กลุ่มคนรักหลักประกันฯ ชี้สิทธิประกันสังคมไม่เปิดช่องให้ผู้ประกันตนมีส่วนร่วม สะท้อนปัญหา ปรับปรุงสิทธิประโยชน์การรักษา จวก 20 ปี บางเรื่องยังไม่ปรับปรุง ทั้งสิทธิการทำฟัน การคลอด การบำบัดสารเสพติด จี้ปรับปรุงการเปิดรับฟังความเห็น
น.ส.สุรีรัตน์ ตรีมรรคา ผู้ประสานงานกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ กล่าวว่า ในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือบัตรทอง พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 เขียนไว้ชัดเจนให้มีการเปิดรับฟังความคิดเห็นอย่างน้อยปีละครั้ง ถือเป็นมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในกองทุน ทำให้ประชาชนมีช่องทางเสนอปัญหาเพื่อนำไปสู่การแก้ไข นอกจากนี้ ยังมีช่องทางการเสนอความเห็นและสะท้อนปัญหาต่อคณะกรรมการระดับเขตอีก ส่วนกองทุนประกันสังคม การจัดทำกฎหมายไม่ได้คำนึงถึงการมีส่วนร่วมหลายช่องทาง แม้จะมีการกำหนดสัดส่วนการมีส่วนร่วมแบบไตรภาคี คือ มีผู้ประกันตนเข้าไปเป็นกรรมการกองทุนในสัดส่วนเท่ากับนายจ้าง แต่ระบบไม่ได้เอื้อให้เกิดการสะท้อนปัญหา หรือเกิดการสื่อสารระหว่างตัวแทนผู้ประกันตน กับผู้ประกันตนในระบบที่ประสบปัญหาในการเข้าถึงสิทธิ แม้จะมีระบบการร้องทุกข์แต่ก็พบว่ายังไม่สามารถสะท้อนปัญหาเพื่อนำไปสู่การแก้ไขได้ ส่วนปัญหาทุจริต ไม่โปร่งใส เมื่อมีการท้วงก็ยังไม่พบว่ามีกระบวนการตรวจสอบที่นำไปสู่การสอบสวนหรือความชัดเจนแต่อย่างใด
“ขณะนี้กำลังมีการแก้กฎหมายกองทุนประกันสังคมในหลายมาตรา ซึ่งจะมีการปรับปรุงชุดสิทธิประโยชน์ด้วย ซึ่ง 20 ปีที่ผ่านมา สิทธิประโยชน์หลายเรื่องยังไม่ได้รับการปรับปรุง เช่น การรักษาทันตกรรม การบำบัดสารเสพติด การรักษาผู้ที่ฆ่าตัวตาย หรือ การคลอดที่จำกัดสิทธิเพียง 2 ครั้ง เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ในเรื่องของการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในกองทุนประกันสังคม ถือเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องปรับปรุงเพื่อให้เกิดการสะท้อนปัญหาที่แท้จริง ซึ่งจากประสบการณ์ของการเรียกร้องสิทธิบัตรทอง เช่น การเข้าถึงการรักษาโรคเอดส์ โรคไต เมื่อมีการสะท้อนปัญหาก็ทำให้ประชาชนเข้าถึงสิทธิเพิ่มขึ้นได้” น.ส.สุรีรัตน์ กล่าว
ทพ.อรรถพร ลิ้มปัญญาเลิศ โฆษกสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า การสำรวจความเห็นของประชาชนต่อระบบการให้บริการสุขภาพในสิทธิบัตรทอง จะดำเนินการปีละ 1 ครั้ง มี 2 วิธี คือ 1. ดำเนินการตาม พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพฯ ด้วยการให้คณะอนุกรรมการสื่อสารประชาสัมพันธ์ลงไปรับฟังความเห็นในระดับเขตก่อนส่งเข้าบอร์ดคุณภาพเพื่อพิจารณา และ 2. ให้สำนักเอแบคโพลล์ทำการสุ่มสำรวจความพึงพอใจจากประชาชน ส่วนผลที่ได้หากเป็นเรื่องร้องเรียนเช่นการเข้าถึงการรับบริการนั้นจะนำมาปรับปรุงแก้ไขต่อไป แต่หากเป็นข้อเรียกร้องเรื่องการเพิ่มสิทธิประโยชน์ก็จะนำเข้าอนุกรรมการชุดสิทธิประโยชน์เพื่อพิจารณาต่อไป โดยผลการสำรวจในปี 2557 ประชาชนร้อยละ 82 ระบุว่าไม่พบปัญหาในการรับบริการ ส่วนที่ยังประสบปัญหาพบว่า ร้อยละ 50.4 มีปัญหาในการรอคิวนาน ร้อยละ 27.42 ยังประสบปัญหาต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม เป็นต้น ส่วนการรับบริการในภาพรวมค่าเฉลี่ย อยู่ที่ 8.35 และผลการรักษาหาย หรือ ดีขึ้นอยู่ที่ 8.28 จากค่าเฉลี่ยเต็ม 10
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
น.ส.สุรีรัตน์ ตรีมรรคา ผู้ประสานงานกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ กล่าวว่า ในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือบัตรทอง พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 เขียนไว้ชัดเจนให้มีการเปิดรับฟังความคิดเห็นอย่างน้อยปีละครั้ง ถือเป็นมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในกองทุน ทำให้ประชาชนมีช่องทางเสนอปัญหาเพื่อนำไปสู่การแก้ไข นอกจากนี้ ยังมีช่องทางการเสนอความเห็นและสะท้อนปัญหาต่อคณะกรรมการระดับเขตอีก ส่วนกองทุนประกันสังคม การจัดทำกฎหมายไม่ได้คำนึงถึงการมีส่วนร่วมหลายช่องทาง แม้จะมีการกำหนดสัดส่วนการมีส่วนร่วมแบบไตรภาคี คือ มีผู้ประกันตนเข้าไปเป็นกรรมการกองทุนในสัดส่วนเท่ากับนายจ้าง แต่ระบบไม่ได้เอื้อให้เกิดการสะท้อนปัญหา หรือเกิดการสื่อสารระหว่างตัวแทนผู้ประกันตน กับผู้ประกันตนในระบบที่ประสบปัญหาในการเข้าถึงสิทธิ แม้จะมีระบบการร้องทุกข์แต่ก็พบว่ายังไม่สามารถสะท้อนปัญหาเพื่อนำไปสู่การแก้ไขได้ ส่วนปัญหาทุจริต ไม่โปร่งใส เมื่อมีการท้วงก็ยังไม่พบว่ามีกระบวนการตรวจสอบที่นำไปสู่การสอบสวนหรือความชัดเจนแต่อย่างใด
“ขณะนี้กำลังมีการแก้กฎหมายกองทุนประกันสังคมในหลายมาตรา ซึ่งจะมีการปรับปรุงชุดสิทธิประโยชน์ด้วย ซึ่ง 20 ปีที่ผ่านมา สิทธิประโยชน์หลายเรื่องยังไม่ได้รับการปรับปรุง เช่น การรักษาทันตกรรม การบำบัดสารเสพติด การรักษาผู้ที่ฆ่าตัวตาย หรือ การคลอดที่จำกัดสิทธิเพียง 2 ครั้ง เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ในเรื่องของการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในกองทุนประกันสังคม ถือเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องปรับปรุงเพื่อให้เกิดการสะท้อนปัญหาที่แท้จริง ซึ่งจากประสบการณ์ของการเรียกร้องสิทธิบัตรทอง เช่น การเข้าถึงการรักษาโรคเอดส์ โรคไต เมื่อมีการสะท้อนปัญหาก็ทำให้ประชาชนเข้าถึงสิทธิเพิ่มขึ้นได้” น.ส.สุรีรัตน์ กล่าว
ทพ.อรรถพร ลิ้มปัญญาเลิศ โฆษกสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า การสำรวจความเห็นของประชาชนต่อระบบการให้บริการสุขภาพในสิทธิบัตรทอง จะดำเนินการปีละ 1 ครั้ง มี 2 วิธี คือ 1. ดำเนินการตาม พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพฯ ด้วยการให้คณะอนุกรรมการสื่อสารประชาสัมพันธ์ลงไปรับฟังความเห็นในระดับเขตก่อนส่งเข้าบอร์ดคุณภาพเพื่อพิจารณา และ 2. ให้สำนักเอแบคโพลล์ทำการสุ่มสำรวจความพึงพอใจจากประชาชน ส่วนผลที่ได้หากเป็นเรื่องร้องเรียนเช่นการเข้าถึงการรับบริการนั้นจะนำมาปรับปรุงแก้ไขต่อไป แต่หากเป็นข้อเรียกร้องเรื่องการเพิ่มสิทธิประโยชน์ก็จะนำเข้าอนุกรรมการชุดสิทธิประโยชน์เพื่อพิจารณาต่อไป โดยผลการสำรวจในปี 2557 ประชาชนร้อยละ 82 ระบุว่าไม่พบปัญหาในการรับบริการ ส่วนที่ยังประสบปัญหาพบว่า ร้อยละ 50.4 มีปัญหาในการรอคิวนาน ร้อยละ 27.42 ยังประสบปัญหาต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม เป็นต้น ส่วนการรับบริการในภาพรวมค่าเฉลี่ย อยู่ที่ 8.35 และผลการรักษาหาย หรือ ดีขึ้นอยู่ที่ 8.28 จากค่าเฉลี่ยเต็ม 10
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่