เริ่มถกแก้ร่าง พ.ร.บ.ยานัดแรก เครือข่ายเภสัชฯ นำโดยนายกสภาเภสัชกรรมชี้หลักการต้องคุ้มครองประชาชน เล็งปรับแก้ถ้อยความประเด็นที่คัดค้านให้เข้าใจตรงกัน ด้าน อย. มั่นใจหารือเสร็จใน 2 สัปดาห์ พร้อมเปิดให้วิชาชีพอื่นนอกเภสัชฯร่วมแสดงความเห็นในสัปดาห์ที่ 3 ก่อนตอบกลับกฤษฎีกา
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากที่เครือข่ายเภสัชกรต่างออกมาร่วมคัดค้านร่าง พ.ร.บ.ยา พ.ศ. ... ที่ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้ว จน นพ.บุญชัย สมบูรณ์สุข เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ต้องขยายเวลาการยืนยันร่าง พ.ร.บ.ยาฉบับดังกล่าวออกไปเป็น 30 วัน เพื่อให้จัดให้มีการประชุมหารือ โดยเสนอให้มีการตั้งตัวแทนวิชาชีพจำนวน 25 คน เข้ามาร่วมหารือปรับปรุงแก้ไขร่าง พ.ร.บ.ยาฉบับใหม่นี้เป็นรายมาตราใน 8 ประเด็น ใน 2 ช่วงคือ วันที่ 13 - 14 ต.ค. และ 21 - 22 ต.ค. ซึ่งล่าสุดวันนี้ (13 ต.ค.) เมื่อเวลา 09.00 น. ได้มีการประชุมหารือนัดแรกขึ้น โดยมีตัวแทนวิชาชีพ 25 คนเข้าร่วมหารือกับ อย. โดยมี นพ.บุญชัย เป็นประธาน ซึ่งการหารือในวันแรกยังเป็นเพียงการทำความเข้าใจร่วมกันและหารือในประเด็นแรกเท่านั้น คือ การแบ่งประเภทของยา
ทั้งนี้ ภายหลังการประชุม ภก.กิตติ พิทักษ์นิตินันท์ นายกสภาเภสัชกรรม ได้ให้สัมภาษณ์ว่า หลักการในการหารือคือร่างกฎหมายจะต้องคุ้มครองประชาชนอย่างแท้จริง และจะต้องช่วยเรื่องการเข้าถึงยาของประชาชนด้วย โดยจะหารือรายละเอียดข้อคัดค้านเป็นรายมาตราว่าควรปรับข้อความตรงไหนอย่างไรเพื่อให้ทั้งหมดเข้าใจตรงกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการแบ่งประเภทยา การผสมยา หารจ่ายยาชุด หรือการโฆษณา ต้องมาทำความเข้าใจร่วมกัน อย่างประเด็นการแบ่งประเภทของยา ซึ่งร่าง พ.ร.บ.ยาฉบับใหม่ กำหนดเป็น ยาที่ต้องจ่ายตามใบสั่งยา ยาที่ต้องจ่ายโดยผู้ประกอบวิชาชีพหมายถึงทุกวิชาชีพด้านการแพทย์ และยาสามัญประจำบ้าน ก็ควรแบ่งยาตามหลักสากลคือ ยาที่ต้องใช้ใบสั่งยา ยาที่เภสัชกรเป็นผู้สั่งจ่าย และยาที่ประชาชนเลือกใช้ได้เอง
“หลักการจ่ายยาก็ต้องเป็นไปตามหลักสากล คือ ผู้สั่งจ่ายยาและผู้จ่ายยาต้องแยกกัน เพื่อให้เกิดการตรวจสอบซึ่งกันและกัน อย่างในโรงพยาบาลแพทย์สั่งจ่ายยา เภสัชกรเป็นผู้จ่ายยาก็จะเกิดการตรวจสอบว่ายาที่จ่ายเหมาะสมกับคนไข้หรือไม่ เพราะหากให้คนๆ เดียวสั่งจ่ายและจ่ายยาเองหากเกิดความผิดพลาดก็จะไม่มีการตรวจสอบ” ภก.กิตติ กล่าวและว่า ข้อคัดค้านเดิมทีมี 7 ประเด็น แต่วันนี้มีเพิ่มอีกประเด็นหนึ่ง คือ การผลิต ขาย นำเข้า เภสัชสมุนไพร (สมุนไพรที่ไม่แปรสภาพที่ใช้เป็นยา) ต้องขออนุญาตตามมาตรา 85 ซึ่งมีถ้อยคำที่อาจทำให้เข้าใจผิดว่าคนที่ปลูกสมุนไพรทั่วไปจะต้องถูกควบคุมด้วยนั้น ก็ต้องระบุให้ชัดเจน
ด้าน ภก.วินิต อัศวกิจวิรี ผู้ทรงคุณวุฒิ อย. กล่าวว่า ร่าง พ.ร.บ.ยา ฉบับใหม่ได้ปรับแก้ให้สอดคล้องกับความเป็นสากล โดยหลักการก็เพื่อให้เกิดความคุ้มครองประชาชนในเรื่องของการใช้ยา อย่างเรื่องการแบ่งประเภทยาก็เพื่อให้สอดรับการเข้าประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งผู้ยกร่างก็คิดว่ามีความรัดกุมพอ แต่เมื่อผู้เกี่ยวข้องแสดงความเห็นเพิ่มเติมก็ต้องมาหารือเพื่อปรับแก้ให้มีความเข้าใจตรงกันที่สุด ซึ่งหลังจากการหารือใน 2 สัปดาห์เสร็จสิ้นและมีการปรับแก้แล้ว ในช่วงสัปดาห์ที่ 3 จะเชิญกลุ่มวิชาชีพอื่นนอกเหนือเภสัชกรมาแสดงความคิดเห็นต่อร่าง พ.ร.บ.ยา ที่มีการปรับแก้ อย่างไรก็ตาม เมื่อครบกำหนด 30 วันก็จะยืนยันตอบกลับคณะกรรมการกฤษฎีกาต่อไป
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากที่เครือข่ายเภสัชกรต่างออกมาร่วมคัดค้านร่าง พ.ร.บ.ยา พ.ศ. ... ที่ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้ว จน นพ.บุญชัย สมบูรณ์สุข เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ต้องขยายเวลาการยืนยันร่าง พ.ร.บ.ยาฉบับดังกล่าวออกไปเป็น 30 วัน เพื่อให้จัดให้มีการประชุมหารือ โดยเสนอให้มีการตั้งตัวแทนวิชาชีพจำนวน 25 คน เข้ามาร่วมหารือปรับปรุงแก้ไขร่าง พ.ร.บ.ยาฉบับใหม่นี้เป็นรายมาตราใน 8 ประเด็น ใน 2 ช่วงคือ วันที่ 13 - 14 ต.ค. และ 21 - 22 ต.ค. ซึ่งล่าสุดวันนี้ (13 ต.ค.) เมื่อเวลา 09.00 น. ได้มีการประชุมหารือนัดแรกขึ้น โดยมีตัวแทนวิชาชีพ 25 คนเข้าร่วมหารือกับ อย. โดยมี นพ.บุญชัย เป็นประธาน ซึ่งการหารือในวันแรกยังเป็นเพียงการทำความเข้าใจร่วมกันและหารือในประเด็นแรกเท่านั้น คือ การแบ่งประเภทของยา
ทั้งนี้ ภายหลังการประชุม ภก.กิตติ พิทักษ์นิตินันท์ นายกสภาเภสัชกรรม ได้ให้สัมภาษณ์ว่า หลักการในการหารือคือร่างกฎหมายจะต้องคุ้มครองประชาชนอย่างแท้จริง และจะต้องช่วยเรื่องการเข้าถึงยาของประชาชนด้วย โดยจะหารือรายละเอียดข้อคัดค้านเป็นรายมาตราว่าควรปรับข้อความตรงไหนอย่างไรเพื่อให้ทั้งหมดเข้าใจตรงกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการแบ่งประเภทยา การผสมยา หารจ่ายยาชุด หรือการโฆษณา ต้องมาทำความเข้าใจร่วมกัน อย่างประเด็นการแบ่งประเภทของยา ซึ่งร่าง พ.ร.บ.ยาฉบับใหม่ กำหนดเป็น ยาที่ต้องจ่ายตามใบสั่งยา ยาที่ต้องจ่ายโดยผู้ประกอบวิชาชีพหมายถึงทุกวิชาชีพด้านการแพทย์ และยาสามัญประจำบ้าน ก็ควรแบ่งยาตามหลักสากลคือ ยาที่ต้องใช้ใบสั่งยา ยาที่เภสัชกรเป็นผู้สั่งจ่าย และยาที่ประชาชนเลือกใช้ได้เอง
“หลักการจ่ายยาก็ต้องเป็นไปตามหลักสากล คือ ผู้สั่งจ่ายยาและผู้จ่ายยาต้องแยกกัน เพื่อให้เกิดการตรวจสอบซึ่งกันและกัน อย่างในโรงพยาบาลแพทย์สั่งจ่ายยา เภสัชกรเป็นผู้จ่ายยาก็จะเกิดการตรวจสอบว่ายาที่จ่ายเหมาะสมกับคนไข้หรือไม่ เพราะหากให้คนๆ เดียวสั่งจ่ายและจ่ายยาเองหากเกิดความผิดพลาดก็จะไม่มีการตรวจสอบ” ภก.กิตติ กล่าวและว่า ข้อคัดค้านเดิมทีมี 7 ประเด็น แต่วันนี้มีเพิ่มอีกประเด็นหนึ่ง คือ การผลิต ขาย นำเข้า เภสัชสมุนไพร (สมุนไพรที่ไม่แปรสภาพที่ใช้เป็นยา) ต้องขออนุญาตตามมาตรา 85 ซึ่งมีถ้อยคำที่อาจทำให้เข้าใจผิดว่าคนที่ปลูกสมุนไพรทั่วไปจะต้องถูกควบคุมด้วยนั้น ก็ต้องระบุให้ชัดเจน
ด้าน ภก.วินิต อัศวกิจวิรี ผู้ทรงคุณวุฒิ อย. กล่าวว่า ร่าง พ.ร.บ.ยา ฉบับใหม่ได้ปรับแก้ให้สอดคล้องกับความเป็นสากล โดยหลักการก็เพื่อให้เกิดความคุ้มครองประชาชนในเรื่องของการใช้ยา อย่างเรื่องการแบ่งประเภทยาก็เพื่อให้สอดรับการเข้าประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งผู้ยกร่างก็คิดว่ามีความรัดกุมพอ แต่เมื่อผู้เกี่ยวข้องแสดงความเห็นเพิ่มเติมก็ต้องมาหารือเพื่อปรับแก้ให้มีความเข้าใจตรงกันที่สุด ซึ่งหลังจากการหารือใน 2 สัปดาห์เสร็จสิ้นและมีการปรับแก้แล้ว ในช่วงสัปดาห์ที่ 3 จะเชิญกลุ่มวิชาชีพอื่นนอกเหนือเภสัชกรมาแสดงความคิดเห็นต่อร่าง พ.ร.บ.ยา ที่มีการปรับแก้ อย่างไรก็ตาม เมื่อครบกำหนด 30 วันก็จะยืนยันตอบกลับคณะกรรมการกฤษฎีกาต่อไป
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
Loadingเครื่อง oncothermia ความหวังใหม่รักษามะเร็งเต้านม-ตับระยะท้าย ใช้คลื่นวิทยุยิงเฉพาะจุดมะเร็งจนเกิดความร้อน เอื้อยาเคมีบำบัดเข้าถึงมะเร็งง่ายขึ้น ผลศึกษาก้แนมะเร็งเต้านมยุบทั้งหมด 22% ผู้ป่วยมะเร็งตับอายุยืนขึ้น