เผยผลสำรวจพบว่างงาน กว่า 1 แสนคน ความต้องการแรงงานของสถานประกอบการ ปี 57 พบ ธุรกิจขายปลีก - ส่งขาดแคลนแรงงานมากสุด ขณะที่อัตราค่าจ้าง จ.ภูเก็ต เฉลี่ยสูงสุด ในปี 56 -57 ปีนี้ศรีสะเกษค่าจ้างเฉลี่ยต่ำสุด
นายนคร ศิลปอาชา ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า เมื่อเร็วๆ นี้ สำนักเศรษฐกิจการแรงงาน กระทรวงแรงงาน ได้รายงานเกี่ยวกับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเปรียบเทียบกับค่าจ้างจริง ซึ่งจากการสำรวจพบว่า ปี 2557 มี 17 จังหวัดที่มีค่าจ้างจริงเฉลี่ยต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท จังหวัดที่มีค่าจ้างจริงเฉลี่ยสูงที่สุดทั้งปี 2556 และ 2557 คือ ภูเก็ต รองลงมาคือ กรุงเทพฯ ส่วนจังหวัดที่มีค่าจ้างจริงเฉลี่ยต่ำที่สุดในปี 2556 คือ นราธิวาส และปี 2557 คือ ศรีสะเกษ จังหวัดที่มีมาตรฐานการครองชีพสูงมากขึ้น ซึ่งอยู่นอกปริมณฑลและเป็นเมืองอุตสาหกรรม คือ ชลบุรี ระยอง และปราจีนบุรี ส่วนผลสำรวจข้อมูลความต้องการและการขาดแคลนแรงงานของสถานประกอบการ ปี 2557 พบว่า ความต้องการแรงงานในกิจการขายส่ง ขายปลีกมากสุดอยู่ที่ร้อยละ 22.92 รองลงมาคือ ก่อสร้างร้อยละ 8.38 และที่พักแรมและบริการด้านอาหารร้อยละ 7.30 ตามลำดับ
ส่วนระดับการศึกษาที่ต้องการแรงงานมากที่สุดคือ ต่ำกว่า ม.3 อยู่ที่ ร้อยละ 23.04 รองลงมาคือ ป.ตรีและสูงกว่า ร้อยละ 22.53 และ ม.3 อยู่ที่ ร้อยละ 16.74 ตามลำดับ ขณะที่ทักษะฝีมือที่ต้องการมากที่สุดคือ แรงงานมีฝีมือร้อยละ 45.42 รองลงมาเป็นแรงงานกึ่งฝีมือร้อยละ 28.44 และแรงงานไร้ฝีมือ ร้อยละ 24.97 ตามลำดับ
ขณะที่ภาวะเศรษฐกิจและแนวโน้มเดือนตุลาคม 2557 พบว่า เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวแต่ค่อนข้างช้าและไม่ชัดเจนในทุกภาคส่วนโดยอุปสงค์ภาคเอกชนมีบทบาทมากขึ้นในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ แต่บางส่วนถูกรั้งไว้ด้วยราคาสินค้าเกษตรที่ตกต่ำ ภาระหนี้ในครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง ภาคการท่องเที่ยวฟื้นตัวเป็นลำดับ ความต้องการที่อยู่อาศัยมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่องตามความเชื่อมั่นที่เพิ่มขึ้น สะท้อนจากอัตราการจองซื้อที่อยู่อาศัยใหม่ที่ปรับตัวดีขึ้น ส่วนเสถียรภาพในประเทศ อัตราการว่างงานอยู่ในระดับต่ำ อัตราเงินเฟ้อลดลงตามราคาพลังงานและอาหารสด ขณะที่เสถียรภาพต่างประเทศ ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลจากการขาดดุลบริการ รายได้ และเงินโอนตามการส่งกลับกำไรและเงินปันผล ส่วนดุลเงินทุนเคลื่อนย้ายขาดดุล โดยรวมดุลการชำระเงินขาดดุล ส่วนสถานการณ์การจ้างงานกันยายน 57 มีผู้ว่างงาน 118,680 คน อัตราการขยายตัว ร้อยละ10.28 อัตราการเติบโตของผู้ประกันตนมาตรา 33 เดือนตุลาคม 57 อยู่ที่ร้อยละ 2.29
ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวต่อว่า ขอให้สำนักงานคณะกรรมการค่าจ้าง นำรายงานสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจแรงงานสรุปเป็นรายงานสำหรับผู้บริหาร โดยจะรายงานเป็นรายเดือน หรือรายไตรมาสนั้นจะต้องขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการค่าจ้างก่อน เพื่อเสนอนายกรัฐมนตรีในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีรับทราบด้วย
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
นายนคร ศิลปอาชา ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า เมื่อเร็วๆ นี้ สำนักเศรษฐกิจการแรงงาน กระทรวงแรงงาน ได้รายงานเกี่ยวกับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเปรียบเทียบกับค่าจ้างจริง ซึ่งจากการสำรวจพบว่า ปี 2557 มี 17 จังหวัดที่มีค่าจ้างจริงเฉลี่ยต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท จังหวัดที่มีค่าจ้างจริงเฉลี่ยสูงที่สุดทั้งปี 2556 และ 2557 คือ ภูเก็ต รองลงมาคือ กรุงเทพฯ ส่วนจังหวัดที่มีค่าจ้างจริงเฉลี่ยต่ำที่สุดในปี 2556 คือ นราธิวาส และปี 2557 คือ ศรีสะเกษ จังหวัดที่มีมาตรฐานการครองชีพสูงมากขึ้น ซึ่งอยู่นอกปริมณฑลและเป็นเมืองอุตสาหกรรม คือ ชลบุรี ระยอง และปราจีนบุรี ส่วนผลสำรวจข้อมูลความต้องการและการขาดแคลนแรงงานของสถานประกอบการ ปี 2557 พบว่า ความต้องการแรงงานในกิจการขายส่ง ขายปลีกมากสุดอยู่ที่ร้อยละ 22.92 รองลงมาคือ ก่อสร้างร้อยละ 8.38 และที่พักแรมและบริการด้านอาหารร้อยละ 7.30 ตามลำดับ
ส่วนระดับการศึกษาที่ต้องการแรงงานมากที่สุดคือ ต่ำกว่า ม.3 อยู่ที่ ร้อยละ 23.04 รองลงมาคือ ป.ตรีและสูงกว่า ร้อยละ 22.53 และ ม.3 อยู่ที่ ร้อยละ 16.74 ตามลำดับ ขณะที่ทักษะฝีมือที่ต้องการมากที่สุดคือ แรงงานมีฝีมือร้อยละ 45.42 รองลงมาเป็นแรงงานกึ่งฝีมือร้อยละ 28.44 และแรงงานไร้ฝีมือ ร้อยละ 24.97 ตามลำดับ
ขณะที่ภาวะเศรษฐกิจและแนวโน้มเดือนตุลาคม 2557 พบว่า เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวแต่ค่อนข้างช้าและไม่ชัดเจนในทุกภาคส่วนโดยอุปสงค์ภาคเอกชนมีบทบาทมากขึ้นในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ แต่บางส่วนถูกรั้งไว้ด้วยราคาสินค้าเกษตรที่ตกต่ำ ภาระหนี้ในครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง ภาคการท่องเที่ยวฟื้นตัวเป็นลำดับ ความต้องการที่อยู่อาศัยมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่องตามความเชื่อมั่นที่เพิ่มขึ้น สะท้อนจากอัตราการจองซื้อที่อยู่อาศัยใหม่ที่ปรับตัวดีขึ้น ส่วนเสถียรภาพในประเทศ อัตราการว่างงานอยู่ในระดับต่ำ อัตราเงินเฟ้อลดลงตามราคาพลังงานและอาหารสด ขณะที่เสถียรภาพต่างประเทศ ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลจากการขาดดุลบริการ รายได้ และเงินโอนตามการส่งกลับกำไรและเงินปันผล ส่วนดุลเงินทุนเคลื่อนย้ายขาดดุล โดยรวมดุลการชำระเงินขาดดุล ส่วนสถานการณ์การจ้างงานกันยายน 57 มีผู้ว่างงาน 118,680 คน อัตราการขยายตัว ร้อยละ10.28 อัตราการเติบโตของผู้ประกันตนมาตรา 33 เดือนตุลาคม 57 อยู่ที่ร้อยละ 2.29
ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวต่อว่า ขอให้สำนักงานคณะกรรมการค่าจ้าง นำรายงานสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจแรงงานสรุปเป็นรายงานสำหรับผู้บริหาร โดยจะรายงานเป็นรายเดือน หรือรายไตรมาสนั้นจะต้องขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการค่าจ้างก่อน เพื่อเสนอนายกรัฐมนตรีในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีรับทราบด้วย
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่