ศิริราชสะดุดวิจัยยาชีววัตถุรักษาอีโบลาต่อในสัตว์และคนไม่ได้ในไทย ต้องไปทำที่สหรัฐฯ เหตุไร้ห้องแล็บชีวนิรภัยระดับ 4 หนุนสร้างอย่างน้อย 1 แห่งในไทยเพื่อความมั่นคง ขณะที่กรมวิทย์เผยโครงการสร้างแล็บดังกล่าวไม่คืบ จ่อคุยรายละเอียดหลัง “หมอรัชตะ” เดินสายมอบนโยบาย กรมควบคุมโรคระบุควรสร้างหรือไม่ ต้องรอ คกก. อีไอดีชาติฟันธง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า แม้คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล จะประสบความสำเร็จสามารถผลิตแอนติบอดี หรือยาชีววัตถุในการรักษาโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลาได้ในระดับห้องทดลอง แต่ยังต้องรอการทดสอบในระดับสัตว์ทดลองและในมนุษย์ ซึ่งจะต้องดำเนินการในห้องปฏิบัติการชีวนิรภัยระดับ 4 ซึ่งมีความปลอดภัยสูงสุดนั้น แต่ไม่สามารถดำเนินการได้ เนื่องจากประเทศไทยมีเพียงห้องชีวนิรภัยระดับสุงสุดคือเพียง ระดับ 3 เท่านั้น จึงต้องนำไปทดสอบที่ห้องปฏิบัติการชีวนิรภัยระดับ 4 ที่สหรัฐอเมริกา โดยล่าสุดองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ขอทำการทดสอบประสิทธิภาพด้วย หากพบว่าได้ผลดีจริง จะนำไปใช้รักษาในคน โดยลดขั้นตอนการทดลองในสัตว์และในคนทันที
ศ.คลินิก นพ.อุดม คชินทร คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ส่วนตัวคิดว่าประเทศไทยควรที่จะสร้างห้องปฏิบัติการชีวนิรภัยระดับ 4 อย่างน้อย 1 แห่ง โดยอาจจะให้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เป็นหน่วยงานหลักในการทำสร้าง เพื่อเป็นศูนย์กลางของประเทศ จึงอยากให้รัฐบาลหันมาสนใจเรื่องนี้ให้มากขึ้น ก็จะช่วยรองรับงานวิจัยหรืองานตรวจวิเคราะห์เชื้อโรคอันตรายได้ ถือเป็นเรื่องความมั่นคงของประเทศด้วย ซึ่งการจะให้ทางศิริราชสร้างห้องปฏิบัติการชีวนิรภัยระดับ 4 ขึ้นเองนั้นคงไม่มีงบประมาณเพียงพอที่จะสร้างได้
“อย่างไรก็ตาม ศิริราชเล็งเห็นถึงความสำคัญของการตรวจวิเคราะห์เชื้อโรคอันตราย โดยเฉพาะเชื้อไวรัสอีโบลาที่กำลังระบาดหนักในประเทศแอฟริกาตะวันตก จึงได้อนุมัติงบประมาณ 12 ล้านบาท ในการซื้อเครื่องมือวินิจฉัยโรคติดเชื้อร้ายแรงระบบปิดที่สามารถทำลายเชื้อโรคได้ในตัวเองเข้ามาไว้ที่ รพ.ศิริราช 1 เครื่อง เพื่อเพิ่มความมั่นใจให้กับเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ เพราะสามารถป้องกันเชื้อโรคไม่ให้แพร่กระจาย และป้องกันการติดต่อได้ 100% คาดว่าจะมาถึงประเทศไทยภายใน 2 เดือนนี้” ศ.คลินิก นพ.อุดม กล่าว
ด้าน นพ.อภิชัย มงคล อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า ที่ผ่านมา กรมฯ ได้ทำเรื่องขออนุมัติสร้างห้องปฏิบัติการชีวนิรภัยระดับ 4 ไปยังผู้บริหาร สธ. โดยใช้งบประมาณรวม 57 ล้านบาท แบ่งเป็นการก่อสร้างอาคาร 50 ล้านบาท สำหรับอบรมเจ้าหน้าที่ให้มีความชำนาญ 2 ล้านบาท และงบบำรุงรักษา 5 ล้านบาท เพื่อประโยชน์ในการวินิจฉัยเชื้อโรคร้ายแรงอย่างเชื้อไวรัสอีโบลา และเพิ่มศักยภาพในการศึกษาวิจัยต่อยอดการป้องกันรักษา สร้างความมั่นคงให้กับประเทศ แต่ขณะนี้ยังไม่ได้รับคำตอบกลับมาเนื่องจากว่าเป็นช่วงของการเปลี่ยนผ่านผู้บริหาร โดยขณะนี้ ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รมว.สาธารณสุข ยังอยู่ระหว่างเดินสายมอบนโยบายแก่กรมต่างๆ อยู่ หากได้เห็นงานทั้งหมดแล้ว คาดว่าหลังจากนี้จะได้มีการคุยกันในรายละเอียดมากขึ้น
ผู้สื่อข่าวสอบถามไปยัง นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) ว่าในการเสนอแผนรับมือโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา ต่อ ครม. ในวันอังคารหน้า มีในส่วนของการสร้างห้องปฏิบัติการชีวนิรภัยระดับ 4 ด้วยหรือไม่ นพ.โสภณ กล่าวว่า ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกัน เพราะในส่วนของการสร้างห้องชีวนิรภัยระดับ 4 ยังต้องรอการหารือในส่วนของคณะกรรมการอำนวยการเตรียมความพร้อม ป้องกัน และแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่แห่งชาติ (EID) เสียก่อนว่าเห็นด้วยหรือไม่อย่างไร จะให้หน่วยงานใดเป็นผู้รับผิดชอบหลักในการสร้าง เพราะมีส่วนเกี่ยวข้องกับหลายหน่วนงาน เช่น สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ไม่เพียงแต่ สธ. เท่านั้น หากคณะกรรมการอีไอดีชาติเห็นควรอย่างไร สธ. จึงค่อยดำเนินการตามมติ
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า แม้คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล จะประสบความสำเร็จสามารถผลิตแอนติบอดี หรือยาชีววัตถุในการรักษาโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลาได้ในระดับห้องทดลอง แต่ยังต้องรอการทดสอบในระดับสัตว์ทดลองและในมนุษย์ ซึ่งจะต้องดำเนินการในห้องปฏิบัติการชีวนิรภัยระดับ 4 ซึ่งมีความปลอดภัยสูงสุดนั้น แต่ไม่สามารถดำเนินการได้ เนื่องจากประเทศไทยมีเพียงห้องชีวนิรภัยระดับสุงสุดคือเพียง ระดับ 3 เท่านั้น จึงต้องนำไปทดสอบที่ห้องปฏิบัติการชีวนิรภัยระดับ 4 ที่สหรัฐอเมริกา โดยล่าสุดองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ขอทำการทดสอบประสิทธิภาพด้วย หากพบว่าได้ผลดีจริง จะนำไปใช้รักษาในคน โดยลดขั้นตอนการทดลองในสัตว์และในคนทันที
ศ.คลินิก นพ.อุดม คชินทร คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ส่วนตัวคิดว่าประเทศไทยควรที่จะสร้างห้องปฏิบัติการชีวนิรภัยระดับ 4 อย่างน้อย 1 แห่ง โดยอาจจะให้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เป็นหน่วยงานหลักในการทำสร้าง เพื่อเป็นศูนย์กลางของประเทศ จึงอยากให้รัฐบาลหันมาสนใจเรื่องนี้ให้มากขึ้น ก็จะช่วยรองรับงานวิจัยหรืองานตรวจวิเคราะห์เชื้อโรคอันตรายได้ ถือเป็นเรื่องความมั่นคงของประเทศด้วย ซึ่งการจะให้ทางศิริราชสร้างห้องปฏิบัติการชีวนิรภัยระดับ 4 ขึ้นเองนั้นคงไม่มีงบประมาณเพียงพอที่จะสร้างได้
“อย่างไรก็ตาม ศิริราชเล็งเห็นถึงความสำคัญของการตรวจวิเคราะห์เชื้อโรคอันตราย โดยเฉพาะเชื้อไวรัสอีโบลาที่กำลังระบาดหนักในประเทศแอฟริกาตะวันตก จึงได้อนุมัติงบประมาณ 12 ล้านบาท ในการซื้อเครื่องมือวินิจฉัยโรคติดเชื้อร้ายแรงระบบปิดที่สามารถทำลายเชื้อโรคได้ในตัวเองเข้ามาไว้ที่ รพ.ศิริราช 1 เครื่อง เพื่อเพิ่มความมั่นใจให้กับเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ เพราะสามารถป้องกันเชื้อโรคไม่ให้แพร่กระจาย และป้องกันการติดต่อได้ 100% คาดว่าจะมาถึงประเทศไทยภายใน 2 เดือนนี้” ศ.คลินิก นพ.อุดม กล่าว
ด้าน นพ.อภิชัย มงคล อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า ที่ผ่านมา กรมฯ ได้ทำเรื่องขออนุมัติสร้างห้องปฏิบัติการชีวนิรภัยระดับ 4 ไปยังผู้บริหาร สธ. โดยใช้งบประมาณรวม 57 ล้านบาท แบ่งเป็นการก่อสร้างอาคาร 50 ล้านบาท สำหรับอบรมเจ้าหน้าที่ให้มีความชำนาญ 2 ล้านบาท และงบบำรุงรักษา 5 ล้านบาท เพื่อประโยชน์ในการวินิจฉัยเชื้อโรคร้ายแรงอย่างเชื้อไวรัสอีโบลา และเพิ่มศักยภาพในการศึกษาวิจัยต่อยอดการป้องกันรักษา สร้างความมั่นคงให้กับประเทศ แต่ขณะนี้ยังไม่ได้รับคำตอบกลับมาเนื่องจากว่าเป็นช่วงของการเปลี่ยนผ่านผู้บริหาร โดยขณะนี้ ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รมว.สาธารณสุข ยังอยู่ระหว่างเดินสายมอบนโยบายแก่กรมต่างๆ อยู่ หากได้เห็นงานทั้งหมดแล้ว คาดว่าหลังจากนี้จะได้มีการคุยกันในรายละเอียดมากขึ้น
ผู้สื่อข่าวสอบถามไปยัง นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) ว่าในการเสนอแผนรับมือโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา ต่อ ครม. ในวันอังคารหน้า มีในส่วนของการสร้างห้องปฏิบัติการชีวนิรภัยระดับ 4 ด้วยหรือไม่ นพ.โสภณ กล่าวว่า ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกัน เพราะในส่วนของการสร้างห้องชีวนิรภัยระดับ 4 ยังต้องรอการหารือในส่วนของคณะกรรมการอำนวยการเตรียมความพร้อม ป้องกัน และแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่แห่งชาติ (EID) เสียก่อนว่าเห็นด้วยหรือไม่อย่างไร จะให้หน่วยงานใดเป็นผู้รับผิดชอบหลักในการสร้าง เพราะมีส่วนเกี่ยวข้องกับหลายหน่วนงาน เช่น สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ไม่เพียงแต่ สธ. เท่านั้น หากคณะกรรมการอีไอดีชาติเห็นควรอย่างไร สธ. จึงค่อยดำเนินการตามมติ
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่