ฮือฮา! ร้านค้าขึ้นป้ายคัตเอาท์ยักษ์ค้าน พ.ร.บ.คุมยาสูบฉบับใหม่ สธ. จวกเป็นกลเกมของบริษัทยาสูบข้ามชาติ อ้างโชวห่วยเดือดร้อนเพื่อคัดค้านการออกกฎหมาย เหตุทำกำไรลดลงมาก ยันร้านค้ารายย่อยไม่กระทบ และไม่กีดกันการค้า มั่นใจออก กม. ช่วยลดนักสูบหน้าใหม่ เผยร่าง กม.อยู่ที่นายกฯ แล้ว เตรียมนำเข้า ครม. พิจารณา
วันนี้ (18 ธ.ค.) ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) แถลงข่าวการจัดทำร่าง พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ ฉบับใหม่ พ.ศ. ... ว่า พ.ร.บ.ฉบับใหม่นี้จะเป็นการรวมกฎหมายเดิม 2 ฉบับ คือ พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2535 และ พ.ร.บ.คุ้มครองสุขภาพผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. 2535 ซึ่งใช้มานานกว่า 22 ปี ล้าสมัย และไม่ทันต่อกลยุทธ์ทางการตลาดใหม่ๆ และผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ของบริษัทบุหรี่ เช่น บุหรี่ไฟฟ้า บารากู่ การขายโดยใช้พริตตี้ การโฆษณาทางอินเทอร์เน็ต เป็นต้น จึงจำเป็นต้องออกกฎหมายใหม่ โดยขณะนี้ร่าง พ.ร.บ. ฉบับใหม่ ได้เสนอต่อ นายยงยุทธ ยุทธวงศ์ รองนายกรัฐมนตรีด้านสังคม และผ่านถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เรียบร้อยแล้ว เพื่อนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.)
ศ.นพ.รัชตะ กล่าวว่า ยืนยันว่า สาระสำคัญของร่าง พ.ร.บ. ฉบับใหม่ไม่มีประเด็นใดที่เป็นการกีดกันการค้าหรือขัดต่อกฎกติกาการค้าโลก โดยกฎหมายฉบับใหม่ได้กำหนดอายุขั้นต่ำผู้ซื้อผลิตภัณฑ์ยาสูบจาก 18 ปี เป็น 20 ปี และห้ามขายบุหรี่แบบแบ่งซอง เพื่อป้องกันเยาวชนที่มีเงินน้อยซื้อบุหรี่แบบแบ่งซอง เพื่อลดการเข้าถึงบุหรี่ และเพิ่มการห้ามขายทางอินเทอร์เน็ต ห้ามแสดงราคา ณ จุดขาย ห้ามขายในสถานที่ต่างๆ ห้ามโฆษณาและสื่อสารการตลาด ซึ่งกฎหมายเช่นนี้บังคับใช้แล้วในลาว พม่า สิงคโปร์ และ บรูไน ทั้งนี้ หาก พ.ร.บ. ฉบับนี้ มีผลบังคับใช้ จะช่วยลดจำนวนเยาวชนไทยที่จะติดบุหรี่ใหม่ปีละ 1 แสนคน ซึ่งจากการวิจัยพบว่า หากป้องกันเด็กไทยไม่ให้ติดบุหรี่ได้ 1 คน จะประหยัดค่ารักษาโรคและลดความสูญเสียทางเศรษฐกิจอื่นๆ ได้คนละ ราว 156,000 บาท หากปล่อยให้เด็กสูบบุหรี่เพิ่มปีละ 1 แสนคน จะเกิดการสูญเสียมากถึง 15,600 ล้านบาท
“จากสถิติพบว่า เยาวชนไทยสุบบุหรี่ 10 คน โดย 7 คนจะเลิกไม่ได้ไปตลอดชีวิต ส่วนอีก 3 คนที่เลิกได้จะเลิกหลังสูบไป 20 ปี โดยบุหรี่ยังเป็นปัจจัยเสี่ยงก่อให้เกิดการเจ็บป่วยไม่ต่ำกว่า 25 โรค ทั้งคนสูบและผู้ที่สูดควัน และเป็นการเสียชีวิตอันดับ 2 ของคนไทย โดยแต่ละปีมีผู้สูบบุหรี่เสียชีวิตก่อนวัยอันควร 50,710 คน อายุสั้นกว่าคนทั่วไป 12 ปี และจะทนทุกข์ทรมานก่อนเสียชีวิต 2 ปี” รมว.สาธารณสุข กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะนี้มีการขึ้นป้ายคัตเอาท์ขนาดใหญ่เพื่อคัดค้านการออกร่าง พ.ร.บ.ควบคุมยาสูบฉบับใหม่ โดยมีใจความระบุว่า “ขายของก็ลำบากมากอยู่แล้ว อย่าออก พ.ร.บ.ควบคุมยาสูบใหม่มาให้กระทบปากท้องพวกฉันอีกเลย โปรดหยุดร่างกฎหมาย ที่ทำร้ายคนทำมาหากิน www.facebook.com/NOTCCA”
ทั้งนี้ ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ ที่ปรึกษา รมว.สาธารณสุข กล่าวว่า เรื่องนี้ต้องเอาความจริงมาพูดกัน โดยพบว่า ยอดจำหน่ายบุหรี่ต่อปี คือ 2,008 ล้านซอง โดยร้านค้าปลีกขายได้ประมาณ 8 ซองต่อวัน หรือ 240 ซองต่อเดือน เท่ากับกำไรเฉลี่ยต่อซองเท่ากับ 3.5 บาท ตกเดือนละ 840 บาท แต่กำไรของอุตสาหกรรมยาสูบอยู่ที่ปีละ 9,000 ล้านบาท ในจำนวนนี้เป็นของโรงงานยาสูบ 6,000 ล้านบาท หากการออกกฎหมายฉบับใหม่จะทำให้กำไรลดลงประมาณ 10% ก็เท่ากับรายได้ของร้านค้าปลีกจะหายไป 84 บาทเท่านั้น แต่กำไรที่หายไปส่วนใหญ่เป็นของอุตสาหกรรมบุหรี่ จึงเป็นผู้อยู่เบื้องหลังการขึ้นป้ายต่อต้านในลักษณะดังกล่าว
“เรื่องดังกล่าวต้องเอาความจริงมาพูดกัน โชวห่วยถูกบริษัทข้ามชาติใช้เป็นเครื่องมือในการยับยั้งร่าง พ.ร.บ. นี้ เพราะร้านค้าขนาดเล็กคงไม่มีการรวมตัวกันเพื่อทำป้ายขนาดใหญ่เช่นนี้ แต่น่าจะเป็นอุตสาหกรรมยาสูบขนาดยักษ์เข้ามาอาศัยร้านค้ารายย่อยมาอ้างเพื่อต่อต้านกฎหมาย เพราะร้านค้ารายย่อยเขาก็มีความรับผิดชอบของเขา นอกจากนี้ ยังพบว่ามีการส่งหนังสือไปถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวง ทุกกระทรวงให้ช่วยยับยั้งกฎหมายฉบับดังกล่าวอีกด้วย ซึ่งเป็นการพูดแต่ว่า ธุรกิจได้รับผลกระทบโดยไม่เคยพูดว่า ธุรกิจบุหรี่สร้างความเสียหายต่อสุขภาพคนอย่างไร ทั้งนี้ การสำรวจยังพบว่าเยาวชนร้อยละ 70 ซื้อบุหรี่แบบแบ่งขาย จึงจำเป็นต้องออกกฎหมายเพื่อปกป้องเยาวชนอย่างเร่งด่วน” ศ.นพ.ประกิต กล่าว
ด้าน นพ.ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล ที่ปรึกษา รมว.สธ. กล่าวว่า ร่าง พ.ร.บ. ฉบับใหม่ไม่ได้ห้ามร้านค้าปลีก หรือโชวห่วยขายบุหรี่ และไม่ได้เป็นการเพิ่มภาระให้ร้านค้าเหล่านี้ แต่เป็นการกำหนดอายุผู้ที่จะซื้อต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปี ซึ่งสอดคล้องกับ พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 ที่ห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในผู้ที่อายุต่ำกว่า 20 ปี จึงเป็นสิ่งที่ผู้ค้าจะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ที่สำคัญ กำไรของร้านค้าปลีกส่วนใหญ่มาจากสินค้าชนิดอื่น บุหรี่เป็นเพียงส่วนน้อยเท่านั้น
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า TTA ที่อยู่ในป้ายคัตเอาท์ชัดเจนว่าเป็นตัวย่อของสมาคมการค้ายาสูบไทย (Thai Tobacco Trade Association หรือ TTA) ซึ่งสมาคมนี้ก่อตั้งเมื่อ ม.ค. 2555 เพื่อเป็นตัวแทนให้กับผู้ค้าปลีก ค้าส่ง ผู้จัดจำหน่ายและนำเข้ายาสูบ โดยได้รับการสนับสนุนงบประาณจากผู้จัดจำหน่ายและผู้นำเข้าผลิตภัณฑ์ยาสูบรวมถึง บริษัท ฟิลลิป มอร์ริส (ประเทศไทย) จำกัด
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (18 ธ.ค.) ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) แถลงข่าวการจัดทำร่าง พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ ฉบับใหม่ พ.ศ. ... ว่า พ.ร.บ.ฉบับใหม่นี้จะเป็นการรวมกฎหมายเดิม 2 ฉบับ คือ พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2535 และ พ.ร.บ.คุ้มครองสุขภาพผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. 2535 ซึ่งใช้มานานกว่า 22 ปี ล้าสมัย และไม่ทันต่อกลยุทธ์ทางการตลาดใหม่ๆ และผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ของบริษัทบุหรี่ เช่น บุหรี่ไฟฟ้า บารากู่ การขายโดยใช้พริตตี้ การโฆษณาทางอินเทอร์เน็ต เป็นต้น จึงจำเป็นต้องออกกฎหมายใหม่ โดยขณะนี้ร่าง พ.ร.บ. ฉบับใหม่ ได้เสนอต่อ นายยงยุทธ ยุทธวงศ์ รองนายกรัฐมนตรีด้านสังคม และผ่านถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เรียบร้อยแล้ว เพื่อนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.)
ศ.นพ.รัชตะ กล่าวว่า ยืนยันว่า สาระสำคัญของร่าง พ.ร.บ. ฉบับใหม่ไม่มีประเด็นใดที่เป็นการกีดกันการค้าหรือขัดต่อกฎกติกาการค้าโลก โดยกฎหมายฉบับใหม่ได้กำหนดอายุขั้นต่ำผู้ซื้อผลิตภัณฑ์ยาสูบจาก 18 ปี เป็น 20 ปี และห้ามขายบุหรี่แบบแบ่งซอง เพื่อป้องกันเยาวชนที่มีเงินน้อยซื้อบุหรี่แบบแบ่งซอง เพื่อลดการเข้าถึงบุหรี่ และเพิ่มการห้ามขายทางอินเทอร์เน็ต ห้ามแสดงราคา ณ จุดขาย ห้ามขายในสถานที่ต่างๆ ห้ามโฆษณาและสื่อสารการตลาด ซึ่งกฎหมายเช่นนี้บังคับใช้แล้วในลาว พม่า สิงคโปร์ และ บรูไน ทั้งนี้ หาก พ.ร.บ. ฉบับนี้ มีผลบังคับใช้ จะช่วยลดจำนวนเยาวชนไทยที่จะติดบุหรี่ใหม่ปีละ 1 แสนคน ซึ่งจากการวิจัยพบว่า หากป้องกันเด็กไทยไม่ให้ติดบุหรี่ได้ 1 คน จะประหยัดค่ารักษาโรคและลดความสูญเสียทางเศรษฐกิจอื่นๆ ได้คนละ ราว 156,000 บาท หากปล่อยให้เด็กสูบบุหรี่เพิ่มปีละ 1 แสนคน จะเกิดการสูญเสียมากถึง 15,600 ล้านบาท
“จากสถิติพบว่า เยาวชนไทยสุบบุหรี่ 10 คน โดย 7 คนจะเลิกไม่ได้ไปตลอดชีวิต ส่วนอีก 3 คนที่เลิกได้จะเลิกหลังสูบไป 20 ปี โดยบุหรี่ยังเป็นปัจจัยเสี่ยงก่อให้เกิดการเจ็บป่วยไม่ต่ำกว่า 25 โรค ทั้งคนสูบและผู้ที่สูดควัน และเป็นการเสียชีวิตอันดับ 2 ของคนไทย โดยแต่ละปีมีผู้สูบบุหรี่เสียชีวิตก่อนวัยอันควร 50,710 คน อายุสั้นกว่าคนทั่วไป 12 ปี และจะทนทุกข์ทรมานก่อนเสียชีวิต 2 ปี” รมว.สาธารณสุข กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะนี้มีการขึ้นป้ายคัตเอาท์ขนาดใหญ่เพื่อคัดค้านการออกร่าง พ.ร.บ.ควบคุมยาสูบฉบับใหม่ โดยมีใจความระบุว่า “ขายของก็ลำบากมากอยู่แล้ว อย่าออก พ.ร.บ.ควบคุมยาสูบใหม่มาให้กระทบปากท้องพวกฉันอีกเลย โปรดหยุดร่างกฎหมาย ที่ทำร้ายคนทำมาหากิน www.facebook.com/NOTCCA”
ทั้งนี้ ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ ที่ปรึกษา รมว.สาธารณสุข กล่าวว่า เรื่องนี้ต้องเอาความจริงมาพูดกัน โดยพบว่า ยอดจำหน่ายบุหรี่ต่อปี คือ 2,008 ล้านซอง โดยร้านค้าปลีกขายได้ประมาณ 8 ซองต่อวัน หรือ 240 ซองต่อเดือน เท่ากับกำไรเฉลี่ยต่อซองเท่ากับ 3.5 บาท ตกเดือนละ 840 บาท แต่กำไรของอุตสาหกรรมยาสูบอยู่ที่ปีละ 9,000 ล้านบาท ในจำนวนนี้เป็นของโรงงานยาสูบ 6,000 ล้านบาท หากการออกกฎหมายฉบับใหม่จะทำให้กำไรลดลงประมาณ 10% ก็เท่ากับรายได้ของร้านค้าปลีกจะหายไป 84 บาทเท่านั้น แต่กำไรที่หายไปส่วนใหญ่เป็นของอุตสาหกรรมบุหรี่ จึงเป็นผู้อยู่เบื้องหลังการขึ้นป้ายต่อต้านในลักษณะดังกล่าว
“เรื่องดังกล่าวต้องเอาความจริงมาพูดกัน โชวห่วยถูกบริษัทข้ามชาติใช้เป็นเครื่องมือในการยับยั้งร่าง พ.ร.บ. นี้ เพราะร้านค้าขนาดเล็กคงไม่มีการรวมตัวกันเพื่อทำป้ายขนาดใหญ่เช่นนี้ แต่น่าจะเป็นอุตสาหกรรมยาสูบขนาดยักษ์เข้ามาอาศัยร้านค้ารายย่อยมาอ้างเพื่อต่อต้านกฎหมาย เพราะร้านค้ารายย่อยเขาก็มีความรับผิดชอบของเขา นอกจากนี้ ยังพบว่ามีการส่งหนังสือไปถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวง ทุกกระทรวงให้ช่วยยับยั้งกฎหมายฉบับดังกล่าวอีกด้วย ซึ่งเป็นการพูดแต่ว่า ธุรกิจได้รับผลกระทบโดยไม่เคยพูดว่า ธุรกิจบุหรี่สร้างความเสียหายต่อสุขภาพคนอย่างไร ทั้งนี้ การสำรวจยังพบว่าเยาวชนร้อยละ 70 ซื้อบุหรี่แบบแบ่งขาย จึงจำเป็นต้องออกกฎหมายเพื่อปกป้องเยาวชนอย่างเร่งด่วน” ศ.นพ.ประกิต กล่าว
ด้าน นพ.ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล ที่ปรึกษา รมว.สธ. กล่าวว่า ร่าง พ.ร.บ. ฉบับใหม่ไม่ได้ห้ามร้านค้าปลีก หรือโชวห่วยขายบุหรี่ และไม่ได้เป็นการเพิ่มภาระให้ร้านค้าเหล่านี้ แต่เป็นการกำหนดอายุผู้ที่จะซื้อต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปี ซึ่งสอดคล้องกับ พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 ที่ห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในผู้ที่อายุต่ำกว่า 20 ปี จึงเป็นสิ่งที่ผู้ค้าจะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ที่สำคัญ กำไรของร้านค้าปลีกส่วนใหญ่มาจากสินค้าชนิดอื่น บุหรี่เป็นเพียงส่วนน้อยเท่านั้น
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า TTA ที่อยู่ในป้ายคัตเอาท์ชัดเจนว่าเป็นตัวย่อของสมาคมการค้ายาสูบไทย (Thai Tobacco Trade Association หรือ TTA) ซึ่งสมาคมนี้ก่อตั้งเมื่อ ม.ค. 2555 เพื่อเป็นตัวแทนให้กับผู้ค้าปลีก ค้าส่ง ผู้จัดจำหน่ายและนำเข้ายาสูบ โดยได้รับการสนับสนุนงบประาณจากผู้จัดจำหน่ายและผู้นำเข้าผลิตภัณฑ์ยาสูบรวมถึง บริษัท ฟิลลิป มอร์ริส (ประเทศไทย) จำกัด
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่