“กำจร” ระบุเงิน สจล.หาย! ถือว่าเป็นความละเลย ไม่ตรวจสอบ “สภา-ผู้บริหาร” ควรรับผิดชอบ แต่ขอเวลาศึกษา กม.ก่อนเหตุไม่มั่นใจ สจล.ออกนอกระบบ ไม่แน่ชัดมีการระบุโทษมากน้อยแค่ไหน แจงถ้าเป็นราชการถือว่ามีความผิด ชี้พูดว่าออกนอกระบบจึงถูกโกงเป็นเรื่องไม่ถูกต้อง เตือนอย่าเชื่อแค่สมุดบัญชี แต่ควรใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี เช่น เช็คระบบออนไลน์
รศ.นพ.กำจร ตติยกวี เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (เลขาธิการ กกอ.) กล่าวถึงกรณีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ตรวจสอบพบมีการยักยอกเงินคงคลัง หายไปจำนวนกว่า 1,600 ล้านบาท โดย สจล.นั้นเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ว่า กรณีการฉ้อฉลสามารถเกิดขึ้นได้ในมหาวิทยาลัยของรัฐ มหาวิทยาลัยในกำกับรัฐ หรือ มหาวิทยาลัยนอกระบบ รวมทั้งมหาวิทยาลัยเอกชน หากหน่วยงานไม่ตรวจสอบให้ละเอียด หรือละเลยการตรวจสอบ ดังนั้น จะโทษว่าการเป็นมหาวิทยาลัยนอกระบบแล้วเกิดการยักยอกทรัพย์จึงเป็นการพูดที่ไม่ถูกต้อง ที่ผ่านมาเราอาจเชื่อแค่ตัวเลขในสมุดบัญชี หรือผู้จัดการธนาคารเท่านั้น ซึ่งไม่เพียงพอ และขณะนี้เทคโนโลยีก็พัฒนามากขึ้น มหาวิทยาลัยสามารถตรวจสอบทั้งตัวเลขในสมุดบัญชี เทียบกับตัวเลขเงินที่มีอยู่จริงผ่านระบบออนไลน์ ซึ่งบุคคลทั่วไปก็ยังทำได้ มหาวิทยาลัยก็ต้องทำได้ เหตุที่เกิดขึ้นถือว่าค่อนข้างละเลย ไม่มีการตรวจสอบ การที่เงินหายไป สภามหาวิทยาลัยและผู้บริหารจึงต้องรับผิดชอบ
“หากเป็นในระบบราชการ เมื่อเกิดการยักยอกทรัพย์ขึ้น ผู้เกี่ยวข้องจะถือว่ามีความผิดฐานละเมิด เพราะไปลงนามให้มีการเบิกจ่าย และความผิดฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ เพราะละเลยการตรวจสอบ แต่กรณี สจล.ซึ่งออกนอกระบบแล้ว สภามหาวิทยาลัยและผู้บริหารของมหาวิทยาลัยนอกระบบ จะต้องรับผิดชอบมากน้อยเพียงใด ยังไม่ทราบว่าต้องขอดูข้อกฎหมายก่อน ส่วนที่อดีตผู้บริหาร สจล.ระบุว่า การโยกย้ายเงินเพื่อฝากในธนาคารที่ให้ดอกเบี้ยสูง เพื่อเป็นการให้ดอกผลงอกเงยนั้น มหาวิทยาลัยก็สามารถทำได้ แต่ก็ต้องยอมรับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นด้วย”รศ.นพ.กำจร กล่าวและว่า สกอ.ก็ไม่จำเป็นต้องเตือนมหาวิทยาลัยอื่น ๆ เพราะเท่าที่ทราบ เมื่อ สจล.เกิดเรื่องดังกล่าวขึ้น ทุกมหาวิทยาลัยก็ตรวจสอบเงินของตนเองทันที เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีคณะกรรมการการเงิน ตรวจสอบเงินทุกวัน เป็นต้น
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พรุ่งนี้ (7 ม.ค.) เวลา 10.00 น. ณ หอประชุมแคแสด สจล. ศ.ดร.โมไนย ไกรฤกษ์ รักษาการอธิการบดี สจล. จะชี้แจงและทำความเข้าใจกรณีการยักยอกเงินคงคลังของ สจล . หายไปกว่า1.6 พันล้านบาท ให้แก่คณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษา
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
รศ.นพ.กำจร ตติยกวี เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (เลขาธิการ กกอ.) กล่าวถึงกรณีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ตรวจสอบพบมีการยักยอกเงินคงคลัง หายไปจำนวนกว่า 1,600 ล้านบาท โดย สจล.นั้นเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ว่า กรณีการฉ้อฉลสามารถเกิดขึ้นได้ในมหาวิทยาลัยของรัฐ มหาวิทยาลัยในกำกับรัฐ หรือ มหาวิทยาลัยนอกระบบ รวมทั้งมหาวิทยาลัยเอกชน หากหน่วยงานไม่ตรวจสอบให้ละเอียด หรือละเลยการตรวจสอบ ดังนั้น จะโทษว่าการเป็นมหาวิทยาลัยนอกระบบแล้วเกิดการยักยอกทรัพย์จึงเป็นการพูดที่ไม่ถูกต้อง ที่ผ่านมาเราอาจเชื่อแค่ตัวเลขในสมุดบัญชี หรือผู้จัดการธนาคารเท่านั้น ซึ่งไม่เพียงพอ และขณะนี้เทคโนโลยีก็พัฒนามากขึ้น มหาวิทยาลัยสามารถตรวจสอบทั้งตัวเลขในสมุดบัญชี เทียบกับตัวเลขเงินที่มีอยู่จริงผ่านระบบออนไลน์ ซึ่งบุคคลทั่วไปก็ยังทำได้ มหาวิทยาลัยก็ต้องทำได้ เหตุที่เกิดขึ้นถือว่าค่อนข้างละเลย ไม่มีการตรวจสอบ การที่เงินหายไป สภามหาวิทยาลัยและผู้บริหารจึงต้องรับผิดชอบ
“หากเป็นในระบบราชการ เมื่อเกิดการยักยอกทรัพย์ขึ้น ผู้เกี่ยวข้องจะถือว่ามีความผิดฐานละเมิด เพราะไปลงนามให้มีการเบิกจ่าย และความผิดฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ เพราะละเลยการตรวจสอบ แต่กรณี สจล.ซึ่งออกนอกระบบแล้ว สภามหาวิทยาลัยและผู้บริหารของมหาวิทยาลัยนอกระบบ จะต้องรับผิดชอบมากน้อยเพียงใด ยังไม่ทราบว่าต้องขอดูข้อกฎหมายก่อน ส่วนที่อดีตผู้บริหาร สจล.ระบุว่า การโยกย้ายเงินเพื่อฝากในธนาคารที่ให้ดอกเบี้ยสูง เพื่อเป็นการให้ดอกผลงอกเงยนั้น มหาวิทยาลัยก็สามารถทำได้ แต่ก็ต้องยอมรับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นด้วย”รศ.นพ.กำจร กล่าวและว่า สกอ.ก็ไม่จำเป็นต้องเตือนมหาวิทยาลัยอื่น ๆ เพราะเท่าที่ทราบ เมื่อ สจล.เกิดเรื่องดังกล่าวขึ้น ทุกมหาวิทยาลัยก็ตรวจสอบเงินของตนเองทันที เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีคณะกรรมการการเงิน ตรวจสอบเงินทุกวัน เป็นต้น
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พรุ่งนี้ (7 ม.ค.) เวลา 10.00 น. ณ หอประชุมแคแสด สจล. ศ.ดร.โมไนย ไกรฤกษ์ รักษาการอธิการบดี สจล. จะชี้แจงและทำความเข้าใจกรณีการยักยอกเงินคงคลังของ สจล . หายไปกว่า1.6 พันล้านบาท ให้แก่คณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษา
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่