สปสช. เคลียร์ทุกประเด็นร้อน อัดกลับ สธ. ใส่ร้าย ยันไม่มีการให้ รพ. ถอนเงินส่งกลับ สปสช. ยืนยันโอนงบบัตรทองให้หน่วยงานอื่นทำได้ตามกฎหมาย รับการจัดสรรงบบัตรทองทำ รพ. ห่างไกล กันดาร ประชากรน้อยขาดทุน แต่ระบุมีกลไกเสริม เผยปี 58 ใช้ 4 แนวทางช่วย ชง “หมอรัชตะ” ตั้ง คกก. กลาง แก้ รพ. ขาดทุนระยะยาว
วันนี้ (11 ธ.ค.) นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) แถลงข่าว “สปสช. ชี้แจงการบริหารกองทุนบัตรทอง” ว่า ที่ผ่านมา สปสช. ถูกกล่าวหาและใส่ร้ายมาหลายเวที แต่พยายามอดทน จนเมื่อวันที่ 9 ธ.ค. 2557 นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ใส่ร้าย สปสช. ในหลายประเด็น ซึ่งจำเป็นต้องชี้แจง มิเช่นนั้นเท่ากับเป็นการยอมรับ โดยประเด็นที่ 1 คือ การโอนเงินไปให้โรงพยาบาลในวันที่ 27 ก.ย. 2555 แล้วโอนเงินดังกล่าวกลับมา สปสช. ใน ธ.ค. ข้อเท็จจริง คือ โรงพยาบาลไม่เคยต้องถอนเงินแล้วส่งให้ สปสช. แต่เป็นการโอนเงินล่วงหน้าไปให้โรงพยาบาลตามที่มีการประเมินค่าใช้จ่ายในส่วนของงบผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกในปีก่อนหน้า ถ้าใช้ไม่หมดปีต่อมาก็จะใช้วิธีการหักลบกลบหนี้ ซึ่งมีประมาณ 4,500 ล้านบาท ไม่ได้มีการสั่งให้มีการโอนเงินกลับ ข้อมูลนี้ปลัด สธ. อาจรู้น้อยหรือไม่เข้าใจ ไม่ใช่สปสช.ไม่มีธรรมาภิบาล
นพ.วินัย กล่าวว่า 2. การโอนเงินให้องค์กรอื่นที่ไม่ใช้หน่วยบริการ เป็นการใช้เงินผิดวัตถุประสงค์นั้น ยืนยันว่า มีระเบียบรองรับและสามารถดำเนินการได้ 3. บริหารกองทุนย่อยทำให้โรงพยาบาลขาดทุนและมีเงินค้างท่อ ขอแจงว่าการบริหารกองทุนย่อยคำนึงถึงการเข้าถึงบริการของประชาชนเกี่ยวกับโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูงต่างๆ และ 4. กล่าวหาว่า สปสช. ทำให้หมออนามัยกลายเป็นหมอหน้าจอ คีย์ข้อมูลเพื่อสอยเงิน อยากชี้แจงว่าข้อมูลส่วนใหญ่ที่หมออนามัยต้องทำเป็น 43 แฟ้มตามที่ สธ. กำหนด และไม่อยากให้ปลัด สธ. ส่งสัญญาณว่าข้อมูลไม่สำคัญ ทั้งที่ข้อมูลมีความสำคัญมาก เพราะฉะนั้น สธ. ต้องจัดทำระบบให้ทันสมัยให้ได้ข้อมูลเพื่อใช้ในการวิเคราะห์และวางแผน
“กรณีโรงพยาบาลขาดสภาพคล่องต้องพิจารณาทั้งรายรับและรายจ่าย โดยโรงพยาบาลจะมีรายรับ 4 ทาง คือ กองทุนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ประกันสังคม สวัสดิการข้าราชการ และเก็บตรงจากคนไข้ ส่วนรายจ่ายเป็นความรับผิดชอบในกลไกการบริหารของ สธ. ที่มีรายจ่ายเพิ่มขึ้นทั้งการปรับลูกจ้างชั่วคราวเป็นพนักงาน สธ. การเพิ่มค่าแรงตามกฎหมายวันละ 300 บาท หรือเดือนละ 15,000 บาท และมีอีกหลายโรงพยาบาลที่เมื่อเปลี่ยนตัวผู้อำนวยการแล้วทำให้สถานภาพทางการเงินดีขึ้น การใส่ร้าย สปสช. ทำให้ รพ. ขาดทุนจึงไม่ใช่ การแก้ปัญหาในระยะยาว สปสช.จะเสนอ รมว.สาธารณสุข ให้ตั้งคณะกรรมการกลางมาวิเคราะห์ปัจจัย สาเหตุและแนวทางในการแก้ปัญหา โดยมีตัวแทนจากทุกภาคส่วนเข้าร่วม” เลขาธิการ สปสช. กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า กลไกการจัดสรรงบบัตรทองไม่ได้ทำให้ รพ. ขาดทุนใช่หรือไม่ นพ.วินัย กล่าวว่า รพ. ในพื้นที่ห่างไกล ทุรกันดารหรือมีประชากรน้อย การจัดสรรงบในรูปแบบที่เป็นอยู่อาจเป็นปัญหา แต่ สปสช. มีกลไกเสริม โดยปีงบประมาณ 2558 สปสช. มีกลไกการแก้ปัญหาขาดสภาพคล่องใน 4 ส่วน ได้แก่ 1. เงินสำหรับจ่ายให้ รพ. ในถิ่นทุรกันดาร 500 ล้านบาท 2. ค่าตอบแทนบุคลากร 3,000 ล้านบาท จัดให้ รพ. ที่มีปัญหาขาดสภาพคล่อง 3. กันเงินเดือนไว้ประมาณ 1,800 ล้านบาท เพื่อแก้ปัญหา และ 4. จัดสรรเงินผู้ป่วยนอกให้เขตกระจายช่วย รพ. ที่ขาดสภาพคล่อง
นพ.ประทีป ธนกิจเจริญ รองเลขาธิการ สปสช. กล่าวว่า การจัดสรรงบประมาณให้กับหน่วยงานอื่นที่ไม่ใช่หน่วยบริการสามารถทำได้ไม่ผิดวัตถุประสงค์ โดยงบที่จัดสรรให้หน่วยบริการราว 1.4 แสนล้านบาท หรือคิดเป็น 99% ของงบประมาณทั้งหมด อีกส่วนเป็นงบส่งเสริม สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุข ซึ่งเงินที่จัดสรรให้มูลนิธิและหน่วยงานอื่นๆ อยู่ในส่วนนี้ ปีงบประมาณ 2557 เป็นจำนวนประมาณ 587 ล้านบาท คิดเป็น 0.42% ของงบทั้งหมด โดยจัดสนับสนุนให้หน่วยงานต่างๆ เช่น สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สป.สธ.) กรมต่างๆ ใน สธ. สสจ. และ สสอ. และมูลนิธิต่างๆ
ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า การจัดสรรงบเหมาจ่ายรายหัวปี 2558 ในไตรมาส 2 ที่ให้ยึดตามเกณฑ์เดิม โดยให้ไปทดลองศึกษาการจัดสรรงบเหมาจ่ายรายหัวรูปแบบใหม่ในเขตสุขภาพที่ 2 และ 10 เพื่อนำมพิจารณาในการปรับการจัดสรรงบในไตรมาส 3 - 4 นั้น ยืนยันว่า เป็นมติบอร์ด สปสช. ไม่ใช่เป็นข้อสรุปของตนในฐานะประธานบอร์ด สปสช. ส่วนกรณีที่ผู้ตรวจราชการ สธ. และสาธารณสุขนิเทศก์ยื่นหนังสือร้องให้ตนตรวจสอบการจัดสรรเงินที่ไม่โปร่งใสของ สปสช. โดยอ้างว่า สปสช. นำงบเหมาจ่ายรายหัวไปอุดหนุนหน่วยงานที่ไม่ใช่หน่วยบริการนั้น ตนตรวจสอบในเรื่องนี้แล้ว พบว่า สปสช. ทำถูกต้องตามกฎหมาย เนื่องจากตามมาตรา 38 พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 ระบุไว้ชัดเจนถึงกรณีการโอนเงินด้านการบริการสาธารณสุขให้แก่หน่วยงานอื่นหรือท้องถิ่นได้
“การโอนเงินให้แก่หน่วยงานเหล่านี้ไม่ใช่ว่าจะโอนให้อย่างไรก็ได้ แต่การโอนเงินจะต้องมีเหตุผลที่เหมาะสม นั่นคือ เป็นไปเพื่อการบริการสุขภาพ หรือการประเมินผลการดำเนินงานด้านสุขภาพ ซึ่งเงินส่วนนี้ที่โอนไปก็น้อยมาก มีไม่ถึง 1% และจากการตรวจสอบก็พบว่า การโอนเงินของ สปสช.ก็เป็นไปตามหลักเหตุผลข้างต้น จึงไม่ใช่การโอนงบประมาณที่ผิดกฎหมายแต่อย่างใด” ศ.นพ.รัชตะ กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (11 ธ.ค.) นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) แถลงข่าว “สปสช. ชี้แจงการบริหารกองทุนบัตรทอง” ว่า ที่ผ่านมา สปสช. ถูกกล่าวหาและใส่ร้ายมาหลายเวที แต่พยายามอดทน จนเมื่อวันที่ 9 ธ.ค. 2557 นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ใส่ร้าย สปสช. ในหลายประเด็น ซึ่งจำเป็นต้องชี้แจง มิเช่นนั้นเท่ากับเป็นการยอมรับ โดยประเด็นที่ 1 คือ การโอนเงินไปให้โรงพยาบาลในวันที่ 27 ก.ย. 2555 แล้วโอนเงินดังกล่าวกลับมา สปสช. ใน ธ.ค. ข้อเท็จจริง คือ โรงพยาบาลไม่เคยต้องถอนเงินแล้วส่งให้ สปสช. แต่เป็นการโอนเงินล่วงหน้าไปให้โรงพยาบาลตามที่มีการประเมินค่าใช้จ่ายในส่วนของงบผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกในปีก่อนหน้า ถ้าใช้ไม่หมดปีต่อมาก็จะใช้วิธีการหักลบกลบหนี้ ซึ่งมีประมาณ 4,500 ล้านบาท ไม่ได้มีการสั่งให้มีการโอนเงินกลับ ข้อมูลนี้ปลัด สธ. อาจรู้น้อยหรือไม่เข้าใจ ไม่ใช่สปสช.ไม่มีธรรมาภิบาล
นพ.วินัย กล่าวว่า 2. การโอนเงินให้องค์กรอื่นที่ไม่ใช้หน่วยบริการ เป็นการใช้เงินผิดวัตถุประสงค์นั้น ยืนยันว่า มีระเบียบรองรับและสามารถดำเนินการได้ 3. บริหารกองทุนย่อยทำให้โรงพยาบาลขาดทุนและมีเงินค้างท่อ ขอแจงว่าการบริหารกองทุนย่อยคำนึงถึงการเข้าถึงบริการของประชาชนเกี่ยวกับโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูงต่างๆ และ 4. กล่าวหาว่า สปสช. ทำให้หมออนามัยกลายเป็นหมอหน้าจอ คีย์ข้อมูลเพื่อสอยเงิน อยากชี้แจงว่าข้อมูลส่วนใหญ่ที่หมออนามัยต้องทำเป็น 43 แฟ้มตามที่ สธ. กำหนด และไม่อยากให้ปลัด สธ. ส่งสัญญาณว่าข้อมูลไม่สำคัญ ทั้งที่ข้อมูลมีความสำคัญมาก เพราะฉะนั้น สธ. ต้องจัดทำระบบให้ทันสมัยให้ได้ข้อมูลเพื่อใช้ในการวิเคราะห์และวางแผน
“กรณีโรงพยาบาลขาดสภาพคล่องต้องพิจารณาทั้งรายรับและรายจ่าย โดยโรงพยาบาลจะมีรายรับ 4 ทาง คือ กองทุนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ประกันสังคม สวัสดิการข้าราชการ และเก็บตรงจากคนไข้ ส่วนรายจ่ายเป็นความรับผิดชอบในกลไกการบริหารของ สธ. ที่มีรายจ่ายเพิ่มขึ้นทั้งการปรับลูกจ้างชั่วคราวเป็นพนักงาน สธ. การเพิ่มค่าแรงตามกฎหมายวันละ 300 บาท หรือเดือนละ 15,000 บาท และมีอีกหลายโรงพยาบาลที่เมื่อเปลี่ยนตัวผู้อำนวยการแล้วทำให้สถานภาพทางการเงินดีขึ้น การใส่ร้าย สปสช. ทำให้ รพ. ขาดทุนจึงไม่ใช่ การแก้ปัญหาในระยะยาว สปสช.จะเสนอ รมว.สาธารณสุข ให้ตั้งคณะกรรมการกลางมาวิเคราะห์ปัจจัย สาเหตุและแนวทางในการแก้ปัญหา โดยมีตัวแทนจากทุกภาคส่วนเข้าร่วม” เลขาธิการ สปสช. กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า กลไกการจัดสรรงบบัตรทองไม่ได้ทำให้ รพ. ขาดทุนใช่หรือไม่ นพ.วินัย กล่าวว่า รพ. ในพื้นที่ห่างไกล ทุรกันดารหรือมีประชากรน้อย การจัดสรรงบในรูปแบบที่เป็นอยู่อาจเป็นปัญหา แต่ สปสช. มีกลไกเสริม โดยปีงบประมาณ 2558 สปสช. มีกลไกการแก้ปัญหาขาดสภาพคล่องใน 4 ส่วน ได้แก่ 1. เงินสำหรับจ่ายให้ รพ. ในถิ่นทุรกันดาร 500 ล้านบาท 2. ค่าตอบแทนบุคลากร 3,000 ล้านบาท จัดให้ รพ. ที่มีปัญหาขาดสภาพคล่อง 3. กันเงินเดือนไว้ประมาณ 1,800 ล้านบาท เพื่อแก้ปัญหา และ 4. จัดสรรเงินผู้ป่วยนอกให้เขตกระจายช่วย รพ. ที่ขาดสภาพคล่อง
นพ.ประทีป ธนกิจเจริญ รองเลขาธิการ สปสช. กล่าวว่า การจัดสรรงบประมาณให้กับหน่วยงานอื่นที่ไม่ใช่หน่วยบริการสามารถทำได้ไม่ผิดวัตถุประสงค์ โดยงบที่จัดสรรให้หน่วยบริการราว 1.4 แสนล้านบาท หรือคิดเป็น 99% ของงบประมาณทั้งหมด อีกส่วนเป็นงบส่งเสริม สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุข ซึ่งเงินที่จัดสรรให้มูลนิธิและหน่วยงานอื่นๆ อยู่ในส่วนนี้ ปีงบประมาณ 2557 เป็นจำนวนประมาณ 587 ล้านบาท คิดเป็น 0.42% ของงบทั้งหมด โดยจัดสนับสนุนให้หน่วยงานต่างๆ เช่น สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สป.สธ.) กรมต่างๆ ใน สธ. สสจ. และ สสอ. และมูลนิธิต่างๆ
ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า การจัดสรรงบเหมาจ่ายรายหัวปี 2558 ในไตรมาส 2 ที่ให้ยึดตามเกณฑ์เดิม โดยให้ไปทดลองศึกษาการจัดสรรงบเหมาจ่ายรายหัวรูปแบบใหม่ในเขตสุขภาพที่ 2 และ 10 เพื่อนำมพิจารณาในการปรับการจัดสรรงบในไตรมาส 3 - 4 นั้น ยืนยันว่า เป็นมติบอร์ด สปสช. ไม่ใช่เป็นข้อสรุปของตนในฐานะประธานบอร์ด สปสช. ส่วนกรณีที่ผู้ตรวจราชการ สธ. และสาธารณสุขนิเทศก์ยื่นหนังสือร้องให้ตนตรวจสอบการจัดสรรเงินที่ไม่โปร่งใสของ สปสช. โดยอ้างว่า สปสช. นำงบเหมาจ่ายรายหัวไปอุดหนุนหน่วยงานที่ไม่ใช่หน่วยบริการนั้น ตนตรวจสอบในเรื่องนี้แล้ว พบว่า สปสช. ทำถูกต้องตามกฎหมาย เนื่องจากตามมาตรา 38 พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 ระบุไว้ชัดเจนถึงกรณีการโอนเงินด้านการบริการสาธารณสุขให้แก่หน่วยงานอื่นหรือท้องถิ่นได้
“การโอนเงินให้แก่หน่วยงานเหล่านี้ไม่ใช่ว่าจะโอนให้อย่างไรก็ได้ แต่การโอนเงินจะต้องมีเหตุผลที่เหมาะสม นั่นคือ เป็นไปเพื่อการบริการสุขภาพ หรือการประเมินผลการดำเนินงานด้านสุขภาพ ซึ่งเงินส่วนนี้ที่โอนไปก็น้อยมาก มีไม่ถึง 1% และจากการตรวจสอบก็พบว่า การโอนเงินของ สปสช.ก็เป็นไปตามหลักเหตุผลข้างต้น จึงไม่ใช่การโอนงบประมาณที่ผิดกฎหมายแต่อย่างใด” ศ.นพ.รัชตะ กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่