รก. อธิการบดี มม. ระบุกรณี สจล. เกิดจากระบบตรวจสอบหย่อนยาน เผยในส่วนมหิดล วางระบบรัดกุม จ้างบริษัทภายนอกที่น่าเชื่อถือมาดูแล ทั้งให้มีการสรุปรายงานการดำเนินการทุกวัน ชี้แม้ มหา’ลัย ออกนอกระบบ ไม่เกี่ยวที่ทำให้ถูกโกงง่าย เพราะการดำเนินงานยังต้องอิงราชการ
วันนี้ (15 ม.ค.) ศ.คลินิก นพ.อุดม คชินทร รักษาการอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล (มม.) กล่าวถึงมาตรการการตรวจสอบระบบการเงินของ มม. สืบเนื่องจากกรณีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ถูกยักยอกเงินจำนวนกว่า 1,600 ล้านบาท ว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่และไม่น่าเชื่อว่ามหาวิทยาลัยจะถูกโกงเงินคงคลังหายไปครึ่งหนึ่ง ส่วนหนึ่งน่าจะเป็นปัญหาในเรื่องของการตรวจสอบที่อาจจะหย่อนยาน และมองว่าเรื่องที่เกิดขึ้นน่าจะทำเป็นกระบวนการไม่สามารถทำคนเดียวได้ หรือทำเฉพาะเจ้าหน้าที่การคลัง กับเจ้าหน้าที่ธนาคาร คงไม่ได้ หรือผู้บริหารมีส่วนเกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ในส่วนของ มม. ได้วางระบบดูแลการเงินการบัญชีค่อนข้างรัดกุม ไม่ได้ให้เจ้าหน้าที่การคลังเป็นผู้ทำธุรกรรมต่างๆ แต่มีการจ้างบริษัทภายนอกที่น่าเชื่อถือเป็นตัวกลางในการดูแลระบบการเงินการบัญชีของมหาวิทยาลัย และกำหนดให้ต้องรายงานและนำหลักฐานมารายงานผู้บริหารทุกวัน เช่นเดียวกับของโรงพยาบาลศิริราช ซึ่งเป็นองค์กรใหญ่ตนได้วางระบบให้มีการตรวจนับเงินทุกวัน โดยตั้งกรรมการขึ้นมา 3 คน ได้แก่ เจ้าหน้าที่การคลัง 1 คน และเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานอื่นๆ 2 คน ซึ่งในส่วนของหน่วยงานอื่นจะสลับหมุนเวียนกัน จากนั้นจะต้องสรุปรายงานเสนอให้ตนรับทราบทุกวันด้วย ซึ่งเราไม่ได้มอบให้การคลังรับผิดชอบเพียงคนเดียวแต่ให้ทุกคนต้องเข้ามามีส่วนร่วม
ผู้สื่อข่าวถามว่า มีความจำเป็นหรือไม่ที่มหาวิทยาลัยต้องนำเงินไปฝากธนาคารต่างๆ ที่ได้ดอกเบี้ยสูง ศ.คลินิก นพ.อุดม กล่าวว่า มีความจำเป็น เพราะมหาวิทยาลัยไม่ได้มีรายได้พิเศษ ดังนั้น การที่มหาวิทยาลัยนำเงินไปฝากธนาคารที่มีโปรโมชันดี ก็เป็นการเพิ่มรายได้ให้มหาวิทยาลัยได้มาก หรือหากจะนำไปลงทุนซื้อพันธบัตรก็สามารถทำได้ เพราะตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยทำได้ แต่จะมีข้อกำหนดไว้ชัดว่าต้องลงทุนในบริษัทที่มีความมั่นคงและทำได้กี่เปอร์เซ็นต์ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ไม่เกี่ยวว่ามหาวิทยาลัยเปลี่ยนสถานะเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ หรือ ออกนอกระบบ จึงทำให้เกิดปัญหาการโกงได้ง่าย เพราะแม้เป็นออกนอกระบบ ก็ยังต้องอิงระเบียบราชการ ซึ่งหากใครต้องการจะโกงก็ทำทั้งนั้นซึ่งก็คงไม่มีใครต้องการให้เกิดขึ้น ซึ่งเรื่องที่เกิดขึ้นกับ สจล. ไม่ได้อยู่ที่คนโกง แต่อยู่ที่ระบบการตรวจสอบที่ไม่ดี ซึ่งถ้ามีการตรวจสอบที่ดีจะไม่เกิดปัญหาเหล่านี้
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (15 ม.ค.) ศ.คลินิก นพ.อุดม คชินทร รักษาการอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล (มม.) กล่าวถึงมาตรการการตรวจสอบระบบการเงินของ มม. สืบเนื่องจากกรณีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ถูกยักยอกเงินจำนวนกว่า 1,600 ล้านบาท ว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่และไม่น่าเชื่อว่ามหาวิทยาลัยจะถูกโกงเงินคงคลังหายไปครึ่งหนึ่ง ส่วนหนึ่งน่าจะเป็นปัญหาในเรื่องของการตรวจสอบที่อาจจะหย่อนยาน และมองว่าเรื่องที่เกิดขึ้นน่าจะทำเป็นกระบวนการไม่สามารถทำคนเดียวได้ หรือทำเฉพาะเจ้าหน้าที่การคลัง กับเจ้าหน้าที่ธนาคาร คงไม่ได้ หรือผู้บริหารมีส่วนเกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ในส่วนของ มม. ได้วางระบบดูแลการเงินการบัญชีค่อนข้างรัดกุม ไม่ได้ให้เจ้าหน้าที่การคลังเป็นผู้ทำธุรกรรมต่างๆ แต่มีการจ้างบริษัทภายนอกที่น่าเชื่อถือเป็นตัวกลางในการดูแลระบบการเงินการบัญชีของมหาวิทยาลัย และกำหนดให้ต้องรายงานและนำหลักฐานมารายงานผู้บริหารทุกวัน เช่นเดียวกับของโรงพยาบาลศิริราช ซึ่งเป็นองค์กรใหญ่ตนได้วางระบบให้มีการตรวจนับเงินทุกวัน โดยตั้งกรรมการขึ้นมา 3 คน ได้แก่ เจ้าหน้าที่การคลัง 1 คน และเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานอื่นๆ 2 คน ซึ่งในส่วนของหน่วยงานอื่นจะสลับหมุนเวียนกัน จากนั้นจะต้องสรุปรายงานเสนอให้ตนรับทราบทุกวันด้วย ซึ่งเราไม่ได้มอบให้การคลังรับผิดชอบเพียงคนเดียวแต่ให้ทุกคนต้องเข้ามามีส่วนร่วม
ผู้สื่อข่าวถามว่า มีความจำเป็นหรือไม่ที่มหาวิทยาลัยต้องนำเงินไปฝากธนาคารต่างๆ ที่ได้ดอกเบี้ยสูง ศ.คลินิก นพ.อุดม กล่าวว่า มีความจำเป็น เพราะมหาวิทยาลัยไม่ได้มีรายได้พิเศษ ดังนั้น การที่มหาวิทยาลัยนำเงินไปฝากธนาคารที่มีโปรโมชันดี ก็เป็นการเพิ่มรายได้ให้มหาวิทยาลัยได้มาก หรือหากจะนำไปลงทุนซื้อพันธบัตรก็สามารถทำได้ เพราะตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยทำได้ แต่จะมีข้อกำหนดไว้ชัดว่าต้องลงทุนในบริษัทที่มีความมั่นคงและทำได้กี่เปอร์เซ็นต์ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ไม่เกี่ยวว่ามหาวิทยาลัยเปลี่ยนสถานะเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ หรือ ออกนอกระบบ จึงทำให้เกิดปัญหาการโกงได้ง่าย เพราะแม้เป็นออกนอกระบบ ก็ยังต้องอิงระเบียบราชการ ซึ่งหากใครต้องการจะโกงก็ทำทั้งนั้นซึ่งก็คงไม่มีใครต้องการให้เกิดขึ้น ซึ่งเรื่องที่เกิดขึ้นกับ สจล. ไม่ได้อยู่ที่คนโกง แต่อยู่ที่ระบบการตรวจสอบที่ไม่ดี ซึ่งถ้ามีการตรวจสอบที่ดีจะไม่เกิดปัญหาเหล่านี้
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่