สสส.- สคล.จัดกิจกรรม “เชียร์ งดเหล้าให้ครบพรรษา” เฟ้นหาคนต้นแบบตั้งใจงดเหล้า 20 ครอบครัว ร่วมเสริมพลังใจงดเหล้าให้ครบพรรษา พบบางส่วนกลับใจตบะแตกหันไปดื่มซ้ำ ด้าน “ศูนย์ปรึกษาปัญหาสุรา 1413” เผยคอทองแดงแห่ขอรับคำปรึกษางดเหล้าเพิ่มกว่า 70% ชี้ปัจจัยเลิกดื่มไม่สำเร็จ เพราะเพื่อนชวน-ถูกท้าทาย
วันนี้ (18 ส.ค.) ที่หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ (สวนโมกข์) สำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า (สคล.) มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดกิจกรรม “เชียร์ งดเหล้าให้ครบพรรษา” ตอนครบพรรษาพลิกชีวิต พร้อมคัดบุคคลที่ตั้งใจงดเหล้ากว่า 20 ครอบครัว เข้าร่วมกิจกรรม เสริมพลังใจงดเหล้าให้ครบพรรษา ด้วยกิจกรรม 3 ฐานเรียนรู้ เพื่อก้าวผ่านครบพรรษา และเปิดตัวเพลงปลุกใจ “ยาวิเศษเลิกเหล้าให้ครบพรรษา” โดยเนื้อหาส่วนใหญ่เน้นสร้างกำลังใจให้คนที่ต้องการงดดื่ม 3 เดือน พร้อมให้ปรึกษา โทร.1413
ภก.สงกรานต์ ภาคโชคดี ผู้อำนวยการสำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า (สคล.) กล่าวว่า สำหรับกิจกรรมที่จัดขึ้นในวันนี้เพื่อร่วม ช่วย ชม ให้กำลังใจคนที่ตั้งใจจะงดเหล้าให้ครบพรรษา 3 เดือน และชูครอบครัวต้นแบบกว่า 20 ครอบครัว ตั้งใจเป็นตัวอย่างในการงดดื่มได้ตลอด 3 เดือน แต่ที่ยังน่าห่วงคือ กิจกรรมงดเหล้าครบพรรษาผ่านมาแล้ว 1 เดือน พบว่า มีบางส่วนเปลี่ยนใจไม่สามารถงดเหล้าได้ต่อเนื่องไปจนครบ 3 เดือนได้ เนื่องจากยังไม่พร้อมและถูกเพื่อนชวนดื่ม ทั้งนี้ จากผลสำรวจการรณรงค์ “งดเหล้าเข้าพรรษาปี 2556” ที่ผ่านมา พบว่า มีผู้ร่วมงด/ลดเหล้าเข้าพรรษาเกือบ 60% สัดส่วนของผู้ที่งดดื่มตลอดเทศกาลเข้าพรรษาเพิ่มขึ้นเล็กน้อย เมื่อเทียบกับปี 2555 โดยขึ้นมาเป็น 36% จาก 33% แต่ทั้งนี้มีถึง 31% ที่ดื่มไม่แตกต่างจากช่วงก่อนเข้าพรรษา ตัวช่วยสำคัญที่ทำให้งดหรือลดการดื่มในช่วงเข้าพรรษาได้ คือ ตัวผู้ดื่มเอง เพื่อสุขภาพ และครอบครัว
ภก.สงกรานต์ กล่าวว่า ผลการสำรวจพบว่า เกือบ 60% เคยคิดที่จะเลิกดื่มตลอดชีวิต ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งส่วนใหญ่เห็นด้วยอย่างยิ่งต่อการรณรงค์งดเหล้าเข้าพรรษา และยังเห็นด้วยว่าการรณรงค์ในระยะเวลา 3 เดือน สามารถทำให้ประเทศไทยลดปริมาณการดื่มและจำนวนคนที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ลงได้ โดย 40% เห็นว่า การรณรงค์นี้มีส่วนกระตุ้นให้งดดื่มฯได้มาก ขณะที่ 60% คิดว่าการเลิกดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในช่วงเข้าพรรษาช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้ค่อนข้างมาก ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา เคยประเมินมูลค่าจากการประหยัดเงินค่าน้ำเมาช่วงเข้าพรรษาทั้งหมดได้ 2-3 หมื่นล้านบาท โดยพบว่าตัวอย่างที่เคยดื่มและเลิกดื่มแล้ว ได้ระบุถึงผลดีคือ นำเงินไปใช้จ่ายในสิ่งที่จำเป็นได้มากขึ้น การจับจ่ายใช้สอยในครอบครัวดีขึ้นไม่ฝืดเคือง และมีเงินเหลือเก็บมากขึ้นกว่าเดิม มีความสุขทั้งครอบครัวดีกว่าใช้เงินครอบครัวไปเมาคนเดียว
นายธวัชชัย กุศล รองหัวหน้าศูนย์ปรึกษาปัญหาสุรา 1413 กล่าวว่า ตั้งแต่ต้นปี 2557 ในช่วงเวลาปกติแต่ละเดือนจะมีผู้โทร.มาขอคำปรึกษาในการเลิกเหล้าเฉลี่ยเดือนละ 300 ราย และในช่วงเข้าพรรษา เฉลี่ยเดือนละ 1,000 ราย เป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง อายุเฉลี่ย 30 ปีขึ้นไป จากการดำเนินงานพบว่า ญาติหรือผู้ใกล้ชิด 30% โทร.เข้ามาขอคำปรึกษา และ 70% จะเป็นผู้ที่มีปัญหาติดสุราโทร.เข้ามา ซึ่งคำถามส่วนมากคืออยากเลิกสุราจะต้องทำอย่างไร หากมีอาการหงุดหงิดควรทำอย่างไร และวิธีการเลิกดื่มสุราให้ปลอดภัยทำอย่างไร
“นอกจากนี้ ยังพบว่า กลุ่มเยาวชนที่มีอายุน้อยมีแนวโน้มการดื่มเพิ่มมากขึ้น จึงเสี่ยงที่จะติดสุราเรื้อรังในอนาคต ที่ผ่านมา ทางศูนย์ฯมีกรณีตัวอย่างที่นักศึกษามหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งมีอาการติดสุราอย่างรุนแรง จนไม่สามารถเรียนหนังสือได้ ทั้งๆที่มีอายุเพียง 19 ปี ขณะที่เพศหญิงพบว่า ใน 5,000 คน จะมีอาการติดสุรา 30 คน” นายธวัชชัย กล่าว
นายธวัชชัย กล่าวว่า ส่วนคนที่ไม่สามารถเลิกดื่มได้สำเร็จ มีด้วยกัน 2 ปัจจัย คือ 1. กลุ่มที่มีความตั้งใจ แต่เมื่อทำไม่สำเร็จจะท้อ แล้วเขาจะไม่รู้ว่าตัวเองมีปัญหาด้านการติดสุรา จึงมีความเชื่อแค่ งดดื่มเพื่อให้ร่างกายได้พักผ่อน 2. เมื่อหยุดได้สักระยะหนึ่ง จะเกิดภาวะเพื่อนชวน ท้าทาย จากงานวิจัยพบว่า ในช่วง 3 เดือนแรกควรหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้น เพราะผู้ที่ติดสุราจะมีโอกาสกลับไปดื่มได้ง่ายที่สุด จึงขอเรียกร้องกับเพื่อนนักดื่ม อย่าชวนคนที่กำลังงดเหล้าเข้าพรรษา นอกจากบาปแล้ว ยังทำลายความตั้งใจดีของเพื่อน จะให้ดีควรงดดื่มฯตามเพื่อนมากกว่า ส่วนการให้คำปรึกษา ทางศูนย์ฯเน้นให้บริการทั้งในเชิงรุกและเชิงรับ คือ นอกจากจะให้คำปรึกษาแล้ว ทางศูนย์ฯจะมีการติดตามสอบถามผู้ขอคำปรึกษาทุก 1 เดือน 3 เดือน และ 12 เดือน ทั้งนี้ เราต้องทำความเข้าใจกับผู้ที่ต้องการเลิกดื่มด้วยว่า อาการติดสุราสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน โดยจะต้องทำการฟื้นฟูทั้งทางร่างกายและจิตใจตามแนวทางทางการแพทย์
นายวินัย กระชวยชื่น ผู้ที่ดื่มสุรามามากกว่า 20 ปี กล่าวว่า เป็นเวลากว่า 20 ปีแล้วที่ดื่มสุราทุกวันหลังเลิกงาน จะดื่มกับเพื่อนๆ หรือแม้แต่ดื่มคนเดียวก็ต้องได้ดื่มทุกวัน เสียเงินค่าสุราวันละ 500 บาทขึ้นไป ผลที่ตามมา คือ เงินทองในครอบครัวไม่พอใช้ ต้องเป็นหนี้นอกระบบ ตนและภรรยาก็มีเรื่องทะเลาะเบาะแว้งกันบ่อยครั้ง สำหรับสาเหตุที่ทำให้หันมางดเหล้าเข้าพรรษา คือ ครอบครัว เพราะช่วงเวลาที่ตนดื่มเหล้าทุกเย็น ทำให้ไม่มีเวลาคุยกับลูกและภรรยาเกิดความห่างเหินกัน ไม่ได้ใส่ใจครอบครัว จึงใช้ช่วงเข้าพรรษามาเป็นเหตุในการงดดื่ม ช่วงแรกมีอาการหงุดหงิดใช้วิธีแก้อาการอยากดื่มคือพาลูกและภรรยา ไปเที่ยวทานอาหาร เช่น การทานหมูกระทะ ทำให้ตนได้ใกล้ชิดครอบครัวมากขึ้น มีเงินเหลือมากขึ้น เพราะค่าอาหารอย่างไรก็ถูกกว่าค่าสุรา ทุกครั้งที่อยากดื่ม จะหากิจกรรมต่างๆ ที่ทำร่วมกับครอบครัว
“บอกได้เลยว่าครอบครัว คือ กำลังใจที่ดีทีสุดในการงดเหล้าให้ครบพรรษา เราได้พร้อมหน้าพ่อแม่ลูก ครอบครัวได้ใกล้ชิดกันมากขึ้นมีเงินเหลือเก็บไม่ต้องเป็นหนี้เป็นสินใคร” นายวินัยกล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (18 ส.ค.) ที่หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ (สวนโมกข์) สำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า (สคล.) มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดกิจกรรม “เชียร์ งดเหล้าให้ครบพรรษา” ตอนครบพรรษาพลิกชีวิต พร้อมคัดบุคคลที่ตั้งใจงดเหล้ากว่า 20 ครอบครัว เข้าร่วมกิจกรรม เสริมพลังใจงดเหล้าให้ครบพรรษา ด้วยกิจกรรม 3 ฐานเรียนรู้ เพื่อก้าวผ่านครบพรรษา และเปิดตัวเพลงปลุกใจ “ยาวิเศษเลิกเหล้าให้ครบพรรษา” โดยเนื้อหาส่วนใหญ่เน้นสร้างกำลังใจให้คนที่ต้องการงดดื่ม 3 เดือน พร้อมให้ปรึกษา โทร.1413
ภก.สงกรานต์ ภาคโชคดี ผู้อำนวยการสำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า (สคล.) กล่าวว่า สำหรับกิจกรรมที่จัดขึ้นในวันนี้เพื่อร่วม ช่วย ชม ให้กำลังใจคนที่ตั้งใจจะงดเหล้าให้ครบพรรษา 3 เดือน และชูครอบครัวต้นแบบกว่า 20 ครอบครัว ตั้งใจเป็นตัวอย่างในการงดดื่มได้ตลอด 3 เดือน แต่ที่ยังน่าห่วงคือ กิจกรรมงดเหล้าครบพรรษาผ่านมาแล้ว 1 เดือน พบว่า มีบางส่วนเปลี่ยนใจไม่สามารถงดเหล้าได้ต่อเนื่องไปจนครบ 3 เดือนได้ เนื่องจากยังไม่พร้อมและถูกเพื่อนชวนดื่ม ทั้งนี้ จากผลสำรวจการรณรงค์ “งดเหล้าเข้าพรรษาปี 2556” ที่ผ่านมา พบว่า มีผู้ร่วมงด/ลดเหล้าเข้าพรรษาเกือบ 60% สัดส่วนของผู้ที่งดดื่มตลอดเทศกาลเข้าพรรษาเพิ่มขึ้นเล็กน้อย เมื่อเทียบกับปี 2555 โดยขึ้นมาเป็น 36% จาก 33% แต่ทั้งนี้มีถึง 31% ที่ดื่มไม่แตกต่างจากช่วงก่อนเข้าพรรษา ตัวช่วยสำคัญที่ทำให้งดหรือลดการดื่มในช่วงเข้าพรรษาได้ คือ ตัวผู้ดื่มเอง เพื่อสุขภาพ และครอบครัว
ภก.สงกรานต์ กล่าวว่า ผลการสำรวจพบว่า เกือบ 60% เคยคิดที่จะเลิกดื่มตลอดชีวิต ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งส่วนใหญ่เห็นด้วยอย่างยิ่งต่อการรณรงค์งดเหล้าเข้าพรรษา และยังเห็นด้วยว่าการรณรงค์ในระยะเวลา 3 เดือน สามารถทำให้ประเทศไทยลดปริมาณการดื่มและจำนวนคนที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ลงได้ โดย 40% เห็นว่า การรณรงค์นี้มีส่วนกระตุ้นให้งดดื่มฯได้มาก ขณะที่ 60% คิดว่าการเลิกดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในช่วงเข้าพรรษาช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้ค่อนข้างมาก ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา เคยประเมินมูลค่าจากการประหยัดเงินค่าน้ำเมาช่วงเข้าพรรษาทั้งหมดได้ 2-3 หมื่นล้านบาท โดยพบว่าตัวอย่างที่เคยดื่มและเลิกดื่มแล้ว ได้ระบุถึงผลดีคือ นำเงินไปใช้จ่ายในสิ่งที่จำเป็นได้มากขึ้น การจับจ่ายใช้สอยในครอบครัวดีขึ้นไม่ฝืดเคือง และมีเงินเหลือเก็บมากขึ้นกว่าเดิม มีความสุขทั้งครอบครัวดีกว่าใช้เงินครอบครัวไปเมาคนเดียว
นายธวัชชัย กุศล รองหัวหน้าศูนย์ปรึกษาปัญหาสุรา 1413 กล่าวว่า ตั้งแต่ต้นปี 2557 ในช่วงเวลาปกติแต่ละเดือนจะมีผู้โทร.มาขอคำปรึกษาในการเลิกเหล้าเฉลี่ยเดือนละ 300 ราย และในช่วงเข้าพรรษา เฉลี่ยเดือนละ 1,000 ราย เป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง อายุเฉลี่ย 30 ปีขึ้นไป จากการดำเนินงานพบว่า ญาติหรือผู้ใกล้ชิด 30% โทร.เข้ามาขอคำปรึกษา และ 70% จะเป็นผู้ที่มีปัญหาติดสุราโทร.เข้ามา ซึ่งคำถามส่วนมากคืออยากเลิกสุราจะต้องทำอย่างไร หากมีอาการหงุดหงิดควรทำอย่างไร และวิธีการเลิกดื่มสุราให้ปลอดภัยทำอย่างไร
“นอกจากนี้ ยังพบว่า กลุ่มเยาวชนที่มีอายุน้อยมีแนวโน้มการดื่มเพิ่มมากขึ้น จึงเสี่ยงที่จะติดสุราเรื้อรังในอนาคต ที่ผ่านมา ทางศูนย์ฯมีกรณีตัวอย่างที่นักศึกษามหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งมีอาการติดสุราอย่างรุนแรง จนไม่สามารถเรียนหนังสือได้ ทั้งๆที่มีอายุเพียง 19 ปี ขณะที่เพศหญิงพบว่า ใน 5,000 คน จะมีอาการติดสุรา 30 คน” นายธวัชชัย กล่าว
นายธวัชชัย กล่าวว่า ส่วนคนที่ไม่สามารถเลิกดื่มได้สำเร็จ มีด้วยกัน 2 ปัจจัย คือ 1. กลุ่มที่มีความตั้งใจ แต่เมื่อทำไม่สำเร็จจะท้อ แล้วเขาจะไม่รู้ว่าตัวเองมีปัญหาด้านการติดสุรา จึงมีความเชื่อแค่ งดดื่มเพื่อให้ร่างกายได้พักผ่อน 2. เมื่อหยุดได้สักระยะหนึ่ง จะเกิดภาวะเพื่อนชวน ท้าทาย จากงานวิจัยพบว่า ในช่วง 3 เดือนแรกควรหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้น เพราะผู้ที่ติดสุราจะมีโอกาสกลับไปดื่มได้ง่ายที่สุด จึงขอเรียกร้องกับเพื่อนนักดื่ม อย่าชวนคนที่กำลังงดเหล้าเข้าพรรษา นอกจากบาปแล้ว ยังทำลายความตั้งใจดีของเพื่อน จะให้ดีควรงดดื่มฯตามเพื่อนมากกว่า ส่วนการให้คำปรึกษา ทางศูนย์ฯเน้นให้บริการทั้งในเชิงรุกและเชิงรับ คือ นอกจากจะให้คำปรึกษาแล้ว ทางศูนย์ฯจะมีการติดตามสอบถามผู้ขอคำปรึกษาทุก 1 เดือน 3 เดือน และ 12 เดือน ทั้งนี้ เราต้องทำความเข้าใจกับผู้ที่ต้องการเลิกดื่มด้วยว่า อาการติดสุราสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน โดยจะต้องทำการฟื้นฟูทั้งทางร่างกายและจิตใจตามแนวทางทางการแพทย์
นายวินัย กระชวยชื่น ผู้ที่ดื่มสุรามามากกว่า 20 ปี กล่าวว่า เป็นเวลากว่า 20 ปีแล้วที่ดื่มสุราทุกวันหลังเลิกงาน จะดื่มกับเพื่อนๆ หรือแม้แต่ดื่มคนเดียวก็ต้องได้ดื่มทุกวัน เสียเงินค่าสุราวันละ 500 บาทขึ้นไป ผลที่ตามมา คือ เงินทองในครอบครัวไม่พอใช้ ต้องเป็นหนี้นอกระบบ ตนและภรรยาก็มีเรื่องทะเลาะเบาะแว้งกันบ่อยครั้ง สำหรับสาเหตุที่ทำให้หันมางดเหล้าเข้าพรรษา คือ ครอบครัว เพราะช่วงเวลาที่ตนดื่มเหล้าทุกเย็น ทำให้ไม่มีเวลาคุยกับลูกและภรรยาเกิดความห่างเหินกัน ไม่ได้ใส่ใจครอบครัว จึงใช้ช่วงเข้าพรรษามาเป็นเหตุในการงดดื่ม ช่วงแรกมีอาการหงุดหงิดใช้วิธีแก้อาการอยากดื่มคือพาลูกและภรรยา ไปเที่ยวทานอาหาร เช่น การทานหมูกระทะ ทำให้ตนได้ใกล้ชิดครอบครัวมากขึ้น มีเงินเหลือมากขึ้น เพราะค่าอาหารอย่างไรก็ถูกกว่าค่าสุรา ทุกครั้งที่อยากดื่ม จะหากิจกรรมต่างๆ ที่ทำร่วมกับครอบครัว
“บอกได้เลยว่าครอบครัว คือ กำลังใจที่ดีทีสุดในการงดเหล้าให้ครบพรรษา เราได้พร้อมหน้าพ่อแม่ลูก ครอบครัวได้ใกล้ชิดกันมากขึ้นมีเงินเหลือเก็บไม่ต้องเป็นหนี้เป็นสินใคร” นายวินัยกล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่