ก.แรงงาน เร่งแก้ปัญหาค้ามนุษย์ แรงงานทาส กู้ภาพลักษณ์อันดับค้ามนุษย์แย่สุดโดยเฉพาะภาคประมง ด้านรองอธิบดี กสร. เผย ทำได้แค่ตรวจแรงงาน เรื่องเอาผิดคดีตวามต้องส่งตำรวจ ไร้อำนาจ ทำงานลำบาก
วันนี้ (22 ก.ย.) ที่ห้องประชุมจอมพล ป.พิบูลสงคราม กระทรวงแรงงาน ม.ล.ปุณฑริก สมิติ รองปลัดกระทรวงแรงงาน เป็นประธานในการเสวนาเรื่องการป้องกันและการแก้ปัญหาการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน ในงานประชุมเชิงปฏิบัติการและรับมอบนโยบายการปฏิบัติราชการ โดยกล่าวว่า กระทรวงแรงงานมีความเกี่ยวข้องกับปัญหาค้ามนุษย์ในเรื่องของแรงงานบังคับ โดยเฉพาะปัญหาประมงถูกสหรัฐอเมริกาจับตามองว่ามีปัญหาค้ามนุษย์ที่ยังไม่ได้รับการแก้ไขทำให้ไทยถูกปรับลดอันดับลงมาเป็นอันดับ 3 ซึ่งต่ำสุดจนอาจถูกกีดกันทางการค้า ทั้งนี้ กระทรวงแรงงานได้เดินหน้าแก้ปัญหาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ในปีหน้าจะถูกปรับอันดับให้ดีขึ้น และพยายามจัดการแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยแบบผิดกฎหมายให้เข้ามาอยู่ในระบบ ด้วยการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวรวมทั้งแรงงานประมง มีการเอาผิดกฎหมายนายหน้าเถื่อน มีแผนการตรวจแรงงานชัดเจนมากขึ้น และส่งเสริมให้ผู้ประกอบการใช้แนวปฏิบัติที่ดีในการจ้างแรงงาน (จีแอลพี) เพื่อเป็นสิ่งยืนยันว่าไม่มีการค้ามนุษย์ด้านแรงงานและบนเรือประมงจะไม่มีแรงงานผิดกฎหมาย
ม.ล.ปุณฑริก กล่าวว่า ในเรื่องของการตรวจแรงงานบนเรือประมงมีปัญหาในแนวทางปฎิบัติ เพราะกระทรวงแรงงานไม่สามารถแก้ปัญหาได้เพียงหน่วยงานเดียว จึงต้องมีการบูรณาการร่วมกัน ที่ผ่านมา เคยประชุมร่วมกับตำรวจน้ำ กรมเจ้าท่า กรมประมง ดีเอสไอ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมแก้ปัญหาการค้ามนุษย์เพราะการลงไปตรวจบนเรือประมงกระทรวงแรงงาน ต้องขอลงเรือกรมประมง หรือเรือตำรวจน้ำ ลำพังกรมประมงจะไม่ได้ดูในเรื่องของแรงงานส่วนการลงไปตรวจในทะเลจะมีการทำแบบงานตรวจร่วมกันทุกหน่วย และมีการทำระบบเชื่อมกัน
ด้านนายสุวิทย์ สุมาลา รองอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) กล่าวถึงกรณีคนไทยถูกหลอกลวงไปทำงานในเรือประมงในประเทศอินโดนีเซีย ว่า ที่ผ่านมาได้พยายามป้องกันและแก้ปัญหา หลายกรณีบอกว่าถูกหลอกจากสถานีขนส่งหมอชิตไปลงเรือบางคนอาจอยากไปเองแต่จะกลับแล้วกลับไม่ได้ พอได้กลับมาก็บอกว่าถูกหลอก เจ้าหน้าที่ก็สับสนหาทางแก้ไขยาก เพราะตอนไปไม่ได้แจ้ง และได้พยายามเฝ้าระวังป้องกันไม่ให้แรงงานกลุ่มเสี่ยงเข้าไปอยู่ในกระบวนการค้ามนุษย์ 22 จังหวัดชายทะเลต้องมีการตรวจประมงเข้มข้นขึ้น และอาศัยความร่วมมือจากทุกหน่วยงาน รวมทั้งจะตั้งชาวบ้านเป็นพนักงานตรวจแรงงาน เพื่อช่วยเป็นหูเป็นตาแจ้งข้อมูลอีกทางหนึ่งด้วย
“การตรวจแรงงานของ กสร. มักมีปัญหา หลายครั้งจะขอเข้าไปตรวจแรงงานในสถานประกอบการยังทำไม่ได้ ซึ่งกว่าจะเข้าไปตรวจสอบได้แรงงานผิดกฎหมายก็ถูกซ่อนตัวแล้ว กสร.ทำได้แค่ตรวจ ส่วนการดำเนินคดีต้องส่งให้เจ้าหน้าตำรวจ พอจะลงไปตรวจเรือประมง กสร. ก็ไม่มีเรือจะเบิกค่าน้ำมันเรือ ระเบียบบอกไว้ว่าไม่มีเรือจะเบิกไม่ได้ จึงต้องนั่งรถไปลงเรือ หรือไปกับหน่วยงานอื่น” นายสุวิทย์ กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (22 ก.ย.) ที่ห้องประชุมจอมพล ป.พิบูลสงคราม กระทรวงแรงงาน ม.ล.ปุณฑริก สมิติ รองปลัดกระทรวงแรงงาน เป็นประธานในการเสวนาเรื่องการป้องกันและการแก้ปัญหาการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน ในงานประชุมเชิงปฏิบัติการและรับมอบนโยบายการปฏิบัติราชการ โดยกล่าวว่า กระทรวงแรงงานมีความเกี่ยวข้องกับปัญหาค้ามนุษย์ในเรื่องของแรงงานบังคับ โดยเฉพาะปัญหาประมงถูกสหรัฐอเมริกาจับตามองว่ามีปัญหาค้ามนุษย์ที่ยังไม่ได้รับการแก้ไขทำให้ไทยถูกปรับลดอันดับลงมาเป็นอันดับ 3 ซึ่งต่ำสุดจนอาจถูกกีดกันทางการค้า ทั้งนี้ กระทรวงแรงงานได้เดินหน้าแก้ปัญหาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ในปีหน้าจะถูกปรับอันดับให้ดีขึ้น และพยายามจัดการแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยแบบผิดกฎหมายให้เข้ามาอยู่ในระบบ ด้วยการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวรวมทั้งแรงงานประมง มีการเอาผิดกฎหมายนายหน้าเถื่อน มีแผนการตรวจแรงงานชัดเจนมากขึ้น และส่งเสริมให้ผู้ประกอบการใช้แนวปฏิบัติที่ดีในการจ้างแรงงาน (จีแอลพี) เพื่อเป็นสิ่งยืนยันว่าไม่มีการค้ามนุษย์ด้านแรงงานและบนเรือประมงจะไม่มีแรงงานผิดกฎหมาย
ม.ล.ปุณฑริก กล่าวว่า ในเรื่องของการตรวจแรงงานบนเรือประมงมีปัญหาในแนวทางปฎิบัติ เพราะกระทรวงแรงงานไม่สามารถแก้ปัญหาได้เพียงหน่วยงานเดียว จึงต้องมีการบูรณาการร่วมกัน ที่ผ่านมา เคยประชุมร่วมกับตำรวจน้ำ กรมเจ้าท่า กรมประมง ดีเอสไอ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมแก้ปัญหาการค้ามนุษย์เพราะการลงไปตรวจบนเรือประมงกระทรวงแรงงาน ต้องขอลงเรือกรมประมง หรือเรือตำรวจน้ำ ลำพังกรมประมงจะไม่ได้ดูในเรื่องของแรงงานส่วนการลงไปตรวจในทะเลจะมีการทำแบบงานตรวจร่วมกันทุกหน่วย และมีการทำระบบเชื่อมกัน
ด้านนายสุวิทย์ สุมาลา รองอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) กล่าวถึงกรณีคนไทยถูกหลอกลวงไปทำงานในเรือประมงในประเทศอินโดนีเซีย ว่า ที่ผ่านมาได้พยายามป้องกันและแก้ปัญหา หลายกรณีบอกว่าถูกหลอกจากสถานีขนส่งหมอชิตไปลงเรือบางคนอาจอยากไปเองแต่จะกลับแล้วกลับไม่ได้ พอได้กลับมาก็บอกว่าถูกหลอก เจ้าหน้าที่ก็สับสนหาทางแก้ไขยาก เพราะตอนไปไม่ได้แจ้ง และได้พยายามเฝ้าระวังป้องกันไม่ให้แรงงานกลุ่มเสี่ยงเข้าไปอยู่ในกระบวนการค้ามนุษย์ 22 จังหวัดชายทะเลต้องมีการตรวจประมงเข้มข้นขึ้น และอาศัยความร่วมมือจากทุกหน่วยงาน รวมทั้งจะตั้งชาวบ้านเป็นพนักงานตรวจแรงงาน เพื่อช่วยเป็นหูเป็นตาแจ้งข้อมูลอีกทางหนึ่งด้วย
“การตรวจแรงงานของ กสร. มักมีปัญหา หลายครั้งจะขอเข้าไปตรวจแรงงานในสถานประกอบการยังทำไม่ได้ ซึ่งกว่าจะเข้าไปตรวจสอบได้แรงงานผิดกฎหมายก็ถูกซ่อนตัวแล้ว กสร.ทำได้แค่ตรวจ ส่วนการดำเนินคดีต้องส่งให้เจ้าหน้าตำรวจ พอจะลงไปตรวจเรือประมง กสร. ก็ไม่มีเรือจะเบิกค่าน้ำมันเรือ ระเบียบบอกไว้ว่าไม่มีเรือจะเบิกไม่ได้ จึงต้องนั่งรถไปลงเรือ หรือไปกับหน่วยงานอื่น” นายสุวิทย์ กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่