สปสช. ยัน รพ. เหมาะสมสุดขึ้นทะเบียนบัตรทอง - ข้าราชการ เล็งใช้มาตรา 6 พ.ร.บ.หลักประกันฯ ให้ รพ. ทำหน้าที่ต่อตามเดิม จ่อเสนอบอร์ด สปสช. เคาะ เผยให้คณะทำงานร่วมหารือกับ สธ. หวั่นเกิดประเด็นใหม่ ยันไม่เกี่ยว สปสช. ทำหน้าที่ได้หรือไม่ได้
นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวถึงความคืบหน้าการตั้งทีมร่วมระหว่าง สปสช. และกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เพื่อแก้ไขปัญหาการโอนหน้าที่ขึ้นทะเบียนบัตรทองจากหน่วยบริการสาธารณสุข และนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด (นพ.สสจ.) กลับคืนมายัง สปสช. ว่า จากการหารือเบื้องต้นมองว่า โรงพยาบาลมีความเหมาะสมในการรับขึ้นทะเบียนบัตรทองที่สุด เนื่องจากใกล้ชิดประชาชน โดยเฉพาะเด็กแรกคลอด ซึ่งไม่ได้มีแต่ขึ้นทะเบียนบัตรทองเท่านั้น ยังมีเด็กที่เกิดจากพ่อแม่ข้าราชการ ก็ต้องขึ้นทะเบียนสิทธิข้าราชการด้วย จึงมองว่าโรงพยาบาลมีความเหมาะสมในการทำหน้าที่ขึ้นทะเบียน นอกจากเป็นจุดออกใบรับรองการเกิด
“ปัญหาไม่ใช่ว่า สปสช. ทำได้หรือไม่ได้ แล้วจะให้ สธ. ทำแทน เพราะหาก สปสช. ทำโดยไปตั้งจุดบริการที่ อบต. หรือ อปท. ก็ไม่สะดวกต่อประชาชน แม้แต่ร้านสะดวกซื้ออย่างเซเว่นอีเลฟเว่น ก็ใช่ว่าจะมีทุกสาขา ทุกตำบลทั่วประเทศ ที่สำคัญต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มอีก อย่างไรก็ตาม ผมกำลังหารือกับทางกฎหมายว่า อาจใช้มาตรา 6 ของ พ.ร.บ.หลักประกันฯ ที่ระบุว่า บุคคลใดประสงค์จะใช้สิทธิให้ยื่นคำขอลงทะเบียนต่อสำนักงาน หรือหน่วยงานที่สำนักงานกำหนด นั่นหมายถึงโรงพยาบาลที่ สปสช. ขอให้เป็นหน่วยขึ้นทะเบียนบัตรทองให้ โดยจะเสนอต่อบอร์ด สปสช. วันที่ 9 ก.พ. เพื่อหารือและขอความเห็น ซึ่งคาดหวังว่าจะได้ข้อสรุป เช่นเดียวกับกรณีขอ้เสนอการจัดสรรงบบัตรทอง” เลขาธิการ สปสช. กล่าวและว่า อย่างไรก็ตาม ข้อเสนอดังกล่าวตนได้มอบหมายให้คณะทำงานร่วมหารือร่วมกันก่อนว่า สธ. เห็นด้วยหรือไม่ เพราะไม่อยากให้เกิดประเด็นโต้แย้งอีก
นพ.สุทัศน์ ศรีวิไล ผอ.รพ.เชียงรายประชานุเคราะห์ และประธานชมรมโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป (รพศ./รพท.) กล่าวว่า การจะใช้มาตรา 6 ให้โรงพยาบาลขึ้นทะเบียนแทน สปสช. ไม่ทราบว่ากฎหมายระบุชัดหรือไม่ แต่เรื่องนี้จริงๆ แล้วไม่ยาก เพราะเดิมโรงพยาบาลก็ทำให้อยู่แล้ว ซึ่งหาก สปสช. ยอมรับว่าตัวเองทำไม่ได้ และขอให้ทางโรงพยาบาลช่วยขึ้นทะเบียนให้ก็ยินดี
นพ.สมคิด สุริยเลิศ ผอ.รพ.สุรินทร์ กล่าวว่า โรงพยาบาลมีการดำเนินการเรื่องนี้อยู่แล้ว แต่ด้วยหน้าที่นั้นเป็นของ สปสช. ซึ่งหาก สปสช. จะมาดำเนินการเองก็จะดีในแง่ถูกต้องตามหลักหน้าที่ และอาจจะชำนาญกว่าบุคลากรโรงพยาบาล โดยช่องทางที่อยากเสนอ คือ สปสช. ส่งเจ้าหน้าที่มาประจำโรงพยาบาลเพื่อช่วยเรื่องนี้ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่น่าจะดีเช่นกัน
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวถึงความคืบหน้าการตั้งทีมร่วมระหว่าง สปสช. และกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เพื่อแก้ไขปัญหาการโอนหน้าที่ขึ้นทะเบียนบัตรทองจากหน่วยบริการสาธารณสุข และนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด (นพ.สสจ.) กลับคืนมายัง สปสช. ว่า จากการหารือเบื้องต้นมองว่า โรงพยาบาลมีความเหมาะสมในการรับขึ้นทะเบียนบัตรทองที่สุด เนื่องจากใกล้ชิดประชาชน โดยเฉพาะเด็กแรกคลอด ซึ่งไม่ได้มีแต่ขึ้นทะเบียนบัตรทองเท่านั้น ยังมีเด็กที่เกิดจากพ่อแม่ข้าราชการ ก็ต้องขึ้นทะเบียนสิทธิข้าราชการด้วย จึงมองว่าโรงพยาบาลมีความเหมาะสมในการทำหน้าที่ขึ้นทะเบียน นอกจากเป็นจุดออกใบรับรองการเกิด
“ปัญหาไม่ใช่ว่า สปสช. ทำได้หรือไม่ได้ แล้วจะให้ สธ. ทำแทน เพราะหาก สปสช. ทำโดยไปตั้งจุดบริการที่ อบต. หรือ อปท. ก็ไม่สะดวกต่อประชาชน แม้แต่ร้านสะดวกซื้ออย่างเซเว่นอีเลฟเว่น ก็ใช่ว่าจะมีทุกสาขา ทุกตำบลทั่วประเทศ ที่สำคัญต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มอีก อย่างไรก็ตาม ผมกำลังหารือกับทางกฎหมายว่า อาจใช้มาตรา 6 ของ พ.ร.บ.หลักประกันฯ ที่ระบุว่า บุคคลใดประสงค์จะใช้สิทธิให้ยื่นคำขอลงทะเบียนต่อสำนักงาน หรือหน่วยงานที่สำนักงานกำหนด นั่นหมายถึงโรงพยาบาลที่ สปสช. ขอให้เป็นหน่วยขึ้นทะเบียนบัตรทองให้ โดยจะเสนอต่อบอร์ด สปสช. วันที่ 9 ก.พ. เพื่อหารือและขอความเห็น ซึ่งคาดหวังว่าจะได้ข้อสรุป เช่นเดียวกับกรณีขอ้เสนอการจัดสรรงบบัตรทอง” เลขาธิการ สปสช. กล่าวและว่า อย่างไรก็ตาม ข้อเสนอดังกล่าวตนได้มอบหมายให้คณะทำงานร่วมหารือร่วมกันก่อนว่า สธ. เห็นด้วยหรือไม่ เพราะไม่อยากให้เกิดประเด็นโต้แย้งอีก
นพ.สุทัศน์ ศรีวิไล ผอ.รพ.เชียงรายประชานุเคราะห์ และประธานชมรมโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป (รพศ./รพท.) กล่าวว่า การจะใช้มาตรา 6 ให้โรงพยาบาลขึ้นทะเบียนแทน สปสช. ไม่ทราบว่ากฎหมายระบุชัดหรือไม่ แต่เรื่องนี้จริงๆ แล้วไม่ยาก เพราะเดิมโรงพยาบาลก็ทำให้อยู่แล้ว ซึ่งหาก สปสช. ยอมรับว่าตัวเองทำไม่ได้ และขอให้ทางโรงพยาบาลช่วยขึ้นทะเบียนให้ก็ยินดี
นพ.สมคิด สุริยเลิศ ผอ.รพ.สุรินทร์ กล่าวว่า โรงพยาบาลมีการดำเนินการเรื่องนี้อยู่แล้ว แต่ด้วยหน้าที่นั้นเป็นของ สปสช. ซึ่งหาก สปสช. จะมาดำเนินการเองก็จะดีในแง่ถูกต้องตามหลักหน้าที่ และอาจจะชำนาญกว่าบุคลากรโรงพยาบาล โดยช่องทางที่อยากเสนอ คือ สปสช. ส่งเจ้าหน้าที่มาประจำโรงพยาบาลเพื่อช่วยเรื่องนี้ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่น่าจะดีเช่นกัน
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่