เผยชื่อ “ประสิทธิ์ - ประดิษฐ์” แคนดิเดตชิงเก้าอี้คณบดีคณะแพทย์ ศิริราช “หมออุดม” ยัน 21 ม.ค. นี้ รู้ชัดตัวจริงเป็นใคร ระบุสเปกคณบดีคณะแพทย์รอบรู้งานบริหารและทุ่มเทให้งานเต็มร้อย เพราะศิริราชเป็นองค์กรใหญ่ แจงการบริหารมหา’ลัย เน้นเดินหน้าเชิงยุทธศาสตร์ทีมบริหารและสภา มม. วางนโยบายร่วมกัน และสร้างเครือข่ายทำงานร่วมกับภาคส่วนอื่นๆ ผลิตบัณฑิตที่ออกไปทำประโยชน์เพื่อสังคมอย่างแท้จริง เตรียมเดินหน้าปรับระบบการเรียนรู้ของบัณฑิตใหม่ ไม่เน้นระบบการเลกเชอร์เพื่อให้อาจารย์มีเวลากับ นศ. มากขึ้น
วันนี้ (15 ม.ค.) ศ.คลินิก นพ.อุดม คชินทร รักษาการอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล (มม.) และคณบดีคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล เปิดเผยว่า ตามที่สภามหาวิทยาลัยได้ตั้งคณะกรรมการสรรหาคณบดีคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล โดยมี ศ.นพ.ประเวศ วะสี ในฐานะผู้ทรงคุณวุฒิในสภา มม. เป็นประธาน แทนตน ที่ได้ยื่นใบลาออกจากตำแหน่งคณบดีคณะแพทย์ ซึ่งจะมีผลวันที่ 22 มกราคมนี้ ซึ่งขณะนี้หน่วยงานต่างๆ ได้เสนอชื่อผู้เหมาะสมดำรงตำแหน่งมาจำนวนหนึ่ง และได้มีการหย่อนบัตรลงคะแนนเสียงจากข้าราชการ และพนักงานคณะแพทย์ทั้ง 3 สาย ประกอบด้วย สายอาจารย์ ซึ่งต้องเป็นอาจารย์มาเกิน 1 ปี สายวิชาชีพ และสายสนับสนุน ซึ่งต้องมีอายุงานเกิน 5 ปี โดยผู้ที่ได้รับคะแนนสูงสุด และเป็นแคนดิเดตที่จะเข้ารับการสรรหาเป็นคณบดีคณะแพทย์ จำนวน 2 ราย คือ ศ.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา รองคณบดีคณะแพทย์ และผู้อำนวยการโรงเรียนแพทย์ศิริราช และรศ.นพ.ประดิษฐ์ ปัญจวีณิน ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์
ศ.คลินิก นพ.อุดม กล่าวต่อว่า จากนี้จะมีการสุ่มสัมภาษณ์ข้าราชการทุกระดับตั้งแต่ผู้บริหารไปถึงระดับล่างในวันที่ 19 - 20 มกราคม จากนั้นวันที่ 21มกราคมในช่วงเช้าจะสัมภาษณ์แคนดิเดตทั้ง 2 รายก่อนพิจารณาคัดเลือกบุคคลที่เหมาะสมก่อนเวลา 12.00 น.เพื่อที่นำรายงานต่อที่ประชุมสภา มม. ในเวลา 13.00 น. ของวันเดียวกัน ซึ่งคณบดีคณะแพทย์คนใหม่ จะเริ่มทำงานทันทีในวันที่ 22 มกราคม ทั้งนี้ ส่วนตัวเห็นว่าคุณสมบัติที่สำคัญของผู้ที่จะมาเป็นคณบดีคณะแพทย์คนใหม่ จะต้องมีความรอบรู้ด้านงานบริหาร ที่สำคัญ ต้องมีความพร้อมทุ่มเทกับการทำงาน 100% เพราะศิริราชถือเป็นองค์กรใหญ่ ที่ดูแลบุคลากรถึง 1.6 หมื่นคน งบประมาณอีกกว่า 1.7 หมื่นล้านบาท
รักษาการอธิการบดี มม. กล่าวต่อว่า ในส่วนของการบริหารงานในฐานะ อธิการบดี มม. นั้น จะต้องดูแนวโน้มการพัฒนาอุดมศึกษา ให้ได้มาตรฐานเดียวกับสังคมโลก ที่สำคัญต้องผลิตบัณฑิตที่จบออกไปทำประโยชน์ให้สังคม โดยเฉพาะปัจจุบัน ตนเห็นว่าบัณฑิตส่วนใหญ่ยังไม่สามารถเป็นปัญญาของแผ่นดินได้ ตามปณิธานของมหาวิทยาลัยอย่างแท้จริง จึงต้องปรับระบบการเรียนรู้ ที่จะทำให้นักศึกษา คิดวิเคราะห์ ประเมิน พัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อให้สังคมนำไปใช้ในการต่อยอด แก้ปัญหาด้านต่างๆ ได้โดยจะปรับการเรียนในรูปแบบเลกเชอร์ให้น้อยลง ให้อาจารย์มีเวลาสื่อสารกับนักศึกษามากขึ้น และใช้เทคโนโลยีมาเป็นประโยชน์ในเรื่องที่เกี่ยวกับเนื้อหาสาระ อาทิ เอกสารการเรียน เพื่อให้นักศึกษาอ่านล่วงหน้า ถึงเวลาเรียนก็มาร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกับอาจารย์ โดยเรื่องนี้ต้องทำความเข้าใจกับอาจารย์เพื่อจะได้ปรับเปลี่ยนกระบวนการคิด เพราะส่วนใหญ่ยังยึดติดกับการสอนในรูปแบบเดิมๆ
“จากนี้จะเดินหน้าทำงานเชิงยุทธศาสตร์มากขึ้น ฝ่ายบริหาร และ สภา มม. จะต้องร่วมวางนโยบายไปด้วยกัน รวมถึงต้องสร้างเครือข่ายการทำงานร่วมกับผู้อื่น ซึ่งไม่ใช่แค่มหาวิทยาลัยเท่านั้น รวมถึงภาอุตสาหกรรมที่ต้องการความร่วมจากมหาวิทยาลัยในการพัฒนานวัตกรรม ที่สำคัญ จะเริ่มวางรากฐานสอนให้นักศึกษา คิดนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อทำประโยชน์ให้สังคมมากขึ้น สร้างบัณฑิตที่เก่ง รู้ทั้งลึกและกว้าง มีคุณธรรมจริยธรรม สามารถตัดสินใจเลือกทำในสิ่งที่ถูกต้องได้”ศ.คลินิก นพ.อุดม กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (15 ม.ค.) ศ.คลินิก นพ.อุดม คชินทร รักษาการอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล (มม.) และคณบดีคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล เปิดเผยว่า ตามที่สภามหาวิทยาลัยได้ตั้งคณะกรรมการสรรหาคณบดีคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล โดยมี ศ.นพ.ประเวศ วะสี ในฐานะผู้ทรงคุณวุฒิในสภา มม. เป็นประธาน แทนตน ที่ได้ยื่นใบลาออกจากตำแหน่งคณบดีคณะแพทย์ ซึ่งจะมีผลวันที่ 22 มกราคมนี้ ซึ่งขณะนี้หน่วยงานต่างๆ ได้เสนอชื่อผู้เหมาะสมดำรงตำแหน่งมาจำนวนหนึ่ง และได้มีการหย่อนบัตรลงคะแนนเสียงจากข้าราชการ และพนักงานคณะแพทย์ทั้ง 3 สาย ประกอบด้วย สายอาจารย์ ซึ่งต้องเป็นอาจารย์มาเกิน 1 ปี สายวิชาชีพ และสายสนับสนุน ซึ่งต้องมีอายุงานเกิน 5 ปี โดยผู้ที่ได้รับคะแนนสูงสุด และเป็นแคนดิเดตที่จะเข้ารับการสรรหาเป็นคณบดีคณะแพทย์ จำนวน 2 ราย คือ ศ.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา รองคณบดีคณะแพทย์ และผู้อำนวยการโรงเรียนแพทย์ศิริราช และรศ.นพ.ประดิษฐ์ ปัญจวีณิน ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์
ศ.คลินิก นพ.อุดม กล่าวต่อว่า จากนี้จะมีการสุ่มสัมภาษณ์ข้าราชการทุกระดับตั้งแต่ผู้บริหารไปถึงระดับล่างในวันที่ 19 - 20 มกราคม จากนั้นวันที่ 21มกราคมในช่วงเช้าจะสัมภาษณ์แคนดิเดตทั้ง 2 รายก่อนพิจารณาคัดเลือกบุคคลที่เหมาะสมก่อนเวลา 12.00 น.เพื่อที่นำรายงานต่อที่ประชุมสภา มม. ในเวลา 13.00 น. ของวันเดียวกัน ซึ่งคณบดีคณะแพทย์คนใหม่ จะเริ่มทำงานทันทีในวันที่ 22 มกราคม ทั้งนี้ ส่วนตัวเห็นว่าคุณสมบัติที่สำคัญของผู้ที่จะมาเป็นคณบดีคณะแพทย์คนใหม่ จะต้องมีความรอบรู้ด้านงานบริหาร ที่สำคัญ ต้องมีความพร้อมทุ่มเทกับการทำงาน 100% เพราะศิริราชถือเป็นองค์กรใหญ่ ที่ดูแลบุคลากรถึง 1.6 หมื่นคน งบประมาณอีกกว่า 1.7 หมื่นล้านบาท
รักษาการอธิการบดี มม. กล่าวต่อว่า ในส่วนของการบริหารงานในฐานะ อธิการบดี มม. นั้น จะต้องดูแนวโน้มการพัฒนาอุดมศึกษา ให้ได้มาตรฐานเดียวกับสังคมโลก ที่สำคัญต้องผลิตบัณฑิตที่จบออกไปทำประโยชน์ให้สังคม โดยเฉพาะปัจจุบัน ตนเห็นว่าบัณฑิตส่วนใหญ่ยังไม่สามารถเป็นปัญญาของแผ่นดินได้ ตามปณิธานของมหาวิทยาลัยอย่างแท้จริง จึงต้องปรับระบบการเรียนรู้ ที่จะทำให้นักศึกษา คิดวิเคราะห์ ประเมิน พัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อให้สังคมนำไปใช้ในการต่อยอด แก้ปัญหาด้านต่างๆ ได้โดยจะปรับการเรียนในรูปแบบเลกเชอร์ให้น้อยลง ให้อาจารย์มีเวลาสื่อสารกับนักศึกษามากขึ้น และใช้เทคโนโลยีมาเป็นประโยชน์ในเรื่องที่เกี่ยวกับเนื้อหาสาระ อาทิ เอกสารการเรียน เพื่อให้นักศึกษาอ่านล่วงหน้า ถึงเวลาเรียนก็มาร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกับอาจารย์ โดยเรื่องนี้ต้องทำความเข้าใจกับอาจารย์เพื่อจะได้ปรับเปลี่ยนกระบวนการคิด เพราะส่วนใหญ่ยังยึดติดกับการสอนในรูปแบบเดิมๆ
“จากนี้จะเดินหน้าทำงานเชิงยุทธศาสตร์มากขึ้น ฝ่ายบริหาร และ สภา มม. จะต้องร่วมวางนโยบายไปด้วยกัน รวมถึงต้องสร้างเครือข่ายการทำงานร่วมกับผู้อื่น ซึ่งไม่ใช่แค่มหาวิทยาลัยเท่านั้น รวมถึงภาอุตสาหกรรมที่ต้องการความร่วมจากมหาวิทยาลัยในการพัฒนานวัตกรรม ที่สำคัญ จะเริ่มวางรากฐานสอนให้นักศึกษา คิดนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อทำประโยชน์ให้สังคมมากขึ้น สร้างบัณฑิตที่เก่ง รู้ทั้งลึกและกว้าง มีคุณธรรมจริยธรรม สามารถตัดสินใจเลือกทำในสิ่งที่ถูกต้องได้”ศ.คลินิก นพ.อุดม กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่