สพฐ. อ่อนข้อ ยอมติดตั้งตู้ถุงยางฯในโรงเรียน แต่โยน “ชุมชน - ร.ร.- ผู้ปกครอง” ตัดสินใจพร้อมติดตั้งหรือไม่ แต่ไม่ประกาศเป็นนโยบาย ขณะที่การติดตั้งตู้ถุงยางฯในอาชีวะ ยังไร้ข้อมูลช่วยลดป่อง - เอดส์ แต่อัตราการใช้เพิ่มขึ้น เฉลี่ยใช้คอนดอม 140 กล่อง/เดือน มั่นใจเซฟเซ็กซ์ขึ้น
พญ.ชีวนันท์ เลิศพิริยสุวัฒน์ นายแพทย์เชี่ยวชาญ สำนักโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค (คร.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ยุทธศาสตร์ในการช่วยให้เยาวชนเข้าถึงอุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อทางเพศ สัมพันธ์และการตั้งครรภ์ไม่พร้อมนั้น ที่ผ่านมาได้มีการดำเนินการติดตั้งตู้หยอดเหรียญถุงยางอนามัยในสถานศึกษาของ อาชีวศึกษา แบ่งการดำเนินงานเป็น 2 ช่วง โดยช่วงแรก คือ ปี 2547 - 2551 กรมฯนำร่องเอง ส่วนปี 2556 - ปัจจุบัน ทำร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ซึ่งขณะนี้มีการติดตั้งตู้ถุงยางอนามัยในห้องน้ำชายของโรงเรียนอาชีวศึกษา แล้วกว่า 200 แห่ง รวมถึงในชุมชน
พญ.ชีวนันท์ กล่าวว่า จากการเก็บข้อมูลในช่วงปี 2547 - 2551 จากปริมาณการใช้งานพบว่า บริเวณที่มีการกดใช้เยอะจะเฉลี่ยอยู่ที่ 140 กล่อง/เดือน ส่วนกดใช้บริการน้อยเฉลี่ยอยู่ที่ 30 - 40 กล่องต่อเดือน ซึ่งภายใน 1 กล่อง จะมีถุงยางอนามัย 2 ชิ้น ทั้งนี้ ในการดำเนินการจะมีการให้ต้นทุนถุงยางอนามัย 100 กล่อง ซึ่งเมื่อมีการกดใช้แล้ว เงินที่ได้นั้นก็จะให้ผู้ดูแลเครื่อง ไม่ว่าจะเป็นที่โรงเรียนหรือชุมชน เป็นผู้นำเงินไปซื้อถุงยางอนามัยมาเพิ่ม โดยถุงยางอนามัยในตู้จะมี 2 ขนาด คือ 49 มิลลิเมตร และ 52 มิลลิเมตร ส่วนขนาด 54 มิลลิเมตร และ 56 มิลลิเมตร ซึ่งเป็นไซส์ฝรั่งนั้นจะแจกให้ตามแหล่งสถานที่ท่องเที่ยว
ผู้สื่อข่าวถามว่ามีการติดตามหรือไม่ว่า หลังจากติดตั้งตู้ซื้อถุงยางอนามัยแล้ว อัตราการติดโรคทางเพศสัมพันธ์และการตั้งครรภ์น้อยลงหรือไม่ และจะนำข้อมูลเหล่านี้ไปทำความเข้าใจกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้น ฐาน (สพฐ.) ซึ่งออกมาคัดค้านการตั้งตู้ถุงยางอนามัยในโรงเรียนสังกัด สพฐ. หรือไม่ พญ.ชีวนันท์ กล่าวว่า เราไม่มีการวัดผล เนื่องจากไม่ได้มีการติดตาม แต่ที่เห็นชัดเจนคือเด็กมีการใช้ถุงยางอนามัยเพิ่มขึ้น สะท้อนถึงการป้องกันตนเอง อย่างไรก็ตาม กรมฯทำงานร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) โรงเรียน สพฐ. และอาชีวะ มาตลอด ซึ่งการที่ผู้บริหาร สพฐ. ไม่เห็นด้วยก็ขึ้นอยู่กับทัศนคติ แต่ในอดีตที่มีการขับเคลื่อนเรื่องนี้ โรงเรียนสังกัด สพฐ.ก็เคยมีการติดตั้งตู้ซื้อถุงยางอนามัยหลายแห่ง ส่วนปัจจุบันไม่ทราบว่ามีการติดตั้งอยู่หรือไม่ แต่บริเวณโดยรอบโรงเรียน ตามร้านค้าก็มีการติดตั้งตู้ซื้อถุงยางอนามัย
“การที่ผู้บริหาร สพฐ. คัดค้านไม่ให้มีการติดตั้งตู้ซื้อถุงยางอนามัย ก็ไม่ใช่ว่าจะไม่มีทางอื่นที่ทำให้เด็กเข้าถึงอุปกรณ์ป้องกันเสียทีเดียว เพราะยังมีการติดตั้งตู้ซื้อในชุมชน ร้านสะดวกซื้อต่างๆ ได้อีก ซึ่งประเด็นการติดตั้งตู้ซื้อถุงยางอนามัยอยู่ที่ความเข้าใจของแต่ละชุมชน โรงเรียน และผู้ปกครอง เพราะมีหลายพื้นที่ที่เข้าใจในเรื่องนี้ก็มีการติดตั้งในโรงเรียน ในชุมชน เป็นเรื่องของความพร้อมของแต่ละพื้นที่มากกว่า อย่าง กทม. ก็ให้โรงเรียนตัดสินใจเองว่ามีความพร้อมที่จะติดตั้งหรือไม่ แต่อย่างกลุ่มอาชีวะอาจารย์เขามีความเข้าใจดี มีความพร้อมก็มีการนำตู้ซื้อถุงยางอนามัยมาติดตั้ง” พญ.ชีวนันท์ กล่าว
นายกมล รอดคล้าย เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) กล่าวว่า ข้อเสนอให้มีการติดตั้งตู้ขายถุงยางในโรงเรียนนั้นตนทราบว่าเป็นแนวทางตามแผนยุทธศาสตร์ที่มีการวางไว้ ทั้งนี้ กรณีที่สถานศึกษา เขตพื้นที่การศึกษา หรือชุมชนใดก็ตามในพื้นที่มีความเห็นร่วมกันว่าจำเป็นต้องติดตั้งตู้ขายถุงยางในโรงเรียนก็สามารถดำเนินการได้ โดยไม่จำเป็นจะต้องทำหนังสือสอบถามมายัง สพฐ. และ สพฐ. ก็ไม่ขัดแย้งเพียงแต่คงไม่ประกาศเป็นนโยบายลงไปถึงโรงเรียน
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
พญ.ชีวนันท์ เลิศพิริยสุวัฒน์ นายแพทย์เชี่ยวชาญ สำนักโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค (คร.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ยุทธศาสตร์ในการช่วยให้เยาวชนเข้าถึงอุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อทางเพศ สัมพันธ์และการตั้งครรภ์ไม่พร้อมนั้น ที่ผ่านมาได้มีการดำเนินการติดตั้งตู้หยอดเหรียญถุงยางอนามัยในสถานศึกษาของ อาชีวศึกษา แบ่งการดำเนินงานเป็น 2 ช่วง โดยช่วงแรก คือ ปี 2547 - 2551 กรมฯนำร่องเอง ส่วนปี 2556 - ปัจจุบัน ทำร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ซึ่งขณะนี้มีการติดตั้งตู้ถุงยางอนามัยในห้องน้ำชายของโรงเรียนอาชีวศึกษา แล้วกว่า 200 แห่ง รวมถึงในชุมชน
พญ.ชีวนันท์ กล่าวว่า จากการเก็บข้อมูลในช่วงปี 2547 - 2551 จากปริมาณการใช้งานพบว่า บริเวณที่มีการกดใช้เยอะจะเฉลี่ยอยู่ที่ 140 กล่อง/เดือน ส่วนกดใช้บริการน้อยเฉลี่ยอยู่ที่ 30 - 40 กล่องต่อเดือน ซึ่งภายใน 1 กล่อง จะมีถุงยางอนามัย 2 ชิ้น ทั้งนี้ ในการดำเนินการจะมีการให้ต้นทุนถุงยางอนามัย 100 กล่อง ซึ่งเมื่อมีการกดใช้แล้ว เงินที่ได้นั้นก็จะให้ผู้ดูแลเครื่อง ไม่ว่าจะเป็นที่โรงเรียนหรือชุมชน เป็นผู้นำเงินไปซื้อถุงยางอนามัยมาเพิ่ม โดยถุงยางอนามัยในตู้จะมี 2 ขนาด คือ 49 มิลลิเมตร และ 52 มิลลิเมตร ส่วนขนาด 54 มิลลิเมตร และ 56 มิลลิเมตร ซึ่งเป็นไซส์ฝรั่งนั้นจะแจกให้ตามแหล่งสถานที่ท่องเที่ยว
ผู้สื่อข่าวถามว่ามีการติดตามหรือไม่ว่า หลังจากติดตั้งตู้ซื้อถุงยางอนามัยแล้ว อัตราการติดโรคทางเพศสัมพันธ์และการตั้งครรภ์น้อยลงหรือไม่ และจะนำข้อมูลเหล่านี้ไปทำความเข้าใจกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้น ฐาน (สพฐ.) ซึ่งออกมาคัดค้านการตั้งตู้ถุงยางอนามัยในโรงเรียนสังกัด สพฐ. หรือไม่ พญ.ชีวนันท์ กล่าวว่า เราไม่มีการวัดผล เนื่องจากไม่ได้มีการติดตาม แต่ที่เห็นชัดเจนคือเด็กมีการใช้ถุงยางอนามัยเพิ่มขึ้น สะท้อนถึงการป้องกันตนเอง อย่างไรก็ตาม กรมฯทำงานร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) โรงเรียน สพฐ. และอาชีวะ มาตลอด ซึ่งการที่ผู้บริหาร สพฐ. ไม่เห็นด้วยก็ขึ้นอยู่กับทัศนคติ แต่ในอดีตที่มีการขับเคลื่อนเรื่องนี้ โรงเรียนสังกัด สพฐ.ก็เคยมีการติดตั้งตู้ซื้อถุงยางอนามัยหลายแห่ง ส่วนปัจจุบันไม่ทราบว่ามีการติดตั้งอยู่หรือไม่ แต่บริเวณโดยรอบโรงเรียน ตามร้านค้าก็มีการติดตั้งตู้ซื้อถุงยางอนามัย
“การที่ผู้บริหาร สพฐ. คัดค้านไม่ให้มีการติดตั้งตู้ซื้อถุงยางอนามัย ก็ไม่ใช่ว่าจะไม่มีทางอื่นที่ทำให้เด็กเข้าถึงอุปกรณ์ป้องกันเสียทีเดียว เพราะยังมีการติดตั้งตู้ซื้อในชุมชน ร้านสะดวกซื้อต่างๆ ได้อีก ซึ่งประเด็นการติดตั้งตู้ซื้อถุงยางอนามัยอยู่ที่ความเข้าใจของแต่ละชุมชน โรงเรียน และผู้ปกครอง เพราะมีหลายพื้นที่ที่เข้าใจในเรื่องนี้ก็มีการติดตั้งในโรงเรียน ในชุมชน เป็นเรื่องของความพร้อมของแต่ละพื้นที่มากกว่า อย่าง กทม. ก็ให้โรงเรียนตัดสินใจเองว่ามีความพร้อมที่จะติดตั้งหรือไม่ แต่อย่างกลุ่มอาชีวะอาจารย์เขามีความเข้าใจดี มีความพร้อมก็มีการนำตู้ซื้อถุงยางอนามัยมาติดตั้ง” พญ.ชีวนันท์ กล่าว
นายกมล รอดคล้าย เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) กล่าวว่า ข้อเสนอให้มีการติดตั้งตู้ขายถุงยางในโรงเรียนนั้นตนทราบว่าเป็นแนวทางตามแผนยุทธศาสตร์ที่มีการวางไว้ ทั้งนี้ กรณีที่สถานศึกษา เขตพื้นที่การศึกษา หรือชุมชนใดก็ตามในพื้นที่มีความเห็นร่วมกันว่าจำเป็นต้องติดตั้งตู้ขายถุงยางในโรงเรียนก็สามารถดำเนินการได้ โดยไม่จำเป็นจะต้องทำหนังสือสอบถามมายัง สพฐ. และ สพฐ. ก็ไม่ขัดแย้งเพียงแต่คงไม่ประกาศเป็นนโยบายลงไปถึงโรงเรียน
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่