หมอชนบทเปิดแบบจำลองจัดสรรงบผ่านเขตตาม สธ. เสนอ พบคิดแค่ตามรายหัวประชากร ไม่มีเกณฑ์คิดตามผลงานแบบ สปสช. จวกยับบางเขต บางจังหวัดได้น้อยทั้งที่มีปัญหา รพ. ขาดทุนมากกว่า ชี้ไม่ใช่เกลี่ยงบพี่ช่วยน้อง กลายเป็นน้องช่วยพี่ เตรียมเสนอในที่ประชุมรับฟังความเห็นระดับชาติ 2 ก.พ.
นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ประธานชมรมแพทย์ชนบท กล่าวว่า ข้อเสนอการจัดสรรงบประมาณหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) รูปแบบใหม่ ของ นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ในลักษณะของการจัดสรรผ่านเขตสุขภาพนั้น โดยเน้นการไปเกลี่ยในพื้นที่ที่เรียกว่าพี่ช่วยน้อง แต่เท่าที่ดูไม่พบว่ามีเกณฑ์กำหนดว่าจะจัดสรรเหมือน สปสช. ตรงนี้ถือว่าน่ากังวล เพราะปลัด สธ. บอกว่า โรงพยาบาลประสบปัญหาขาดทุนอยู่แล้ว หากทำตามข้อเสนอจะยิ่งขาดทุนอีก จึงได้มีการนำข้อเสนอดังกล่าวมาเปรียบเทียบประมาณการวงเงิน ทำเป็นแบบจำลองว่า หากทำตามสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สป.สธ.) เสนอจะมีผลเป็นอย่างไร
นพ.เกรียงศักดิ์ กล่าวว่า จากการคำนวณใช้ฐานประชากรบัตรทองตัวเลขล่าสุดปี 2557 จำนวน 48,578,503 คน พบว่า ข้อเสนอของ สป. สธ. จะคำนวณตามสัดส่วนประชากร แต่ไม่มีเกณฑ์พิจารณาอื่นๆ เหมือน สปสช. กลายเป็นว่าเมื่อคำนวณเช่นนั้นบางเขตจะได้รับเงินเพิ่มจริงตามประชากร แต่บางเขตก็ได้น้อยลง ซึ่งไม่ใช่พี่ช่วยน้องอย่างที่คิด ยกตัวอย่างการคำนวณการจัดสรรเงินโดยหักเงินเดือนของข้าราชการ สป.สธ. จะพบว่ามีการหักเงินเดือนมากจนเกินไป โดยในพื้นที่เขต 2 มี 5 จังหวัด คือ อุตรดิตถ์ ตาก สุโขทัย พิษณุโลก และ เพชรบูรณ์ มีประชากร 2,511,850 คน จะพบว่าเมื่อมีการหักเงินเดือนออกจากงบเหมาจ่ายรายหัว จ.เพชรบูรณ์ จะถูกหักเงินเดือนข้าราชการมากที่สุด 233 ล้านบาท ขณะที่สัดส่วนประชากรมีมาก แต่เมื่อถูกหักเงินเดือนออกไปมากก็จะทำให้ได้รับงบเหมาจ่ายน้อยลง ทั้งที่เป็นพื้นที่ที่มีปัญหาอยู่แล้ว เพราะมีประชากรมาก แต่โรงพยาบาลขนาดเล็ก และหลายแห่งอยู่ในพื้นที่ทุรกันดาร
“ส่วนพิษณุโลกถือเป็นพี่ใหญ่ในเขตนี้ กลับถูกหักเงินเดือนเพียง 96 ล้านบาท จึงไม่เข้าใจจะเป็นพี่ช่วยน้องอย่างไร กลายเป็นน้องช่วยพี่หรือไม่ สำหรับเรื่องนี้จะมีการเสนอต่อการประชุมรับฟังความคิดเห็นทั่วไปจากผู้ให้บริการและผู้รับบริการทั่วประเทศ ในวันที่ 2 ก.พ. ที่โรงแรมเซ็นทรา ศูนย์ราชการฯ” นพ.เกรียงศักดิ์ กล่าว
ทพ.อรรถพร ลิ้มปัญญาเลิศ โฆษก สปสช. กล่าวว่า ข้อเสนอของ สป. สธ. นั้น สปสช. ได้ลองทำแบบจำลอง จึงพบว่า สธ. คิดเฉพาะสัดส่วนประชากร แต่ สปสช. คิดทั้งสัดส่วนประชากร และคิดตามผลปฏิบัติงาน โดยเมื่อพิจารณาแล้ว การคิดแค่สัดส่วนประชากรจะทำให้เงินไหลไปยังเขต 12 และเขต 13 มาก โดยเฉพาะเขต 13 ซึ่งเป็นพื้นที่ กทม. และไม่ใช่พื้นที่ห่างไกล
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ประธานชมรมแพทย์ชนบท กล่าวว่า ข้อเสนอการจัดสรรงบประมาณหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) รูปแบบใหม่ ของ นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ในลักษณะของการจัดสรรผ่านเขตสุขภาพนั้น โดยเน้นการไปเกลี่ยในพื้นที่ที่เรียกว่าพี่ช่วยน้อง แต่เท่าที่ดูไม่พบว่ามีเกณฑ์กำหนดว่าจะจัดสรรเหมือน สปสช. ตรงนี้ถือว่าน่ากังวล เพราะปลัด สธ. บอกว่า โรงพยาบาลประสบปัญหาขาดทุนอยู่แล้ว หากทำตามข้อเสนอจะยิ่งขาดทุนอีก จึงได้มีการนำข้อเสนอดังกล่าวมาเปรียบเทียบประมาณการวงเงิน ทำเป็นแบบจำลองว่า หากทำตามสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สป.สธ.) เสนอจะมีผลเป็นอย่างไร
นพ.เกรียงศักดิ์ กล่าวว่า จากการคำนวณใช้ฐานประชากรบัตรทองตัวเลขล่าสุดปี 2557 จำนวน 48,578,503 คน พบว่า ข้อเสนอของ สป. สธ. จะคำนวณตามสัดส่วนประชากร แต่ไม่มีเกณฑ์พิจารณาอื่นๆ เหมือน สปสช. กลายเป็นว่าเมื่อคำนวณเช่นนั้นบางเขตจะได้รับเงินเพิ่มจริงตามประชากร แต่บางเขตก็ได้น้อยลง ซึ่งไม่ใช่พี่ช่วยน้องอย่างที่คิด ยกตัวอย่างการคำนวณการจัดสรรเงินโดยหักเงินเดือนของข้าราชการ สป.สธ. จะพบว่ามีการหักเงินเดือนมากจนเกินไป โดยในพื้นที่เขต 2 มี 5 จังหวัด คือ อุตรดิตถ์ ตาก สุโขทัย พิษณุโลก และ เพชรบูรณ์ มีประชากร 2,511,850 คน จะพบว่าเมื่อมีการหักเงินเดือนออกจากงบเหมาจ่ายรายหัว จ.เพชรบูรณ์ จะถูกหักเงินเดือนข้าราชการมากที่สุด 233 ล้านบาท ขณะที่สัดส่วนประชากรมีมาก แต่เมื่อถูกหักเงินเดือนออกไปมากก็จะทำให้ได้รับงบเหมาจ่ายน้อยลง ทั้งที่เป็นพื้นที่ที่มีปัญหาอยู่แล้ว เพราะมีประชากรมาก แต่โรงพยาบาลขนาดเล็ก และหลายแห่งอยู่ในพื้นที่ทุรกันดาร
“ส่วนพิษณุโลกถือเป็นพี่ใหญ่ในเขตนี้ กลับถูกหักเงินเดือนเพียง 96 ล้านบาท จึงไม่เข้าใจจะเป็นพี่ช่วยน้องอย่างไร กลายเป็นน้องช่วยพี่หรือไม่ สำหรับเรื่องนี้จะมีการเสนอต่อการประชุมรับฟังความคิดเห็นทั่วไปจากผู้ให้บริการและผู้รับบริการทั่วประเทศ ในวันที่ 2 ก.พ. ที่โรงแรมเซ็นทรา ศูนย์ราชการฯ” นพ.เกรียงศักดิ์ กล่าว
ทพ.อรรถพร ลิ้มปัญญาเลิศ โฆษก สปสช. กล่าวว่า ข้อเสนอของ สป. สธ. นั้น สปสช. ได้ลองทำแบบจำลอง จึงพบว่า สธ. คิดเฉพาะสัดส่วนประชากร แต่ สปสช. คิดทั้งสัดส่วนประชากร และคิดตามผลปฏิบัติงาน โดยเมื่อพิจารณาแล้ว การคิดแค่สัดส่วนประชากรจะทำให้เงินไหลไปยังเขต 12 และเขต 13 มาก โดยเฉพาะเขต 13 ซึ่งเป็นพื้นที่ กทม. และไม่ใช่พื้นที่ห่างไกล
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่