“หมอจรัล” สรุปรับฟังความเห็นบัตรทอง ขอเพิ่มงบรายหัวหลังโดนแช่แข็งนาน 3 ปี ต้นเหตุ รพ. ขาดสภาพคล่อง และความขัดแย้ง ขยายสิทธิคนไร้บัตรทอง คงกองทุนโรคค่าใช้จ่ายสูง เผยยังเห็นต่างเรื่องแยกเงินเดือนออกจากงบรายหัว การบริหารงบแบบเขตสุขภาพ
นพ.จรัล ตฤณวุฒิพงษ์ ประธานคณะอนุกรรมการสื่อสารและประชาสัมพันธ์ กรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กล่าวว่า จากการจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นทั่วไปจากผู้ให้บริการและผู้รับบริการระดับประเทศ ปีงบประมาณ 2558 ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) มีผู้เข้าร่วมจากภาคส่วนต่างๆ กว่าพันคน แบ่งเป็น 8 กลุ่มย่อย มีหลายประเด็นที่น่าสนใจ ซึ่งคณะอนุฯได้สรุปภาพรวมความเห็นเบื้องต้น ได้แก่ 1. ประเด็นงบเหมาจ่ายรายหัว เห็นตรงกันว่างบที่ได้รับในปัจจุบันไม่เพียงพอ เพราะมีการคงงบประมาณในอัตราเดิมต่อเนื่อง 3 ปี ส่งผลกระทบต่อการบริหารของหน่วยบริการและเป็นสาเหตุความขัดแย้ง เห็นควรที่ภาครัฐต้องเพิ่มเติมงบ
นพ.จรัล กล่าวว่า 2. การขยายสิทธิการรักษาพยาบาลให้ครอบคลุมกลุ่มคนที่ไม่มีเลข 13 หลัก ทั้งที่เป็นคนไทยและไม่ใช่คนไทย รวมถึงที่อยู่ตามชายแดน โดยให้มีการจัดตั้งกองทุนเพื่อดูแลเฉพาะ 3. การจัดงบสนับสนุนหน่วยบริการพื้นที่ทุรกันดารเพื่อให้มีสภาพคล่องขึ้น 4. ให้คงกองทุนโรคค่าใช้จ่ายสูง โดยปรับ DRG ให้เหมาะสมและสะท้อนต้นทุนที่เป็นจริง เป็นต้น
“นอกจากนี้ ยังเห็นว่า สปสช.และกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ในระดับนโยบายควรทำงานกำหนดนโยบายและแนวทางร่วมกัน เช่น กำหนดงบเหมาจ่ายรายหัวที่ใช้ข้อมูลเดียวกัน การพัฒนามาตรฐานร่วมกัน ทั้งมาตรฐานการบริการ และการดำเนินงานของ รพ.สต. เป็นต้น ซึ่งที่ผ่านมายังขาดความเป็นเอกภาพ อย่างไรก็ตาม ยังมีบางประเด็นที่ยังมีความเห็นต่างยังคงต้องหาแนวทางร่วมกัน ได้แก่ การแยกเงินเดือนออกจากงบเหมาจ่ายรายหัวเพื่อแก้ไขปัญหา รพ. ขาดสภาพคล่อง การบริหารกองทุนในรูปแบบเขตสุขภาพ และข้อเสนอที่ให้มีการร่วมจ่าย เป็นต้น” นพ.จรัล กล่าว
นพ.จรัล กล่าวว่า หลังจากนี้ คณะอนุฯจะรวบรวมประเด็นทั้งหมดมาวิเคราะห์และคัดแยกให้มีความชัดเจนเพิ่มเติม ประเด็นใดที่เป็นอำนาจของ สปสช. จะนำเสนอต่อคณะอนุกรรมการที่เกี่ยวข้องเพื่อกลั่นกรองและนำเสนอต่อบอร์ด สปสช.พิจารณา ส่วนประเด็นที่ยังมีความเห็นต่างสามารถเสนอความเห็นผ่านการรับฟังความเห็นรายเขตได้ ซึ่งขณะที่ทำแล้ว 2 เขต
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
นพ.จรัล ตฤณวุฒิพงษ์ ประธานคณะอนุกรรมการสื่อสารและประชาสัมพันธ์ กรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กล่าวว่า จากการจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นทั่วไปจากผู้ให้บริการและผู้รับบริการระดับประเทศ ปีงบประมาณ 2558 ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) มีผู้เข้าร่วมจากภาคส่วนต่างๆ กว่าพันคน แบ่งเป็น 8 กลุ่มย่อย มีหลายประเด็นที่น่าสนใจ ซึ่งคณะอนุฯได้สรุปภาพรวมความเห็นเบื้องต้น ได้แก่ 1. ประเด็นงบเหมาจ่ายรายหัว เห็นตรงกันว่างบที่ได้รับในปัจจุบันไม่เพียงพอ เพราะมีการคงงบประมาณในอัตราเดิมต่อเนื่อง 3 ปี ส่งผลกระทบต่อการบริหารของหน่วยบริการและเป็นสาเหตุความขัดแย้ง เห็นควรที่ภาครัฐต้องเพิ่มเติมงบ
นพ.จรัล กล่าวว่า 2. การขยายสิทธิการรักษาพยาบาลให้ครอบคลุมกลุ่มคนที่ไม่มีเลข 13 หลัก ทั้งที่เป็นคนไทยและไม่ใช่คนไทย รวมถึงที่อยู่ตามชายแดน โดยให้มีการจัดตั้งกองทุนเพื่อดูแลเฉพาะ 3. การจัดงบสนับสนุนหน่วยบริการพื้นที่ทุรกันดารเพื่อให้มีสภาพคล่องขึ้น 4. ให้คงกองทุนโรคค่าใช้จ่ายสูง โดยปรับ DRG ให้เหมาะสมและสะท้อนต้นทุนที่เป็นจริง เป็นต้น
“นอกจากนี้ ยังเห็นว่า สปสช.และกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ในระดับนโยบายควรทำงานกำหนดนโยบายและแนวทางร่วมกัน เช่น กำหนดงบเหมาจ่ายรายหัวที่ใช้ข้อมูลเดียวกัน การพัฒนามาตรฐานร่วมกัน ทั้งมาตรฐานการบริการ และการดำเนินงานของ รพ.สต. เป็นต้น ซึ่งที่ผ่านมายังขาดความเป็นเอกภาพ อย่างไรก็ตาม ยังมีบางประเด็นที่ยังมีความเห็นต่างยังคงต้องหาแนวทางร่วมกัน ได้แก่ การแยกเงินเดือนออกจากงบเหมาจ่ายรายหัวเพื่อแก้ไขปัญหา รพ. ขาดสภาพคล่อง การบริหารกองทุนในรูปแบบเขตสุขภาพ และข้อเสนอที่ให้มีการร่วมจ่าย เป็นต้น” นพ.จรัล กล่าว
นพ.จรัล กล่าวว่า หลังจากนี้ คณะอนุฯจะรวบรวมประเด็นทั้งหมดมาวิเคราะห์และคัดแยกให้มีความชัดเจนเพิ่มเติม ประเด็นใดที่เป็นอำนาจของ สปสช. จะนำเสนอต่อคณะอนุกรรมการที่เกี่ยวข้องเพื่อกลั่นกรองและนำเสนอต่อบอร์ด สปสช.พิจารณา ส่วนประเด็นที่ยังมีความเห็นต่างสามารถเสนอความเห็นผ่านการรับฟังความเห็นรายเขตได้ ซึ่งขณะที่ทำแล้ว 2 เขต
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่