นักวิชาการจับตา พ.ร.บ.กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยฯ ก่อน โหวต สนช. ชี้ที่มาการใช้จ่ายงบต้องโปร่งใส เน้นหลักธรรมาภิบาล ตรวจสอบได้ แนะกองทุนควรมีอิสระ เข้าถึงง่ายมุ่งสร้างสังคมรู้เท่าทันสื่อ ด้านผู้นำนักศึกษาแห่เชียร์ สนช. ผ่านกฎหมายปกป้องเด็กและเยาวชน
วันนี้ (7 ม.ค.) ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวถึงกรณีที่จะมีการนำร่าง พ.ร.บ.กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์เข้าสู่การพิจารณาในที่ประชุมวาระ 2 และ 3 ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ในเร็วๆ นี้ ว่า กองทุนดังกล่าวจะเป็นกลไกทางเลือกทำให้เกิดพื้นที่สื่อดีเพิ่มขึ้นในสังคม และเอื้อต่อการพัฒนาเด็กและเยาวชน เนื่องจากขณะนี้สื่อออนไลน์โซเชียลมีเดีย และสื่อเชิงพาณิชย์มีมากขึ้น และมีเม็ดเงินมหาศาล ทำให้การเข้าถึงเป็นไปอย่างกว้างขวางในคนทุกกลุ่มทุกเวลา แม้เป็นเรื่องดีที่ทำให้ประชาชนได้รับรู้ข่าวสาร แต่กลุ่มที่น่าห่วงใยพิเศษ คือ เด็กและเยาวชน เพราะยังต้องเรียนรู้ในการบริโภคสื่อ ต้องมีทักษะรู้เท่าทันสื่อว่าข้อมูลนั้นปลอดภัยและสร้างสรรค์หรือไม่ แนวทางแก้ไขสามารถทำได้หลากหลาย ซึ่งประเทศไทยมักเคยชินกับการบล็อก หรือการเซ็นเซอร์ ซึ่งควรทำกับเฉพาะสื่อที่กระตุ้นความรุนแรง หรือมีเนื้อหาทางเพศอย่างโจ่งแจ้งมากเกินไป แต่จะไม่สามารถทำได้หมด และจะไม่มีประสิทธิภาพเลย หากผู้รับสื่อไม่มีทักษะรู้เท่าทัน หรือไม่มีสื่อที่ดีคอยช่วยเสริมให้เกิดการใช้อย่างปลอดภัยและสร้างสรรค์ เพื่อนำไปสู่การเรียนรู้ยกระดับคุณภาพชีวิตของตัวเอง
“ที่ผ่านมา การสนับสนุนสื่อโดยรัฐมักมีปัญหาเรื่องความโปร่งใส และไม่ต่อเนื่องเพราะเปลี่ยนไปตามนโยบายของผู้มีอำนาจ ทำให้สื่อดีและสร้างสรรค์ห่างหายไป ดังนั้น หากมีกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ที่มีความเป็นอิสระก็เชื่อว่าจะเป็นทางออกทางหนึ่ง ช่วยให้การผลิตสื่อดีขึ้นได้ อย่างไรก็ตาม ต้องมีกลไกเพื่อลดความเสี่ยงไม่ให้เม็ดเงินกระจุกตัว โดยต้องบริหารจัดการกองทุนอย่างโปร่งใส ตรวจสอบได้ เช่น เปิดเผยข้อมูลว่าใช้สนับสนุนเงินทุนเพื่อทำกิจกรรมใด แก่คนกลุ่มใด และทำรายงานประจำปีเสนอต่อรัฐสภา” ดร. สมเกียรติ กล่าว
นางสาวเกวลี ศรีแลง นายกองค์นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม กล่าวว่า ปัญหาเด็กเยาวชนไทย กับความไม่เท่าทันสื่อ กลายเป็นเหยื่อการโฆษณา ปัญหาเด็กติดเกม ถูกล่อลวงทางออนไลน์ รวมไปถึงปัญหาการพนันทางสื่อออนไลน์ ปัญหาเด็กติดสื่อ อยู่ในสังคมก้มหน้าที่ละเลยการปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้างแม้กระทั่งคนในครอบครัว นับวันยิ่งเพิ่มมากขึ้น กลายเป็นปัญหาที่ขาดเจ้าภาพในการจัดการอย่างจริงจัง การมีกฎหมายมีกองทุนที่มาเป็นเหมือนสารตั้งต้น สนับสนุนให้เกิดกระบวนการให้เด็กไทยเท่าทันสื่อ ถือเป็นเรื่องที่ควรมีตั้งนานแล้ว การเปิดโอกาสให้เด็กเยาวชนได้ทำกิจกรรมโดยมีงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ถือเป็นช่องทางที่ดีในการทำให้เด็กเยาวชนได้เกิดการรวมตัวกัน ทำกิจกรรม จัดกระบวนการเรียนรู้อย่างอิสระไม่ถูกครอบงำจนทำให้ไปปิดความคิดสร้างสรรค์ของเด็กและเยาวชน อย่างไรก็ตาม อยากฝากไปถึง สนช. ทุกท่านให้ช่วยกันผ่านร่าง กฎหมายฉบับนี้เพื่อเป็นของขวัญวันเด็กในปีนี้ด้วย
ด้านนางสาวนภัสนันท์ ชัยชาญ นายกสโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ กล่าวว่า พ.ร.บ.กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ควรเปิดโอกาสให้คนกลุ่มเล็กกลุ่มน้อยได้เข้าถึงได้ง่าย และไม่ควรติดระบบแบบราชการจนเกินไป ส่วนตัวเชื่อว่าถ้ามีกลไกสนับสนุนให้เด็กและเยาวชนได้เกิดการเรียนรู้ เท่าทันสื่ออย่างจริงจังจะเป็นผลดีทั้งในระยะสั้น และระยะยาว ในยุคบริโภคนิยมอย่างในปัจจุบันเด็กเยาวชนจะตกเป็นเหยื่อโดยง่ายทั้งการตลาดที่มากับสื่อในรูปแบบต่างๆ รวมไปถึงการสร้างค่านิยมผิดๆผ่านสื่อออนไลน์ต่างเป็นปัญหามากเช่นกัน
“ในโอกาสที่ สนช. กำลังจะพิจารณาผ่านกฎหมายฉบับนี้ ก็ขอให้ คำนึงถึงการปกป้องเด็กและเยาวชนเป็นสำคัญ ควรให้กองทุนมีความเป็นอิสระ และเข้าถึงได้ง่าย และขอขอบคุณรัฐบาล และ สนช. ที่กำลังจะมอบของขวัญชิ้นสำคัญให้กับเด็กและเยาวชนในช่วงต้นปีใหม่นี้” นางสาวนภัสนันท์ กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (7 ม.ค.) ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวถึงกรณีที่จะมีการนำร่าง พ.ร.บ.กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์เข้าสู่การพิจารณาในที่ประชุมวาระ 2 และ 3 ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ในเร็วๆ นี้ ว่า กองทุนดังกล่าวจะเป็นกลไกทางเลือกทำให้เกิดพื้นที่สื่อดีเพิ่มขึ้นในสังคม และเอื้อต่อการพัฒนาเด็กและเยาวชน เนื่องจากขณะนี้สื่อออนไลน์โซเชียลมีเดีย และสื่อเชิงพาณิชย์มีมากขึ้น และมีเม็ดเงินมหาศาล ทำให้การเข้าถึงเป็นไปอย่างกว้างขวางในคนทุกกลุ่มทุกเวลา แม้เป็นเรื่องดีที่ทำให้ประชาชนได้รับรู้ข่าวสาร แต่กลุ่มที่น่าห่วงใยพิเศษ คือ เด็กและเยาวชน เพราะยังต้องเรียนรู้ในการบริโภคสื่อ ต้องมีทักษะรู้เท่าทันสื่อว่าข้อมูลนั้นปลอดภัยและสร้างสรรค์หรือไม่ แนวทางแก้ไขสามารถทำได้หลากหลาย ซึ่งประเทศไทยมักเคยชินกับการบล็อก หรือการเซ็นเซอร์ ซึ่งควรทำกับเฉพาะสื่อที่กระตุ้นความรุนแรง หรือมีเนื้อหาทางเพศอย่างโจ่งแจ้งมากเกินไป แต่จะไม่สามารถทำได้หมด และจะไม่มีประสิทธิภาพเลย หากผู้รับสื่อไม่มีทักษะรู้เท่าทัน หรือไม่มีสื่อที่ดีคอยช่วยเสริมให้เกิดการใช้อย่างปลอดภัยและสร้างสรรค์ เพื่อนำไปสู่การเรียนรู้ยกระดับคุณภาพชีวิตของตัวเอง
“ที่ผ่านมา การสนับสนุนสื่อโดยรัฐมักมีปัญหาเรื่องความโปร่งใส และไม่ต่อเนื่องเพราะเปลี่ยนไปตามนโยบายของผู้มีอำนาจ ทำให้สื่อดีและสร้างสรรค์ห่างหายไป ดังนั้น หากมีกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ที่มีความเป็นอิสระก็เชื่อว่าจะเป็นทางออกทางหนึ่ง ช่วยให้การผลิตสื่อดีขึ้นได้ อย่างไรก็ตาม ต้องมีกลไกเพื่อลดความเสี่ยงไม่ให้เม็ดเงินกระจุกตัว โดยต้องบริหารจัดการกองทุนอย่างโปร่งใส ตรวจสอบได้ เช่น เปิดเผยข้อมูลว่าใช้สนับสนุนเงินทุนเพื่อทำกิจกรรมใด แก่คนกลุ่มใด และทำรายงานประจำปีเสนอต่อรัฐสภา” ดร. สมเกียรติ กล่าว
นางสาวเกวลี ศรีแลง นายกองค์นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม กล่าวว่า ปัญหาเด็กเยาวชนไทย กับความไม่เท่าทันสื่อ กลายเป็นเหยื่อการโฆษณา ปัญหาเด็กติดเกม ถูกล่อลวงทางออนไลน์ รวมไปถึงปัญหาการพนันทางสื่อออนไลน์ ปัญหาเด็กติดสื่อ อยู่ในสังคมก้มหน้าที่ละเลยการปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้างแม้กระทั่งคนในครอบครัว นับวันยิ่งเพิ่มมากขึ้น กลายเป็นปัญหาที่ขาดเจ้าภาพในการจัดการอย่างจริงจัง การมีกฎหมายมีกองทุนที่มาเป็นเหมือนสารตั้งต้น สนับสนุนให้เกิดกระบวนการให้เด็กไทยเท่าทันสื่อ ถือเป็นเรื่องที่ควรมีตั้งนานแล้ว การเปิดโอกาสให้เด็กเยาวชนได้ทำกิจกรรมโดยมีงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ถือเป็นช่องทางที่ดีในการทำให้เด็กเยาวชนได้เกิดการรวมตัวกัน ทำกิจกรรม จัดกระบวนการเรียนรู้อย่างอิสระไม่ถูกครอบงำจนทำให้ไปปิดความคิดสร้างสรรค์ของเด็กและเยาวชน อย่างไรก็ตาม อยากฝากไปถึง สนช. ทุกท่านให้ช่วยกันผ่านร่าง กฎหมายฉบับนี้เพื่อเป็นของขวัญวันเด็กในปีนี้ด้วย
ด้านนางสาวนภัสนันท์ ชัยชาญ นายกสโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ กล่าวว่า พ.ร.บ.กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ควรเปิดโอกาสให้คนกลุ่มเล็กกลุ่มน้อยได้เข้าถึงได้ง่าย และไม่ควรติดระบบแบบราชการจนเกินไป ส่วนตัวเชื่อว่าถ้ามีกลไกสนับสนุนให้เด็กและเยาวชนได้เกิดการเรียนรู้ เท่าทันสื่ออย่างจริงจังจะเป็นผลดีทั้งในระยะสั้น และระยะยาว ในยุคบริโภคนิยมอย่างในปัจจุบันเด็กเยาวชนจะตกเป็นเหยื่อโดยง่ายทั้งการตลาดที่มากับสื่อในรูปแบบต่างๆ รวมไปถึงการสร้างค่านิยมผิดๆผ่านสื่อออนไลน์ต่างเป็นปัญหามากเช่นกัน
“ในโอกาสที่ สนช. กำลังจะพิจารณาผ่านกฎหมายฉบับนี้ ก็ขอให้ คำนึงถึงการปกป้องเด็กและเยาวชนเป็นสำคัญ ควรให้กองทุนมีความเป็นอิสระ และเข้าถึงได้ง่าย และขอขอบคุณรัฐบาล และ สนช. ที่กำลังจะมอบของขวัญชิ้นสำคัญให้กับเด็กและเยาวชนในช่วงต้นปีใหม่นี้” นางสาวนภัสนันท์ กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่