อย.ฟันธงขายยาผ่านเน็ต - โลกออนไลน์ผิดกฎหมาย เหตุไม่ใช่สินค้าทั่วไป ต้องขายในสถานที่อนุญาต ระวังโทษจำคุก 5 ปี ปรับ 10,000 บาท พ่วงผิดโฆษณายาปรับอีก 100,000 บาท เผยขายอาหารเสริมอ้างเพิ่มสรรพคุณทางเพศผ่านเน็ตผิดเช่นกัน เตือน ปชช.ระวังซื้อผลิตภัณฑ์สุขภาพผ่านเน็ต ได้ของไม่ดี ใช้ไม่เห็นผล โรคที่เป็นรุนแรงขึ้น ได้รับอันตราย
ภก.ประพนธ์ อางตระกูล รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวว่า การซื้อผลิตภัณฑ์สุขภาพจากอินเทอร์เน็ตมีความเสี่ยง คือ อาจได้รับผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีคุณภาพมาตรฐาน หรือลักลอบผสมยาหรือสารอันตราย ไม่ให้ผลในการใช้หรือรักษา โดยผลิตภัณฑ์ยา อาหาร เครื่องสำอาง มักเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีปัญหา และได้รับข้อร้องเรียนเสมอ คือ ใช้แล้วไม่เห็นผล เสียเงินโดยไม่คุ้มค่า โรคที่เป็นรุนแรงขึ้น ได้รับอันตรายจากสินค้า เช่น การแพ้ และโฆษณาหลอกลวง ที่สำคัญคือ การขายยาผ่านทางอินเทอร์เน็ตถือว่าผิดกฎหมาย เพราะตาม พ.ร.บ.ยา พ.ศ. 2510 มีข้อกำหนดชัดเจนเรื่องสถานที่ขายยา ว่า ต้องไม่ขายนอกสถานที่ตามที่อนุญาต เพราะยาไม่ใช่สินค้าทั่วไป การซื้อจึงต้องได้รับคำแนะนำที่ถูกต้องจากผู้ปฏิบัติวิชาชีพโดยตรง การขายในอินเทอร์เน็ต จึงเป็นการขายนอกสถานที่ที่อนุญาต มีความผิดตามมาตรา 12 พ.ร.บ.ยา มีโทษ จำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 10,000 บาท นอกจากนี้ จะถือว่ามีความผิดฐานโฆษณาด้วย เพราะยาถือเป็นสิ่งที่ไม่อนุญาตให้โฆษณา จะมีโทษปรับไม่เกิน 100,000 บาท
ภก.ประพนธ์ กล่าวว่า สำหรับสินค้าอื่น เช่น เครื่องสำอาง หรืออาหารเสริม ยังไม่มีกฎหมายห้ามขายผ่านอินเทอร์เน็ต แต่ผู้บริโภคต้องใช้ความระวังในการเลือกซื้อ เพราะมักพบกรณีการโฆษณาอวดอ้างเกินจริง และการแสดงฉลากไม่ถูกต้อง การเติมสารปลอมปน เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ต้องขอความร่วมมือประชาชนไม่สนับสนุนผู้กระทำผิดกฎหมายเหล่านี้ เพราะการดำเนินการทางกฎหมายแม้ว่าจะตรวจจับอยู่ตลอด แต่กระบวนการจะต้องอาศัยความร่วมมือหลายหน่วยงานใช้เวลาปิดบางครั้งนานถึง 2 เดือน แต่การเปิดเว็บไซต์ใหม่ใช้เวลาเพียงไม่กี่วัน ทำให้เจ้าหน้าที่ทำงานได้ยาก จึงต้องช่วยกันในการแจ้งเบาะแส และไม่สนับสนุนเว็บไซต์เหล่านี้ เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภคเองด้วย
น.ส.ทิพย์วรรณ ปริญญาศิริ ผอ.สำนักอาหาร อย. กล่าวว่า นอกจากการขายยาผ่านเว็บไซต์ และสังคมออนไลน์ต่างๆ ซึ่งถือว่าผิดกฎหมายแล้ว การขายอาหารเสริม อวดอ้างสรรพคุณเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ทำให้แข็ง ทน นาน ผ่านสังคมออนไลน์ โดยเฉพาะเฟซบุ๊ก อินสตาแกรม โดยมีภาพดารามาโฆษณาสินค้าเหล่านี้ ก็ถือว่าผิดกฎหมายเช่นกัน คือ อวดอ้างสรรพคุณเกินจริง โดยที่ไม่ทราบว่ามีการผสมสารชนิดใดที่อาจส่งผลต่อร่างกาย และการผสมดังกล่าวอาจทำให้เข้าข่ายอาหารไม่บริสุทธิ์อีก โดยส่วนใหญ่การโฆษณาลักษณะนี้ถือว่าผิด พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ. 2522 ฐานโฆษณาโดยไม่ได้รับอนุญาต มีโทษปรับไม่เกิน 5 พันบาท และหากตรวจสอบพบว่ามีการใส่สารเจือปน และอาจก่อโทษ จะกลายเป็นอาหารไม่บริสุทธิ์ ถือว่ามีความผิด โดยต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งเป็น และถ้ากระทำโดยจำหน่ายปลีกให้แก่ผู้บริโภคโดยตรงต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
“อย่างไรก็ตาม เรื่องโทษนั้นต้องมีการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ต่างๆ ก่อน แต่ที่น่ากังวลคือ การจะตรวจจับค่อนข้างยาก ยิ่งมีการจำหน่ายผ่านเฟซบุ๊ก หรืออินสตาแกรม จะตรวจสอบต้นตอยากมาก เพราะไม่มีการขออนุญาตกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) จะไปปิดเฟซบุ๊กคงไม่ได้ เรื่องนี้จึงต้องมีการช่วยกันสอดส่องดูแลทุกฝ่าย ซึ่ง อย. ก็พยายามตรวจจับ แต่จับเท่าไรก็ไม่หมด พอมีดารานักแสดงเข้ามาเกี่ยวข้อง เมื่อสอบถามก็จะบอกว่าไม่ทราบ เป็นภาพตัดต่อ ซึ่งเขาอาจไม่เกี่ยวข้องจริงๆ แต่หากผู้บริโภคพบเห็นการจำหน่ายลักษณะนี้แล้วไม่มั่นใจ ให้แจ้งมาที่สายด่วน อย. โทร. 1556” ผอ.สำนักอาหาร อย. กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
ภก.ประพนธ์ อางตระกูล รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวว่า การซื้อผลิตภัณฑ์สุขภาพจากอินเทอร์เน็ตมีความเสี่ยง คือ อาจได้รับผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีคุณภาพมาตรฐาน หรือลักลอบผสมยาหรือสารอันตราย ไม่ให้ผลในการใช้หรือรักษา โดยผลิตภัณฑ์ยา อาหาร เครื่องสำอาง มักเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีปัญหา และได้รับข้อร้องเรียนเสมอ คือ ใช้แล้วไม่เห็นผล เสียเงินโดยไม่คุ้มค่า โรคที่เป็นรุนแรงขึ้น ได้รับอันตรายจากสินค้า เช่น การแพ้ และโฆษณาหลอกลวง ที่สำคัญคือ การขายยาผ่านทางอินเทอร์เน็ตถือว่าผิดกฎหมาย เพราะตาม พ.ร.บ.ยา พ.ศ. 2510 มีข้อกำหนดชัดเจนเรื่องสถานที่ขายยา ว่า ต้องไม่ขายนอกสถานที่ตามที่อนุญาต เพราะยาไม่ใช่สินค้าทั่วไป การซื้อจึงต้องได้รับคำแนะนำที่ถูกต้องจากผู้ปฏิบัติวิชาชีพโดยตรง การขายในอินเทอร์เน็ต จึงเป็นการขายนอกสถานที่ที่อนุญาต มีความผิดตามมาตรา 12 พ.ร.บ.ยา มีโทษ จำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 10,000 บาท นอกจากนี้ จะถือว่ามีความผิดฐานโฆษณาด้วย เพราะยาถือเป็นสิ่งที่ไม่อนุญาตให้โฆษณา จะมีโทษปรับไม่เกิน 100,000 บาท
ภก.ประพนธ์ กล่าวว่า สำหรับสินค้าอื่น เช่น เครื่องสำอาง หรืออาหารเสริม ยังไม่มีกฎหมายห้ามขายผ่านอินเทอร์เน็ต แต่ผู้บริโภคต้องใช้ความระวังในการเลือกซื้อ เพราะมักพบกรณีการโฆษณาอวดอ้างเกินจริง และการแสดงฉลากไม่ถูกต้อง การเติมสารปลอมปน เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ต้องขอความร่วมมือประชาชนไม่สนับสนุนผู้กระทำผิดกฎหมายเหล่านี้ เพราะการดำเนินการทางกฎหมายแม้ว่าจะตรวจจับอยู่ตลอด แต่กระบวนการจะต้องอาศัยความร่วมมือหลายหน่วยงานใช้เวลาปิดบางครั้งนานถึง 2 เดือน แต่การเปิดเว็บไซต์ใหม่ใช้เวลาเพียงไม่กี่วัน ทำให้เจ้าหน้าที่ทำงานได้ยาก จึงต้องช่วยกันในการแจ้งเบาะแส และไม่สนับสนุนเว็บไซต์เหล่านี้ เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภคเองด้วย
น.ส.ทิพย์วรรณ ปริญญาศิริ ผอ.สำนักอาหาร อย. กล่าวว่า นอกจากการขายยาผ่านเว็บไซต์ และสังคมออนไลน์ต่างๆ ซึ่งถือว่าผิดกฎหมายแล้ว การขายอาหารเสริม อวดอ้างสรรพคุณเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ทำให้แข็ง ทน นาน ผ่านสังคมออนไลน์ โดยเฉพาะเฟซบุ๊ก อินสตาแกรม โดยมีภาพดารามาโฆษณาสินค้าเหล่านี้ ก็ถือว่าผิดกฎหมายเช่นกัน คือ อวดอ้างสรรพคุณเกินจริง โดยที่ไม่ทราบว่ามีการผสมสารชนิดใดที่อาจส่งผลต่อร่างกาย และการผสมดังกล่าวอาจทำให้เข้าข่ายอาหารไม่บริสุทธิ์อีก โดยส่วนใหญ่การโฆษณาลักษณะนี้ถือว่าผิด พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ. 2522 ฐานโฆษณาโดยไม่ได้รับอนุญาต มีโทษปรับไม่เกิน 5 พันบาท และหากตรวจสอบพบว่ามีการใส่สารเจือปน และอาจก่อโทษ จะกลายเป็นอาหารไม่บริสุทธิ์ ถือว่ามีความผิด โดยต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งเป็น และถ้ากระทำโดยจำหน่ายปลีกให้แก่ผู้บริโภคโดยตรงต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
“อย่างไรก็ตาม เรื่องโทษนั้นต้องมีการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ต่างๆ ก่อน แต่ที่น่ากังวลคือ การจะตรวจจับค่อนข้างยาก ยิ่งมีการจำหน่ายผ่านเฟซบุ๊ก หรืออินสตาแกรม จะตรวจสอบต้นตอยากมาก เพราะไม่มีการขออนุญาตกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) จะไปปิดเฟซบุ๊กคงไม่ได้ เรื่องนี้จึงต้องมีการช่วยกันสอดส่องดูแลทุกฝ่าย ซึ่ง อย. ก็พยายามตรวจจับ แต่จับเท่าไรก็ไม่หมด พอมีดารานักแสดงเข้ามาเกี่ยวข้อง เมื่อสอบถามก็จะบอกว่าไม่ทราบ เป็นภาพตัดต่อ ซึ่งเขาอาจไม่เกี่ยวข้องจริงๆ แต่หากผู้บริโภคพบเห็นการจำหน่ายลักษณะนี้แล้วไม่มั่นใจ ให้แจ้งมาที่สายด่วน อย. โทร. 1556” ผอ.สำนักอาหาร อย. กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
กำลังโหลดเครื่อง oncothermia ความหวังใหม่รักษามะเร็งเต้านม-ตับระยะท้าย ใช้คลื่นวิทยุยิงเฉพาะจุดมะเร็งจนเกิดความร้อน เอื้อยาเคมีบำบัดเข้าถึงมะเร็งง่ายขึ้น ผลศึกษาก้แนมะเร็งเต้านมยุบทั้งหมด 22% ผู้ป่วยมะเร็งตับอายุยืนขึ้น