บอร์ดปฏิรูป ศธ. ไฟเขียวปรับบทบาทและโครงสร้าง สกศ. ทั้งเห็นพ้องควรมีซูเปอร์บอร์ด ดูแลการผลิตคนของประเทศ “ณรงค์” ย้ำยังไม่ฟันธงว่า สกศ. ต้องแยกออกจาก ศธ. ชี้ต้องฟังเสียง สปช.- สนช. เพื่อให้การปฏิรูปสอดคล้องกัน เผยตั้งเป้าปฏิรูปการศึกษาไว้ 1 ปี พร้อมนัดประชุม 20 เขต นำร่องกระจายอำนาจนัดแรกเพื่อติดตามปัญหา - อุปสรรคในการทำงาน
วันนี้ (8 ม.ค.) พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดผลการประชุมคณะอำนวยการปฏิรูปการศึกษา เมื่อเร็วๆ นี้ ว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบตามที่สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) เสนอปรับบทบาทหน้าที่และโครงสร้างของ สกศ. โดยที่ประชุมเห็นสอดคล้องกันว่าควรจะต้องมีคณะกรรมการระดับรัฐบาล มีสำนักงานขึ้นตรงกับนายกรัฐมนตรี หรือสำนักนายกรัฐมนตรี ทำหน้าที่ดูแลการจัดการศึกษาในภาพรวมของประเทศ ส่วนคณะกรรมการชุดนี้จะเข้ามาดูแลเรื่องการผลิตบุคลากรของประเทศด้วยหรือไม่นั้น ต้องหารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เนื่องจากเรื่องนี้จะเชื่อมโยงหลายหน่วยงาน ทั้งนี้ มติดังกล่าวถือเป็นข้อเสนอเฉพาะ ศธ. เท่านั้นยังไม่ใช่ข้อสรุปว่า จะแยก สกศ. ออกจาก ศธ. หรือไม่ ทั้งยังต้องฟังความคิดเห็นจากสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ด้วย ขณะเดียวกัน ในประชุมก็มีการถกเถียงในประเด็นเกี่ยวกับการกำหนดบทบาทหน้าที่ของ สกศ. ไว้ในรัฐธรรมนูญ (รธน.) นั้นมีความจำเป็นหรือไม่ เพื่อไม่ให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในอนาคต
“ที่ประชุมยังไม่มีการพูดถึงการปรับโครงสร้างในส่วนอื่นๆ อย่างไรก็ตาม การปรับโครงสร้าง ศธ. ภาพรวมทั้งหมดอาจจะต้องรับฟังความคิดเห็นจาก สปช. ด้วยว่ามีแนวคิดอย่างไรกับ เราก็มีการเตรียมการในการปรับโครงสร้างไว้บางส่วนแล้ว แต่ยังไม่ขอฟันธงว่า ศธ. จะต้องมีหน่วยงานแยกออกไป เพราะผมอยากให้การปฎิรูปการศึกษามีการทำงานสอดคล้องไปพร้อมกับการรับฟังความคิดเห็นของ สนช., สปช. และ ศธ. ด้วย เพื่อให้การขับเคลื่อนเรื่องนี้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน ไม่อยากให้ต่างคนต่างคิดหรือต่างคนต่างทำ เพราะจะทำให้การปฏิรูปการศึกษาไม่ประสบความสำเร็จได้ ซึ่งผมวางกรอบระยะเวลาว่าการทำงานเรื่องปฏิรูปการศึกษาเอาไว้ใน 1 ปี แต่หากเรื่องไหนไม่มีขั้นตอนยุ่งยากหรือเกี่ยวข้องกับกฎหมายก็สามารถดำเนินการได้ทันที” พล.ร.อ.ณรงค์ กล่าว
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ การปฏิรูปการศึกษาไม่ใช่เรื่องของการปรับโครงสร้างเพียงอย่างเดียว แต่รวมไปถึงการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน การบริหารจัดการ ก็เป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปการศึกษาเช่นเดียวกัน และการปรับโครงสร้างเป็นเรื่องใหญ่เกี่ยวข้องกับหลายหน่วยงาน ต้องปรับแก้กฎหมาย ซึ่งหลายเรื่องต้องใช้เวลา ดังนั้นการปรับโครงสร้างก็อาจไม่สำเร็จในรัฐบาลชุดนี้ก็ได้ นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้รายงานความก้าวหน้า การดำเนินโครงการปฏิรูปการเรียนรู้สู่ผู้เรียน ซึ่งเป็นโครงการการนำร่องกระจายอำนาจการบริหารจัดการใน 20 เขตพื้นที่การศึกษา โดยเริ่มดำเนินการไปแล้วตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม และในวันที่ 23 - 24 มกราคม เขตพื้นที่การศึกษาที่นำร่องกระจายอำนาจจะมีการประชุมติดตามความก้าวหน้าว่าหลังจากเริ่มโครงการนำร่องไปแล้ว ประมาณ 20 วัน พบความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นหรือไม่ หรือมีปัญหาอุปสรรคอะไรบ้าง
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (8 ม.ค.) พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดผลการประชุมคณะอำนวยการปฏิรูปการศึกษา เมื่อเร็วๆ นี้ ว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบตามที่สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) เสนอปรับบทบาทหน้าที่และโครงสร้างของ สกศ. โดยที่ประชุมเห็นสอดคล้องกันว่าควรจะต้องมีคณะกรรมการระดับรัฐบาล มีสำนักงานขึ้นตรงกับนายกรัฐมนตรี หรือสำนักนายกรัฐมนตรี ทำหน้าที่ดูแลการจัดการศึกษาในภาพรวมของประเทศ ส่วนคณะกรรมการชุดนี้จะเข้ามาดูแลเรื่องการผลิตบุคลากรของประเทศด้วยหรือไม่นั้น ต้องหารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เนื่องจากเรื่องนี้จะเชื่อมโยงหลายหน่วยงาน ทั้งนี้ มติดังกล่าวถือเป็นข้อเสนอเฉพาะ ศธ. เท่านั้นยังไม่ใช่ข้อสรุปว่า จะแยก สกศ. ออกจาก ศธ. หรือไม่ ทั้งยังต้องฟังความคิดเห็นจากสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ด้วย ขณะเดียวกัน ในประชุมก็มีการถกเถียงในประเด็นเกี่ยวกับการกำหนดบทบาทหน้าที่ของ สกศ. ไว้ในรัฐธรรมนูญ (รธน.) นั้นมีความจำเป็นหรือไม่ เพื่อไม่ให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในอนาคต
“ที่ประชุมยังไม่มีการพูดถึงการปรับโครงสร้างในส่วนอื่นๆ อย่างไรก็ตาม การปรับโครงสร้าง ศธ. ภาพรวมทั้งหมดอาจจะต้องรับฟังความคิดเห็นจาก สปช. ด้วยว่ามีแนวคิดอย่างไรกับ เราก็มีการเตรียมการในการปรับโครงสร้างไว้บางส่วนแล้ว แต่ยังไม่ขอฟันธงว่า ศธ. จะต้องมีหน่วยงานแยกออกไป เพราะผมอยากให้การปฎิรูปการศึกษามีการทำงานสอดคล้องไปพร้อมกับการรับฟังความคิดเห็นของ สนช., สปช. และ ศธ. ด้วย เพื่อให้การขับเคลื่อนเรื่องนี้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน ไม่อยากให้ต่างคนต่างคิดหรือต่างคนต่างทำ เพราะจะทำให้การปฏิรูปการศึกษาไม่ประสบความสำเร็จได้ ซึ่งผมวางกรอบระยะเวลาว่าการทำงานเรื่องปฏิรูปการศึกษาเอาไว้ใน 1 ปี แต่หากเรื่องไหนไม่มีขั้นตอนยุ่งยากหรือเกี่ยวข้องกับกฎหมายก็สามารถดำเนินการได้ทันที” พล.ร.อ.ณรงค์ กล่าว
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ การปฏิรูปการศึกษาไม่ใช่เรื่องของการปรับโครงสร้างเพียงอย่างเดียว แต่รวมไปถึงการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน การบริหารจัดการ ก็เป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปการศึกษาเช่นเดียวกัน และการปรับโครงสร้างเป็นเรื่องใหญ่เกี่ยวข้องกับหลายหน่วยงาน ต้องปรับแก้กฎหมาย ซึ่งหลายเรื่องต้องใช้เวลา ดังนั้นการปรับโครงสร้างก็อาจไม่สำเร็จในรัฐบาลชุดนี้ก็ได้ นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้รายงานความก้าวหน้า การดำเนินโครงการปฏิรูปการเรียนรู้สู่ผู้เรียน ซึ่งเป็นโครงการการนำร่องกระจายอำนาจการบริหารจัดการใน 20 เขตพื้นที่การศึกษา โดยเริ่มดำเนินการไปแล้วตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม และในวันที่ 23 - 24 มกราคม เขตพื้นที่การศึกษาที่นำร่องกระจายอำนาจจะมีการประชุมติดตามความก้าวหน้าว่าหลังจากเริ่มโครงการนำร่องไปแล้ว ประมาณ 20 วัน พบความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นหรือไม่ หรือมีปัญหาอุปสรรคอะไรบ้าง
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่