เล็งหาแรงงานป้อนเขตเศรษฐกิจพิเศษ 5 จังหวัด ใช้บัตรผ่านแดนชั่วคราว เตรียมตั้ง 5 ศูนย์คุ้มครองแรงงานรองรับ เสนอต่อคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ เดือน ก.ย.นี้
วันนี้ (19 ส.ค.) ที่กระทรวงแรงงาน นายจีรศักดิ์ สุคนธชาติ ปลัดกระทรวงแรงงานกล่าวภายหลังการประชุมคณะอนุกรรมการศูนย์บริการเบ็ดเสร็จด้านแรงงาน สาธารณสุขและความมั่นคง ว่า ที่ประชุมได้หารือเรื่องเอกสารการผ่านแดนของเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษใน 5 จังหวัด ได้แก่ มุกดาหาร สงขลา สระแก้ว ตราด และ ตาก ซึ่งแนวโน้มจะใช้เป็นบัตรผ่านแดนชั่วคราว โดยประเทศไทยได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับ 4 ประเทศ คือ มาเลเซีย ลาว กัมพูชา และ พม่า แล้ว เพราะถือเป็นวิธีที่สามารถดำเนินการได้เร็วที่สุด และจะเพิ่มเรื่องของการเข้ามาทำงานของแรงงานต่างด้าวในลักษณะมาเช้าเย็นกลับและทำงานตามฤดูกาลซึ่งต้องผ่านด่านเข้าออกตามแนวชายแดนระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยกระทรวงการต่างประเทศจะรับหน้าที่ไปเจรจากับประเทศเพื่อนบ้าน
ส่วนศูนย์บริการเบ็ดเสร็จด้านแรงงานหรือวันสตอปเซอร์วิสของพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ จะแตกต่างจากศูนย์วันสตปอเซอร์วิสที่มีอยู่ในปัจจุบันโดยจะเพิ่มขั้นตอนในการเข้าเมืองซึ่งต้องมีสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (ตม.) เข้ามาเกี่ยวข้องโดยนายจ้างจะต้องแจ้งความต้องการแรงงานทั้งจำนวนแรงงาน ประเภทงานและหน้าที่แรงงานต่างด้าวแต่ละคนที่จะเข้ามาทำงาน ซึ่งเป็นหน้าที่ของกรมการจัดหางาน (กกจ.) ในการดูแล โดยแรงงานต่างด้าวที่จะเข้าทำงานในไทยสามารถใช้หนังสือเดินทาง (พาสสปอร์ต) หรือหนังสืออนุญาตผ่านแดนชั่วคราวก็ได้โดยต้องเข้ามาทำงานในไทยผ่านระบบเอ็มโอยู
ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวอีกว่า ขณะเดียวกันจะให้กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) ไปอบรมพัฒนาฝีมือและทดสอบทักษะฝีมือแรงงานต่างในเขตเศรษฐกิจพิเศษ เพื่อสกัดกั้นแรงงานต่างด้าวที่ไม่มีฝีมือและนำแรงงานต่างด้าวที่มีฝีมือเข้ามาทำงานในสถานประกอบการในพื้นที่ด้านในได้ นอกจากนี้ที่ประชุมยังเห็นชอบแต่งตั้งอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) เป็นอนุกรรมการศูนย์บริการเบ็ดเสร็จด้านแรงงาน เนื่องจากเมื่อมีการจ้างงานและเข้าสู่ระบบการดูแลด้านแรงงานและสาธารณสุข แล้ว จะต้องเข้าสู่เรื่องของการคุ้มครองแรงงานและการร้องเรียนตามมา โดยจะตั้งศูนย์คุ้มครองแรงงานขึ้นมาดูแล 5 ศูนย์ด้วย ทั้งนี้จะเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ (กนพ.) ในเดือนกันยายนนี้
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (19 ส.ค.) ที่กระทรวงแรงงาน นายจีรศักดิ์ สุคนธชาติ ปลัดกระทรวงแรงงานกล่าวภายหลังการประชุมคณะอนุกรรมการศูนย์บริการเบ็ดเสร็จด้านแรงงาน สาธารณสุขและความมั่นคง ว่า ที่ประชุมได้หารือเรื่องเอกสารการผ่านแดนของเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษใน 5 จังหวัด ได้แก่ มุกดาหาร สงขลา สระแก้ว ตราด และ ตาก ซึ่งแนวโน้มจะใช้เป็นบัตรผ่านแดนชั่วคราว โดยประเทศไทยได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับ 4 ประเทศ คือ มาเลเซีย ลาว กัมพูชา และ พม่า แล้ว เพราะถือเป็นวิธีที่สามารถดำเนินการได้เร็วที่สุด และจะเพิ่มเรื่องของการเข้ามาทำงานของแรงงานต่างด้าวในลักษณะมาเช้าเย็นกลับและทำงานตามฤดูกาลซึ่งต้องผ่านด่านเข้าออกตามแนวชายแดนระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยกระทรวงการต่างประเทศจะรับหน้าที่ไปเจรจากับประเทศเพื่อนบ้าน
ส่วนศูนย์บริการเบ็ดเสร็จด้านแรงงานหรือวันสตอปเซอร์วิสของพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ จะแตกต่างจากศูนย์วันสตปอเซอร์วิสที่มีอยู่ในปัจจุบันโดยจะเพิ่มขั้นตอนในการเข้าเมืองซึ่งต้องมีสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (ตม.) เข้ามาเกี่ยวข้องโดยนายจ้างจะต้องแจ้งความต้องการแรงงานทั้งจำนวนแรงงาน ประเภทงานและหน้าที่แรงงานต่างด้าวแต่ละคนที่จะเข้ามาทำงาน ซึ่งเป็นหน้าที่ของกรมการจัดหางาน (กกจ.) ในการดูแล โดยแรงงานต่างด้าวที่จะเข้าทำงานในไทยสามารถใช้หนังสือเดินทาง (พาสสปอร์ต) หรือหนังสืออนุญาตผ่านแดนชั่วคราวก็ได้โดยต้องเข้ามาทำงานในไทยผ่านระบบเอ็มโอยู
ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวอีกว่า ขณะเดียวกันจะให้กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) ไปอบรมพัฒนาฝีมือและทดสอบทักษะฝีมือแรงงานต่างในเขตเศรษฐกิจพิเศษ เพื่อสกัดกั้นแรงงานต่างด้าวที่ไม่มีฝีมือและนำแรงงานต่างด้าวที่มีฝีมือเข้ามาทำงานในสถานประกอบการในพื้นที่ด้านในได้ นอกจากนี้ที่ประชุมยังเห็นชอบแต่งตั้งอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) เป็นอนุกรรมการศูนย์บริการเบ็ดเสร็จด้านแรงงาน เนื่องจากเมื่อมีการจ้างงานและเข้าสู่ระบบการดูแลด้านแรงงานและสาธารณสุข แล้ว จะต้องเข้าสู่เรื่องของการคุ้มครองแรงงานและการร้องเรียนตามมา โดยจะตั้งศูนย์คุ้มครองแรงงานขึ้นมาดูแล 5 ศูนย์ด้วย ทั้งนี้จะเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ (กนพ.) ในเดือนกันยายนนี้
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่