ดึงกระบวนการ “ไคเซน” ต้นแบบจากญี่ปุ่นพัฒนาคุณภาพการทำงานแรงงานนอกระบบ กลุ่มรับงานไปทำที่บ้าน ชี้ช่วยลดต้นทุน เวลา สร้างงานใหม่ที่มีคุณภาพ ตั้งเป้าสร้างความยั่งยืนขยายผลสู่การพัฒนาฝีมือแรงงาน
วันนี้ (26 ส.ค. ) ที่กระทรวงแรงงาน นายจีรศักดิ์ สุคนธชาติ ปลัดกระทรวงแรงงาน เป็นประธานเปิดงาน โครงการสัมมนา “BEST PRACTICE KAIZEN” จัดโดยกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) ว่า ไคเซนคือต้นแบบกระบวนการพัฒนาการทำงานจากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งจะเป็นการต่อยอดการทำงาน นำมาใช้เพื่อการทำงานในสถานประกอบการ ช่วยสร้างความชำนาญ ของผู้ปฏิบัติงาน ช่วยในการย่นระยะเวลา ลดค่าใช้จ่าย ได้งานที่มากขึ้น รวมถึงการสร้างงานใหม่ที่มีคุณภาพ โดยงานนี้จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมความรู้ พัฒนาระบบการบริหารจัดการผลผลิตให้กลุ่มผู้รับงานไปทำที่บ้าน ผู้จ้างงานนำไปขยายผลต่อ เนื่องจากปัจจุบันมีพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน พ.ศ. 2553 เพื่อให้ได้รับความเป็นธรรมในเรื่อง สภาพการจ้างงาน ค่าตอบแทน สวัสดิการ ความปลอดภัยในการทำงานและมีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยเฉพาะการรับงานจากโรงงานอุตสาหกรรมไปทำที่บ้าน ซึ่งระบบจัดการไคเซนเป็นแนวคิดที่ดีในการจะนำมาพัฒนากระบวนการทำงานให้แก่แรงงานนอกระบบและกลุ่มที่รับงานไปทำที่บ้าน โดยมีวิทยากรจาก บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด มาบรรยายในหัวข้อ “เทคนิค BEST PRATICE KAIZEN” และการบรรยายหัวข้อ “นโยบายและทิศทางการคุ้มครองแรงงานนอกระบบ” โดย นายอนุชน วรินทร์เสถียร ผู้อำนวยการสำนักคุ้มครองแรงงาน
“ตั้งเป้าให้กระบวนการนี้มีความยั่งยืน เพราะเป็นมากกว่าการช่วยพัฒนาฝีมือแรงงาน แต่ก็จะส่งมอบให้ กสร.ประสานกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) เพื่อนำไปช่วยในการพัฒนาฝีมือ เพิ่มศักยภาพของแรงงานไทยต่อไป” ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าว
ด้าน นายพานิช จิตร์แจ้ง อธิบดี กสร. กล่าวว่า ปัจจุบันมีอุตสาหกรรมที่ขึ้นทะเบียนการจ้างงานของกลุ่มผู้รับงานไปทำที่บ้านจำนวน 10 กลุ่ม ส่วนผู้รับงานไปทำที่บ้านที่ขึ้นทะเบียนไว้มีจำนวน 90 กลุ่ม รวม 22,000 คน จากทั่วประเทศ ซึ่งผู้จ้างงานและผู้รับงานไปทำที่บ้านได้นำระบบไคเซนไปประยุกต์ใช้ในการทำงานเพื่อลดต้นทุนการผลิต พัฒนาผลผลิตให้มีคุณภาพ
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (26 ส.ค. ) ที่กระทรวงแรงงาน นายจีรศักดิ์ สุคนธชาติ ปลัดกระทรวงแรงงาน เป็นประธานเปิดงาน โครงการสัมมนา “BEST PRACTICE KAIZEN” จัดโดยกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) ว่า ไคเซนคือต้นแบบกระบวนการพัฒนาการทำงานจากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งจะเป็นการต่อยอดการทำงาน นำมาใช้เพื่อการทำงานในสถานประกอบการ ช่วยสร้างความชำนาญ ของผู้ปฏิบัติงาน ช่วยในการย่นระยะเวลา ลดค่าใช้จ่าย ได้งานที่มากขึ้น รวมถึงการสร้างงานใหม่ที่มีคุณภาพ โดยงานนี้จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมความรู้ พัฒนาระบบการบริหารจัดการผลผลิตให้กลุ่มผู้รับงานไปทำที่บ้าน ผู้จ้างงานนำไปขยายผลต่อ เนื่องจากปัจจุบันมีพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน พ.ศ. 2553 เพื่อให้ได้รับความเป็นธรรมในเรื่อง สภาพการจ้างงาน ค่าตอบแทน สวัสดิการ ความปลอดภัยในการทำงานและมีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยเฉพาะการรับงานจากโรงงานอุตสาหกรรมไปทำที่บ้าน ซึ่งระบบจัดการไคเซนเป็นแนวคิดที่ดีในการจะนำมาพัฒนากระบวนการทำงานให้แก่แรงงานนอกระบบและกลุ่มที่รับงานไปทำที่บ้าน โดยมีวิทยากรจาก บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด มาบรรยายในหัวข้อ “เทคนิค BEST PRATICE KAIZEN” และการบรรยายหัวข้อ “นโยบายและทิศทางการคุ้มครองแรงงานนอกระบบ” โดย นายอนุชน วรินทร์เสถียร ผู้อำนวยการสำนักคุ้มครองแรงงาน
“ตั้งเป้าให้กระบวนการนี้มีความยั่งยืน เพราะเป็นมากกว่าการช่วยพัฒนาฝีมือแรงงาน แต่ก็จะส่งมอบให้ กสร.ประสานกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) เพื่อนำไปช่วยในการพัฒนาฝีมือ เพิ่มศักยภาพของแรงงานไทยต่อไป” ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าว
ด้าน นายพานิช จิตร์แจ้ง อธิบดี กสร. กล่าวว่า ปัจจุบันมีอุตสาหกรรมที่ขึ้นทะเบียนการจ้างงานของกลุ่มผู้รับงานไปทำที่บ้านจำนวน 10 กลุ่ม ส่วนผู้รับงานไปทำที่บ้านที่ขึ้นทะเบียนไว้มีจำนวน 90 กลุ่ม รวม 22,000 คน จากทั่วประเทศ ซึ่งผู้จ้างงานและผู้รับงานไปทำที่บ้านได้นำระบบไคเซนไปประยุกต์ใช้ในการทำงานเพื่อลดต้นทุนการผลิต พัฒนาผลผลิตให้มีคุณภาพ
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่