6 วันอันตราย เกิดอุบัติเหตุรวม 2,733 ครั้ง ตาย 302 ศพ เจ็บกว่า 2,843 คน จังหวัดไร้ตายลดลงเหลือ 4 จังหวัด เผยช่วงขากลับพบขับรถเร็ว ขับตัดหน้า ต้นเหตุอุบัติเหตุมากกว่าเมาแล้วขับ สั่งเน้นเรียกตรวจ ดูแลจุดเสี่ยงบนถนนสายหลัก จุดตัดทางรถไฟ คู่ถนนสายรอง สธ.เผยตรวจขายเหล้าช่วงปีใหม่ ทำผิด กม.อื้อ รวมแล้วกว่า 7 ข้อหา
วันนี้ (5 ม.ค.) ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงข่าวสรุปผลการดำเนินงานลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ 2558 ว่า ศูนย์อำนวยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน (ศปถ.) โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ได้รวบรวมสถิติอุบัติเหตุทางถนนประจำวันที่ 4 ม.ค. 2558 ซึ่งเป็นวันที่หกในช่วง 7 วันอันตรายช่วงเทศกาลปีใหม่ 2558 พบเกิดอุบัติเหตุ 287 ครั้ง ผู้เสียชีวิต 42 ราย ผู้บาดเจ็บ 301 คน สาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุ ได้แก่ เมาสุรา ร้อยละ 27.53 ขับรถเร็วเกินกำหนด ร้อยละ 26.83 ตัดหน้ากระชั้นชิด ร้อยละ 25.44 ยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุมากที่สุด ได้แก่ รถจักรยานยนต์ ร้อยละ 79.12 ส่วนใหญ่เกิดในเส้นทางตรง ร้อยละ 67.60 บนทางหลวงแผ่นดิน ร้อยละ 41.81 บนถนน อบต./หมู่บ้าน ร้อยละ 32.75
ช่วงเวลาที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ ช่วงเวลา 16.01 - 20.00 น. ร้อยละ 30.66 ผู้บาดเจ็บและผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มวัยแรงงาน ร้อยละ 49.56 ทั้งนี้ ได้จัดตั้งจุดตรวจหลัก 2,266 จุด เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน 66,129 คน เรียกตรวจยานพาหนะ 619,904 คัน มีผู้ถูกดำเนินคดี รวม 89,257 ราย โดยมีความผิดฐาน ไม่สวมหมวกนิรภัย 24,662 ราย ไม่มีใบขับขี่ 24,586 ราย จังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ นครราชสีมา เชียงใหม่ สุราษฎร์ธานี จังหวัดละ 13 ครั้ง จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสูงสุด ได้แก่ อุตรดิตถ์ 5 ราย จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสูงสุด ได้แก่ เพชรบุรี 20 คน
สำหรับอุบัติเหตุทางถนนสะสม 6 วัน ตั้งแต่วันที่ 30 ธ.ค. 2557 - 4 ม.ค. 2558 เกิดอุบัติเหตุรวม 2,733 ครั้ง ผู้เสียชีวิตรวม 302 ราย ผู้บาดเจ็บ 2,843 คน จังหวัดที่ไม่มีผู้เสียชีวิต (ตายเป็นศูนย์) มี 4 จังหวัด ได้แก่ ตรัง นราธิวาส สิงห์บุรี และ นครพนม จังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสะสมสูงสุด แก่ เชียงใหม่ 122 ครั้ง จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสะสมสูงสุด ได้แก่ เชียงใหม่ 15 ราย จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสะสมสูงสุด ได้แก่ เชียงใหม่ 119 คน
“อุบัติเหตุช่วง 5 วันที่ผ่านมา พบว่า ดื่มแล้วขับเป็นปัจจัยเสี่ยงสูงสุด แต่จากสถิติอุบัติเหตุวันที่ 4 ม.ค. ซึ่งเป็นวันหยุดวันสุดท้ายของเทศกาลปีใหม่ 2558 พบว่า การขับรถเร็วเกินกำหนด การขับรถตัดหน้ากระชั้นชิด เป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญ จึงประสานให้จังหวัดกำชับจุดตรวจเข้มงวดผู้ขับขี่ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงดังกล่าว เน้นการเรียกตรวจยานพาหนะให้มากขึ้น รวมถึงสนธิกำลังเจ้าหน้าที่ดูแลเส้นทางสายหลัก โดยเฉพาะจุดเสี่ยงบนถนนสายหลัก จุดตัดทางรถไฟ ควบคู่กับการดูแลถนนสายรอง โดยเฉพาะจุดตัดทางรถไฟที่เป็นทางลักผ่าน ให้ประสานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดอาสาสมัครดูแลเส้นทางดังกล่าวเป็นพิเศษ เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ” ม.ล.ปนัดดา กล่าว
นายไมตรี อินทุสุต รองปลัดกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า ประชาชนส่วนใหญ่เดินทางกลับจากภูมิลำเนาและท่องเที่ยวแล้ว ขณะที่ยังมีเพียงบางส่วนอยู่ระหว่างการเดินทาง ซึ่งจากการตรวจสอบสภาพการจราจร พบว่า หลายเส้นทางมีปริมาณรถน้อย โดยเฉพาะถนนสายหลักของจังหวัดใหญ่และเส้นทางจากภูมิภาคต่างๆ เข้าสู่กรุงเทพฯ ทำให้ผู้ขับขี่สามารถใช้ความเร็วสูง จึงขอเน้นย้ำให้จังหวัดเข้มงวดผู้ขับขี่ที่ขับรถด้วยความเร็วสูง เพื่อควบคุมการใช้ความเร็วที่อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุรุนแรง พร้อมบังคับใช้กฎหมายจราจร เพิ่มมาตรการตรวจสอบความพร้อมของผู้ขับขี่ และพนักงานขับรถโดยสารสาธารณะทุกประเภท กวดขันรถกระบะที่บรรทุกน้ำหนักเกินอัตรากำหนด เพื่อลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุ
นายฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดี ปภ. กล่าวว่า จากสถิติอุบัติเหตุทางถนนในช่วง 6 วันที่ผ่านมา พบว่า 2 ใน 3 ของผู้ประสบอุบัติเหตุเสียชีวิตในที่เกิดเหตุ แสดงให้เห็นว่า ดัชนีความรุนแรงของอุบัติเหตุเพิ่งสูงขึ้น โดยมีปัจจัยสำคัญจากการใช้ความเร็ว และความประมาทของผู้ขับขี่ จึงขอฝากผู้ขับขี่ปฏิบัติตามกฎหมายจราจรอย่างเคร่งครัด ไม่ขับรถเร็ว ไม่ประมาท ไม่ขับรถด้วยความคึกคะนอง คำนึงถึงความปลอดภัยของตนและผู้ร่วมใช้เส้นทางเป็นหลัก เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุรุนแรง นอกจากนี้จากการตรวจสอบสภาพอากาศ พบว่า หลายพื้นที่มีหมอกลงหนาแน่นในช่วงเช้า ซึ่งทัศนวิสัยไม่ดีอาจเป็นสาเหตุให้เกิดอุบัติเหตุได้ ขอฝากจังหวัดประชาสัมพันธ์ให้ผู้ขับขี่เพิ่มความระมัดระวังในการใช้รถใช้ถนน ไม่ขับรถเร็ว ไม่แซงในระยะกระชั้นชิด เว้นระยะห่างจากรถคันอื่นให้เหมาะสม เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการเดินทาง
นายพรหมมินทร์ กัณธิยะ ผู้อำนวยการสำนักงานเครือข่ายลดอุบัติเหตุ ประธานศูนย์ข้อมูลการสื่อสารเพื่อความปลอดภัย กล่าวว่า จากการรวบรวมข้อมูลผู้เสียชีวิตในช่วงเทศกาลปีใหม่ รวมทั้งประเทศสะสม 6 วัน มีรายละเอียดดังนี้ คือ อุบัติเหตุที่มีผู้เสียชีวิต 265 ครั้ง มีผู้เสียชีวิตรวม 302 คน เป็นเพศชาย 246 คน (81.46%) เพศหญิง 56 คน (18.54%) เป็นคนในพื้นที่ (ในตำบล/แขวง) 180 คน (59.60%) คนนอกพื้นที่ (ในจังหวัด) 54 คน (17.88%) เป็นผู้ขับขี่ 212 คน (70.20%) คนเดินเท้า 33 คน 10.93%) และเสียชีวิตในที่เกิดเหตุ 184 คน (61.13%) ระหว่างนำส่งโรงพยาบาล 13 คน (4.32%) เสียชีวิตที่โรงพยาบาล 104 คน (34.55%) ตามลำดับ
นพ.วชิระ เพ็งจันทร์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่าจากการประเมินช่วงอุบัติเหตุ ในเทศกาลปีใหม่ 2558 คาดว่า ปีนี้จะมีจำนวนผู้บาดเจ็บ และเสียชีวิตจากอุบัติเหตุลดลง เนื่องจากการตั้งด่านตรวจในเขตชุมชน ทำให้ผู้ขับขี่มีความระมัดระวังมากขึ้น แต่สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุส่วนใหญ่ ยังมาจากการเมาสุรา ขับขี่เร็วเกินกำหนด และอุบัติเหตุยังพบในทางหลวง และถนนสายรอง ส่วนพาหนะ ที่พบเกิดอุบัติเหตุมากที่สุด ยังเป็นรถจักรยานยนต์ ซึ่งเชื่อว่าปีนี้อุบัติเหตุจะลดลงถึงร้อยละ 10
ด้าน นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ผลการควบคุมการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์รอบ 8 วัน ฉลองเทศกาลปีใหม่ตั้งแต่ 27 ธ.ค. 2557 ถึง 4 ม.ค. 2558 เจ้าหน้าที่ 5 ทีม ได้ตรวจทั้งหมด 28 จังหวัดได้แก่ ชลบุรี(พัทยา) นครนายก นครปฐม อยุธยา นครสวรรค์ สมุทรสงคราม ราชบุรี เพชรบุรี ขอนแก่น อุดรธานี อุบลราชธานี พะเยา แม่ฮ่องสอน บุรีรัมย์ สุรินทร์ นครราชสีมา มหาสารคาม ชัยภูมิ ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ เลย เชียงใหม่ เชียงราย น่าน ชุมพร ประจวบคีรีขันธ์ สุราษฎร์ธานี และกรุงเทพ/ปริมณฑล ตรวจทั้งหมด 976 ราย พบผู้กระทำผิดและดำเนินคดีรวม 306 ราย ที่เหลืออีก 670 ราย ได้ตักเตือนให้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมาย
นพ.โสภณ กล่าวว่า ทั้งนี้ พบความผิด 7 ข้อหา ได้แก่ 1.การโฆษณาสื่อสารการตลาดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จำนวน 167 ราย มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 5 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 2.ขายด้วยวิธีการต้องห้ามคือเร่ขาย ลดแลกแจกแถม จำนวน 30 ราย มีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 3.ขายในสถานที่ต้องห้าม คือปั้มน้ำมัน ศาสนสถาน ร้านขายยา สถานที่ราชการ สวนสาธารณะ จำนวน 27 ราย มีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 4.บริโภคในสถานที่ต้องห้ามคือปั้มน้ำมัน ศาสนสถาน สถานที่ราชการ จำนวน 5 ราย มีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 5.ขายให้บุคคลอายุต่ำกว่า 20 ปี จำนวน 25 ราย มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ในจำนวนนี้ มี 13 ราย มีความผิดตามมาตรา 45 พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก ที่ห้ามเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ซื้อ/ดื่มสุรา 6.ขายโดยไม่มีใบอนุญาต จำนวน 66 ราย มีโทษปรับไม่เกิน 500 – 2,000 บาท และ 7.ขายนอกเวลาที่กฎหมายกำหนด 10 ราย มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 4 พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ โดยในปีนี้ค่าปรับร้อยละ 80 ยกเว้นกรณีของการโฆษณา จะแบ่งเป็นสินบนให้แก่ประชาชนที่ร่วมแจ้งเบาะแสและเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติการทุกคน เพื่อเป็นแรงจูงใจ ร่วมสร้างสังคมไทยเป็นสังคมที่ปลอดภัยจากผลกระทบการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (5 ม.ค.) ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงข่าวสรุปผลการดำเนินงานลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ 2558 ว่า ศูนย์อำนวยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน (ศปถ.) โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ได้รวบรวมสถิติอุบัติเหตุทางถนนประจำวันที่ 4 ม.ค. 2558 ซึ่งเป็นวันที่หกในช่วง 7 วันอันตรายช่วงเทศกาลปีใหม่ 2558 พบเกิดอุบัติเหตุ 287 ครั้ง ผู้เสียชีวิต 42 ราย ผู้บาดเจ็บ 301 คน สาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุ ได้แก่ เมาสุรา ร้อยละ 27.53 ขับรถเร็วเกินกำหนด ร้อยละ 26.83 ตัดหน้ากระชั้นชิด ร้อยละ 25.44 ยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุมากที่สุด ได้แก่ รถจักรยานยนต์ ร้อยละ 79.12 ส่วนใหญ่เกิดในเส้นทางตรง ร้อยละ 67.60 บนทางหลวงแผ่นดิน ร้อยละ 41.81 บนถนน อบต./หมู่บ้าน ร้อยละ 32.75
ช่วงเวลาที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ ช่วงเวลา 16.01 - 20.00 น. ร้อยละ 30.66 ผู้บาดเจ็บและผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มวัยแรงงาน ร้อยละ 49.56 ทั้งนี้ ได้จัดตั้งจุดตรวจหลัก 2,266 จุด เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน 66,129 คน เรียกตรวจยานพาหนะ 619,904 คัน มีผู้ถูกดำเนินคดี รวม 89,257 ราย โดยมีความผิดฐาน ไม่สวมหมวกนิรภัย 24,662 ราย ไม่มีใบขับขี่ 24,586 ราย จังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ นครราชสีมา เชียงใหม่ สุราษฎร์ธานี จังหวัดละ 13 ครั้ง จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสูงสุด ได้แก่ อุตรดิตถ์ 5 ราย จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสูงสุด ได้แก่ เพชรบุรี 20 คน
สำหรับอุบัติเหตุทางถนนสะสม 6 วัน ตั้งแต่วันที่ 30 ธ.ค. 2557 - 4 ม.ค. 2558 เกิดอุบัติเหตุรวม 2,733 ครั้ง ผู้เสียชีวิตรวม 302 ราย ผู้บาดเจ็บ 2,843 คน จังหวัดที่ไม่มีผู้เสียชีวิต (ตายเป็นศูนย์) มี 4 จังหวัด ได้แก่ ตรัง นราธิวาส สิงห์บุรี และ นครพนม จังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสะสมสูงสุด แก่ เชียงใหม่ 122 ครั้ง จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสะสมสูงสุด ได้แก่ เชียงใหม่ 15 ราย จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสะสมสูงสุด ได้แก่ เชียงใหม่ 119 คน
“อุบัติเหตุช่วง 5 วันที่ผ่านมา พบว่า ดื่มแล้วขับเป็นปัจจัยเสี่ยงสูงสุด แต่จากสถิติอุบัติเหตุวันที่ 4 ม.ค. ซึ่งเป็นวันหยุดวันสุดท้ายของเทศกาลปีใหม่ 2558 พบว่า การขับรถเร็วเกินกำหนด การขับรถตัดหน้ากระชั้นชิด เป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญ จึงประสานให้จังหวัดกำชับจุดตรวจเข้มงวดผู้ขับขี่ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงดังกล่าว เน้นการเรียกตรวจยานพาหนะให้มากขึ้น รวมถึงสนธิกำลังเจ้าหน้าที่ดูแลเส้นทางสายหลัก โดยเฉพาะจุดเสี่ยงบนถนนสายหลัก จุดตัดทางรถไฟ ควบคู่กับการดูแลถนนสายรอง โดยเฉพาะจุดตัดทางรถไฟที่เป็นทางลักผ่าน ให้ประสานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดอาสาสมัครดูแลเส้นทางดังกล่าวเป็นพิเศษ เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ” ม.ล.ปนัดดา กล่าว
นายไมตรี อินทุสุต รองปลัดกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า ประชาชนส่วนใหญ่เดินทางกลับจากภูมิลำเนาและท่องเที่ยวแล้ว ขณะที่ยังมีเพียงบางส่วนอยู่ระหว่างการเดินทาง ซึ่งจากการตรวจสอบสภาพการจราจร พบว่า หลายเส้นทางมีปริมาณรถน้อย โดยเฉพาะถนนสายหลักของจังหวัดใหญ่และเส้นทางจากภูมิภาคต่างๆ เข้าสู่กรุงเทพฯ ทำให้ผู้ขับขี่สามารถใช้ความเร็วสูง จึงขอเน้นย้ำให้จังหวัดเข้มงวดผู้ขับขี่ที่ขับรถด้วยความเร็วสูง เพื่อควบคุมการใช้ความเร็วที่อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุรุนแรง พร้อมบังคับใช้กฎหมายจราจร เพิ่มมาตรการตรวจสอบความพร้อมของผู้ขับขี่ และพนักงานขับรถโดยสารสาธารณะทุกประเภท กวดขันรถกระบะที่บรรทุกน้ำหนักเกินอัตรากำหนด เพื่อลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุ
นายฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดี ปภ. กล่าวว่า จากสถิติอุบัติเหตุทางถนนในช่วง 6 วันที่ผ่านมา พบว่า 2 ใน 3 ของผู้ประสบอุบัติเหตุเสียชีวิตในที่เกิดเหตุ แสดงให้เห็นว่า ดัชนีความรุนแรงของอุบัติเหตุเพิ่งสูงขึ้น โดยมีปัจจัยสำคัญจากการใช้ความเร็ว และความประมาทของผู้ขับขี่ จึงขอฝากผู้ขับขี่ปฏิบัติตามกฎหมายจราจรอย่างเคร่งครัด ไม่ขับรถเร็ว ไม่ประมาท ไม่ขับรถด้วยความคึกคะนอง คำนึงถึงความปลอดภัยของตนและผู้ร่วมใช้เส้นทางเป็นหลัก เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุรุนแรง นอกจากนี้จากการตรวจสอบสภาพอากาศ พบว่า หลายพื้นที่มีหมอกลงหนาแน่นในช่วงเช้า ซึ่งทัศนวิสัยไม่ดีอาจเป็นสาเหตุให้เกิดอุบัติเหตุได้ ขอฝากจังหวัดประชาสัมพันธ์ให้ผู้ขับขี่เพิ่มความระมัดระวังในการใช้รถใช้ถนน ไม่ขับรถเร็ว ไม่แซงในระยะกระชั้นชิด เว้นระยะห่างจากรถคันอื่นให้เหมาะสม เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการเดินทาง
นายพรหมมินทร์ กัณธิยะ ผู้อำนวยการสำนักงานเครือข่ายลดอุบัติเหตุ ประธานศูนย์ข้อมูลการสื่อสารเพื่อความปลอดภัย กล่าวว่า จากการรวบรวมข้อมูลผู้เสียชีวิตในช่วงเทศกาลปีใหม่ รวมทั้งประเทศสะสม 6 วัน มีรายละเอียดดังนี้ คือ อุบัติเหตุที่มีผู้เสียชีวิต 265 ครั้ง มีผู้เสียชีวิตรวม 302 คน เป็นเพศชาย 246 คน (81.46%) เพศหญิง 56 คน (18.54%) เป็นคนในพื้นที่ (ในตำบล/แขวง) 180 คน (59.60%) คนนอกพื้นที่ (ในจังหวัด) 54 คน (17.88%) เป็นผู้ขับขี่ 212 คน (70.20%) คนเดินเท้า 33 คน 10.93%) และเสียชีวิตในที่เกิดเหตุ 184 คน (61.13%) ระหว่างนำส่งโรงพยาบาล 13 คน (4.32%) เสียชีวิตที่โรงพยาบาล 104 คน (34.55%) ตามลำดับ
นพ.วชิระ เพ็งจันทร์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่าจากการประเมินช่วงอุบัติเหตุ ในเทศกาลปีใหม่ 2558 คาดว่า ปีนี้จะมีจำนวนผู้บาดเจ็บ และเสียชีวิตจากอุบัติเหตุลดลง เนื่องจากการตั้งด่านตรวจในเขตชุมชน ทำให้ผู้ขับขี่มีความระมัดระวังมากขึ้น แต่สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุส่วนใหญ่ ยังมาจากการเมาสุรา ขับขี่เร็วเกินกำหนด และอุบัติเหตุยังพบในทางหลวง และถนนสายรอง ส่วนพาหนะ ที่พบเกิดอุบัติเหตุมากที่สุด ยังเป็นรถจักรยานยนต์ ซึ่งเชื่อว่าปีนี้อุบัติเหตุจะลดลงถึงร้อยละ 10
ด้าน นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ผลการควบคุมการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์รอบ 8 วัน ฉลองเทศกาลปีใหม่ตั้งแต่ 27 ธ.ค. 2557 ถึง 4 ม.ค. 2558 เจ้าหน้าที่ 5 ทีม ได้ตรวจทั้งหมด 28 จังหวัดได้แก่ ชลบุรี(พัทยา) นครนายก นครปฐม อยุธยา นครสวรรค์ สมุทรสงคราม ราชบุรี เพชรบุรี ขอนแก่น อุดรธานี อุบลราชธานี พะเยา แม่ฮ่องสอน บุรีรัมย์ สุรินทร์ นครราชสีมา มหาสารคาม ชัยภูมิ ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ เลย เชียงใหม่ เชียงราย น่าน ชุมพร ประจวบคีรีขันธ์ สุราษฎร์ธานี และกรุงเทพ/ปริมณฑล ตรวจทั้งหมด 976 ราย พบผู้กระทำผิดและดำเนินคดีรวม 306 ราย ที่เหลืออีก 670 ราย ได้ตักเตือนให้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมาย
นพ.โสภณ กล่าวว่า ทั้งนี้ พบความผิด 7 ข้อหา ได้แก่ 1.การโฆษณาสื่อสารการตลาดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จำนวน 167 ราย มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 5 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 2.ขายด้วยวิธีการต้องห้ามคือเร่ขาย ลดแลกแจกแถม จำนวน 30 ราย มีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 3.ขายในสถานที่ต้องห้าม คือปั้มน้ำมัน ศาสนสถาน ร้านขายยา สถานที่ราชการ สวนสาธารณะ จำนวน 27 ราย มีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 4.บริโภคในสถานที่ต้องห้ามคือปั้มน้ำมัน ศาสนสถาน สถานที่ราชการ จำนวน 5 ราย มีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 5.ขายให้บุคคลอายุต่ำกว่า 20 ปี จำนวน 25 ราย มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ในจำนวนนี้ มี 13 ราย มีความผิดตามมาตรา 45 พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก ที่ห้ามเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ซื้อ/ดื่มสุรา 6.ขายโดยไม่มีใบอนุญาต จำนวน 66 ราย มีโทษปรับไม่เกิน 500 – 2,000 บาท และ 7.ขายนอกเวลาที่กฎหมายกำหนด 10 ราย มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 4 พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ โดยในปีนี้ค่าปรับร้อยละ 80 ยกเว้นกรณีของการโฆษณา จะแบ่งเป็นสินบนให้แก่ประชาชนที่ร่วมแจ้งเบาะแสและเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติการทุกคน เพื่อเป็นแรงจูงใจ ร่วมสร้างสังคมไทยเป็นสังคมที่ปลอดภัยจากผลกระทบการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่