กองทุนควบคุมยาสูบเวียดนาม ชื่นชม สสส.ไทย “โมเดลควบคุมยาสูบนานาชาติ” ตั้งเป้าลดบริโภคยาสูบ ปี 58 ปูพรม สร้างพื้นที่ปลอดบุหรี่ทั้งภาครัฐ-เอกชน-ชุมชน ให้คำปรึกษาเลิกบุหรี่หวังได้ผลอย่างไทย
เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม รศ. หลง ง็อค เค (Assoc. Prof. Luong Ngoc Khue) ผู้อำนวยการกองทุนควบคุมยาสูบเวียดนาม (Vietnam Tobacco Control Fund) ประเทศเวียดนาม กล่าวภายหลังการนำคณะกรรมการและผู้บริหารกองทุนควบคุมยาสูบประเทศเวียดนาม เดินทางมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวทางการดำเนินงานด้านการควบคุมยาสูบจากมูลนิธิเพื่อสังคมอาเซียนปลอดบุหรี่ (SEATCA) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ว่า ประเทศเวียดนาม ได้เริ่มมีการกำหนดทิศทางการทำงานและวางรากฐานการดำเนินงานของกองทุนฯ ซึ่งจากเรียนรู้การทำงานร่วมกับ สสส. เห็นว่าการสร้างพื้นที่ปลอดบุหรี่เป็นมาตรการสำคัญที่ได้ผล ช่วยลดการบริโภคยาสูบได้จริง โดยกองทุนควบคุมยาสูบเวียดนาม ได้กำหนดเป้าหมายการทำงานในระยะแรกคือ ริเริ่มโครงการนำร่องเพื่อลด ละ เลิกสูบบุหรี่ทั้งในหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และชุมชน โดยทำงานร่วมกับเครือข่ายจังหวัด เพื่อร่วมสร้างความตระหนักแก่สังคมเวียดนาม
รศ.หลง กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ ทางเวียดนามจะจัดตั้งหน่วยงานให้คำปรึกษาเพื่อเลิกบุหรี่แก่ประชาชน และในอนาคต จะบรรจุเรื่องการให้องค์ความรู้อันตรายของบุหรี่อยู่ในหลักสูตรการศึกษา ซึ่งเป็นแนวทางการทำงานเดียวกับ สสส. ที่เป็นต้นแบบการทำงานควบคุมยาสูบที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก ซึ่งมีหลายๆ ประเทศได้นำรูปแบบการทำงานนี้พัฒนาต่อยอด นอกจากนี้ จะเน้นการรณรงค์สังคมให้ประชาชนเวียดนามรับรู้และเข้าใจถึงอันตรายของการบริโภคยาสูบ ทั้งในสื่อโทรทัศน์ระดับชาติและท้องถิ่น หนังสือพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง และป้ายโฆษณาตามเมืองใหญ่ เมืองท่องเที่ยว
ทพ.กฤษดา เรืองอารีย์รัชต์ ผู้จัดการ สสส. กล่าวว่า จากประสบการณ์การทำงานควบคุมยาสูบของไทย พบว่าในช่วงแรกที่ดำเนินงาน สสส. เผชิญอุปสรรค โดยเฉพาะการบริหารงานให้มีประสิทธิภาพเพื่อพิสูจน์ผลลัพธ์ของการทำงานให้เป็นที่ประจักษ์แก่สังคม หลังจากทำงานอย่างเข้มข้นในช่วง 1-2 ปีแรก ควรทบทวนว่า องค์กรได้เรียนรู้อะไร เพื่อปรับแนวทางการทำงานให้เหมาะสม รวมถึงต้องวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อนการทำงาน โดย สสส. ให้คำแนะนำเรื่องการพัฒนาศักยภาพการทำงานของภาคีเครือข่ายที่อาจยังไม่เข้มแข็ง เพราะเพิ่งเริ่มก่อตั้งองค์กร ดังนั้นกองทุนฯ ควรสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพ รวมถึงติดตามงานของภาคีอย่างต่อเนื่อง ที่สำคัญ ควรวางแผนงานทั้งในระยะสั้น และระยะยาวให้ชัดเจน เช่นเดียวกับ สสส. ที่มีการทบทวนการทำงาน และมีแผนงานย่อย เป็นทิศทางให้เดินไปสู่เป้าหมาย 10 ปี เป็นต้น
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม รศ. หลง ง็อค เค (Assoc. Prof. Luong Ngoc Khue) ผู้อำนวยการกองทุนควบคุมยาสูบเวียดนาม (Vietnam Tobacco Control Fund) ประเทศเวียดนาม กล่าวภายหลังการนำคณะกรรมการและผู้บริหารกองทุนควบคุมยาสูบประเทศเวียดนาม เดินทางมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวทางการดำเนินงานด้านการควบคุมยาสูบจากมูลนิธิเพื่อสังคมอาเซียนปลอดบุหรี่ (SEATCA) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ว่า ประเทศเวียดนาม ได้เริ่มมีการกำหนดทิศทางการทำงานและวางรากฐานการดำเนินงานของกองทุนฯ ซึ่งจากเรียนรู้การทำงานร่วมกับ สสส. เห็นว่าการสร้างพื้นที่ปลอดบุหรี่เป็นมาตรการสำคัญที่ได้ผล ช่วยลดการบริโภคยาสูบได้จริง โดยกองทุนควบคุมยาสูบเวียดนาม ได้กำหนดเป้าหมายการทำงานในระยะแรกคือ ริเริ่มโครงการนำร่องเพื่อลด ละ เลิกสูบบุหรี่ทั้งในหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และชุมชน โดยทำงานร่วมกับเครือข่ายจังหวัด เพื่อร่วมสร้างความตระหนักแก่สังคมเวียดนาม
รศ.หลง กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ ทางเวียดนามจะจัดตั้งหน่วยงานให้คำปรึกษาเพื่อเลิกบุหรี่แก่ประชาชน และในอนาคต จะบรรจุเรื่องการให้องค์ความรู้อันตรายของบุหรี่อยู่ในหลักสูตรการศึกษา ซึ่งเป็นแนวทางการทำงานเดียวกับ สสส. ที่เป็นต้นแบบการทำงานควบคุมยาสูบที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก ซึ่งมีหลายๆ ประเทศได้นำรูปแบบการทำงานนี้พัฒนาต่อยอด นอกจากนี้ จะเน้นการรณรงค์สังคมให้ประชาชนเวียดนามรับรู้และเข้าใจถึงอันตรายของการบริโภคยาสูบ ทั้งในสื่อโทรทัศน์ระดับชาติและท้องถิ่น หนังสือพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง และป้ายโฆษณาตามเมืองใหญ่ เมืองท่องเที่ยว
ทพ.กฤษดา เรืองอารีย์รัชต์ ผู้จัดการ สสส. กล่าวว่า จากประสบการณ์การทำงานควบคุมยาสูบของไทย พบว่าในช่วงแรกที่ดำเนินงาน สสส. เผชิญอุปสรรค โดยเฉพาะการบริหารงานให้มีประสิทธิภาพเพื่อพิสูจน์ผลลัพธ์ของการทำงานให้เป็นที่ประจักษ์แก่สังคม หลังจากทำงานอย่างเข้มข้นในช่วง 1-2 ปีแรก ควรทบทวนว่า องค์กรได้เรียนรู้อะไร เพื่อปรับแนวทางการทำงานให้เหมาะสม รวมถึงต้องวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อนการทำงาน โดย สสส. ให้คำแนะนำเรื่องการพัฒนาศักยภาพการทำงานของภาคีเครือข่ายที่อาจยังไม่เข้มแข็ง เพราะเพิ่งเริ่มก่อตั้งองค์กร ดังนั้นกองทุนฯ ควรสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพ รวมถึงติดตามงานของภาคีอย่างต่อเนื่อง ที่สำคัญ ควรวางแผนงานทั้งในระยะสั้น และระยะยาวให้ชัดเจน เช่นเดียวกับ สสส. ที่มีการทบทวนการทำงาน และมีแผนงานย่อย เป็นทิศทางให้เดินไปสู่เป้าหมาย 10 ปี เป็นต้น
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่