“บิ๊กเต่า” ชู 4 ข้อปฏิรูปประกันสังคม เน้นมีส่วนร่วมของผู้ประกันตน ตรวจสอบได้ ด้านแรงงาน จี้ปรับเป็นองค์กรอิสระ ปรับปรุงสายด่วน 1506 สิทธิประโยชน์ นักวิชาการทีดีอาร์ไอแนะปฏิรูปทั้งระบบ เดินหน้าขยายอายุเกษียณ - เพิ่มอัตราเงินสมทบ ฐานเงินเดือน
วันนี้ (19 พ.ย.) ที่อาคารสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน พล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่ากระทรวงแรงงาน (รมว.รง.) เป็นประธานเปิดการเสวนา 25 ปี ประกันสังคมพร้อมเปลี่ยนแปลงสู่ทศวรรษหน้า ปฏิรูปกันอย่างไร? จึงจะโดนใจผู้ประกันตน ซึ่งมีผู้แทนจากแรงงาน สาขาอาชีพต่างๆ เข้าร่วมกว่า 100 คน
พล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ กล่าวว่า แนวทางการปฏิรูป สปส. มี 4 ข้อหลัก ได้แก่ ต้องเปิดเผยข้อมูลการทำงานต่อสาธารณชน, สามารถตรวจสอบได้ทุกเรื่อง และเพิ่มสิทธิให้กับผู้ประกันตน รวมทั้งต้องสำรวจความพึงพอใจจากผู้ประกันสังคมอย่างสม่ำเสมอ และต้องปฏิรูปโครงสร้างการบริหารใหม่ ทั้งนี้ ตนเองจะติดตามการปฏิรูปอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้าง สปส. ให้มีความเข้มแข็ง และโปร่งใส
ด้าน นางสาววิไลวรรณ แซ่เตีย ตัวแทนจากองค์กรด้านแรงงาน กล่าวว่า สปส. ต้องเป็นองค์กรอิสระ ในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อเกิดความคล่องตัวในการบริหารงาน และต้องเปิดกว้างให้นายจ้างและลูกจ้างจากกลุ่มต่างๆ เข้าไปมีส่วนร่วมในการบริหาร และตรวจสอบ นอกจากนี้ สปส. ต้องนำข้อมูลการประชุมของคณะกรรมการชุดต่างๆ รวมทั้งการลงทุน และผลตอบแทน เปิดเผยให้ผู้ประกันตนทราบต่อเนื่อง
นายบรรจง บุญรัตน์ ประธานสภาองค์การลูกจ้างสภาแรงงานศูนย์กลางแห่งประเทศไทย กล่าวว่า สปส. ควรปรับปรุงสิทธิประโยชน์ทำฟัน และการรักษาพยาบาล ที่วันนี้พบว่า ตามคลินิกและโรงพยาบาล ขยับค่าอุดฟัน ทำให้เงินที่ได้รับต่อปีที่ 600 บาท ไม่เพียงพอต่อการทำฟัน รวมถึงการเบิกเงินสิทธิประโยชน์กรณีว่างงาน หากลูกจ้างออกจากงานควรให้มีการเบิกใช้สิทธิได้ทันที แม้ลูกจ้างจะมีความผิดให้ออกจากงาน
ด้านนายยงยุทธ แฉล้มวงษ์ ผู้อำนวยการวิจัยการพัฒนาแรงงาน สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวว่า ควรปฏิรูป สปส. ทั้งระบบ เพื่อรองรับความมั่นคง เพราะอีก 30 ปีข้างหน้า เงินกองทุนจะหมดลง จากการจ่ายสิทธิประโยชน์กรณีชราภาพ โดยมองว่า ควรมีการขยายอายุเกษียณของผู้ประกันตน จาก 55 ปี เป็น 60 ปี, เพิ่มฐานเงินเดือนขั้นต่ำที่ต้องจ่ายเงินสมทบให้มากกว่า 1,650 บาท และขยับเพดานเงินเดือนที่เรียกเก็บออกไป ให้สูงกว่า 1 หมื่น 5 พันบาท, เพิ่มอัตราเงินสมทบที่เรียกเก็บ มากกว่า ร้อยละ 5 และต้องลงทุนต่อปี ให้ได้ผลตอบแทนเพิ่มขึ้น จากร้อยละ 6 เป็น ร้อยละ 10 นอกจากนี้ สปส. ต้องประหยัดค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ ซึ่งพบว่า มีวงเงินใช้จ่ายมากถึง 4 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 2 ของเงินกองทุน
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (19 พ.ย.) ที่อาคารสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน พล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่ากระทรวงแรงงาน (รมว.รง.) เป็นประธานเปิดการเสวนา 25 ปี ประกันสังคมพร้อมเปลี่ยนแปลงสู่ทศวรรษหน้า ปฏิรูปกันอย่างไร? จึงจะโดนใจผู้ประกันตน ซึ่งมีผู้แทนจากแรงงาน สาขาอาชีพต่างๆ เข้าร่วมกว่า 100 คน
พล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ กล่าวว่า แนวทางการปฏิรูป สปส. มี 4 ข้อหลัก ได้แก่ ต้องเปิดเผยข้อมูลการทำงานต่อสาธารณชน, สามารถตรวจสอบได้ทุกเรื่อง และเพิ่มสิทธิให้กับผู้ประกันตน รวมทั้งต้องสำรวจความพึงพอใจจากผู้ประกันสังคมอย่างสม่ำเสมอ และต้องปฏิรูปโครงสร้างการบริหารใหม่ ทั้งนี้ ตนเองจะติดตามการปฏิรูปอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้าง สปส. ให้มีความเข้มแข็ง และโปร่งใส
ด้าน นางสาววิไลวรรณ แซ่เตีย ตัวแทนจากองค์กรด้านแรงงาน กล่าวว่า สปส. ต้องเป็นองค์กรอิสระ ในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อเกิดความคล่องตัวในการบริหารงาน และต้องเปิดกว้างให้นายจ้างและลูกจ้างจากกลุ่มต่างๆ เข้าไปมีส่วนร่วมในการบริหาร และตรวจสอบ นอกจากนี้ สปส. ต้องนำข้อมูลการประชุมของคณะกรรมการชุดต่างๆ รวมทั้งการลงทุน และผลตอบแทน เปิดเผยให้ผู้ประกันตนทราบต่อเนื่อง
นายบรรจง บุญรัตน์ ประธานสภาองค์การลูกจ้างสภาแรงงานศูนย์กลางแห่งประเทศไทย กล่าวว่า สปส. ควรปรับปรุงสิทธิประโยชน์ทำฟัน และการรักษาพยาบาล ที่วันนี้พบว่า ตามคลินิกและโรงพยาบาล ขยับค่าอุดฟัน ทำให้เงินที่ได้รับต่อปีที่ 600 บาท ไม่เพียงพอต่อการทำฟัน รวมถึงการเบิกเงินสิทธิประโยชน์กรณีว่างงาน หากลูกจ้างออกจากงานควรให้มีการเบิกใช้สิทธิได้ทันที แม้ลูกจ้างจะมีความผิดให้ออกจากงาน
ด้านนายยงยุทธ แฉล้มวงษ์ ผู้อำนวยการวิจัยการพัฒนาแรงงาน สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวว่า ควรปฏิรูป สปส. ทั้งระบบ เพื่อรองรับความมั่นคง เพราะอีก 30 ปีข้างหน้า เงินกองทุนจะหมดลง จากการจ่ายสิทธิประโยชน์กรณีชราภาพ โดยมองว่า ควรมีการขยายอายุเกษียณของผู้ประกันตน จาก 55 ปี เป็น 60 ปี, เพิ่มฐานเงินเดือนขั้นต่ำที่ต้องจ่ายเงินสมทบให้มากกว่า 1,650 บาท และขยับเพดานเงินเดือนที่เรียกเก็บออกไป ให้สูงกว่า 1 หมื่น 5 พันบาท, เพิ่มอัตราเงินสมทบที่เรียกเก็บ มากกว่า ร้อยละ 5 และต้องลงทุนต่อปี ให้ได้ผลตอบแทนเพิ่มขึ้น จากร้อยละ 6 เป็น ร้อยละ 10 นอกจากนี้ สปส. ต้องประหยัดค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ ซึ่งพบว่า มีวงเงินใช้จ่ายมากถึง 4 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 2 ของเงินกองทุน
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่