เปิดใจผู้รับพระราชทานรางวัล “สมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล” ด้าน “หมอมะกัน” ผู้กวาดล้างโรคฝีดาษ เผย 10 ปีทำได้สำเร็จ กับคณะทำงานเพียง 10 คน แนะแก้ปัญหาอีโบลาอย่าตื่นตระหนก ขณะที่ “นักวิจัยญี่ปุ่น” ผู้ค้นพบยาลดไขมัน ภูมิใจช่วยผู้ป่วยได้มากกว่า 40 ล้านคนทั่วโลก
วันนี้ (27 ม.ค.) เมื่อเวลา 09.30 น. ผู้รับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประจำปี 2557 ประกอบด้วย ศ.อากิระ เอ็นโด คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยีโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น และ ศ.นพ.โดนัลด์ เอ. เฮนเดอร์สัน ศูนย์ความมั่นคงด้านสุขภาพ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพิตต์สเบิร์ก และคณบดีเกียรติคุณ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยจอห์นส์ฮอปกินส์ สหรัฐอเมริกา เดินทางมายังโรงพยาบาลศิริราช เพื่อถวายบังคมพระราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก และ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี พร้อมถวายแจกันดอกไม้และลงนามถวายพระพรพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จากนั้น เยี่ยมชมห้องสมเด็จพระบรมราชชนก ณ ตึกสยามินทร์ ชั้น 2 โดยมี ศ.นพ.ประสิทธิ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล พร้อมคณะผู้บริหารให้การต้อนรับ
ต่อมา เมื่อเวลา 10.45 น. ณ ห้องจุฬาภรณ์ ตึกสยามินทร์ ชั้น 2 ผู้รับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล เปิดโอกาสให้สื่อมวลชนสัมภาษณ์ถึงผลงานที่ได้รับรางวัล โดย ศ.นพ.โดนัลด์ เอ. เฮนเดอร์สัน ผู้ได่รับรางวัลพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล สาขาการสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ถึงผลงานการกวาดล้างโรคไข้ทรพิษ หรือ ฝีดาษ (Smallpox) ให้หมดไปจากโลกได้สำเร็จ ว่า โรคฝีดาษพบมาตั้งแต่ 3,500 ปีก่อน และมีการแพร่ระบาดเป็นระยะ มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก มีผู้ป่วยปีละไม่ต่ำกว่า 10 ล้านคน ถือเป็นปัญหาสาธารณสุขระดับโลก แม้จะมีการค้นคว้าวัคซีนป้องกันได้ แต่ก็ยังไม่ประสบความสำเร็จในการควบคุมโรค จนเมื่อปี ค.ศ. 1958 - 1959 องค์การอนามัยโลก (WHO) มีแนวคิดที่จะทำให้โรคนี้หมดไป โดยตนได้รับเชิญให้มาร่วมปรึกษาหารือในการวางแผนกำจัดโรคนี้ และดำรงตำแหน่งหัวหน้าคณะแพทย์ในโครงการกวาดล้างโรคไข้ทรพิษ
“ในตอนแรกการลงเสียงอนุมัติโครงการนี้เกือบไม่ผ่าน แต่ในที่สุดก็มีการตั้งโครงการขึ้นมาได้ในปี ค.ศ. 1966 ช่วงแรกมีคณะทำงานเพียง 10 คนเท่านั้น แต่จะต้องแก้ปัญหาการป่วยปีละกว่า 10 ล้านคนใน 34 ประเทศ โดยเฉพาะแถบประเทศแอฟริกา ซึ่งผมตั้งเป้าที่จะกวาดล้างโรคนี้ให้หมดไปภายใน 10 ปี โดยการดำเนินการนั้นคือต้องสร้างความรู้ความเข้าใจ โดยเฉพาะในระดับรัฐมนตรีของแต่ละประเทศว่าโรคนี้สามารถกำจัดให้หมดไปได้ และดำเนินการให้วัคซีนแก่ประชากรทุกกลุ่มและเฝ้าติดตามอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะการให้วัคซีนรวมพื้นฐานแก่เด็กเล็ก จนในที่สุดก็สามารถกวาดล้างได้สำเร็จมีรายงานผู้ป่วยโรคผีดาษรายสุดท้ายที่ประเทศโซมาเลียในปี ค.ศ. 1977 จากนั้นรออีก 3 ปี เมื่อไม่พบผู้ป่วยรายใหม่ WHO จึงประกาศให้โรคฝีดาษถูกกวาดล้างหมดสิ้นไปจากโลก นอกจากนี้ ยังช่วยเพิ่มจำนวนเด็กทั่วโลกให้ได้รับวัคซีนครบทั้งหมดจาก 5% เพิ่มสูงเป็น 83% ด้วย” ศ.นพ.โดนัลด์ กล่าว
ด้าน ศ.อากิระ เอ็นโด ผู้รับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล สาขาการแพทย์ ให้สัมภาษณ์ถึงผลงานการคิดค้นยาลดไขมัน ว่า เมือปี ค.ศ. 1950 ได้เดินทางไปศึกษาที่นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา แล้วพบว่ามีผู้สูงอายุเป็นจำนวนมาก และส่วนใหญ่มักป่วยด้วยโรคหัวใจ ขณะที่ญี่ปุ่นในขณะนั้นยังไม่เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ แต่กลับมีอัตราการตายด้วยโรคหลอดเลือดสมองจำนวนมาก สูงกว่าการตายด้วยโรคมะเร็งถึง 3 เท่า เมื่อกลับมาญี่ปุ่นจึงคิดว่าควรจะมีการวิจัยอะไรบางอย่างที่มาช่วยลดการป่วยด้วยโรคหัวใจ ซึ่งข้อมูลในขณะนั้นทราบดีว่าคอเลสเตอรอลปริมาณสูงส่งผลให้เกิดโรคหัวใจได้ง่าย ตอนนั้นเมื่อปี ค.ศ. 1971 ตนทำงานอยู่ที่บริษัทยาในญี่ปุ่นจึงวิจัยการลดคอเลสเตอรอลเพื่อป้องกันโรคหัวใจ โดยเลือกการวิจัยในเชื้อรา เพราะยาเพนนิซิลินการวิจัยมาจากเชื้อราเช่นกัน จึงได้วิจัยเชื้อราราว 6,000 ชนิด จนปี ค.ศ. 1973 ค้นพบสารที่สามารถลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือดได้ ให้ชื่อว่า คอมแพคติน โดยมีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ เอชเอ็มจี - โคเอรีดัคเตส ซึ่งเป็นเอนไซม์สำคัญในกระบวนการสังเคราะห์คอเลสตอรอล อย่างไรก็ตาม ยังต้องมีการศึกษาอีกว่าสามารถนำไปทำยาได้หรือไม่ และมีความปลอดภัยหรือไม่
“ในปี ค.ศ. 1987 สหรัฐอเมริกาได้นำคอมแพคตินไปพัฒนาเป็นยาลดไขมันได้เป็นครั้งแรก และต่อมาทั่วโลกก็มีการศึกษาวิจัยต่อยอดในเรื่องนี้จนได้ยาในกลุ่มลดไขมัน หรือกลุ่มสแตตินอีก 7 ตัว โดยเมื่อปี ค.ศ. 1994 มีผลวิจัยชัดว่าผู้ป่วยที่ใช้ยากลุ่มสแตตินนั้นอัตราหัวใจขาดเลือด และสมองขาดเลือดลดลงอย่างชัดเจน จวบจนทุกวันนี้ทั่วโลกมีคนใช้ยากลุ่มสแตตินแล้วกว่า 40 ล้านคน สามารถช่วยชีวิตผู้ป่วยได้มากกว่า 10 ล้านคน” ศ.อากิระ กล่าวและว่า รู้สึกเป็นเกียรติและภูมิใจมากที่ได้รับพระราชทานรางวัลนี้ เพราะที่ผ่านมาเคยได้รับการเสนอชื่อมาแล้ว
ผู้สื่อข่าวถามว่า มีแนวทางหรือข้อเสนอในการควบคุมป้องกันโรคอีโบลาหรือไม่ ศ.นพ.โดนัลด์ กล่าวว่า อีโบลามีการค้นพบมานานมาก ซึ่งการระบาดคราวนี้พบว่ามีความตื่นตระหนกมากเกินไป และยังไม่เข้าใจโรคอย่างดี ทำให้ไม่มีการเตรียมแผนและความพร้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเดินทางข้ามประเทศอย่างเสรีในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม ย้ำว่าไม่ควรตื่นตระหนกจนเกินเหตุ เพราะปีนี้อีโบลาอาจจะระบาด แต่ปีหน้าก็อาจเป็นโรคอื่นก็ได้ ซึ่งวงการแพทย์และสาธารณสุขต้องเตรียมพร้อมรับมือเสมอทุกโรค ไม่เฉพาะแต่อีโบลา ว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร และจะรับมืออย่างไร ซึ่งจริงๆ แล้วก็ยังมีโรคอื่นๆ ที่มีการระบาดอยู่อย่างเนืองๆ ทั้งไข้หวัดใหญ่ และโรคซาร์ส เป็นต้น
ทั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ แทนพระองค์ พระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประจำปี 2557 ในวันที่ 28 ม.ค. 2558 เวลา 17.30 น. ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (27 ม.ค.) เมื่อเวลา 09.30 น. ผู้รับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประจำปี 2557 ประกอบด้วย ศ.อากิระ เอ็นโด คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยีโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น และ ศ.นพ.โดนัลด์ เอ. เฮนเดอร์สัน ศูนย์ความมั่นคงด้านสุขภาพ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพิตต์สเบิร์ก และคณบดีเกียรติคุณ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยจอห์นส์ฮอปกินส์ สหรัฐอเมริกา เดินทางมายังโรงพยาบาลศิริราช เพื่อถวายบังคมพระราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก และ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี พร้อมถวายแจกันดอกไม้และลงนามถวายพระพรพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จากนั้น เยี่ยมชมห้องสมเด็จพระบรมราชชนก ณ ตึกสยามินทร์ ชั้น 2 โดยมี ศ.นพ.ประสิทธิ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล พร้อมคณะผู้บริหารให้การต้อนรับ
ต่อมา เมื่อเวลา 10.45 น. ณ ห้องจุฬาภรณ์ ตึกสยามินทร์ ชั้น 2 ผู้รับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล เปิดโอกาสให้สื่อมวลชนสัมภาษณ์ถึงผลงานที่ได้รับรางวัล โดย ศ.นพ.โดนัลด์ เอ. เฮนเดอร์สัน ผู้ได่รับรางวัลพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล สาขาการสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ถึงผลงานการกวาดล้างโรคไข้ทรพิษ หรือ ฝีดาษ (Smallpox) ให้หมดไปจากโลกได้สำเร็จ ว่า โรคฝีดาษพบมาตั้งแต่ 3,500 ปีก่อน และมีการแพร่ระบาดเป็นระยะ มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก มีผู้ป่วยปีละไม่ต่ำกว่า 10 ล้านคน ถือเป็นปัญหาสาธารณสุขระดับโลก แม้จะมีการค้นคว้าวัคซีนป้องกันได้ แต่ก็ยังไม่ประสบความสำเร็จในการควบคุมโรค จนเมื่อปี ค.ศ. 1958 - 1959 องค์การอนามัยโลก (WHO) มีแนวคิดที่จะทำให้โรคนี้หมดไป โดยตนได้รับเชิญให้มาร่วมปรึกษาหารือในการวางแผนกำจัดโรคนี้ และดำรงตำแหน่งหัวหน้าคณะแพทย์ในโครงการกวาดล้างโรคไข้ทรพิษ
“ในตอนแรกการลงเสียงอนุมัติโครงการนี้เกือบไม่ผ่าน แต่ในที่สุดก็มีการตั้งโครงการขึ้นมาได้ในปี ค.ศ. 1966 ช่วงแรกมีคณะทำงานเพียง 10 คนเท่านั้น แต่จะต้องแก้ปัญหาการป่วยปีละกว่า 10 ล้านคนใน 34 ประเทศ โดยเฉพาะแถบประเทศแอฟริกา ซึ่งผมตั้งเป้าที่จะกวาดล้างโรคนี้ให้หมดไปภายใน 10 ปี โดยการดำเนินการนั้นคือต้องสร้างความรู้ความเข้าใจ โดยเฉพาะในระดับรัฐมนตรีของแต่ละประเทศว่าโรคนี้สามารถกำจัดให้หมดไปได้ และดำเนินการให้วัคซีนแก่ประชากรทุกกลุ่มและเฝ้าติดตามอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะการให้วัคซีนรวมพื้นฐานแก่เด็กเล็ก จนในที่สุดก็สามารถกวาดล้างได้สำเร็จมีรายงานผู้ป่วยโรคผีดาษรายสุดท้ายที่ประเทศโซมาเลียในปี ค.ศ. 1977 จากนั้นรออีก 3 ปี เมื่อไม่พบผู้ป่วยรายใหม่ WHO จึงประกาศให้โรคฝีดาษถูกกวาดล้างหมดสิ้นไปจากโลก นอกจากนี้ ยังช่วยเพิ่มจำนวนเด็กทั่วโลกให้ได้รับวัคซีนครบทั้งหมดจาก 5% เพิ่มสูงเป็น 83% ด้วย” ศ.นพ.โดนัลด์ กล่าว
ด้าน ศ.อากิระ เอ็นโด ผู้รับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล สาขาการแพทย์ ให้สัมภาษณ์ถึงผลงานการคิดค้นยาลดไขมัน ว่า เมือปี ค.ศ. 1950 ได้เดินทางไปศึกษาที่นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา แล้วพบว่ามีผู้สูงอายุเป็นจำนวนมาก และส่วนใหญ่มักป่วยด้วยโรคหัวใจ ขณะที่ญี่ปุ่นในขณะนั้นยังไม่เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ แต่กลับมีอัตราการตายด้วยโรคหลอดเลือดสมองจำนวนมาก สูงกว่าการตายด้วยโรคมะเร็งถึง 3 เท่า เมื่อกลับมาญี่ปุ่นจึงคิดว่าควรจะมีการวิจัยอะไรบางอย่างที่มาช่วยลดการป่วยด้วยโรคหัวใจ ซึ่งข้อมูลในขณะนั้นทราบดีว่าคอเลสเตอรอลปริมาณสูงส่งผลให้เกิดโรคหัวใจได้ง่าย ตอนนั้นเมื่อปี ค.ศ. 1971 ตนทำงานอยู่ที่บริษัทยาในญี่ปุ่นจึงวิจัยการลดคอเลสเตอรอลเพื่อป้องกันโรคหัวใจ โดยเลือกการวิจัยในเชื้อรา เพราะยาเพนนิซิลินการวิจัยมาจากเชื้อราเช่นกัน จึงได้วิจัยเชื้อราราว 6,000 ชนิด จนปี ค.ศ. 1973 ค้นพบสารที่สามารถลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือดได้ ให้ชื่อว่า คอมแพคติน โดยมีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ เอชเอ็มจี - โคเอรีดัคเตส ซึ่งเป็นเอนไซม์สำคัญในกระบวนการสังเคราะห์คอเลสตอรอล อย่างไรก็ตาม ยังต้องมีการศึกษาอีกว่าสามารถนำไปทำยาได้หรือไม่ และมีความปลอดภัยหรือไม่
“ในปี ค.ศ. 1987 สหรัฐอเมริกาได้นำคอมแพคตินไปพัฒนาเป็นยาลดไขมันได้เป็นครั้งแรก และต่อมาทั่วโลกก็มีการศึกษาวิจัยต่อยอดในเรื่องนี้จนได้ยาในกลุ่มลดไขมัน หรือกลุ่มสแตตินอีก 7 ตัว โดยเมื่อปี ค.ศ. 1994 มีผลวิจัยชัดว่าผู้ป่วยที่ใช้ยากลุ่มสแตตินนั้นอัตราหัวใจขาดเลือด และสมองขาดเลือดลดลงอย่างชัดเจน จวบจนทุกวันนี้ทั่วโลกมีคนใช้ยากลุ่มสแตตินแล้วกว่า 40 ล้านคน สามารถช่วยชีวิตผู้ป่วยได้มากกว่า 10 ล้านคน” ศ.อากิระ กล่าวและว่า รู้สึกเป็นเกียรติและภูมิใจมากที่ได้รับพระราชทานรางวัลนี้ เพราะที่ผ่านมาเคยได้รับการเสนอชื่อมาแล้ว
ผู้สื่อข่าวถามว่า มีแนวทางหรือข้อเสนอในการควบคุมป้องกันโรคอีโบลาหรือไม่ ศ.นพ.โดนัลด์ กล่าวว่า อีโบลามีการค้นพบมานานมาก ซึ่งการระบาดคราวนี้พบว่ามีความตื่นตระหนกมากเกินไป และยังไม่เข้าใจโรคอย่างดี ทำให้ไม่มีการเตรียมแผนและความพร้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเดินทางข้ามประเทศอย่างเสรีในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม ย้ำว่าไม่ควรตื่นตระหนกจนเกินเหตุ เพราะปีนี้อีโบลาอาจจะระบาด แต่ปีหน้าก็อาจเป็นโรคอื่นก็ได้ ซึ่งวงการแพทย์และสาธารณสุขต้องเตรียมพร้อมรับมือเสมอทุกโรค ไม่เฉพาะแต่อีโบลา ว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร และจะรับมืออย่างไร ซึ่งจริงๆ แล้วก็ยังมีโรคอื่นๆ ที่มีการระบาดอยู่อย่างเนืองๆ ทั้งไข้หวัดใหญ่ และโรคซาร์ส เป็นต้น
ทั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ แทนพระองค์ พระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประจำปี 2557 ในวันที่ 28 ม.ค. 2558 เวลา 17.30 น. ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่