คณะอนุ กก.ค่าจ้างจังหวัด แนะคงค่าจ้าง 300 บาท ถึงปี 2558 ชี้ภาวะเศรษฐกิจอยู่ในเกณฑ์ปกติ ชี้ค่าจ้างไม่ควรเท่ากันทุกจังหวัด ให้เป็นไปตามสภาพเศรษฐกิจ - การจ้างงานแต่ละพื้นที่
วันนี้ (11 ก.ย.) นายพีรพัฒน์ พรศิริเลิศกิจ รองปลัดกระทรวงแรงงาน (รง.) เปิดเผยว่า ตนได้รับมอบหมายจากนายจีรศักดิ์ สุคนธชาติ ปลัดกระทรวงแรงงาน ให้ทำหน้าที่ประธานการประชุมคณะกรรมการค่าจ้าง (บอร์ดค่าจ้าง) เมื่อวันที่ 10 ก.ย. 2557 ที่ผ่านมาโดยในที่ประชุมได้พิจารณาคณะอนุกรรมการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจังหวัดข้อเสนอแนะในเรื่องการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเข้ามาเพิ่มเติมอีกกว่า 20 จังหวัด ทำให้ขณะนี้บอร์ดค่าจ้างได้รับความเห็นจากคณะอนุกรรมการแล้วกว่า 70 จังหวัด ซึ่งสรุปโดยภาพรวมคณะอนุกรรมกรรมการต่างเห็นว่าควรคงค่าจ้างขั้นต่ำไว้ที่วันละ 300 บาท ไปจนถึงปี 2558 ซึ่งเป็นไปตามมติของบอร์ดค่าจ้างที่เคยมีมาก่อนหน้านี้ เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจยังอยู่ในเกณฑ์ปกติ และเห็นว่าค่าจ้างขั้นต่ำไม่ควรมีอัตราเท่ากันทุกจังหวัด เพราะสภาพเศรษฐกิจและการจ้างงานแต่ละจังหวัดต่างกัน รวมทั้งการเมืองต้องไม่ใช้เรื่องค่าจ้างขั้นต่ำมากำหนดเป็นนโยบาย ควรให้เป็นไปตามสภาพเศรษฐกิจและกลไกตลาดแรงงานของประเทศ ทั้งนี้ การปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำในอนาคตนั้น บอร์ดค่าจ้างกำลังพิจารณาความเป็นไปได้ในการกำหนดโครงสร้างค่าจ้างแยกเป็นรายอาชีพ
รองปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวอีกว่า ขณะเดียวกัน ที่ประชุมกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) ได้รายงานผลการตรวจแรงงานในเรื่องการจ่ายค่าจ้างขั้นต่ำวันละ 300 บาท ในช่วงเดือนมกราคม - สิงหาคม 2557 พบว่ามีสถานประกอบการผ่านการตรวจ 33,014 แห่ง ลูกจ้าง 1,117,909 คน และสถานประกอบการปฏิบัติไม่ถูกต้อง 991 แห่ง ลูกจ้าง 23,414 คน ซึ่งสถานประกอบการที่ปฏิบัติไม่ถูกต้อง ทาง กสร. จะออกหนังสือเตือนก่อน หากไม่ปฏิบัติตามก็จะลงโทษตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานโดยมีโทษปรับ จำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ นอกจากนี้ ที่ประชุมได้ให้ คณะอนุกรรมการบอร์ดค่าจ้างจังหวัด ไปสำรวจในจังหวัดต่างๆ ว่า มีแรงงานฝีมือที่ผ่านการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติในสาขาต่างๆ ในพื้นที่จำนวนเท่าใด มีสาขาใดบ้าง และอยู่ในระดับใด รวมทั้งแรงงานฝีมือในกลุ่มนี้ที่ยังไม่ได้รับค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือมีจำนวนเท่าใดเพื่อพิจารณาหาทางช่วยเหลือให้ได้รับค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ
นายพีรพัฒน์ กล่าวอีกว่า ที่ประชุมยังหารือถึงสภาพเศรษฐกิจของประเทศในช่วงนี้ ซึ่งโดยภาพรวมภาวะเศรษฐกิจดีขึ้น ทั้งนี้ ข้อมูลของหน่วยงานต่างๆ พบว่า การจ้างงานของสถานประกอบการต่างๆ ยังคงขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 2.45 และการเลิกจ้างลดลง อัตราการว่างงานอยู่ในระดับต่ำเพียงร้อยละ 1
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (11 ก.ย.) นายพีรพัฒน์ พรศิริเลิศกิจ รองปลัดกระทรวงแรงงาน (รง.) เปิดเผยว่า ตนได้รับมอบหมายจากนายจีรศักดิ์ สุคนธชาติ ปลัดกระทรวงแรงงาน ให้ทำหน้าที่ประธานการประชุมคณะกรรมการค่าจ้าง (บอร์ดค่าจ้าง) เมื่อวันที่ 10 ก.ย. 2557 ที่ผ่านมาโดยในที่ประชุมได้พิจารณาคณะอนุกรรมการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจังหวัดข้อเสนอแนะในเรื่องการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเข้ามาเพิ่มเติมอีกกว่า 20 จังหวัด ทำให้ขณะนี้บอร์ดค่าจ้างได้รับความเห็นจากคณะอนุกรรมการแล้วกว่า 70 จังหวัด ซึ่งสรุปโดยภาพรวมคณะอนุกรรมกรรมการต่างเห็นว่าควรคงค่าจ้างขั้นต่ำไว้ที่วันละ 300 บาท ไปจนถึงปี 2558 ซึ่งเป็นไปตามมติของบอร์ดค่าจ้างที่เคยมีมาก่อนหน้านี้ เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจยังอยู่ในเกณฑ์ปกติ และเห็นว่าค่าจ้างขั้นต่ำไม่ควรมีอัตราเท่ากันทุกจังหวัด เพราะสภาพเศรษฐกิจและการจ้างงานแต่ละจังหวัดต่างกัน รวมทั้งการเมืองต้องไม่ใช้เรื่องค่าจ้างขั้นต่ำมากำหนดเป็นนโยบาย ควรให้เป็นไปตามสภาพเศรษฐกิจและกลไกตลาดแรงงานของประเทศ ทั้งนี้ การปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำในอนาคตนั้น บอร์ดค่าจ้างกำลังพิจารณาความเป็นไปได้ในการกำหนดโครงสร้างค่าจ้างแยกเป็นรายอาชีพ
รองปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวอีกว่า ขณะเดียวกัน ที่ประชุมกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) ได้รายงานผลการตรวจแรงงานในเรื่องการจ่ายค่าจ้างขั้นต่ำวันละ 300 บาท ในช่วงเดือนมกราคม - สิงหาคม 2557 พบว่ามีสถานประกอบการผ่านการตรวจ 33,014 แห่ง ลูกจ้าง 1,117,909 คน และสถานประกอบการปฏิบัติไม่ถูกต้อง 991 แห่ง ลูกจ้าง 23,414 คน ซึ่งสถานประกอบการที่ปฏิบัติไม่ถูกต้อง ทาง กสร. จะออกหนังสือเตือนก่อน หากไม่ปฏิบัติตามก็จะลงโทษตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานโดยมีโทษปรับ จำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ นอกจากนี้ ที่ประชุมได้ให้ คณะอนุกรรมการบอร์ดค่าจ้างจังหวัด ไปสำรวจในจังหวัดต่างๆ ว่า มีแรงงานฝีมือที่ผ่านการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติในสาขาต่างๆ ในพื้นที่จำนวนเท่าใด มีสาขาใดบ้าง และอยู่ในระดับใด รวมทั้งแรงงานฝีมือในกลุ่มนี้ที่ยังไม่ได้รับค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือมีจำนวนเท่าใดเพื่อพิจารณาหาทางช่วยเหลือให้ได้รับค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ
นายพีรพัฒน์ กล่าวอีกว่า ที่ประชุมยังหารือถึงสภาพเศรษฐกิจของประเทศในช่วงนี้ ซึ่งโดยภาพรวมภาวะเศรษฐกิจดีขึ้น ทั้งนี้ ข้อมูลของหน่วยงานต่างๆ พบว่า การจ้างงานของสถานประกอบการต่างๆ ยังคงขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 2.45 และการเลิกจ้างลดลง อัตราการว่างงานอยู่ในระดับต่ำเพียงร้อยละ 1
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่