เปิดผลรณรงค์งดเหล้าเข้าพรรษาปี 2557 พบเพิ่มสูงขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา กลุ่มงดดื่มประหยัดเงิน 6,912 บาทต่อคน ลดดื่มประหยัดคนละ 2,538 บาท รวมแล้วช่วยประเทศชาติประหยัดเงินถึง 7 หมื่นล้านบาท ชี้ช่วยครอบครัวมีเงินจับจ่ายใช้สอยด้านอื่น มีเวลาให้กับครอบครัวมากขึ้น ระบุ 92% หนุนรณรงค์ต่อเนื่อง
วันนี้ (30 ม.ค.) ที่โรงแรมเอทัส ถ.พระราม 4 นพ.อุดมศิลป์ ศรีแสงนาม ที่ปรึกษากรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวในงานเสวนา “งดเหล้าเข้าพรรษา : ผลการสำรวจปี 2557 กับนัยต่อเศรษฐกิจสังคม” จัดโดยศูนย์วิจัยปัญหาสุรา (ศวส.) และ สสส. ว่า การรณรงค์งดเหล้าเข้าพรรษา เริ่มตั้งแต่ปี 2546 จวบจนขณะนี้ถือเป็นปีที่ 12 แล้ว และเป็นภารกิจแรกๆ ที่ สสส. เริ่มมีบทบาทในการรณรงค์สร้างสรรค์สังคม โดยใช้โอกาสการสร้างแรงจูงใจเปลี่ยนค่านิยมผ่านงานบุญประเพณี เน้นการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมต่างๆ ให้ปลอดแอลกอฮอล์ สามารถทำให้งดเหล้าเข้าพรรษาเป็นวัฒนธรรมที่ดีของสังคม ซึ่งผลการรณรงค์ดีขึ้นเป็นลำดับ มีผู้ร่วมงดเหล้าเพิ่มขึ้นต่อเนื่องทุกปี
นายสุริยัน บุญแท้ ผู้จัดการฝ่ายวิจัย ศูนย์วิจัยเพื่อการพัฒนาสังคมและธุรกิจ (SAB) นำเสนอผลสำรวจ "ผลการรณรงค์งดเหล้าเข้าพรรษาปี 2557” ว่า จากการสำรวจประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไปใน 25 จังหวัด ระหว่างวันที่ 21 ต.ค.- 10 พ.ย. 2557 จำนวน 7,081 ตัวอย่าง พบมีผู้ดื่มแอลกอฮอล์ในช่วง 12 เดือน36.5% ที่น่าสนใจ คือ ผู้ดื่ม 85.9% ดื่มแอลกอฮอล์ในงานต่างๆ 5 อันดับแรก คือ งานแต่งงาน งานเลี้ยงวันเกิด งานทำบุญขึ้นบ้านใหม่ งานบวช และงานศพ โดยผู้ดื่ม 1 ใน 4 ดื่มทั้งที่ไม่ได้ตั้งใจ เหตุผลสำคัญคือ เพื่อนชวน ขัดเพื่อนไม่ได้ เข้าสังคม ติดลม บรรยากาศ เครียด เบื่อ และเศร้า โดยเคยดื่มเกินที่ตั้งใจไว้ 66.2% เคยดื่มจนรู้สึกเมา 64.2% นอกจากนี้ เคยพบเห็นปัญหาความขัดแย้งหรือการใช้ความรุนแรงจากการดื่มภายในครอบครัว 47.5% ซึ่งเกือบครึ่งเป็นการทำร้ายร่างกาย
“ผลการรณรงค์งดเหล้าเข้าพรรษาในปี 2557 ถือว่าประสบความสำเร็จมากกว่าปีก่อน โดยผู้ดื่มมีการเปลี่ยนพฤติกรรมในช่วงเข้าพรรษา 83.4% โดยเลิก-งดดื่มตลอดช่วงเข้าพรรษา 39.4% งดดื่มเป็นบางช่วง 23.2% ไม่งดดื่มแต่ลดปริมาณการดื่ม 20.8% สูงกว่าปี 2556 ที่พบว่า ผู้เลิกดื่มตลอดเข้าพรรษาอยู่ที่ 36.2% ลดปริมาณการดื่ม 19.1% และงดดื่มบางช่วง 13.5% โดย 92% เห็นด้วยกับการรณรงค์นี้ เพราะมีส่วนช่วยให้ลดปริมาณการดื่มและผู้ดื่มได้จริง ที่สำคัญคือ ปี 2557 คนงดและลดการดื่มเพิ่มขึ้น ทั้งที่เห็นสื่อรณรงค์ลดลง” นายสุริยัน กล่าว
ดร.นพพล วิทย์วรพงศ์ รักษาการ ผอ.ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา กล่าวว่า ปี 2557 มีประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไป ดื่มแอลกอฮอล์ประมาณ 20 ล้านคน มีค่าใช้จ่ายในการดื่มเฉลี่ย 486 บาทต่อครั้ง เฉลี่ยคนละ 2,304 บาทต่อเดือน จากการรณรงค์งดเหล้าเข้าพรรษาปี 2557 มีประชาชนเกือบ 17 ล้านคน เปลี่ยนพฤติกรรมการดื่ม จำนวนนี้เกือบ 8 ล้านคน งดดื่มตลอดช่วงเข้าพรรษา และเกือบ 9 ล้านคน ลดการดื่ม โดยกลุ่มคนงดดื่ม - ลดดื่ม ระบุว่า ประหยัดเงินได้ตลอดช่วงเข้าพรรษาเฉลี่ยคนละ 1,455 บาท เมื่อประมาณการณ์ระดับประเทศจะเท่ากับประหยัดได้กว่า 24,557 ล้านบาท
“จากการทดลองคำนวณการลดความถี่ในการดื่มลง พบว่า กลุ่มงดเหล้าตลอดพรรษา ประหยัดเงิน เฉลี่ยคนละ 6,912 บาท และกลุ่มลดการดื่ม ประหยัดเงินเฉลี่ยคนละ 2,538 บาท หรือเท่ากับจำนวนเงินที่ประหยัดได้ทั้งประเทศเพิ่มขึ้นเป็น 77,712 ล้านบาท ทำให้ประหยัดต้นทุนทางสังคม ทั้งทางตรง เช่น ค่ารักษาพยาบาล ความเสียหายของทรัพย์สินที่เกิดจากอุบัติเหตุ และทางอ้อม เช่น การสูญเสียความสามารถหรือประสิทธิภาพในการทำงาน การสูญเสียชีวิต เป็นต้น” ดร.นพพล กล่าว
นายสงกรานต์ ภาคโชคดี ผอ.สคล. กล่าวว่า การงดเหล้าเข้าพรรษาทำให้หลายครอบครัวได้เงินค่าเหล้ากลับคืนมา และถูกนำไปใช้กับสินค้าอื่น เท่ากับเป็นการกระจายรายได้ไปสู่ทุกภาคส่วน เท่ากับทำให้ครอบครัวมีเงินไว้จับจ่ายใช้สอยสิ่งที่เป็นประโยชน์ ได้กินได้ใช้ทั้งครอบครัว ที่สำคัญคือ พอไม่กินเหล้า ทำให้มีเวลาในชีวิตมากขึ้น และคืนกลับมาให้ครอบครัว เป็นจุดเริ่มต้นของความเข้มแข็งทางสังคมที่แท้จริง
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (30 ม.ค.) ที่โรงแรมเอทัส ถ.พระราม 4 นพ.อุดมศิลป์ ศรีแสงนาม ที่ปรึกษากรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวในงานเสวนา “งดเหล้าเข้าพรรษา : ผลการสำรวจปี 2557 กับนัยต่อเศรษฐกิจสังคม” จัดโดยศูนย์วิจัยปัญหาสุรา (ศวส.) และ สสส. ว่า การรณรงค์งดเหล้าเข้าพรรษา เริ่มตั้งแต่ปี 2546 จวบจนขณะนี้ถือเป็นปีที่ 12 แล้ว และเป็นภารกิจแรกๆ ที่ สสส. เริ่มมีบทบาทในการรณรงค์สร้างสรรค์สังคม โดยใช้โอกาสการสร้างแรงจูงใจเปลี่ยนค่านิยมผ่านงานบุญประเพณี เน้นการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมต่างๆ ให้ปลอดแอลกอฮอล์ สามารถทำให้งดเหล้าเข้าพรรษาเป็นวัฒนธรรมที่ดีของสังคม ซึ่งผลการรณรงค์ดีขึ้นเป็นลำดับ มีผู้ร่วมงดเหล้าเพิ่มขึ้นต่อเนื่องทุกปี
นายสุริยัน บุญแท้ ผู้จัดการฝ่ายวิจัย ศูนย์วิจัยเพื่อการพัฒนาสังคมและธุรกิจ (SAB) นำเสนอผลสำรวจ "ผลการรณรงค์งดเหล้าเข้าพรรษาปี 2557” ว่า จากการสำรวจประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไปใน 25 จังหวัด ระหว่างวันที่ 21 ต.ค.- 10 พ.ย. 2557 จำนวน 7,081 ตัวอย่าง พบมีผู้ดื่มแอลกอฮอล์ในช่วง 12 เดือน36.5% ที่น่าสนใจ คือ ผู้ดื่ม 85.9% ดื่มแอลกอฮอล์ในงานต่างๆ 5 อันดับแรก คือ งานแต่งงาน งานเลี้ยงวันเกิด งานทำบุญขึ้นบ้านใหม่ งานบวช และงานศพ โดยผู้ดื่ม 1 ใน 4 ดื่มทั้งที่ไม่ได้ตั้งใจ เหตุผลสำคัญคือ เพื่อนชวน ขัดเพื่อนไม่ได้ เข้าสังคม ติดลม บรรยากาศ เครียด เบื่อ และเศร้า โดยเคยดื่มเกินที่ตั้งใจไว้ 66.2% เคยดื่มจนรู้สึกเมา 64.2% นอกจากนี้ เคยพบเห็นปัญหาความขัดแย้งหรือการใช้ความรุนแรงจากการดื่มภายในครอบครัว 47.5% ซึ่งเกือบครึ่งเป็นการทำร้ายร่างกาย
“ผลการรณรงค์งดเหล้าเข้าพรรษาในปี 2557 ถือว่าประสบความสำเร็จมากกว่าปีก่อน โดยผู้ดื่มมีการเปลี่ยนพฤติกรรมในช่วงเข้าพรรษา 83.4% โดยเลิก-งดดื่มตลอดช่วงเข้าพรรษา 39.4% งดดื่มเป็นบางช่วง 23.2% ไม่งดดื่มแต่ลดปริมาณการดื่ม 20.8% สูงกว่าปี 2556 ที่พบว่า ผู้เลิกดื่มตลอดเข้าพรรษาอยู่ที่ 36.2% ลดปริมาณการดื่ม 19.1% และงดดื่มบางช่วง 13.5% โดย 92% เห็นด้วยกับการรณรงค์นี้ เพราะมีส่วนช่วยให้ลดปริมาณการดื่มและผู้ดื่มได้จริง ที่สำคัญคือ ปี 2557 คนงดและลดการดื่มเพิ่มขึ้น ทั้งที่เห็นสื่อรณรงค์ลดลง” นายสุริยัน กล่าว
ดร.นพพล วิทย์วรพงศ์ รักษาการ ผอ.ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา กล่าวว่า ปี 2557 มีประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไป ดื่มแอลกอฮอล์ประมาณ 20 ล้านคน มีค่าใช้จ่ายในการดื่มเฉลี่ย 486 บาทต่อครั้ง เฉลี่ยคนละ 2,304 บาทต่อเดือน จากการรณรงค์งดเหล้าเข้าพรรษาปี 2557 มีประชาชนเกือบ 17 ล้านคน เปลี่ยนพฤติกรรมการดื่ม จำนวนนี้เกือบ 8 ล้านคน งดดื่มตลอดช่วงเข้าพรรษา และเกือบ 9 ล้านคน ลดการดื่ม โดยกลุ่มคนงดดื่ม - ลดดื่ม ระบุว่า ประหยัดเงินได้ตลอดช่วงเข้าพรรษาเฉลี่ยคนละ 1,455 บาท เมื่อประมาณการณ์ระดับประเทศจะเท่ากับประหยัดได้กว่า 24,557 ล้านบาท
“จากการทดลองคำนวณการลดความถี่ในการดื่มลง พบว่า กลุ่มงดเหล้าตลอดพรรษา ประหยัดเงิน เฉลี่ยคนละ 6,912 บาท และกลุ่มลดการดื่ม ประหยัดเงินเฉลี่ยคนละ 2,538 บาท หรือเท่ากับจำนวนเงินที่ประหยัดได้ทั้งประเทศเพิ่มขึ้นเป็น 77,712 ล้านบาท ทำให้ประหยัดต้นทุนทางสังคม ทั้งทางตรง เช่น ค่ารักษาพยาบาล ความเสียหายของทรัพย์สินที่เกิดจากอุบัติเหตุ และทางอ้อม เช่น การสูญเสียความสามารถหรือประสิทธิภาพในการทำงาน การสูญเสียชีวิต เป็นต้น” ดร.นพพล กล่าว
นายสงกรานต์ ภาคโชคดี ผอ.สคล. กล่าวว่า การงดเหล้าเข้าพรรษาทำให้หลายครอบครัวได้เงินค่าเหล้ากลับคืนมา และถูกนำไปใช้กับสินค้าอื่น เท่ากับเป็นการกระจายรายได้ไปสู่ทุกภาคส่วน เท่ากับทำให้ครอบครัวมีเงินไว้จับจ่ายใช้สอยสิ่งที่เป็นประโยชน์ ได้กินได้ใช้ทั้งครอบครัว ที่สำคัญคือ พอไม่กินเหล้า ทำให้มีเวลาในชีวิตมากขึ้น และคืนกลับมาให้ครอบครัว เป็นจุดเริ่มต้นของความเข้มแข็งทางสังคมที่แท้จริง
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่