สสส. เตรียมสร้าง กทม. ต้นแบบเมืองสุขภาพ ผุดไอเดียสร้างทางจักรยานเลียบคลอง นำร่องศึกษา “คลองแสนแสบ” ระยะทาง 30 กิโลเมตร ก่อนแห่งแรก หวังเพิ่มพื้นที่กิจกรรมเคลื่อนไหวทางกาย เพื่อต่อรถ ต่อเรือ เชื่อจุดกระแสติดช่วยคนในพื้นที่รักษาสิ่งแวดล้อมในคลอง
ทพ.กฤษดา เรืองอารีย์รัชต์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า ทิศทางการดำเนินงานในปี 2558 ของ สสส. เรื่องหนึ่งคือ การพัฒนาสุขภาพในเขตเมือง โดยจะเริ่มนำร่องที่ กทม. ก่อนแห่งแรก เพื่อให้เป็นเมืองสุขภาพต้นแบบ ในการแก้ไขปัญหาพฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ทั้งอาหารการกินและการออกกำลังกาย เนื่องจากไลฟ์สไตล์ของคนเมืองที่รีบเร่งก่อให้เกิดปัญหาดังกล่าว ทั้งการกินอาหารฟาสต์ฟูด การขาดการออกกำลังกายและการเคลื่อนไหวร่างกายที่มากพอ ทั้งที่จริงแล้วคนหันมาสนใจสุขภาพมากขึ้น ทั้งอาหารเพื่อสุขภาพและการออกกำลังกาย แต่สภาพแวดล้อมไม่เอื้ออำนวย โดยในเรื่องอาหารก็จะประสานหน่วยงานเอกชนขอความร่วมมือในการเพิ่มการทำอาหารเพื่อสุขภาพมากขึ้น
ทพ.กฤษดา กล่าวว่า สำหรับการออกกำลังกายหรือการมีกิจกรรมทางกายนั้น มีแนวคิดที่จะทำทางจักรยานเลียบคลองต่างๆ เพื่อให้เป็นพื้นที่ในการต่อรถ ต่อเรือ ช่วยให้ประชาชนหันมามีกิจกรรมทางกายมากขึ้น ซึ่งพื้นที่ กทม.เองก็ขึ้นชื่อว่าเป็นเมืองที่มีคลองมาก หากสามารถสร้างทางจักรยานเลียบคลองต่างๆ ได้ก็จะช่วยเพิ่มพื้นที่ให้คนหันมาเคลื่อนไหวร่างกายมากขึ้น โดยไม่ต้องไปเบียดบังพื้นที่ริมถนน โดยเส้นทางแรกๆ ที่ สสส. เตรียมจะลงพื้นที่ไปศึกษาคือ คลองแสนแสบ ระยะทางประมาณ 30 กิโลเมตร อย่างไรก็ตาม ข้อกังวลเรื่องคลองต่างๆ สิ่งแวดล้อมไม่ดี น้ำสกปรก และมีกลิ่นนั้น เชื่อว่าหากสามารถพัฒนาให้เป็นทางจักรยานที่มีคนหันมาใช้มากขึ้น เพื่อเลี่ยงการจราจรติดขัดในเมือง คนในพื้นที่ก็จะเกิดการปรับตัวและพัฒนาสิ่งแวดล้อมบริเวณคลองให้กลับมาใส สะอาดได้
“ขณะนี้อยู่ระหว่างการลงไปศึกษาเส้นทางคลองแสนแสบอยู่ ซึ่งการจะสร้างเส้นทางจักรยานเลียบคลองนั้นจะต้องประสานกับ กทม. เป็นหน่วยงานเจ้าภาพในการดำเนินการและใช้งบประมาณในการสร้างทางจักรยาน โดยอาจจะสร้างพื้นที่ขยายออกมาอีกประมาณครึ่งเมตร และทำสะพานข้ามคลองในจุดต่างๆ” ผู้จัดการ สสส. กล่าวและว่า ทั้งนี้ กทม. มีแม่น้ำเจ้าพระยาตัดผ่าน และมีลำคลองต่างๆ กระจายตัวเป็นจำนวนมาก หลายพื้นที่มีการทำทางเดิน ทางจักรยานไว้บ้างแล้ว ขาดก็แต่การดีไซน์เพื่อเชื่อมโยงพื้นที่เหล่านี้เข้าด้วยกัน ซึ่งคงต้องใช้เวลาในการศึกษาเพื่อจัดการในเรื่องเหล่านี้
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
ทพ.กฤษดา เรืองอารีย์รัชต์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า ทิศทางการดำเนินงานในปี 2558 ของ สสส. เรื่องหนึ่งคือ การพัฒนาสุขภาพในเขตเมือง โดยจะเริ่มนำร่องที่ กทม. ก่อนแห่งแรก เพื่อให้เป็นเมืองสุขภาพต้นแบบ ในการแก้ไขปัญหาพฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ทั้งอาหารการกินและการออกกำลังกาย เนื่องจากไลฟ์สไตล์ของคนเมืองที่รีบเร่งก่อให้เกิดปัญหาดังกล่าว ทั้งการกินอาหารฟาสต์ฟูด การขาดการออกกำลังกายและการเคลื่อนไหวร่างกายที่มากพอ ทั้งที่จริงแล้วคนหันมาสนใจสุขภาพมากขึ้น ทั้งอาหารเพื่อสุขภาพและการออกกำลังกาย แต่สภาพแวดล้อมไม่เอื้ออำนวย โดยในเรื่องอาหารก็จะประสานหน่วยงานเอกชนขอความร่วมมือในการเพิ่มการทำอาหารเพื่อสุขภาพมากขึ้น
ทพ.กฤษดา กล่าวว่า สำหรับการออกกำลังกายหรือการมีกิจกรรมทางกายนั้น มีแนวคิดที่จะทำทางจักรยานเลียบคลองต่างๆ เพื่อให้เป็นพื้นที่ในการต่อรถ ต่อเรือ ช่วยให้ประชาชนหันมามีกิจกรรมทางกายมากขึ้น ซึ่งพื้นที่ กทม.เองก็ขึ้นชื่อว่าเป็นเมืองที่มีคลองมาก หากสามารถสร้างทางจักรยานเลียบคลองต่างๆ ได้ก็จะช่วยเพิ่มพื้นที่ให้คนหันมาเคลื่อนไหวร่างกายมากขึ้น โดยไม่ต้องไปเบียดบังพื้นที่ริมถนน โดยเส้นทางแรกๆ ที่ สสส. เตรียมจะลงพื้นที่ไปศึกษาคือ คลองแสนแสบ ระยะทางประมาณ 30 กิโลเมตร อย่างไรก็ตาม ข้อกังวลเรื่องคลองต่างๆ สิ่งแวดล้อมไม่ดี น้ำสกปรก และมีกลิ่นนั้น เชื่อว่าหากสามารถพัฒนาให้เป็นทางจักรยานที่มีคนหันมาใช้มากขึ้น เพื่อเลี่ยงการจราจรติดขัดในเมือง คนในพื้นที่ก็จะเกิดการปรับตัวและพัฒนาสิ่งแวดล้อมบริเวณคลองให้กลับมาใส สะอาดได้
“ขณะนี้อยู่ระหว่างการลงไปศึกษาเส้นทางคลองแสนแสบอยู่ ซึ่งการจะสร้างเส้นทางจักรยานเลียบคลองนั้นจะต้องประสานกับ กทม. เป็นหน่วยงานเจ้าภาพในการดำเนินการและใช้งบประมาณในการสร้างทางจักรยาน โดยอาจจะสร้างพื้นที่ขยายออกมาอีกประมาณครึ่งเมตร และทำสะพานข้ามคลองในจุดต่างๆ” ผู้จัดการ สสส. กล่าวและว่า ทั้งนี้ กทม. มีแม่น้ำเจ้าพระยาตัดผ่าน และมีลำคลองต่างๆ กระจายตัวเป็นจำนวนมาก หลายพื้นที่มีการทำทางเดิน ทางจักรยานไว้บ้างแล้ว ขาดก็แต่การดีไซน์เพื่อเชื่อมโยงพื้นที่เหล่านี้เข้าด้วยกัน ซึ่งคงต้องใช้เวลาในการศึกษาเพื่อจัดการในเรื่องเหล่านี้
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่