ก.แรงงาน เดินหน้าแก้ค้ามนุษย์ด้านประมง จัดทำฐานข้อมูลเชื่อมโยงกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พร้อมเลือกบุคลากรลงทีมออกตรวจเน้นจังหวัดที่มีเรือเข้า - ออก มาก
นายอารักษ์ พรหมณี รองปลัดกระทรวงแรงงาน (รง.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ที่ประชุมคณะทำงานจัดทำและติดตามแผนปฏิบัติการต่อต้านการค้ามนุษย์ ได้รับรายงานความคืบหน้าการดำเนินงานการตรวจแรงงานประมงแบบบูรณาการในพื้นที่จังหวัดติดชายทะเล 22 จังหวัด ของกระทรวงแรงงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กองทัพเรือ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรมประมง กรมเจ้าท่าโดยได้ตรวจเรือ 58 ลำ ลูกจ้าง 761 คน ซึ่งพบการปฏิบัติไม่ถูกต้อง โดยไม่มีเอกสารการจ้างและเอกสารทะเบียนลูกจ้างจำนวน 1 ลำ ลูกจ้าง 30 คน เบื้องต้นเจ้าพนักงานได้ออกคำสั่งให้ปฏิบัติให้ถูกต้องแล้ว นอกจากนี้ ยังได้หารือถึงแผนการตรวจจะมุ่งเน้นไปที่จังหวัดที่มีเรือเข้าออกมาก เช่น สมุทรสาคร ปัตตานี ซึ่งการตรวจจะเน้นการเชื่อมโยงระบบข้อมูลจากกรมประมงโดยกระทรวงแรงงานจะเตรียมความพร้อมด้านอุปกรณ์ไอทีเพื่อมารองรับระบบข้อมูลดังกล่าวโดยในระยะแรกจะเป็นฐานข้อมูลตั้งต้นที่จะเป็นประโยชน์ต่อด้านการข่าว และจุดเริ่มต้นของการทำงาน เนื่องจากหากไม่มีระบบการจัดเก็บข้อมูลที่ดีจะติดตามยาก รวมทั้งได้ให้กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานแจ้งไปยัง 22 จังหวัดชายฝั่งทะเล เพื่อแต่งตั้งแรงงานจังหวัดร่วมเป็นคณะทำงานโดยให้รายงานต่อที่ประชุมทุกเดือน
นายอารักษ์ กล่าวอีกว่า จะตั้งทีมตรวจแรงงานประมงโดยคัดเลือกบุคลากรของกระทรวงแรงงานเป็นผู้ชายที่มีอายุไม่เกิน 35 ปี ร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงเข้ารับการอบรมด้านการตรวจแรงงานประมงจากกองทัพเรือ กรมประมงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเรียนรู้เรื่องอุปกรณ์เครื่องมือประมง และฝึกทักษะที่จำเป็นเบื้องต้น ส่วนระยะที่สองจะเน้นการปราบปรามจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ (ปคม.) กองบังคับการตำรวจน้ำ ซึ่งในอนาคตจะสามารถนำเข้าแรงงานประมงอย่างถูกต้องตามกฎหมาย เนื่องจากอาจมีการนำเข้าแรงงานมากกว่า 3 สัญชาติในปัจจุบัน
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
นายอารักษ์ พรหมณี รองปลัดกระทรวงแรงงาน (รง.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ที่ประชุมคณะทำงานจัดทำและติดตามแผนปฏิบัติการต่อต้านการค้ามนุษย์ ได้รับรายงานความคืบหน้าการดำเนินงานการตรวจแรงงานประมงแบบบูรณาการในพื้นที่จังหวัดติดชายทะเล 22 จังหวัด ของกระทรวงแรงงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กองทัพเรือ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรมประมง กรมเจ้าท่าโดยได้ตรวจเรือ 58 ลำ ลูกจ้าง 761 คน ซึ่งพบการปฏิบัติไม่ถูกต้อง โดยไม่มีเอกสารการจ้างและเอกสารทะเบียนลูกจ้างจำนวน 1 ลำ ลูกจ้าง 30 คน เบื้องต้นเจ้าพนักงานได้ออกคำสั่งให้ปฏิบัติให้ถูกต้องแล้ว นอกจากนี้ ยังได้หารือถึงแผนการตรวจจะมุ่งเน้นไปที่จังหวัดที่มีเรือเข้าออกมาก เช่น สมุทรสาคร ปัตตานี ซึ่งการตรวจจะเน้นการเชื่อมโยงระบบข้อมูลจากกรมประมงโดยกระทรวงแรงงานจะเตรียมความพร้อมด้านอุปกรณ์ไอทีเพื่อมารองรับระบบข้อมูลดังกล่าวโดยในระยะแรกจะเป็นฐานข้อมูลตั้งต้นที่จะเป็นประโยชน์ต่อด้านการข่าว และจุดเริ่มต้นของการทำงาน เนื่องจากหากไม่มีระบบการจัดเก็บข้อมูลที่ดีจะติดตามยาก รวมทั้งได้ให้กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานแจ้งไปยัง 22 จังหวัดชายฝั่งทะเล เพื่อแต่งตั้งแรงงานจังหวัดร่วมเป็นคณะทำงานโดยให้รายงานต่อที่ประชุมทุกเดือน
นายอารักษ์ กล่าวอีกว่า จะตั้งทีมตรวจแรงงานประมงโดยคัดเลือกบุคลากรของกระทรวงแรงงานเป็นผู้ชายที่มีอายุไม่เกิน 35 ปี ร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงเข้ารับการอบรมด้านการตรวจแรงงานประมงจากกองทัพเรือ กรมประมงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเรียนรู้เรื่องอุปกรณ์เครื่องมือประมง และฝึกทักษะที่จำเป็นเบื้องต้น ส่วนระยะที่สองจะเน้นการปราบปรามจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ (ปคม.) กองบังคับการตำรวจน้ำ ซึ่งในอนาคตจะสามารถนำเข้าแรงงานประมงอย่างถูกต้องตามกฎหมาย เนื่องจากอาจมีการนำเข้าแรงงานมากกว่า 3 สัญชาติในปัจจุบัน
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่