รมช.สาธารณสุข เสนอตั้ง “กองทุนร่วมจ่าย” ค่ารักษาพยาบาลช่วยคนจนระบบบัตรทอง เปิดที่มาเม็ดเงินให้รัฐบาลทำตัว “โรบินฮูด” รีดคนรวยสุดในประเทศ 6 แสนคน เก็บวันละ 100 บาท คนรวยรองลงมา 6 ล้านคน วันละ 10 บาท รวมแล้วกว่า 36,000 ล้านบาท
วันนี้ (27 พ.ย.) นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงกรณีข่าวเป็นผู้เสนอให้ตั้งกองทุนร่วมจ่าย เพื่อแก้ปัญหางบรายหัวระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) บานปลาย ว่า จริงๆ แล้วในการหารือร่วมกับคณะกรรมาธิการด้านสาธารณสุข สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) และคณะกรรมการธิการปฏิรูประบบสาธารณสุข สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) เมื่อวันที่ 26 พ.ย. ที่ผ่านมา ถึงแนวทางการปฏิรูประบบสาธารณสุขไทย ซึ่งมีความห่วงใยประเด็นการเงินการคลังในระบบบัตรทองอาจไม่เพียงพอ ตนชี้แจงในที่ประชุมว่าไม่ต้องกังวล เพราะขณะนี้ค่าใช้จ่ายของไทยยังไม่มากนักเมื่อเทียบกับประเทศอื่น โดยค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพเมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติอยู่ที่ร้อยละ 4 แต่เมื่อมีความห่วงใยก็ต้องมีการเตรียมความพร้อมในการศึกษาวิธีป้องกันปัญหาการเงินการคลังในระบบสุขภาพ
“มีการศึกษาเรื่องการแก้ปัญหาการเงินการคลังในระบบสุขภาพมานาน แต่ที่สำคัญคือจะต้องไม่มีการร่วมจ่าย ณ จุดบริการ เพราะการเรียกเก็บเงินกับประชาชนจะส่งผลกระทบมาก ซึ่งรัฐบาลชุดนี้ไม่มีนโยบายนี้แน่นอน แต่ในการแก้ปัญหามีการศึกษาว่า ควรมีกองทุนร่วมจ่ายแทนประชาชนขึ้นมาในกรณีที่กังวล ว่า เงินในระบบหลักประกันสุขภาพฯ ไม่เพียงพอ โดยที่มาของกองทุนคือการเก็บเบี้ยเพิ่มในกลุ่มคนที่มีฐานะทางการเงินดีใน 2 กลุ่ม คือ 1. กลุ่มคนรวยที่สุดในประเทศ มีประมาณ 1% หรือ 6 แสนคน โดยจะขอเก็บเบี้ยคนกลุ่มนี้วันละ 100 บาท ซึ่งจะได้เบี้ยจำนวน 18,000 ล้านบาทต่อปี และ 2. กลุ่มคนฐานะทางการเงินรองลงมาอีก 6 ล้านคน เก็บวันละ 10 บาท รวมกลุ่มนี้จะได้เบี้ยอีก 18,000 ล้านบาทต่อปี รวมทั้งหมด 36,000 ล้านบาท จากประชาชนประมาณ 10% ที่มีกำลังจ่าย เป็นการเฉลี่ยทุกข์เฉลี่ยสุขเพื่อนำมาช่วยในระบบบริการสุขภาพ” รมช.สาธารณสุข กล่าว
นพ.สมศักดิ์ กล่าวว่า แนวทางดังกล่าวเป็นเพียงการศึกษาและเตรียมพร้อม หากสุดท้ายประเทศไทยต้องมีการใช้กองทุนลักษณะนี้ แต่ในเรื่องรายละเอียดการเก็บเบี้ยนั้น มีหลายคนเสนอ ทั้งอาจมาจากภาษีหุ้น หรือการขอให้จ่ายเป็นเบี้ยรายปี หากถึงขั้นนั้นอาจต้องมีกฎหมายมาบังคับใช้ เพราะหากมองตามความเป็นจริง ในกลุ่มคนรวยมีกำลังทรัพย์ในการจ่ายอยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม สำหรับทีมศึกษาเรื่องนี้ ขณะนี้มีทั้งสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข(สวรส.) สำนักงานวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักประกันสุขภาพไทย (สวปก.) สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ)
ผู้สื่อข่าวถามว่าจะเสนอกองทุนร่วมจ่ายแทนประชาชนเข้าสู่การปฏิรูปประเทศด้วยหรือไม่ นพ.สมศักดิ์ กล่าวว่า เป็นหน้าที่ของ สปช. แต่เชื่อว่าอาจมีการเสนอเข้าไป อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้จะเดินหน้าหรือไม่ก็ต้องมีการศึกษาเตรียมพร้อมไว้ก่อน เพราะทุกอย่างจะเดินหน้าได้หรือไม่อยู่ที่นโยบายด้วย
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (27 พ.ย.) นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงกรณีข่าวเป็นผู้เสนอให้ตั้งกองทุนร่วมจ่าย เพื่อแก้ปัญหางบรายหัวระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) บานปลาย ว่า จริงๆ แล้วในการหารือร่วมกับคณะกรรมาธิการด้านสาธารณสุข สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) และคณะกรรมการธิการปฏิรูประบบสาธารณสุข สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) เมื่อวันที่ 26 พ.ย. ที่ผ่านมา ถึงแนวทางการปฏิรูประบบสาธารณสุขไทย ซึ่งมีความห่วงใยประเด็นการเงินการคลังในระบบบัตรทองอาจไม่เพียงพอ ตนชี้แจงในที่ประชุมว่าไม่ต้องกังวล เพราะขณะนี้ค่าใช้จ่ายของไทยยังไม่มากนักเมื่อเทียบกับประเทศอื่น โดยค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพเมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติอยู่ที่ร้อยละ 4 แต่เมื่อมีความห่วงใยก็ต้องมีการเตรียมความพร้อมในการศึกษาวิธีป้องกันปัญหาการเงินการคลังในระบบสุขภาพ
“มีการศึกษาเรื่องการแก้ปัญหาการเงินการคลังในระบบสุขภาพมานาน แต่ที่สำคัญคือจะต้องไม่มีการร่วมจ่าย ณ จุดบริการ เพราะการเรียกเก็บเงินกับประชาชนจะส่งผลกระทบมาก ซึ่งรัฐบาลชุดนี้ไม่มีนโยบายนี้แน่นอน แต่ในการแก้ปัญหามีการศึกษาว่า ควรมีกองทุนร่วมจ่ายแทนประชาชนขึ้นมาในกรณีที่กังวล ว่า เงินในระบบหลักประกันสุขภาพฯ ไม่เพียงพอ โดยที่มาของกองทุนคือการเก็บเบี้ยเพิ่มในกลุ่มคนที่มีฐานะทางการเงินดีใน 2 กลุ่ม คือ 1. กลุ่มคนรวยที่สุดในประเทศ มีประมาณ 1% หรือ 6 แสนคน โดยจะขอเก็บเบี้ยคนกลุ่มนี้วันละ 100 บาท ซึ่งจะได้เบี้ยจำนวน 18,000 ล้านบาทต่อปี และ 2. กลุ่มคนฐานะทางการเงินรองลงมาอีก 6 ล้านคน เก็บวันละ 10 บาท รวมกลุ่มนี้จะได้เบี้ยอีก 18,000 ล้านบาทต่อปี รวมทั้งหมด 36,000 ล้านบาท จากประชาชนประมาณ 10% ที่มีกำลังจ่าย เป็นการเฉลี่ยทุกข์เฉลี่ยสุขเพื่อนำมาช่วยในระบบบริการสุขภาพ” รมช.สาธารณสุข กล่าว
นพ.สมศักดิ์ กล่าวว่า แนวทางดังกล่าวเป็นเพียงการศึกษาและเตรียมพร้อม หากสุดท้ายประเทศไทยต้องมีการใช้กองทุนลักษณะนี้ แต่ในเรื่องรายละเอียดการเก็บเบี้ยนั้น มีหลายคนเสนอ ทั้งอาจมาจากภาษีหุ้น หรือการขอให้จ่ายเป็นเบี้ยรายปี หากถึงขั้นนั้นอาจต้องมีกฎหมายมาบังคับใช้ เพราะหากมองตามความเป็นจริง ในกลุ่มคนรวยมีกำลังทรัพย์ในการจ่ายอยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม สำหรับทีมศึกษาเรื่องนี้ ขณะนี้มีทั้งสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข(สวรส.) สำนักงานวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักประกันสุขภาพไทย (สวปก.) สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ)
ผู้สื่อข่าวถามว่าจะเสนอกองทุนร่วมจ่ายแทนประชาชนเข้าสู่การปฏิรูปประเทศด้วยหรือไม่ นพ.สมศักดิ์ กล่าวว่า เป็นหน้าที่ของ สปช. แต่เชื่อว่าอาจมีการเสนอเข้าไป อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้จะเดินหน้าหรือไม่ก็ต้องมีการศึกษาเตรียมพร้อมไว้ก่อน เพราะทุกอย่างจะเดินหน้าได้หรือไม่อยู่ที่นโยบายด้วย
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่