นักวิชาการชี้ ครม. มีมติห้ามนำเข้า “บุหรี่ไฟฟ้า - บารากู่ไฟฟ้า” เป็นเรื่องดี ช่วยหนุนนโยบายควบคุมยาสูบ ระบุอันตรายกว่าบุหรี่มวน เหตุเติมนิโคตินสังเคราะห์แบบไม่มีมาตรฐาน ก่อโรคเพียบ
ผศ.ดร.ลักขณา เติมศิริกุลชัย ผู้จัดการโครงการพัฒนาศักยภาพกำลังคนด้านควบคุมยาสูบ สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวถึงกรณีคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบตามกระทรวงพาณิชย์ ห้ามนำบารากู่ไฟฟ้า และบุหรี่ไฟฟ้าเข้ามาจำหน่าย โดยจัดให้เป็นสินค้าต้องห้ามนำเข้ามาในราชอาณาจักร ว่า ถือเป็นสิ่งที่ดีมากต่อนโยบายการควบคุมการบริโภคยาสูบ เพราะบุหรี่ไฟฟ้าและบารากู่ไฟฟ้า มีความนิยมมากขึ้น จากสาเหตุที่ประเทศต่างๆ มีนโยบายคุ้มครองสุขภาพผู้ไม่สูบบุหรี่ ภาคธุรกิจจึงฉวยโอกาสโฆษณาอวดอ้างว่าใช้ทดแทนบุหรี่มวน และช่วยให้เลิกบุหรี่ได้ ทั้งที่จริงแล้วมีอันตรายไม่แพ้หรืออาจมากกว่าบุหรี่มวน เนื่องจากจะมีการเติมนิโคตินสังเคราะห์ และไม่มีมาตรฐานในการเติม ทำให้เกิดการเสพติด ทั้งยังสูบได้เรื่อยๆ จนทำให้ได้รับสารนิโคตินจำนวนมาก เกิดความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจ
“ไอน้ำที่ออกมาจากบุหรี่ไฟฟ้า มีสารประกอบหลายตัวโดยจะพบทั้งสารพิษก่อมะเร็ง และสารโลหะบางประเภท ที่อยู่ในรูปของละอองเล็กๆ ซึ่งทำให้เกิดการอุดตันในปอดได้เช่นเดียวกัน ดังนั้น จึงมีอันตรายไม่แตกต่างจากควันบุหรี่มือสองแต่อย่างใด นอกจากนี้ ยังพบว่า ในบารากู่ไฟฟ้า มีการเติมสารปรุงแต่งที่หากได้รับในปริมาณมากและต่อเนื่องทำให้เกิดอันตรายได้เช่นกัน รวมถึงยังมีการโฆษณาและชักจูงให้กลุ่มเยาวชนสูบ ซึ่งนำไปสู่การติดบุหรี่มวนและยาเสพติดชนิดอื่นๆ โดยงานวิจัยยังพบว่า ผู้ที่ติดบุหรี่ไฟฟ้า จะติดบุหรี่แบบมวนด้วย” ผศ.ดร.ลักขณา กล่าว
ผศ.ดร.ลักขณา กล่าวว่า ปัจจุบันอุตสาหกรรมยาสูบมีแนวโน้มที่จะหันมาพัฒนาตลาดบุหรี่ไฟฟ้า และบารากู่ไฟฟ้ามากขึ้น โดยโฆษณาอวดอ้างสรรพคุณที่ไม่เป็นความจริงไม่ว่าจะเป็นช่วยทำให้เลิกบุหรี่ หรือ ปลอดภัยมากกว่า ซึ่งถือเป็นเรื่องดี ที่รัฐบาลให้ความสนใจและออกมาตรการปกป้องประชาชน อย่างไรก็ตาม อยากให้มีการกวดขันการซื้อขายผ่านอินเทอร์เน็ตอีกทาง ที่ปัจจุบันพบว่ามีการขายบุหรี่ไฟฟ้า และบารากู่ไฟฟ้าจำนวนมาก
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
ผศ.ดร.ลักขณา เติมศิริกุลชัย ผู้จัดการโครงการพัฒนาศักยภาพกำลังคนด้านควบคุมยาสูบ สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวถึงกรณีคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบตามกระทรวงพาณิชย์ ห้ามนำบารากู่ไฟฟ้า และบุหรี่ไฟฟ้าเข้ามาจำหน่าย โดยจัดให้เป็นสินค้าต้องห้ามนำเข้ามาในราชอาณาจักร ว่า ถือเป็นสิ่งที่ดีมากต่อนโยบายการควบคุมการบริโภคยาสูบ เพราะบุหรี่ไฟฟ้าและบารากู่ไฟฟ้า มีความนิยมมากขึ้น จากสาเหตุที่ประเทศต่างๆ มีนโยบายคุ้มครองสุขภาพผู้ไม่สูบบุหรี่ ภาคธุรกิจจึงฉวยโอกาสโฆษณาอวดอ้างว่าใช้ทดแทนบุหรี่มวน และช่วยให้เลิกบุหรี่ได้ ทั้งที่จริงแล้วมีอันตรายไม่แพ้หรืออาจมากกว่าบุหรี่มวน เนื่องจากจะมีการเติมนิโคตินสังเคราะห์ และไม่มีมาตรฐานในการเติม ทำให้เกิดการเสพติด ทั้งยังสูบได้เรื่อยๆ จนทำให้ได้รับสารนิโคตินจำนวนมาก เกิดความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจ
“ไอน้ำที่ออกมาจากบุหรี่ไฟฟ้า มีสารประกอบหลายตัวโดยจะพบทั้งสารพิษก่อมะเร็ง และสารโลหะบางประเภท ที่อยู่ในรูปของละอองเล็กๆ ซึ่งทำให้เกิดการอุดตันในปอดได้เช่นเดียวกัน ดังนั้น จึงมีอันตรายไม่แตกต่างจากควันบุหรี่มือสองแต่อย่างใด นอกจากนี้ ยังพบว่า ในบารากู่ไฟฟ้า มีการเติมสารปรุงแต่งที่หากได้รับในปริมาณมากและต่อเนื่องทำให้เกิดอันตรายได้เช่นกัน รวมถึงยังมีการโฆษณาและชักจูงให้กลุ่มเยาวชนสูบ ซึ่งนำไปสู่การติดบุหรี่มวนและยาเสพติดชนิดอื่นๆ โดยงานวิจัยยังพบว่า ผู้ที่ติดบุหรี่ไฟฟ้า จะติดบุหรี่แบบมวนด้วย” ผศ.ดร.ลักขณา กล่าว
ผศ.ดร.ลักขณา กล่าวว่า ปัจจุบันอุตสาหกรรมยาสูบมีแนวโน้มที่จะหันมาพัฒนาตลาดบุหรี่ไฟฟ้า และบารากู่ไฟฟ้ามากขึ้น โดยโฆษณาอวดอ้างสรรพคุณที่ไม่เป็นความจริงไม่ว่าจะเป็นช่วยทำให้เลิกบุหรี่ หรือ ปลอดภัยมากกว่า ซึ่งถือเป็นเรื่องดี ที่รัฐบาลให้ความสนใจและออกมาตรการปกป้องประชาชน อย่างไรก็ตาม อยากให้มีการกวดขันการซื้อขายผ่านอินเทอร์เน็ตอีกทาง ที่ปัจจุบันพบว่ามีการขายบุหรี่ไฟฟ้า และบารากู่ไฟฟ้าจำนวนมาก
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
Loadingเครื่อง oncothermia ความหวังใหม่รักษามะเร็งเต้านม-ตับระยะท้าย ใช้คลื่นวิทยุยิงเฉพาะจุดมะเร็งจนเกิดความร้อน เอื้อยาเคมีบำบัดเข้าถึงมะเร็งง่ายขึ้น ผลศึกษาก้แนมะเร็งเต้านมยุบทั้งหมด 22% ผู้ป่วยมะเร็งตับอายุยืนขึ้น