ. กล่าว
ศ.นพ.รัชตะ กล่าวว่า นอกจากนี้ ยังร่วมกับ สปสช. จัดโครงการป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำในแม่วัยรุ่น เนื่องจากปี 2556 พบวัยรุ่นอายุ 10 - 19 ปี ตั้งครรภ์ซ้ำถึง 15,295 คน โดยจัดทำโครงการถุงยางอนามัยแห่งชาติ ให้ประชาชนเข้าถึงทุกกลุ่ม ซึ่งจะแจกถุงยางอนามัย 53.7 ล้านชิ้น และแจกถุงยางอนามัยสตรี 1 ล้านชิ้น เฉพาะกลุ่มวัยรุ่นแจก 37 ล้านชิ้น เพื่อป้องกันทั้งโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ทุกโรคและการตั้งครรภ์ด้วย และให้วัยรุ่นได้เข้าถึงการคุมกำเนิดกึ่งถาวร ทั้งยาฝังคุมกำเนิดและห่วงอนามัย
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (25 ก.พ.) ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังเปิดประชุมเครือข่ายเพื่อแก้ไขปัญหา “การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น สตรีท้องไม่พร้อม และการแท้งที่ไม่ปลอดภัย” ที่ จ.นครราชสีมา ว่า ประเทศไทยประสบผลสำเร็จในการวางแผนครอบครัว อัตราการเจริญพันธุ์ลดจาก 6.4 คน เป็น 1.6 คน แต่กลับประสบปัญหาอัตราการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นสูงเป็นอันดับต้นๆ ของเอเชีย ส่วนหนึ่งเกิดจากเด็กเป็นหนุ่มเป็นสาวเร็วขึ้น และความทันสมัยของเทคโนโลยีที่ง่ายต่อการเข้าถึงสื่อที่กระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมเสี่ยง มีเพศสัมพันธ์เร็วขึ้น และไม่ได้ป้องกันสูงถึงร้อยละ 50 เนื่องจากขาดความรู้ในการคุมกำเนิด เข้าใจผิดว่ามีเพศสัมพันธ์ครั้งเดียวไม่ตั้งครรภ์ หรือหากใช้ถุงยางอนามัยจะขัดขวางความรู้สึกทางเพศ ส่งผลให้เกิดปัญหาติดกามโรคและตั้งครรภ์
ศ.นพ.รัชตะ กล่าวว่า ปี 2556 พบการคลอดบุตรในแม่วัยรุ่นอายุต่ำกว่า 20 ปี มีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอด 10 ปีที่ผ่านมาจากร้อยละ 14 ในปี 2546 เป็นร้อยละ 17 ในปี 2556 จำนวน 130,000 กว่าคน ที่น่าสลดใจคือ เด็กหญิงอายุ 10 ขวบ คลอดบุตรปีละประมาณ 60 - 70 คน เนื่องจากเข้าไม่ถึงบริการทางเลือกและหากต้องการยุติการตั้งครรภ์ก็เข้าไม่ถึงบริการที่ปลอดภัย หรือถูกเจ้าหน้าที่แนะนำให้ตั้งครรภ์ต่อ ทั้งที่วัยรุ่นหรือผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ไม่พร้อม จะมีความเครียดสูงกว่าหญิงที่มีความพร้อมหลายเท่า ส่งผลต่อสุขภาพเด็ก เช่น น้ำหนักตัวน้อย ขาดสารอาหาร เนื่องจากแม่ขาดการเอาใจใส่ นอกจากนี้ ยังพบปัญหาการทำแท้ง โดยร้อยละ 40 เป็นนักเรียนนักศึกษา และร้อยละ 60 อายุต่ำกว่า 25 ปี และไม่ได้คุมกำเนิดสูงถึงร้อยละ 70 มีแนวโน้มยุติการตั้งครรภ์ด้วยตัวเองสูงขึ้น โดยซื้อยาทำแท้งจากร้านขายยา หรืออินเทอร์เน็ต ทำให้เกิดปัญหาตามมา เช่น ใช้ยาผิดขนาด เสี่ยงอันตรายเสียชีวิตได้ จึงเป็นเรื่องที่ทุกหน่วยงานต้องร่วมมือกันป้องกันแก้ไข
“รัฐบาลให้ความสำคัญในเรื่องนี้ โดยเน้นการทำงานร่วม 7 กระทรวง ทั้ง สธ. กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงมหาดไทย กระทรวงแรงงาน และองค์กรเอกชน โดยจัดทำยุทธศาสตร์ป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นแบบบูรณาการ พ.ศ.2558 - 2567 โดยหนึ่งในนั้นคือ การจัดให้มีระบบบริการสุขภาวะทางเพศและอนามัยการเจริญพันธุ์ที่มีคุณภาพและเป็นมิตร โดย สธ. เปิดคลินิกวัยรุ่นในโรงพยาบาล 541 แห่ง ให้บริการคำปรึกษา ส่งต่อ บริการคุมกำเนิดฟรี เมื่อจำเป็นต้องยุติการตั้งครรภ์จะได้รับสิทธิ์ในการรักษาพยาบาล โดยจะขยายให้ครอบคลุมทั่วประเทศและครอบคุล รพ.สต.” รมว.สธ. กล่าว
ศ.นพ.รัชตะ กล่าวว่า นอกจากนี้ ยังร่วมกับ สปสช. จัดโครงการป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำในแม่วัยรุ่น เนื่องจากปี 2556 พบวัยรุ่นอายุ 10 - 19 ปี ตั้งครรภ์ซ้ำถึง 15,295 คน โดยจัดทำโครงการถุงยางอนามัยแห่งชาติ ให้ประชาชนเข้าถึงทุกกลุ่ม ซึ่งจะแจกถุงยางอนามัย 53.7 ล้านชิ้น และแจกถุงยางอนามัยสตรี 1 ล้านชิ้น เฉพาะกลุ่มวัยรุ่นแจก 37 ล้านชิ้น เพื่อป้องกันทั้งโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ทุกโรคและการตั้งครรภ์ด้วย และให้วัยรุ่นได้เข้าถึงการคุมกำเนิดกึ่งถาวร ทั้งยาฝังคุมกำเนิดและห่วงอนามัย
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่