xs
xsm
sm
md
lg

ไฟเขียวร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคม ฉบับแก้ไข ชี้สิทธิประโยชน์-การคุ้มครองเพิ่มขึ้น

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

 พล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ (แฟ้มภาพ)
ครม. ไฟเขียวร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคมฉบับแก้ไข  ตั้งคณะทำงานหารือเครือข่ายแรงงานนำข้อเสนอไปเพิ่มเติมในการพิจารณาร่าง กม. ชั้น กมธ.  ด้าน ปลัดก.แรงงาน แจงร่าง พ.ร.บ.เน้นเพิ่มสิทธิประโยชน์ - ขยายการคุ้มครองแก่ผู้ประกันตน

พล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน (รมว.รง.)  กล่าวถึงการแก้ไข พ.ร.บ.ประกันสังคม ว่า   ก่อนหน้านี้ ร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคมฉบับแก้ไขของกระทรวงแรงงานได้ผ่านการพิจารณาจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้ว  ซึ่งเมื่อเร็วๆ นี้ ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคมฉบับแก้ไข โดยเนื้อหาที่แก้ไขเพิ่มเติมเป็นไปตามข้อเรียกร้องของผู้ประกันตน  หลังจากนี้กระทรวงแรงงานจะนำร่าง พ.ร.บ. ฉบับดังกล่าวเสนอต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เพื่อเข้าสู่การพิจารณาในวาระแรก

รมว.แรงงาน กล่าวอีกว่า   ได้ตั้งคณะทำงานขึ้นมาเพื่อพิจารณาข้อเสนอของเครือข่ายแรงงานที่ให้มีการปฏิรูประบบประกันสังคม โดยตนได้มอบหมายให้ นายนพดล กรรณิกา ที่ปรึกษา รมว.แรงงาน เป็นหัวหน้าคณะทำงานในการหารือกับเครือข่ายแรงงานเพื่อนำข้อสรุปจากการหารือร่วมกันมาปรับเนื้อหาร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคม ให้มีความเหมาะสมมากขึ้นโดยจะนำเสนอต่อคณะกรรมาธิการ (กมธ.) พิจารณาร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคมฉบับแก้ไข

นายนคร ศิลปอาชา ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า  เนื้อหาร่างพ.ร.บ.ประกันสังคมฉบับแก้ไขของกระทรวงแรงงานจะเน้นการเพิ่มสิทธิประโยชน์และขยายการคุ้มครองผู้ประกันตน   เช่น  การขยายการคุ้มครองของระบบประกันสังคมไปสู่ลูกจ้างหน่วยงานราชการ ซึ่งเป็นลูกจ้างชั่วคราวทุกประเภท การขยายนิยามคำว่าทุพพลภาพ โดยผู้ประกันตนซึ่งสูญเสียอวัยวะถึงขั้นทุพพลภาพ จะได้รับสิทธิประโยชน์ทดแทนโดยไม่ต้องเป็นผู้ที่ทุพพลภาพโดยสิ้นเชิง กรณีผู้ประกันตนจงใจทำร้ายตนเองหรือฆ่าตัวตายซึ่งกฎหมายเดิมในมาตรา 61  จะไม่คุ้มครองกรณีดังกล่าวในร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคมฉบับแก้ไขได้กำหนดให้มีการคุ้มครองและยังคงมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีต่างๆ

นอกจากนี้  กรณีผู้ประกันตนไม่ได้ทำงานหรือนายจ้างไม่ให้ทำงาน เนื่องจากมีเหตุสุดวิสัยให้ผู้ประกันตนยังคงมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน การกำหนดให้ผู้ประกันตนซึ่งไม่มีทายาท คู่สมรส หรือญาติรับสิทธิประโยชน์บำเหน็จชราภาพแทนเมื่อเสียชีวิตสามารถทำหนังสือให้ผู้ใดก็ได้เป็นผู้รับสิทธิประโยชน์นี้แทน  รวมถึงการขยายการยื่นขอรับประโยชน์ทดแทนทุกกรณีจาก 1 ปี เป็น 2 ปี
 
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่

กำลังโหลด

อย.ทลายแหล่งผลิต-ร้านขายเครื่องสำอางปลอม

ดูบน Instagram




กำลังโหลดความคิดเห็น