ไทยดังไปทั่วโลก หลังศิริราชแถลงผลิตยาชีววัตถุรักษาอีโบลาได้ เผยได้รับอีเมลจากองค์การอนามัยโลกเขียนแสดงความยินดี พร้อมขอทดสอบประสิทธิภาพ ระบุหากได้ผลดีพร้อมนำไปใช้รักษาในคนทันที โดยไม่ต้องทดลองในสัตว์และในคน เตรียมรวบรวมเอกสาร ตัวอย่างแอนติบอดี และนักวิจัยร่วมพิสูจน์ที่สหรัฐฯในอีก 2 - 3 สัปดาห์
หลังจากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล แถลงความสำเร็จการผลิตแอนติบอดี ซึ่งสามารถบล็อกโปรตีนอีโบลาที่อยู่ในเซลล์ของมนุษย์ ไม่ให้เพิ่มจำนวนและแพร่กระจายออกสู่นอกเซลล์เพื่อแพร่เชื้อได้ ซึ่งประสบความสำเร็จในระดับห้องทดลอง ยังเหลือการวิจัยในสัตว์ทดลองและในคน ซึ่งสุดท้ายจะสามารถต่อยอดผลิตเป็นยาชีววัตถุในการรักษาโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลาได้นั้น
ล่าสุด วันนี้ (3 ต.ค.) ศ.คลินิก นพ.อุดม คชินทร คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยว่า ได้รับอีเมลจาก Dr.Martin Friede หัวหน้าโครงการวิจัยอีโบลา ขององค์การอนามัยโลก (WHO) โดยเขียนมาแสดงความยินดีกับความสำเร็จของไทยในการพัฒนาแอนติบอดีที่สามารถสกัดเชื้ออีโบลาได้ ซึ่งถือว่ามีประโยชน์ และสามารถเปลี่ยนแปลงการรักษาเชื้ออีโบลาได้ จึงอยากจะขอทำการพิสูจน์ไวรัสอีโบลาสังเคราะห์ที่ศิริราชพยาบาลสร้างขึ้นกับเชื้อไวรัสจริงในห้องปฏิบัติการชีวนิรภัยระดับ 4 ในสหรัฐอเมริกา และแอนติบอดีที่ศิริราชผลิตขึ้น หากทดสอบแล้วพบว่ามีประสิทธิภาพดี ก็จะนำไปสู่การพัฒนารักษาเชื้ออีโบลาไวรัสในคนได้ทันที โดยลดขั้นตอนการทดสอบในสัตว์และคนได้ ทั้งนี้ คาดว่าจะทำเรื่องรวบรวมเอกสารที่จำเป็น ตัวอย่างของแอนติบอดี และนักวิจัยของไทยบางส่วนไปร่วมทดสอบในสหรัฐอเมริกาด้วย ภายใน 2 - 3 สัปดาห์หน้า
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
หลังจากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล แถลงความสำเร็จการผลิตแอนติบอดี ซึ่งสามารถบล็อกโปรตีนอีโบลาที่อยู่ในเซลล์ของมนุษย์ ไม่ให้เพิ่มจำนวนและแพร่กระจายออกสู่นอกเซลล์เพื่อแพร่เชื้อได้ ซึ่งประสบความสำเร็จในระดับห้องทดลอง ยังเหลือการวิจัยในสัตว์ทดลองและในคน ซึ่งสุดท้ายจะสามารถต่อยอดผลิตเป็นยาชีววัตถุในการรักษาโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลาได้นั้น
ล่าสุด วันนี้ (3 ต.ค.) ศ.คลินิก นพ.อุดม คชินทร คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยว่า ได้รับอีเมลจาก Dr.Martin Friede หัวหน้าโครงการวิจัยอีโบลา ขององค์การอนามัยโลก (WHO) โดยเขียนมาแสดงความยินดีกับความสำเร็จของไทยในการพัฒนาแอนติบอดีที่สามารถสกัดเชื้ออีโบลาได้ ซึ่งถือว่ามีประโยชน์ และสามารถเปลี่ยนแปลงการรักษาเชื้ออีโบลาได้ จึงอยากจะขอทำการพิสูจน์ไวรัสอีโบลาสังเคราะห์ที่ศิริราชพยาบาลสร้างขึ้นกับเชื้อไวรัสจริงในห้องปฏิบัติการชีวนิรภัยระดับ 4 ในสหรัฐอเมริกา และแอนติบอดีที่ศิริราชผลิตขึ้น หากทดสอบแล้วพบว่ามีประสิทธิภาพดี ก็จะนำไปสู่การพัฒนารักษาเชื้ออีโบลาไวรัสในคนได้ทันที โดยลดขั้นตอนการทดสอบในสัตว์และคนได้ ทั้งนี้ คาดว่าจะทำเรื่องรวบรวมเอกสารที่จำเป็น ตัวอย่างของแอนติบอดี และนักวิจัยของไทยบางส่วนไปร่วมทดสอบในสหรัฐอเมริกาด้วย ภายใน 2 - 3 สัปดาห์หน้า
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่