แฉ! ประกันสังคมมั่วข้อมูล ผู้ประกันตนพอใจสิทธิประโยชน์รักษาพยาบาล ระบุเป็นการสำรวจความพอใจระบบบัตรทอง ด้าน สปสช. เผย ปชช. พอใจสิทธิประโยชน์และการบริการเพิ่มขึ้นเรื่อย แม้ต้องแลกกับความแออัด รอคิวนาน แต่ได้รับบริการดี มีมาตรฐาน ป้องกันการล้มละลาย ขณะที่นายจ้างจวกบอร์ดประกันสังคมหน้าเดิมๆ ตัดสินใจเอง ขาดการมีส่วนร่วม ปชช.
แหล่งข่าวแวดวงสาธารณสุข กล่าวถึงกรณีสำนักงานประกันสังคม (สปส.) อ้างว่า สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) สำรวจความพึงขอใจของผู้ประกันตน พบว่า กว่า 80% มีความพึงพอใจต่อสิทธิประโยชน์ในการรักษาพยาบาลของ สปส. ว่า สปสช. ไม่เคยทำการสำรวจความพึงพอใจข้ามหน่วยงาน ส่วนตัวเลข 80% ที่ สปส. ยกมาพูดนั้นคาดว่าน่าจะเป็นตัวเลขความพึงพอใจของประชาชนในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือบัตรทองต่อสิทธิประโยชน์และการให้บริการของสถานพยาบาลมากกว่า
ด้าน ทพ.อรรถพร ลิ้มปัญญาเลิศ โฆษก สปสช. กล่าวว่า จากการสำรวจความพึงพอใจของประชาชนในระบบบัตรทอง พบว่า มีความพึงพอใจต่อบริการและสิทธิประโยชน์เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ล่าสุด ในปี 2557 พบว่า มีความพึงพอใจเพิ่มขึ้นถึง 80% นอกจากนี้ ยังได้สอบถามความพึงพอใจฝั่งผู้ให้บริการก็พบว่ามีความพึงพอใจเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เช่นกัน แต่อาจมีลดลงบ้างในบางปี แต่โดยรวมแล้วภาคประชาชนจะมีความพึงพอใจมากกว่า เนื่องจากพบว่าในแต่ละปีระบบบัตรทองช่วยให้ประชาชนกว่า 1 แสนครอบครัวไม่ให้ล้มละลายจากการจ่ายค่ารักษาพยาบาล
ผู้สื่อข่าวถามว่า แต่ในโรงพนาบาลรัฐส่วนใหญ่มักเห็นภาพผู้ป่วยระบบบัตรทอง ต้องรอคิวนาน และมีสภาพแออัด ทพ.อรรถพร กล่าวว่า ระบบบัตรทองมีจุดประสงค์ให้ประชาชนเข้าถึงบริการมากขึ้นแม้ว่าต้องแลกด้วยการรอคิวนานขึ้นบ้าง แต่สุดท้ายก็ได้รับบริการที่มีมาตรฐานเพราะทุกวันนี้สถานพยาบาลของประเทศไทยมีมาตรฐาน และสุดท้ายคือช่วยลดค่าใช้จ่ายของประชาชนได้ดี อย่างในปีหนึ่งมีประมาณ 1 แสนกว่าครอบครัวที่ไม่ล้มละลายจากระบบบัตรทอง เพราะฉะนั้น ประชาชนจึงพึงพอใจ เช่นเดียวกับฝั่งผู้ให้บริการที่ในช่วงแรกๆ ที่ผลสำรวจออกมาว่าไม่ค่อยพึงพอใจเป็นเพราะเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านของระบบทำให้ประชาชนเข้ามารับบริการแบบก้าวกระโดด แต่ในระยะหลังๆ การจัดระบบเริ่มเข้าที่เข้าทางแล้วทำให้การให้บริการไม่ยุ่งยาก ฝั่งผู้ให้บริการจึงมีความพึงพอใจเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน
นายศิริ ชมชาญ ผู้ประกอบการกิจการก่อสร้าง กล่าวถึงกรณีคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ. ... แทน พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ. 2533 ว่า ฐานะเป็นผู้หนึ่งที่จ่ายเงินสมทบในสัดส่วนนายจ้างเข้ากองทุนประกันสังคม มองว่าหากจะปรับแก้กฎหมายก็ควรปรับระบบการบริหารของกองทุนเสียใหม่ โดยเฉพาะการลงทุนต่างๆ เนื่องจากภารกิจหลักที่ตั้งกองทุนดังกล่าวขึ้นก็เพื่อสิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตน แต่ที่ผ่านมาการลงทุนต่างๆ จะเป็นการตัดสินใจของคณะกรรมการ (บอร์ด) สปส. ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นบุคคลเดิมๆ การจะลงทุนอะไรก็ขาดการมีส่วนร่วม ปัญหาคือ ผลลัพธ์ที่ได้จะมากหรือน้อยก็แทบไม่ทราบ ยิ่งประเด็นสิทธิประโยชน์การรักษาพยาบาลแทบไม่ต้องพูดถึง อย่างกิจการของตน ทำประกันสุขภาพแยกต่างหากให้กับพนักงาน โดยยอมทิ้งประกันสุขภาพของ สปส. ไปเลย
“ปัญหาคือเมื่อป่วยก็ต้องไปรอเข้าคิวเป็นวันๆ แถมยาที่ได้มาก็ไม่ได้ดีมาก ผมยอมจ่ายเงินประกันสุขภาพให้ลูกน้อง ทางที่ดี สปส. ควรตั้ง รพ. ของประกันสังคมขึ้นเองจะดีกว่า เพราะเงินกองทุนที่มีอยู่ 1.2 ล้านล้านบาท สามารถแบ่งมาสร้างรพ. ได้ และบริหารแบบถือหุ้น บริหารจัดการแบบเอกชนและพัฒนา รพ. ไปในตัว ผู้ประกันตนก็จะได้ประโยชน์ด้วย ซึ่งจริงๆ แนวคิดในการบริหารกองทุนฯ ก็ควรให้ผู้ประกันตน รวมทั้งนายจ้างมีส่วนร่วมด้วย” นายศิริ กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
แหล่งข่าวแวดวงสาธารณสุข กล่าวถึงกรณีสำนักงานประกันสังคม (สปส.) อ้างว่า สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) สำรวจความพึงขอใจของผู้ประกันตน พบว่า กว่า 80% มีความพึงพอใจต่อสิทธิประโยชน์ในการรักษาพยาบาลของ สปส. ว่า สปสช. ไม่เคยทำการสำรวจความพึงพอใจข้ามหน่วยงาน ส่วนตัวเลข 80% ที่ สปส. ยกมาพูดนั้นคาดว่าน่าจะเป็นตัวเลขความพึงพอใจของประชาชนในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือบัตรทองต่อสิทธิประโยชน์และการให้บริการของสถานพยาบาลมากกว่า
ด้าน ทพ.อรรถพร ลิ้มปัญญาเลิศ โฆษก สปสช. กล่าวว่า จากการสำรวจความพึงพอใจของประชาชนในระบบบัตรทอง พบว่า มีความพึงพอใจต่อบริการและสิทธิประโยชน์เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ล่าสุด ในปี 2557 พบว่า มีความพึงพอใจเพิ่มขึ้นถึง 80% นอกจากนี้ ยังได้สอบถามความพึงพอใจฝั่งผู้ให้บริการก็พบว่ามีความพึงพอใจเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เช่นกัน แต่อาจมีลดลงบ้างในบางปี แต่โดยรวมแล้วภาคประชาชนจะมีความพึงพอใจมากกว่า เนื่องจากพบว่าในแต่ละปีระบบบัตรทองช่วยให้ประชาชนกว่า 1 แสนครอบครัวไม่ให้ล้มละลายจากการจ่ายค่ารักษาพยาบาล
ผู้สื่อข่าวถามว่า แต่ในโรงพนาบาลรัฐส่วนใหญ่มักเห็นภาพผู้ป่วยระบบบัตรทอง ต้องรอคิวนาน และมีสภาพแออัด ทพ.อรรถพร กล่าวว่า ระบบบัตรทองมีจุดประสงค์ให้ประชาชนเข้าถึงบริการมากขึ้นแม้ว่าต้องแลกด้วยการรอคิวนานขึ้นบ้าง แต่สุดท้ายก็ได้รับบริการที่มีมาตรฐานเพราะทุกวันนี้สถานพยาบาลของประเทศไทยมีมาตรฐาน และสุดท้ายคือช่วยลดค่าใช้จ่ายของประชาชนได้ดี อย่างในปีหนึ่งมีประมาณ 1 แสนกว่าครอบครัวที่ไม่ล้มละลายจากระบบบัตรทอง เพราะฉะนั้น ประชาชนจึงพึงพอใจ เช่นเดียวกับฝั่งผู้ให้บริการที่ในช่วงแรกๆ ที่ผลสำรวจออกมาว่าไม่ค่อยพึงพอใจเป็นเพราะเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านของระบบทำให้ประชาชนเข้ามารับบริการแบบก้าวกระโดด แต่ในระยะหลังๆ การจัดระบบเริ่มเข้าที่เข้าทางแล้วทำให้การให้บริการไม่ยุ่งยาก ฝั่งผู้ให้บริการจึงมีความพึงพอใจเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน
นายศิริ ชมชาญ ผู้ประกอบการกิจการก่อสร้าง กล่าวถึงกรณีคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ. ... แทน พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ. 2533 ว่า ฐานะเป็นผู้หนึ่งที่จ่ายเงินสมทบในสัดส่วนนายจ้างเข้ากองทุนประกันสังคม มองว่าหากจะปรับแก้กฎหมายก็ควรปรับระบบการบริหารของกองทุนเสียใหม่ โดยเฉพาะการลงทุนต่างๆ เนื่องจากภารกิจหลักที่ตั้งกองทุนดังกล่าวขึ้นก็เพื่อสิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตน แต่ที่ผ่านมาการลงทุนต่างๆ จะเป็นการตัดสินใจของคณะกรรมการ (บอร์ด) สปส. ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นบุคคลเดิมๆ การจะลงทุนอะไรก็ขาดการมีส่วนร่วม ปัญหาคือ ผลลัพธ์ที่ได้จะมากหรือน้อยก็แทบไม่ทราบ ยิ่งประเด็นสิทธิประโยชน์การรักษาพยาบาลแทบไม่ต้องพูดถึง อย่างกิจการของตน ทำประกันสุขภาพแยกต่างหากให้กับพนักงาน โดยยอมทิ้งประกันสุขภาพของ สปส. ไปเลย
“ปัญหาคือเมื่อป่วยก็ต้องไปรอเข้าคิวเป็นวันๆ แถมยาที่ได้มาก็ไม่ได้ดีมาก ผมยอมจ่ายเงินประกันสุขภาพให้ลูกน้อง ทางที่ดี สปส. ควรตั้ง รพ. ของประกันสังคมขึ้นเองจะดีกว่า เพราะเงินกองทุนที่มีอยู่ 1.2 ล้านล้านบาท สามารถแบ่งมาสร้างรพ. ได้ และบริหารแบบถือหุ้น บริหารจัดการแบบเอกชนและพัฒนา รพ. ไปในตัว ผู้ประกันตนก็จะได้ประโยชน์ด้วย ซึ่งจริงๆ แนวคิดในการบริหารกองทุนฯ ก็ควรให้ผู้ประกันตน รวมทั้งนายจ้างมีส่วนร่วมด้วย” นายศิริ กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่