ตั้งทีมหารือ “สธ.- สปสช.” แก้ปัญหาโยนภาระขึ้นทะเบียนบัตรทอง ด้าน “หมออุ้มผาง” มอง รพ. เหมาะสมสุดรับขึ้นทะเบียน รับแม้เป็นภาระแต่ไม่มาก จัดสรรงบให้บุคลากร อาจเป็นทางแก้ที่ดี
นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการ สปสช. กล่าวว่า รมว.สาธารณสุข ได้มอบหมายให้ตนและปลัด สธ.หารือถึงทางออกเรื่องการยกเลิกการทำหน้าที่นายทะเบียนบัตรทองของ นพ.สสจ. โดยล่าสุด ได้ตั้งทีมหารือ โดยฝั่ง สธ. เสนอ นพ.บัญชา ค้าของ ขณะที่ฝั่ง สปสช. เป็น นพ.รัฐพล เตรียมวิชานนท์ เพื่อหารือว่าจะใช้กลไกอะไรเพื่อไม่ให้กระทบกับประชาชน อย่างไรก็ตาม เบื้องต้นอาจใช้ช่องทางตามมาตรา 6 พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพฯ ที่ระบุว่า บุคคลใดประสงค์จะใช้สิทธิให้ยื่นคำขอลงทะเบียนต่อสำนักงาน หรือหน่วยงานที่สำนักงานกำหนด เพื่อเลือกหน่วยบริการ เป็นหน่วยบริการประจำ กล่าวคือ สปสช. สามารถใช้ช่องทางของกฎหมายดังกล่าวในการให้รพ.ในสังกัด สป.สธ.ทำหน้าที่รับลงทะเบียนสิทธิบัตรทองได้
นพ.วรวิทย์ ตันติวัฒนทรัพย์ ผอ.รพ.อุ้มผาง จ.ตาก กล่าวว่า การขึ้นทะเบียนบัตรทอง โรงพยาบาลมีระบบในการดำเนินการอยู่แล้วเป็น 10 ปี ถือเป็นหน่วยบริการที่สะดวกที่สุดสำหรับประชาชน โดยเฉพาะเด็กแรกเกิด เมื่อคลอดโรงพยาบาลก็จะออกใบรับรองการเกิด และทำหน้าที่ขึ้นทะเบียนบัตรทองให้ทันที เนื่องจากมีระบบรองรับอยู่แล้ว จึงมองว่าไม่ควรยกเลิกหน้าที่นี้ แม้หลายคนอาจมองว่าเป็นภาระงาน แต่ก็ไม่ได้หนักหนา เพราะทำมานาน แต่ที่จะได้รับผลกระทบคือ ประชาชน เนื่องจากต้องเดินทางหาการขึ้นทะเบียนให้ลูกที่เกิดใหม่ และหากไปตั้งจุดขึ้นทะเบียนที่ว่าการอำเภอ ก็จะไม่สะดวก โรงพยาบาลจึงเป็นจุดบริการที่ดีที่สุด
“ผมมองตามหลักเหตุผล หากผู้บริหาร สธ. บอกว่า เป็นการแยกผู้ซื้อผู้ให้บริการ บางครั้งก็ต้องนึกถึงประชาชนด้วย และหากบอกว่าเป็นภาระงาน อันนี้ก็ยอมรับว่าเป็นจริง แต่ไม่ได้มาก ซึ่งตรงนี้หากมองว่าเป็นภาระงาน ก็น่าจะให้ สปสช. จัดสรรงบประมาณค่าตอบแทนกรณีนี้ให้กับบุคลากร ซึ่งถือเป็นวิธีที่ดีทั้งสองฝ่าย” ผอ.รพ.อุ้มผาง กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการ สปสช. กล่าวว่า รมว.สาธารณสุข ได้มอบหมายให้ตนและปลัด สธ.หารือถึงทางออกเรื่องการยกเลิกการทำหน้าที่นายทะเบียนบัตรทองของ นพ.สสจ. โดยล่าสุด ได้ตั้งทีมหารือ โดยฝั่ง สธ. เสนอ นพ.บัญชา ค้าของ ขณะที่ฝั่ง สปสช. เป็น นพ.รัฐพล เตรียมวิชานนท์ เพื่อหารือว่าจะใช้กลไกอะไรเพื่อไม่ให้กระทบกับประชาชน อย่างไรก็ตาม เบื้องต้นอาจใช้ช่องทางตามมาตรา 6 พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพฯ ที่ระบุว่า บุคคลใดประสงค์จะใช้สิทธิให้ยื่นคำขอลงทะเบียนต่อสำนักงาน หรือหน่วยงานที่สำนักงานกำหนด เพื่อเลือกหน่วยบริการ เป็นหน่วยบริการประจำ กล่าวคือ สปสช. สามารถใช้ช่องทางของกฎหมายดังกล่าวในการให้รพ.ในสังกัด สป.สธ.ทำหน้าที่รับลงทะเบียนสิทธิบัตรทองได้
นพ.วรวิทย์ ตันติวัฒนทรัพย์ ผอ.รพ.อุ้มผาง จ.ตาก กล่าวว่า การขึ้นทะเบียนบัตรทอง โรงพยาบาลมีระบบในการดำเนินการอยู่แล้วเป็น 10 ปี ถือเป็นหน่วยบริการที่สะดวกที่สุดสำหรับประชาชน โดยเฉพาะเด็กแรกเกิด เมื่อคลอดโรงพยาบาลก็จะออกใบรับรองการเกิด และทำหน้าที่ขึ้นทะเบียนบัตรทองให้ทันที เนื่องจากมีระบบรองรับอยู่แล้ว จึงมองว่าไม่ควรยกเลิกหน้าที่นี้ แม้หลายคนอาจมองว่าเป็นภาระงาน แต่ก็ไม่ได้หนักหนา เพราะทำมานาน แต่ที่จะได้รับผลกระทบคือ ประชาชน เนื่องจากต้องเดินทางหาการขึ้นทะเบียนให้ลูกที่เกิดใหม่ และหากไปตั้งจุดขึ้นทะเบียนที่ว่าการอำเภอ ก็จะไม่สะดวก โรงพยาบาลจึงเป็นจุดบริการที่ดีที่สุด
“ผมมองตามหลักเหตุผล หากผู้บริหาร สธ. บอกว่า เป็นการแยกผู้ซื้อผู้ให้บริการ บางครั้งก็ต้องนึกถึงประชาชนด้วย และหากบอกว่าเป็นภาระงาน อันนี้ก็ยอมรับว่าเป็นจริง แต่ไม่ได้มาก ซึ่งตรงนี้หากมองว่าเป็นภาระงาน ก็น่าจะให้ สปสช. จัดสรรงบประมาณค่าตอบแทนกรณีนี้ให้กับบุคลากร ซึ่งถือเป็นวิธีที่ดีทั้งสองฝ่าย” ผอ.รพ.อุ้มผาง กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่