ผลวิจัย HITAP ชี้สิทธิประโยชน์กายอุปกรณ์ “คนพิการ” ระบบประกันสังคมด้อยสุดๆ มีเพียง 29 รายการ ขณะที่บัตรทองมี 54 รายการ ข้าราชการมากถึง 80 รายการ เผยรัฐหนุนเข้าสู่ระบบทำงานต้องเปลี่ยนสิทธิมาอยู่ประกันสังคมทำให้ถูกลิดรอนสิทธิ เข้าไม่ถึงการรักษา แนะทำสิทธิประโยชน์เดียวลดความเหลื่อมล้ำ
นายสุรเดช ดวงทิพย์สิริกุล นักวิจัยโครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (HITAP) กล่าวว่า จากการวิจัยเรื่องการทบทวนชุดสิทธิประโยชน์และการเข้าถึงบริการอุปกรณ์เครื่องช่วยคนพิการในระบบหลักประกันสังคมพบว่า ผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมได้รับสิทธิประโยชน์ กายอุปกรณ์น้อยกว่า ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) และระบบสวัสดิการข้าราชการ โดยระบบบัตรทองมีกายอุปกรณ์จัดให้ผู้พิการรวม 54 รายการ ครอบคลุมความพิการประเภทการเห็น การได้ยินหรือสื่อความหมาย และการเคลื่อนไหวหรือทางร่างกาย รวมถึงมีบริการฟื้นฟูสมรรถภาพด้านการแพทย์สำหรับคนพิการจำนวน 9 รายการ ซึ่งครอบคลุมความพิการทุกประเภท ส่วนข้าราชการมีกายอุปกรณ์รวม 80 รายการ ขณะที่ประกันสังคมมีเพียง 29 รายการ คือ การได้ยิน และการเคลื่อนไหวเท่านั้น โดยไม่พบว่ามีการกำหนดเรื่องการฟื้นฟูร่างกาย
นายสุรเดชกล่าวว่า โดยปกติผู้พิการจะอยู่ในสิทธิบัตรทอง แต่เมื่อภาครัฐสนับสนุนให้ผู้พิการเข้าสู่ระบบการทำงาน เพื่อใช้ศักยภาพของตนเองที่มีอยู่ ทำให้สิทธิการรักษาโอนย้ายมาอยู่ในระบบประกันสังคม ซึ่งกฎหมายบังคับให้จ่ายสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมในอัตราเท่าคนปกติ แต่กลับพบว่า สิทธิประโยชน์ที่ได้รับกลับน้อยกว่าบัตรทอง และมีกายอุปกรณ์ไม่กี่รายการเท่านั้น รวมทั้งค่ารักษาพยาบาลต่อเนื่องก็ลดลง ซึ่งผู้พิการต่างส่งเสียงสะท้อนออกมาว่าเป็นการลิดรอนสิทธิ ทั้งที่ยินยอมเข้ามาทำงานเพื่อช่วยขับเคลื่อนประเทศ แต่สิทธิที่ควรได้รับกลับเสียไป ซึ่งอุปกรณ์ช่วยเหลือต่างๆ ราคาค่อนข้างแพง หากเป็นเช่นนี้อาจทำให้คนพิการคิดว่าไม่ต้องออกมาทำงานยังดีเสียกว่า เพราะอย่างไรสิทธิบัตรทองก็ยังช่วยเหลือครอบคลุม
“รัฐสนับสนุนงบประมาณเพื่อสนับสนุนอุปกรณ์สำหรับคนพิการปีละประมาณ 1,500 ล้านบาท แต่คนพิการที่ได้รับอุปกรณ์ไม่ได้ใช้อุปกรณ์ หรือไม่ได้ใช้อย่างสม่ำเสมอ เพราะไม่ตรงกับความต้องการ เช่น ขาเทียมที่เชื่อมต่อกับร่างกายไม่พอดี หรือรถเข็นที่ไม่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของพื้นที่ อุปกรณ์ชำรุดแต่ไม่มีระบบซ่อม หรืออุปกรณ์ไม่มีคุณภาพ ก่อให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจเพิ่มอีกราว 1,584 ล้านบาทต่อปี ทำให้ผู้ประกันตนมีสิทธิประโยชน์น้อยที่สุดในระบบประกันสุขภาพ” นายสุรเดชกล่าว
นายสุรเดชกล่าวว่า ประเทศไทยมีคนพิการประมาณ 1.5 ล้านคน จากการผลวิจัยพบว่า 1 ใน 3 ของคนพิการไทย หรือเกือบ 3 แสนคน ที่เข้าไม่ถึงหรือไม่ได้รับอุปกรณ์ช่วยเหลือ ทำให้ขาดโอกาสในการเพิ่มคุณภาพชีวิตและพัฒนาความสามารถในการดำรงชีวิต และประกอบอาชีพ คิดเป็นความสูญเสียทางเศรษฐกิจ 2,497 ล้านบาทต่อปี ส่วนคนที่ได้รับอุปกรณ์ก็ไม่ได้ใช้เกือบ 13% ต้องจำใจใช้ 24% เพราะอุปกรณ์ไม่ตรงกับความต้องการ หรืออุปกรณ์ไม่มีคุณภาพ คิดเป็นความสูญเสียทางเศรษฐกิจกว่า 4 พันล้านบาทต่อปี ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรจัดทำฐานข้อมูลคนพิการร่วมกัน และพัฒนาชุดสิทธิประโยชน์เพียงชุดเดียวเพื่อให้เกิดความเสมอภาคและเท่าเทียม คล้ายกับแนวทางของบัญชียาหลักแห่งชาติ และต้องมีระบบประเมินและติดตามตรวจสอบการแจกจ่ายอุปกรณ์ปรับปรุงระบบการซ่อมแซมแก้ไขอุปกรณ์ เพื่อลดการสูญเสียทรัพยากรของประเทศ
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
นายสุรเดช ดวงทิพย์สิริกุล นักวิจัยโครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (HITAP) กล่าวว่า จากการวิจัยเรื่องการทบทวนชุดสิทธิประโยชน์และการเข้าถึงบริการอุปกรณ์เครื่องช่วยคนพิการในระบบหลักประกันสังคมพบว่า ผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมได้รับสิทธิประโยชน์ กายอุปกรณ์น้อยกว่า ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) และระบบสวัสดิการข้าราชการ โดยระบบบัตรทองมีกายอุปกรณ์จัดให้ผู้พิการรวม 54 รายการ ครอบคลุมความพิการประเภทการเห็น การได้ยินหรือสื่อความหมาย และการเคลื่อนไหวหรือทางร่างกาย รวมถึงมีบริการฟื้นฟูสมรรถภาพด้านการแพทย์สำหรับคนพิการจำนวน 9 รายการ ซึ่งครอบคลุมความพิการทุกประเภท ส่วนข้าราชการมีกายอุปกรณ์รวม 80 รายการ ขณะที่ประกันสังคมมีเพียง 29 รายการ คือ การได้ยิน และการเคลื่อนไหวเท่านั้น โดยไม่พบว่ามีการกำหนดเรื่องการฟื้นฟูร่างกาย
นายสุรเดชกล่าวว่า โดยปกติผู้พิการจะอยู่ในสิทธิบัตรทอง แต่เมื่อภาครัฐสนับสนุนให้ผู้พิการเข้าสู่ระบบการทำงาน เพื่อใช้ศักยภาพของตนเองที่มีอยู่ ทำให้สิทธิการรักษาโอนย้ายมาอยู่ในระบบประกันสังคม ซึ่งกฎหมายบังคับให้จ่ายสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมในอัตราเท่าคนปกติ แต่กลับพบว่า สิทธิประโยชน์ที่ได้รับกลับน้อยกว่าบัตรทอง และมีกายอุปกรณ์ไม่กี่รายการเท่านั้น รวมทั้งค่ารักษาพยาบาลต่อเนื่องก็ลดลง ซึ่งผู้พิการต่างส่งเสียงสะท้อนออกมาว่าเป็นการลิดรอนสิทธิ ทั้งที่ยินยอมเข้ามาทำงานเพื่อช่วยขับเคลื่อนประเทศ แต่สิทธิที่ควรได้รับกลับเสียไป ซึ่งอุปกรณ์ช่วยเหลือต่างๆ ราคาค่อนข้างแพง หากเป็นเช่นนี้อาจทำให้คนพิการคิดว่าไม่ต้องออกมาทำงานยังดีเสียกว่า เพราะอย่างไรสิทธิบัตรทองก็ยังช่วยเหลือครอบคลุม
“รัฐสนับสนุนงบประมาณเพื่อสนับสนุนอุปกรณ์สำหรับคนพิการปีละประมาณ 1,500 ล้านบาท แต่คนพิการที่ได้รับอุปกรณ์ไม่ได้ใช้อุปกรณ์ หรือไม่ได้ใช้อย่างสม่ำเสมอ เพราะไม่ตรงกับความต้องการ เช่น ขาเทียมที่เชื่อมต่อกับร่างกายไม่พอดี หรือรถเข็นที่ไม่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของพื้นที่ อุปกรณ์ชำรุดแต่ไม่มีระบบซ่อม หรืออุปกรณ์ไม่มีคุณภาพ ก่อให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจเพิ่มอีกราว 1,584 ล้านบาทต่อปี ทำให้ผู้ประกันตนมีสิทธิประโยชน์น้อยที่สุดในระบบประกันสุขภาพ” นายสุรเดชกล่าว
นายสุรเดชกล่าวว่า ประเทศไทยมีคนพิการประมาณ 1.5 ล้านคน จากการผลวิจัยพบว่า 1 ใน 3 ของคนพิการไทย หรือเกือบ 3 แสนคน ที่เข้าไม่ถึงหรือไม่ได้รับอุปกรณ์ช่วยเหลือ ทำให้ขาดโอกาสในการเพิ่มคุณภาพชีวิตและพัฒนาความสามารถในการดำรงชีวิต และประกอบอาชีพ คิดเป็นความสูญเสียทางเศรษฐกิจ 2,497 ล้านบาทต่อปี ส่วนคนที่ได้รับอุปกรณ์ก็ไม่ได้ใช้เกือบ 13% ต้องจำใจใช้ 24% เพราะอุปกรณ์ไม่ตรงกับความต้องการ หรืออุปกรณ์ไม่มีคุณภาพ คิดเป็นความสูญเสียทางเศรษฐกิจกว่า 4 พันล้านบาทต่อปี ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรจัดทำฐานข้อมูลคนพิการร่วมกัน และพัฒนาชุดสิทธิประโยชน์เพียงชุดเดียวเพื่อให้เกิดความเสมอภาคและเท่าเทียม คล้ายกับแนวทางของบัญชียาหลักแห่งชาติ และต้องมีระบบประเมินและติดตามตรวจสอบการแจกจ่ายอุปกรณ์ปรับปรุงระบบการซ่อมแซมแก้ไขอุปกรณ์ เพื่อลดการสูญเสียทรัพยากรของประเทศ
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่