กลุ่ม รพ.ใหญ่ ย้ำต้องจัดสรรงบบัตรทองผ่านเขต เกลี่ยงบช่วย รพ.เล็กได้เงินเพิ่ม ซัดหมอชนบทค้าน เหตุได้เงินลดลง ไม่ยอมช่วยเหลือคนอื่น จวก สปสช. รับฟังความเห็น แต่ไม่เคยปรับปรุง ด้านหมอรพ.ชุมชนชี้ความเห็นแพทย์ชนบทเป็นความเห็นส่วนตัวของบางคน อย่าเหมารวม ขณะที่ สสจ. ยันข้อมูลออนไลน์ เกิดใหม่ - ย้ายสิทธิ ก็ได้บัตรทองอัตโนมัติ
วันนี้ (2 ก.พ.) นพ.สุทัศน์ ศรีวิไล ประธานชมรมโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป (รพศ./รพท.) พร้อมด้วย นพ.สุรพร ลอยหา ประธานชมรมนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด (นพ.สสจ.) และตัวแทน ผอ.รพศ./รพท. สมาคมหมออนามัย ร่วมแถลงข่าวกรณีการปรับวิธีการจัดสรรงบเหมาจ่ายผ่านเขตสุขภาพ และการยกเลิกหน้าที่รับขึ้นทะเบียนสิทธิบัตรทองของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.)
ทั้งนี้ นพ.สุทัศน์ กล่าวว่า การจัดสรรงบรายหัวบัตรทองผ่านเขตสุขภาพจะเป็นประโยชน์ต่อโรงพยาบาลขนาดเล็ก และมีประชากรน้อย เพราะหากจัดสรรตามจำนวนประชากร พื้นที่ที่มีประชากรมากก็จะได้งบประมาณมาก พื้นที่มีประชากรน้อยก็ได้งบประมาณน้อย แต่การจัดสรรผ่านเขตเงินยังคงส่งไปยังหน่วยบริการโดยตรงเช่นเดิม แต่จะมีการปรับเกลี่ยเพื่อช่วยเหลือกันภายในเขต ซึ่งการที่กลุ่มแพทย์ชนบทบางคนออกมาค้าน เป็นเพราะเขามีประชากรเยอะมากกว่า 1 แสนคนขึ้นไป เขาสามารถอยู่ได้อย่างสบาย เมื่อเงินลงไปก็บริหารอย่างสบาย และไม่ได้คิดช่วยโรงพยาบาลที่มีขนาดเล็กกว่า ซึ่งการจัดสรรเช่นนี้ก็จะทำให้ได้รับงบประมาณน้อยลงไป เนื่องจากเป็นการเฉลี่ยเพื่อไปช่วยโรงพยาบาลชุมชนที่มีขนาดเล็กกว่า ซึ่งจริงๆ แล้วการจะอยู่รอดโดยไม่สนคนอื่นนั้นไม่ได้ เราต้องมองภาพรวมช่วยเหลือกัน
นพ.สุภาพ ไพศาลศิลป์ ผอ.รพ.ปัตตานี กล่าวว่า สิ่งที่เรียกร้องในขณะนี้ คือ การจัดสรรงบประมาณที่มีอยู่ให้เกิดความเท่าเทียม แต่กลายเป็นว่า สธ.และสปสช.กำลังแย่งอำนาจกัน ในฐานะคนทำงานก็มองเพียงว่า ปัญหาควรต้องแก้ไข ต้องเอางบประมาณที่มีมาจัดสรรให้ดี ซึ่งการที่ สปสช. จัดรับฟังความคิดเห็นก็ควรนำข้อเสนอของผู้ให้บริการไปปรับแก้ ไม่ใช่แค่มารับฟังแล้วออกประกาศออกมาให้โรงพยาบาลปฏิบัติโดยไม่สนใจข้อคิดเห็นที่เสนอไป ซึ่งการทำเช่นนี้ก็ไม่ต่างจากการไม่รับฟัง ทั้งนี้ อยากให้การตัดสินใจเรื่องการจัดสรรงบประมาณออกมาจากพื้นที่ด้วยไม่ใช่ออกมาจากคนเพียงกลุ่มเดียวใน สปสช.
นพ.อุดมเกียรติ พูลสวัสดิ์ ผอ.รพ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี กล่าวว่า ข้อเสนอ ข้อคิดเห็นต่างๆ ของกลุ่มแพทย์ชนบทที่ออกมานั้น ล้วนมาจากความคิดเห็นส่วนตัวทั้งสิ้น ไม่ได้มาจากมติของแพทย์ชนบททั้งหมด แต่มักอ้างว่าเป็นตัวแทนแพทย์ชนบท ซึ่งการรับฟังความคิดเห็นของ สปสช. ในครั้งนี้ อยากให้มองว่าการทำประชาพิจารณ์นั้น สามารถทำได้กับบางเรื่อง เช่น ประชาชนต้องการเพิ่มเติมสิทธิประโยชน์ใดบ้าง ส่วนบางเรื่องโดยเฉพาะการบริหารจัดการ จำเป็นต้องเอาข้อมูลเชิงประจักษ์มาพูดกัน เช่น เรื่องโรงพยาบาลขาดทุน ไม่ใช่เอาเสียงคนส่วนใหญ่มาโหวต ซึ่งเชื่อว่าประชาชนที่เป็นตัวแทนมายังได้รับข้อมูลผิดๆ ซึ่งหากได้รับข้อมูลที่ชัดเจนก็จะเข้าใจเรื่องเขตสุขภาพมากขึ้น
ด้าน นพ.สุรพร กล่าวถึงกรณียกเลิกการเป็นนายทะเบียนบัตรทอง ว่า เรื่องนี้สืบเนื่องมาจากมติบอร์ด สปสช. ที่ยกเลิกให้ นพ.สสจ. เป็น สปสช. สาขาจังหวัด การทำหน้าที่นายทะเบียนก็ต้องให้ สปสช. รับผิดชอบ ซึ่งจริงๆ แล้วก็ถือเป็นหน้าที่ของ สปสช.ในฐานะเป็นผู้ซื้อบริการแทนประชาชนอยู่แล้ว โดย 12 ปีที่ผ่านมา สธ. ดำเนินการแทนเพื่อประโยชน์ประชาชน และขณะนี้คนไทยเกือบทั้งหมดมีสิทธิบัตรทองแล้ว จะมีเพียงเด็กเกิดใหม่ หรือผู้เปลี่ยนแปลงสิทธิเท่านั้น แต่ตามปกติเมื่อเด็กเกิดก็จะมีการแจ้งเกิดไปที่ทะเบียนราษฎร ซึ่งในระบบจะมีการแจ้งสิทธิออนไลน์ ทุกคนก็จะมีสิทธิบัตรทอง หรือแม้แต่คนย้ายสิทธิ เช่น ประกันสังคมกลับมาอยู่สิทธิบัตรทอง เมื่อออกจากประกันสังคมสิทธิก็จะถูกเปลี่ยนอัตโนมัติ เพราะใช้ข้อมูลทะเบียนราษฎร์เป็นฐานเหมือนกัน และมีการเชื่อมโยงข้อมูลทางออนไลน์อยู่แล้ว จึงไม่เข้าใจว่าจะมีการให้ข่าวที่เข้าใจคลาดเคลื่อนเพราะอะไร
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (2 ก.พ.) นพ.สุทัศน์ ศรีวิไล ประธานชมรมโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป (รพศ./รพท.) พร้อมด้วย นพ.สุรพร ลอยหา ประธานชมรมนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด (นพ.สสจ.) และตัวแทน ผอ.รพศ./รพท. สมาคมหมออนามัย ร่วมแถลงข่าวกรณีการปรับวิธีการจัดสรรงบเหมาจ่ายผ่านเขตสุขภาพ และการยกเลิกหน้าที่รับขึ้นทะเบียนสิทธิบัตรทองของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.)
ทั้งนี้ นพ.สุทัศน์ กล่าวว่า การจัดสรรงบรายหัวบัตรทองผ่านเขตสุขภาพจะเป็นประโยชน์ต่อโรงพยาบาลขนาดเล็ก และมีประชากรน้อย เพราะหากจัดสรรตามจำนวนประชากร พื้นที่ที่มีประชากรมากก็จะได้งบประมาณมาก พื้นที่มีประชากรน้อยก็ได้งบประมาณน้อย แต่การจัดสรรผ่านเขตเงินยังคงส่งไปยังหน่วยบริการโดยตรงเช่นเดิม แต่จะมีการปรับเกลี่ยเพื่อช่วยเหลือกันภายในเขต ซึ่งการที่กลุ่มแพทย์ชนบทบางคนออกมาค้าน เป็นเพราะเขามีประชากรเยอะมากกว่า 1 แสนคนขึ้นไป เขาสามารถอยู่ได้อย่างสบาย เมื่อเงินลงไปก็บริหารอย่างสบาย และไม่ได้คิดช่วยโรงพยาบาลที่มีขนาดเล็กกว่า ซึ่งการจัดสรรเช่นนี้ก็จะทำให้ได้รับงบประมาณน้อยลงไป เนื่องจากเป็นการเฉลี่ยเพื่อไปช่วยโรงพยาบาลชุมชนที่มีขนาดเล็กกว่า ซึ่งจริงๆ แล้วการจะอยู่รอดโดยไม่สนคนอื่นนั้นไม่ได้ เราต้องมองภาพรวมช่วยเหลือกัน
นพ.สุภาพ ไพศาลศิลป์ ผอ.รพ.ปัตตานี กล่าวว่า สิ่งที่เรียกร้องในขณะนี้ คือ การจัดสรรงบประมาณที่มีอยู่ให้เกิดความเท่าเทียม แต่กลายเป็นว่า สธ.และสปสช.กำลังแย่งอำนาจกัน ในฐานะคนทำงานก็มองเพียงว่า ปัญหาควรต้องแก้ไข ต้องเอางบประมาณที่มีมาจัดสรรให้ดี ซึ่งการที่ สปสช. จัดรับฟังความคิดเห็นก็ควรนำข้อเสนอของผู้ให้บริการไปปรับแก้ ไม่ใช่แค่มารับฟังแล้วออกประกาศออกมาให้โรงพยาบาลปฏิบัติโดยไม่สนใจข้อคิดเห็นที่เสนอไป ซึ่งการทำเช่นนี้ก็ไม่ต่างจากการไม่รับฟัง ทั้งนี้ อยากให้การตัดสินใจเรื่องการจัดสรรงบประมาณออกมาจากพื้นที่ด้วยไม่ใช่ออกมาจากคนเพียงกลุ่มเดียวใน สปสช.
นพ.อุดมเกียรติ พูลสวัสดิ์ ผอ.รพ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี กล่าวว่า ข้อเสนอ ข้อคิดเห็นต่างๆ ของกลุ่มแพทย์ชนบทที่ออกมานั้น ล้วนมาจากความคิดเห็นส่วนตัวทั้งสิ้น ไม่ได้มาจากมติของแพทย์ชนบททั้งหมด แต่มักอ้างว่าเป็นตัวแทนแพทย์ชนบท ซึ่งการรับฟังความคิดเห็นของ สปสช. ในครั้งนี้ อยากให้มองว่าการทำประชาพิจารณ์นั้น สามารถทำได้กับบางเรื่อง เช่น ประชาชนต้องการเพิ่มเติมสิทธิประโยชน์ใดบ้าง ส่วนบางเรื่องโดยเฉพาะการบริหารจัดการ จำเป็นต้องเอาข้อมูลเชิงประจักษ์มาพูดกัน เช่น เรื่องโรงพยาบาลขาดทุน ไม่ใช่เอาเสียงคนส่วนใหญ่มาโหวต ซึ่งเชื่อว่าประชาชนที่เป็นตัวแทนมายังได้รับข้อมูลผิดๆ ซึ่งหากได้รับข้อมูลที่ชัดเจนก็จะเข้าใจเรื่องเขตสุขภาพมากขึ้น
ด้าน นพ.สุรพร กล่าวถึงกรณียกเลิกการเป็นนายทะเบียนบัตรทอง ว่า เรื่องนี้สืบเนื่องมาจากมติบอร์ด สปสช. ที่ยกเลิกให้ นพ.สสจ. เป็น สปสช. สาขาจังหวัด การทำหน้าที่นายทะเบียนก็ต้องให้ สปสช. รับผิดชอบ ซึ่งจริงๆ แล้วก็ถือเป็นหน้าที่ของ สปสช.ในฐานะเป็นผู้ซื้อบริการแทนประชาชนอยู่แล้ว โดย 12 ปีที่ผ่านมา สธ. ดำเนินการแทนเพื่อประโยชน์ประชาชน และขณะนี้คนไทยเกือบทั้งหมดมีสิทธิบัตรทองแล้ว จะมีเพียงเด็กเกิดใหม่ หรือผู้เปลี่ยนแปลงสิทธิเท่านั้น แต่ตามปกติเมื่อเด็กเกิดก็จะมีการแจ้งเกิดไปที่ทะเบียนราษฎร ซึ่งในระบบจะมีการแจ้งสิทธิออนไลน์ ทุกคนก็จะมีสิทธิบัตรทอง หรือแม้แต่คนย้ายสิทธิ เช่น ประกันสังคมกลับมาอยู่สิทธิบัตรทอง เมื่อออกจากประกันสังคมสิทธิก็จะถูกเปลี่ยนอัตโนมัติ เพราะใช้ข้อมูลทะเบียนราษฎร์เป็นฐานเหมือนกัน และมีการเชื่อมโยงข้อมูลทางออนไลน์อยู่แล้ว จึงไม่เข้าใจว่าจะมีการให้ข่าวที่เข้าใจคลาดเคลื่อนเพราะอะไร
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่