เครือข่ายประชาชน คนรักหลักประกันฯยื่น “หมอรัชตะ” หยุดปัญหาขัดแย้ง สธ.- สปสช. ด้านเจ้าตัวท่องคาถาเดิมทุกอย่างต้องหารือเพื่อแก้ไข วอนทุกฝ่ายหยุดการเคลื่อนไหว ด้าน สปสช. ระบุโรงพยาบาลทำหน้าที่ขึ้นทะเบียนบัตรทองเหมาะสมที่สุด แต่หากยกเลิกทำหน้าที่ให้ สปสช. ทำเองก็ต้องหากลไกมารองรับ เผยผลรับฟังความเห็นขอ สธ.-สปสช.สงบศึก ผลักดันเพิ่มงบรายหัว
วันนี้ (2 ก.พ.) ที่โรงแรมเซ็นทรา ศูนย์ราชการฯ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นทั่วไปจากผู้ให้บริการและผู้รับบริการระดับประเทศ ปีงบประมาณ 2558 โดยมีตัวแทนทั้งจากโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และนอกสังกัด เช่น กลุ่มโรงเรียนแพทย์ โรงพยาบาลสังกัดทหาร รวมไปถึง รพ.เอกชน และตัวแทนผู้รับบริการเข้าร่วมเข้าร่วมประมาณ 1,000 กว่าคน ซึ่งผลการประชุมรับฟังความคิดเห็นในครั้งนี้จะส่งมอบให้แก่ ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และประธานคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) ต่อไป ซึ่งระหว่างการประชุมเครือข่ายประชาชน 9 ด้านในระบบหลักประกันสุขภาพ เครือข่ายพลเมืองขับเคลื่อนด้านสุขภาพ และกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ ได้ยื่นจดหมายเปิดผนึกต่อ รมว.สาธารณสุข กรณีข้อสรุปเรื่องการปรับเกณฑ์แนวทางการบริหารงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) เมื่อวันที่ 30 ธ.ค. ที่ผ่านมา ระหว่าง รมว.สาธารณสุข ปลัด สธ. และ เลขาธิการ สปสช. นั้น ทางกลุ่มไม่เห็นด้วย เนื่องจากเป็นการเจรจาตกลงกันเอง ไม่ได้คำนึงถึงกลไกของบอร์ด สปสช.
นอกจากนี้ ความขัดแย้งระหว่าง สธ. และ สปสช. นั้น สธ. มีพฤติกรรมให้ละเลยการปฏิบัติหน้าที่ข้าราชการที่ดี สร้างเงื่อนไขที่เอาผู้ป่วยเป็นตัวประกัน เช่น ยกเลิกไม่ให้โรงพยาบาลรับขึ้นทะเบียนบัตรทอง ส่วนการปฏิรูประบบสาธารณสุขที่ไม่คำนึงถึงผลกระทบต่อประชาชน การบริหารงบบัตรทองที่ระดับเขต และปรับบริหารกองทุนส่งเสริมป้องกันโรคจากที่มีสัดส่วนของประชาชนและท้องถิ่นเจ้ามามีส่วนร่วมบริหารและจัดกิจกรรม เหลือเพียงบุคลากรทางการแพทย์เท่านั้นก็ล้วนไม่เห็นด้วย เพราะถือว่าเป็นการรังแก ประชาชนต้องแบกรับความเสี่ยง และลิดรอนสิทธิการมีส่วนร่วมของประชาชนตามกฎหมาย จึงขอให้ รมว.สาธารณสุข ดำเนินการแก้ปัญหา โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของประชาชนเป็นที่ตั้ง
นายอภิวัฒน์ กล่าวว่า ปัญหาระหว่าง สป. สธ. และ สปสช. ที่ไม่เข้าใจกันเป็นเรื่องเรื้อรังที่แก้ไม่ได้ ล่าสุด ยังมีประเด็นที่ นพ.วชิระ เพ็งจันทร์ รองปลัด สธ. ทำหนังสือเมื่อวันที่ 15 มกราคมที่ผ่านมา ว่า จะส่งมอบหน้าที่การขึ้นทะเบียนและย้ายสิทธิของผู้ป่วยสิทธิบัตรทอง จากเดิมหน่วยบริการ หรือ รพ. ทั่วประเทศเป็นคนดำเนินการ จะส่งมอบให้ สปสช. เป็นผู้ดำเนินการตั้งแต่วันที่ 30 เมษายน 2558 ซึ่งหนังสือดังกล่าวได้กระจายไปทั่วประเทศ สั่งการให้กับ รพ. ต่างๆ ดำเนินการแล้ว ตนไม่เข้าใจว่า รมว.สธ. ไม่ทราบเรื่องได้อย่างไร เพราะเรื่องนี้เป็นปัญหาใหญ่ หากมีการดำเนินการจริง แสดงว่า รพ. ทุกแห่งจะไม่มีการขึ้นทะเบียนบัตรทองให้ผู้ป่วยอีก และกลุ่มที่มีปัญหาสิทธิรักษาก็ต้องจ่ายเงินเอง
“พวกเราขอเรียกร้องให้ รมว.สธ. ในฐานะเจ้ากระทรวง ออกมาดูแลเรื่องนี้ และขอให้พูดคุยกับปลัด สธ. ในฐานะเป็นผู้บังคับบัญชาหลักของ รพ. ในสังกัด ให้ยุติคำสั่งเสีย เพราะเป็นการเอาประชาชนเป็นตัวประกัน เรื่องนี้ รมว.สธ. ต้องกล้าหาญสั่งการไม่ให้มีการออกคำสั่งจาก สป.สธ. ลักษณะนี้อีก เพราะแค่ปัญหาการจัดสรรงบเหมาจ่ายรายหัวก็ยังไม่ได้ข้อยุติ ยังมีเรื่องอื่นๆ อีก ไม่ส่งผลดีเลย ที่สำคัญการทำของ สป.สธ. ถือว่าไม่เฉลี่ยทุกข์เฉลี่ยสุข ขัดกับหลักการของหลักประกันสุขภาพฯ” นายอภิวัฒน์ กล่าว
ศ.นพ.รัชตะ กล่าวว่า สิ่งที่ประชาชนเป็นห่วงนั้น เป็นข้อตกลงของคณะทำงานตามมติบอร์ด สปสช. ที่จะหาข้อตกลงร่วมกันในประเด็นการจัดสรรงบบัตรทอง ซึ่งก็เป็นไปตามขั้นตอน อย่างไรก็ตาม ข้อสรุปข้างต้นยังต้องเข้าสู่การพิจารณาของคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบการเงินการคลัง สปสช. ก่อน ซึ่งอาจจะเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบก็ได้ จากนั้นจึงนำเข้าสู่ที่ประชุมบอร์ด สปสช. ต่อไปในวันที่ 9 ก.พ. นี้ ซึ่งจะได้ข้อสรุที่ชัดเจน
“การแก้ปัญหาความเห็นต่างไม่ตรงกันก็มีกระบวนการแก้ปัญหาอยู่แล้ว คือ ต้องมาพูดคุยกัน เอาข้อมูลต่างๆ มาดูว่าเป็นอย่างไร เช่น การบริหารงบบัตรทองขาลง หน่วยบริการให้บริการได้ไม่เต็มที่อย่างไร ข้อมูล สธ. สปสช. ไม่ตรงกันที่ตรงไหน ซึ่งมติบอร์ด สปสช. ครั้งก่อนก็เห็นชอบให้ตั้งคณะทำงานวิเคราะห์ข้อเท็จจริงข้อมูลต่างๆ แล้ว โดยมี ดร.อัมมาร สยามวาลา เป็นประธาน ช่วงระหว่างนี้จึงไม่ควรมีความเคลื่อนไหวอะไรต่างๆ จนกว่าข้อสรุปทั้งหมดจะได้ข้อยุติ เพราะการออกมาเคลื่อนไหวทั้งที่ยังไม่ได้ข้อยุติก็จะยิ่งก่อให้เกิดปัญหา ส่วนการประชุมในวันนี้ก็กำชับแล้วว่าต้องใช้กลไกการรับฟังความคิดเห็นให้เข้มข้นเป็นพิเศษ” รมว.สาธารณสุข กล่าว
ศ.นพ.รัชตะ กล่าวว่า สำหรับกรณียกเลิกให้นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด (นพ.สสจ.) เป็นนายทะเบียน สปสช. สาขาจังหวัด โดยให้ สปสช. ทำหน้าที่ตามหลักการแยกผู้ซื้อบริการและผู้ให้บริการนั้น หาก สธ.ตีความว่าหน้าที่นายทะเบียนบัตรทองไม่ใช่ของหน่วยบริการ ก็ต้องมาดูว่าจะทำอย่างไรไม่ให้ประชาชนเดือดร้อน และหากลไกทางออกในเรื่องดังกล่าว
นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการ สปสช. กล่าวว่า การรับหน้าที่นายทะเบียนบัตรทองที่ผ่านมาจะอยู่ที่หน่วยบริการ อย่างเด็กแรกเกิดปีละ 8 แสนราย การย้ายสิทธิ การย้ายโรงพยาบาลปีละกว่า 4 ล้านราย ก็จะอยู่ที่หน่วยบริการทั้งหมด ถ้าหากโรงพยาบาลไม่ทำหน้าที่นี้ เชื่อว่าการรับเรื่องต่างๆ จากผู้รับบริการหรือลงบันทึกข้อมูลต่างๆ ไม่น่ามีปัญหา แต่การตัดสินใจในการให้สิทธิบัตรทองของนายทะเบียนจะทำอย่างไรนั้นก็ต้องมาหาทางออก ซึ่งหากจะให้ไปดำเนินการที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ก็อาจมีปัญหา เพราะประชาชนส่วนใหญ่จะไปใช้บริการที่หน่วยบริการเลย จึงมองว่าหน่วยบริการมีความเหมาะสมที่จะทำหน้าที่นี้ ส่วนจะต้องจ้างหน่วยบริการในการทำหน้าที่หรือไม่นั้นก็มีความเป็นไปได้ แต่ต้องมาดูในเรื่องของระบบบริหารจัดการด้วยว่าต้องใช้งบประมาณมากน้อยแค่ไหน
ต่อมาเมื่อเวลา 16.30 น. ศ.นพ.รัชตะ ให้สัมภาษณ์ภายหลังการจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นฯ ว่า การประชุมวันนี้มีความเห็นร่วมว่าให้ สธ.และ สปสช.สงบศึกเพื่อทำงานร่วมกัน โดยเฉพาะการผลักดันให้มีการเพิ่มงบเหมาจ่ายรายหัวเพิ่มขึ้น ส่วนที่ยังเห็นต่างกันอยู่คือการตัดเงินเดือนบุคลากรสาธารณสุขจากงบเหมาจ่ายรายหัวควรทำที่ระดับจังหวัดหรือระดับเขต อย่างไรก็ตาม ยังเหลือการรับฟังความเห็นในรายเขตอีก คาดว่าจะเสร็จสิ้นใน เม.ย.นี้ ก่อนจะนำเข้าสู่อนุกรรมการควบคุมคุณภาพมาตรฐานการให้บริการของหน่วยบริการ ก่อนเสนอเข้าบอร์ด สปสช.อีกครั้งหนึ่ง ทั้งนี้ เรื่องใดที่สามารถแก้ไขปรับปรุงได้จะให้ดำเนินการทันที แต่ถ้าเป็นเรื่องนโยบายต้องรอเสนอเข้าบอร์ด สปสช.ก่อน
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (2 ก.พ.) ที่โรงแรมเซ็นทรา ศูนย์ราชการฯ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นทั่วไปจากผู้ให้บริการและผู้รับบริการระดับประเทศ ปีงบประมาณ 2558 โดยมีตัวแทนทั้งจากโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และนอกสังกัด เช่น กลุ่มโรงเรียนแพทย์ โรงพยาบาลสังกัดทหาร รวมไปถึง รพ.เอกชน และตัวแทนผู้รับบริการเข้าร่วมเข้าร่วมประมาณ 1,000 กว่าคน ซึ่งผลการประชุมรับฟังความคิดเห็นในครั้งนี้จะส่งมอบให้แก่ ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และประธานคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) ต่อไป ซึ่งระหว่างการประชุมเครือข่ายประชาชน 9 ด้านในระบบหลักประกันสุขภาพ เครือข่ายพลเมืองขับเคลื่อนด้านสุขภาพ และกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ ได้ยื่นจดหมายเปิดผนึกต่อ รมว.สาธารณสุข กรณีข้อสรุปเรื่องการปรับเกณฑ์แนวทางการบริหารงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) เมื่อวันที่ 30 ธ.ค. ที่ผ่านมา ระหว่าง รมว.สาธารณสุข ปลัด สธ. และ เลขาธิการ สปสช. นั้น ทางกลุ่มไม่เห็นด้วย เนื่องจากเป็นการเจรจาตกลงกันเอง ไม่ได้คำนึงถึงกลไกของบอร์ด สปสช.
นอกจากนี้ ความขัดแย้งระหว่าง สธ. และ สปสช. นั้น สธ. มีพฤติกรรมให้ละเลยการปฏิบัติหน้าที่ข้าราชการที่ดี สร้างเงื่อนไขที่เอาผู้ป่วยเป็นตัวประกัน เช่น ยกเลิกไม่ให้โรงพยาบาลรับขึ้นทะเบียนบัตรทอง ส่วนการปฏิรูประบบสาธารณสุขที่ไม่คำนึงถึงผลกระทบต่อประชาชน การบริหารงบบัตรทองที่ระดับเขต และปรับบริหารกองทุนส่งเสริมป้องกันโรคจากที่มีสัดส่วนของประชาชนและท้องถิ่นเจ้ามามีส่วนร่วมบริหารและจัดกิจกรรม เหลือเพียงบุคลากรทางการแพทย์เท่านั้นก็ล้วนไม่เห็นด้วย เพราะถือว่าเป็นการรังแก ประชาชนต้องแบกรับความเสี่ยง และลิดรอนสิทธิการมีส่วนร่วมของประชาชนตามกฎหมาย จึงขอให้ รมว.สาธารณสุข ดำเนินการแก้ปัญหา โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของประชาชนเป็นที่ตั้ง
นายอภิวัฒน์ กล่าวว่า ปัญหาระหว่าง สป. สธ. และ สปสช. ที่ไม่เข้าใจกันเป็นเรื่องเรื้อรังที่แก้ไม่ได้ ล่าสุด ยังมีประเด็นที่ นพ.วชิระ เพ็งจันทร์ รองปลัด สธ. ทำหนังสือเมื่อวันที่ 15 มกราคมที่ผ่านมา ว่า จะส่งมอบหน้าที่การขึ้นทะเบียนและย้ายสิทธิของผู้ป่วยสิทธิบัตรทอง จากเดิมหน่วยบริการ หรือ รพ. ทั่วประเทศเป็นคนดำเนินการ จะส่งมอบให้ สปสช. เป็นผู้ดำเนินการตั้งแต่วันที่ 30 เมษายน 2558 ซึ่งหนังสือดังกล่าวได้กระจายไปทั่วประเทศ สั่งการให้กับ รพ. ต่างๆ ดำเนินการแล้ว ตนไม่เข้าใจว่า รมว.สธ. ไม่ทราบเรื่องได้อย่างไร เพราะเรื่องนี้เป็นปัญหาใหญ่ หากมีการดำเนินการจริง แสดงว่า รพ. ทุกแห่งจะไม่มีการขึ้นทะเบียนบัตรทองให้ผู้ป่วยอีก และกลุ่มที่มีปัญหาสิทธิรักษาก็ต้องจ่ายเงินเอง
“พวกเราขอเรียกร้องให้ รมว.สธ. ในฐานะเจ้ากระทรวง ออกมาดูแลเรื่องนี้ และขอให้พูดคุยกับปลัด สธ. ในฐานะเป็นผู้บังคับบัญชาหลักของ รพ. ในสังกัด ให้ยุติคำสั่งเสีย เพราะเป็นการเอาประชาชนเป็นตัวประกัน เรื่องนี้ รมว.สธ. ต้องกล้าหาญสั่งการไม่ให้มีการออกคำสั่งจาก สป.สธ. ลักษณะนี้อีก เพราะแค่ปัญหาการจัดสรรงบเหมาจ่ายรายหัวก็ยังไม่ได้ข้อยุติ ยังมีเรื่องอื่นๆ อีก ไม่ส่งผลดีเลย ที่สำคัญการทำของ สป.สธ. ถือว่าไม่เฉลี่ยทุกข์เฉลี่ยสุข ขัดกับหลักการของหลักประกันสุขภาพฯ” นายอภิวัฒน์ กล่าว
ศ.นพ.รัชตะ กล่าวว่า สิ่งที่ประชาชนเป็นห่วงนั้น เป็นข้อตกลงของคณะทำงานตามมติบอร์ด สปสช. ที่จะหาข้อตกลงร่วมกันในประเด็นการจัดสรรงบบัตรทอง ซึ่งก็เป็นไปตามขั้นตอน อย่างไรก็ตาม ข้อสรุปข้างต้นยังต้องเข้าสู่การพิจารณาของคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบการเงินการคลัง สปสช. ก่อน ซึ่งอาจจะเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบก็ได้ จากนั้นจึงนำเข้าสู่ที่ประชุมบอร์ด สปสช. ต่อไปในวันที่ 9 ก.พ. นี้ ซึ่งจะได้ข้อสรุที่ชัดเจน
“การแก้ปัญหาความเห็นต่างไม่ตรงกันก็มีกระบวนการแก้ปัญหาอยู่แล้ว คือ ต้องมาพูดคุยกัน เอาข้อมูลต่างๆ มาดูว่าเป็นอย่างไร เช่น การบริหารงบบัตรทองขาลง หน่วยบริการให้บริการได้ไม่เต็มที่อย่างไร ข้อมูล สธ. สปสช. ไม่ตรงกันที่ตรงไหน ซึ่งมติบอร์ด สปสช. ครั้งก่อนก็เห็นชอบให้ตั้งคณะทำงานวิเคราะห์ข้อเท็จจริงข้อมูลต่างๆ แล้ว โดยมี ดร.อัมมาร สยามวาลา เป็นประธาน ช่วงระหว่างนี้จึงไม่ควรมีความเคลื่อนไหวอะไรต่างๆ จนกว่าข้อสรุปทั้งหมดจะได้ข้อยุติ เพราะการออกมาเคลื่อนไหวทั้งที่ยังไม่ได้ข้อยุติก็จะยิ่งก่อให้เกิดปัญหา ส่วนการประชุมในวันนี้ก็กำชับแล้วว่าต้องใช้กลไกการรับฟังความคิดเห็นให้เข้มข้นเป็นพิเศษ” รมว.สาธารณสุข กล่าว
ศ.นพ.รัชตะ กล่าวว่า สำหรับกรณียกเลิกให้นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด (นพ.สสจ.) เป็นนายทะเบียน สปสช. สาขาจังหวัด โดยให้ สปสช. ทำหน้าที่ตามหลักการแยกผู้ซื้อบริการและผู้ให้บริการนั้น หาก สธ.ตีความว่าหน้าที่นายทะเบียนบัตรทองไม่ใช่ของหน่วยบริการ ก็ต้องมาดูว่าจะทำอย่างไรไม่ให้ประชาชนเดือดร้อน และหากลไกทางออกในเรื่องดังกล่าว
นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการ สปสช. กล่าวว่า การรับหน้าที่นายทะเบียนบัตรทองที่ผ่านมาจะอยู่ที่หน่วยบริการ อย่างเด็กแรกเกิดปีละ 8 แสนราย การย้ายสิทธิ การย้ายโรงพยาบาลปีละกว่า 4 ล้านราย ก็จะอยู่ที่หน่วยบริการทั้งหมด ถ้าหากโรงพยาบาลไม่ทำหน้าที่นี้ เชื่อว่าการรับเรื่องต่างๆ จากผู้รับบริการหรือลงบันทึกข้อมูลต่างๆ ไม่น่ามีปัญหา แต่การตัดสินใจในการให้สิทธิบัตรทองของนายทะเบียนจะทำอย่างไรนั้นก็ต้องมาหาทางออก ซึ่งหากจะให้ไปดำเนินการที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ก็อาจมีปัญหา เพราะประชาชนส่วนใหญ่จะไปใช้บริการที่หน่วยบริการเลย จึงมองว่าหน่วยบริการมีความเหมาะสมที่จะทำหน้าที่นี้ ส่วนจะต้องจ้างหน่วยบริการในการทำหน้าที่หรือไม่นั้นก็มีความเป็นไปได้ แต่ต้องมาดูในเรื่องของระบบบริหารจัดการด้วยว่าต้องใช้งบประมาณมากน้อยแค่ไหน
ต่อมาเมื่อเวลา 16.30 น. ศ.นพ.รัชตะ ให้สัมภาษณ์ภายหลังการจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นฯ ว่า การประชุมวันนี้มีความเห็นร่วมว่าให้ สธ.และ สปสช.สงบศึกเพื่อทำงานร่วมกัน โดยเฉพาะการผลักดันให้มีการเพิ่มงบเหมาจ่ายรายหัวเพิ่มขึ้น ส่วนที่ยังเห็นต่างกันอยู่คือการตัดเงินเดือนบุคลากรสาธารณสุขจากงบเหมาจ่ายรายหัวควรทำที่ระดับจังหวัดหรือระดับเขต อย่างไรก็ตาม ยังเหลือการรับฟังความเห็นในรายเขตอีก คาดว่าจะเสร็จสิ้นใน เม.ย.นี้ ก่อนจะนำเข้าสู่อนุกรรมการควบคุมคุณภาพมาตรฐานการให้บริการของหน่วยบริการ ก่อนเสนอเข้าบอร์ด สปสช.อีกครั้งหนึ่ง ทั้งนี้ เรื่องใดที่สามารถแก้ไขปรับปรุงได้จะให้ดำเนินการทันที แต่ถ้าเป็นเรื่องนโยบายต้องรอเสนอเข้าบอร์ด สปสช.ก่อน
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่