โดย...ผศ.ดร.นพ.ปัตพงษ์ เกษสมบูรณ์
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ขณะนี้กรมวิชาการเกษตรกำลังดำเนินการอนุญาตให้ขึ้นทะเบียนสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่มีอันตรายร้ายแรง 2 ชนิด คือ “คาร์โบฟูราน” และ “เมโทมิล” ทั้งๆ ที่หลายฝ่ายในสังคมได้เรียกร้องให้มีการยกเลิกการใช้โดยทันที เช่น สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ เครือข่ายองค์กรภาคประชาสังคม องค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก
สารเคมีสองชนิดนี้เป็นสารพิษที่หลายประเทศทั่วโลกห้ามใช้แล้ว มีข้อมูลทางวิชาการจำนวนมากชี้ชัดว่า ทั้งคาร์โบฟูรานและเมโทมิลเป็นสารที่มีอันตรายร้ายแรงอย่างยิ่ง
คาร์โบฟูรานซึ่งมีต้นกำเนิดที่สหรัฐอเมริกา ยังถูกสำนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อม(EPA) ของสหรัฐเอง ประกาศว่า คาร์โบฟูรานที่ตกค้างอยู่ในอาหารไม่ว่าปริมาณใดก็ตามไม่ปลอดภัยสำหรับผู้บริโภค จึงยกเลิกการใช้คาร์โบฟูรานในสหรัฐฯตั้งแต่ปี 2008 และยกเลิกค่าปริมาณสารพิษตกค้างในอาหาร (tolerance) ตั้งแต่ปี 2009 เป็นต้นมา
ข้อมูลจากการศึกษาแบบระยะยาวที่ประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่า คนใช้คาร์โบฟูรานเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งปอดสองเท่า เสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานสองถึงสามเท่า
ปัจจุบันหลายประเทศจึงได้ยกเลิกการใช้คาร์โบฟูรานแล้ว เช่น สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป แคนาดา ออสเตรเลีย จาไมกา ศรีลังกา เป็นต้น
สำหรับเมโทมิลเป็นสารที่มีพิษเฉียบพลันสูงมาก มีการนำไปก่ออาชญากรรมและใช้ฆ่าตัวตายจำนวนมาก เพียงกินเข้าไปช้อนเดียวจะเสียชีวิตภายในสามชั่วโมง เกิดตับวายอย่างรุนแรง เกิดตับอ่อนอักเสบแบบเนื้อตาย และหากได้รับเป็นระยะเวลานานจะมีผลต่อตับและมีฤทธิ์ทำลายดีเอ็นเอ จึงเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรังอีกหลายชนิด ทำให้ท่อไตบวมและบิดเบี้ยว ทำให้เป็นหมัน ลูกในท้องเสียชีวิต รบกวนการทำงานของระบบต่อมไร้ท่อ
ทำให้หลายประเทศยกเลิกการใช้ ได้แก่ สหราชอาณาจักร เยอรมนี ฟินแลนด์ กัมพูชา ลาว สิงคโปร์ และ มาเลเซีย เป็นต้น
นับตั้งมีการประกาศใช้ พ.ร.บ.วัตถุอันตราย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2551 ซึ่งทำให้ทะเบียนวัตถุอันตรายทางการเกษตรทั้งหมดรวมถึงสารทั้งสองชนิดนี้หมดอายุลง อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ที่ผ่านมา เช่น นายจิรากร โกศัยเสวี หรือ นายดำรงค์ จิระสุทัศน์ รวมทั้งรัฐมนตรีที่กำกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในอดีต เช่น นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ และ นายธีระ วงศ์สมุทร ล้วนไม่อนุญาตให้มีการขึ้นทะเบียนสารเคมีทั้งสองชนิด
ทั้งที่ได้รับแรงกดดันอย่างหนักจากบริษัท ดูปองท์ และบริษัท เอฟเอ็มซี จากประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์
มาถึงตอนนี้คงต้องจับตาว่านายอนันต์ สุวรรณรัตน์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตรคนปัจจุบัน และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร นายปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา จะตัดสินใจอย่างไร
การที่กรมวิชาการเกษตรไม่อนุญาตให้มีการขึ้นทะเบียนสารเคมีทั้งสองชนิดในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา ทำให้ตรวจพบการตกค้างของสารทั้งสองน้อยลงมาก โดยการสุ่มตรวจของไทยแพนปี 2555 และ 2557 พบสารพิษสองชนิดนี้ตกค้างลดลงประมาณ 60% ทำให้ผู้บริโภคมีความปลอดภัยมากขึ้นจากการบริโภคผักผลไม้ที่มีการใช้สารเคมีทั้งสองชนิดดังกล่าว
ผู้ป่วยโรคมะเร็ง และโรคเรื้อรังต่างๆ ทั้งที่มีชีวิตอยู่และที่เสียชีวิตไปแล้ว หากมีโอกาสคงจะร่วมส่งเสียงเรียกร้องท่านอธิบดีวิชาการเกษตร และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรคนปัจจุบันว่า โปรดตัดสินใจโดยเห็นแก่ชีวิตและสุขภาพของคนไทย
และบริษัท ดูปองท์ และบริษัทเอฟเอ็มซี ซึ่งเป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์ ก็ควรจะถอนคำขอใบอนุญาตขึ้นทะเบียนสารเคมีสองตัวนี้เสีย จึงจะกล่าวได้ว่า เป็นบริษัทที่มีธรรมาภิบาล เอาไปโฆษณาได้ว่า บริษัทดำเนินธุรกิจอย่างมีคุณธรรม
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ขณะนี้กรมวิชาการเกษตรกำลังดำเนินการอนุญาตให้ขึ้นทะเบียนสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่มีอันตรายร้ายแรง 2 ชนิด คือ “คาร์โบฟูราน” และ “เมโทมิล” ทั้งๆ ที่หลายฝ่ายในสังคมได้เรียกร้องให้มีการยกเลิกการใช้โดยทันที เช่น สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ เครือข่ายองค์กรภาคประชาสังคม องค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก
สารเคมีสองชนิดนี้เป็นสารพิษที่หลายประเทศทั่วโลกห้ามใช้แล้ว มีข้อมูลทางวิชาการจำนวนมากชี้ชัดว่า ทั้งคาร์โบฟูรานและเมโทมิลเป็นสารที่มีอันตรายร้ายแรงอย่างยิ่ง
คาร์โบฟูรานซึ่งมีต้นกำเนิดที่สหรัฐอเมริกา ยังถูกสำนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อม(EPA) ของสหรัฐเอง ประกาศว่า คาร์โบฟูรานที่ตกค้างอยู่ในอาหารไม่ว่าปริมาณใดก็ตามไม่ปลอดภัยสำหรับผู้บริโภค จึงยกเลิกการใช้คาร์โบฟูรานในสหรัฐฯตั้งแต่ปี 2008 และยกเลิกค่าปริมาณสารพิษตกค้างในอาหาร (tolerance) ตั้งแต่ปี 2009 เป็นต้นมา
ข้อมูลจากการศึกษาแบบระยะยาวที่ประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่า คนใช้คาร์โบฟูรานเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งปอดสองเท่า เสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานสองถึงสามเท่า
ปัจจุบันหลายประเทศจึงได้ยกเลิกการใช้คาร์โบฟูรานแล้ว เช่น สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป แคนาดา ออสเตรเลีย จาไมกา ศรีลังกา เป็นต้น
สำหรับเมโทมิลเป็นสารที่มีพิษเฉียบพลันสูงมาก มีการนำไปก่ออาชญากรรมและใช้ฆ่าตัวตายจำนวนมาก เพียงกินเข้าไปช้อนเดียวจะเสียชีวิตภายในสามชั่วโมง เกิดตับวายอย่างรุนแรง เกิดตับอ่อนอักเสบแบบเนื้อตาย และหากได้รับเป็นระยะเวลานานจะมีผลต่อตับและมีฤทธิ์ทำลายดีเอ็นเอ จึงเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรังอีกหลายชนิด ทำให้ท่อไตบวมและบิดเบี้ยว ทำให้เป็นหมัน ลูกในท้องเสียชีวิต รบกวนการทำงานของระบบต่อมไร้ท่อ
ทำให้หลายประเทศยกเลิกการใช้ ได้แก่ สหราชอาณาจักร เยอรมนี ฟินแลนด์ กัมพูชา ลาว สิงคโปร์ และ มาเลเซีย เป็นต้น
นับตั้งมีการประกาศใช้ พ.ร.บ.วัตถุอันตราย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2551 ซึ่งทำให้ทะเบียนวัตถุอันตรายทางการเกษตรทั้งหมดรวมถึงสารทั้งสองชนิดนี้หมดอายุลง อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ที่ผ่านมา เช่น นายจิรากร โกศัยเสวี หรือ นายดำรงค์ จิระสุทัศน์ รวมทั้งรัฐมนตรีที่กำกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในอดีต เช่น นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ และ นายธีระ วงศ์สมุทร ล้วนไม่อนุญาตให้มีการขึ้นทะเบียนสารเคมีทั้งสองชนิด
ทั้งที่ได้รับแรงกดดันอย่างหนักจากบริษัท ดูปองท์ และบริษัท เอฟเอ็มซี จากประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์
มาถึงตอนนี้คงต้องจับตาว่านายอนันต์ สุวรรณรัตน์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตรคนปัจจุบัน และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร นายปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา จะตัดสินใจอย่างไร
การที่กรมวิชาการเกษตรไม่อนุญาตให้มีการขึ้นทะเบียนสารเคมีทั้งสองชนิดในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา ทำให้ตรวจพบการตกค้างของสารทั้งสองน้อยลงมาก โดยการสุ่มตรวจของไทยแพนปี 2555 และ 2557 พบสารพิษสองชนิดนี้ตกค้างลดลงประมาณ 60% ทำให้ผู้บริโภคมีความปลอดภัยมากขึ้นจากการบริโภคผักผลไม้ที่มีการใช้สารเคมีทั้งสองชนิดดังกล่าว
ผู้ป่วยโรคมะเร็ง และโรคเรื้อรังต่างๆ ทั้งที่มีชีวิตอยู่และที่เสียชีวิตไปแล้ว หากมีโอกาสคงจะร่วมส่งเสียงเรียกร้องท่านอธิบดีวิชาการเกษตร และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรคนปัจจุบันว่า โปรดตัดสินใจโดยเห็นแก่ชีวิตและสุขภาพของคนไทย
และบริษัท ดูปองท์ และบริษัทเอฟเอ็มซี ซึ่งเป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์ ก็ควรจะถอนคำขอใบอนุญาตขึ้นทะเบียนสารเคมีสองตัวนี้เสีย จึงจะกล่าวได้ว่า เป็นบริษัทที่มีธรรมาภิบาล เอาไปโฆษณาได้ว่า บริษัทดำเนินธุรกิจอย่างมีคุณธรรม
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่