บอร์ด สปสช. ไม่เคาะจัดสรรงบบัตรทองรูปแบบใหม่ หลังถกเถียงยืดเยื้อมานาน เผยไตรมาสสองให้ใช้รูปแบบเดิมจัดสรร ซื้อเวลาให้นำร่องทดลองจัดสรรงบรูปแบบใหม่ในเขต 2 และ 10 หากได้ผลดีค่อยพิจารณาอีกรอบ
วันนี้ (8 ธ.ค.) ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ในฐานะประธานคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) กล่าวภายหลังการประชุมซึ่งมีวาระการพิจารณาแนวทางจัดสรรงบกองทุนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือบัตรทอง ตามข้อเสนอของ สธ. ซึ่งในฝั่งของ สธ. มี นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัด สธ. นพ.วชิระ เพ็งจันทร์ รองปลัด สธ. เข้าร่วมด้วย ว่า ที่ประชุมยังไม่สามารถพิจารณาปรับปรุงระบบการจัดสรรงบประมาณเหมาจ่ายรายหัวได้ ดังนั้น ในไตรมาส 2 จะจัดสรรงบตามหลักเกณฑ์เดิมเหมือนปี 2557 ไปก่อน ส่วนในไตรมาสที่ 3 - 4 ต้องรอคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบการเงินการคลัง ที่มี ดร.คณิศ แสงสุพรรณ เป็นประธาน สรุปผลการทดลองนำร่องการจัดสรรงบรูปแบบใหม่ใน 2 เขต มาเสนอต่อบอร์ด หากดำเนินการได้ทัน
ด้าน ดร.คณิศ แสงสุพรรณ ประธานคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบการเงินการคลัง ในบอร์ด สปสช. กล่าวว่า ข้อสรุปของคณะอนุฯที่เสนอบอร์ด สปสช. คือ รับทราบข้อเสนอการบริหารงบเหมาจ่ายรายหัว ของ สธ. ที่ให้ปรับปรุงการบริหารงบผู้ป่วยนอก ผู้ป่วยใน งบส่งเสริมป้องกันโรค โดยให้ไปทดลองนำร่องการจัดสรรงบรูปแบบใหม่ใน 2 เขตสุขภาพคือ เขต 2 และ 10 โดยจะให้มีการพิจารณาจัดสรรงบผ่านเขตสุขภาพ และ จัดสรรงบเหมาจ่ายรายหัวขาลง เป็น 4 กลุ่ม จากเดิมที่เป็น 9 หมวด เป็นการทดลองระบบการบริหารงบเสมือนจริง เพื่อเปรียบเทียบกับการบริหารรูปแบบเดิม จากนั้นจึงจะสรุปผลก่อนนำไปขยายทดลองในทุกเขต
ดร.คณิศ กล่าวว่า นอกจากนี้ เสนอให้รับหลักการการปรับปรุงเกี่ยวกับการบริการโรคเฉพาะ โดยให้เหตุผลว่า โรคเฉพาะบางประเภทหากบริหารในระดับเขตจะมีประสิทธิภาพดีขึ้น และ เสนอให้ปรับปรุงการบริหารกองทุนที่ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) โดยเสนอให้แยกเงินส่วนนี้ออกมาต่างหากตั้งแต่ปี 2559 เป็นต้นไป โดยในขณะที่อยู่ในกระบวนการดำเนินการทดลองจัดสรรงบประมาณฯ ขอให้ สปสช. บริหารงบไปตามประกาศของบอร์ด สปสช. ไปก่อน
“รมว.สาธารณสุข ให้เวลา 1 เดือน แต่คาดว่าไม่น่าจะเสร็จได้ทันทั้งหมด โดยเฉพาะการปรับเปลี่ยนในส่วนผู้ป่วยนอก ผู้ป่วยใน และงบส่งเสริมป้องกัน แต่เรื่องบริการโรคเฉพาะน่าจะสามารถทำได้ทันเป็นลำดับแรก ทั้งนี้ เมื่อแล้วเสร็จจะนำกลับมาเสนอบอร์ด สปสช. เพื่อพิจารณาปรับปรุงหลักการวิธีการจัดสรรงบประมาณใหม่ อย่างไรก็ตาม การที่ยังไม่สามารถทำตามที่ สธ. เสนอได้ทั้งหมด เพราะเรื่องดังกล่าวมีรายละเอียดมาก หากจะต้องเปลี่ยนแปลงก็ต้องพิสูจน์ให้ได้ก่อนว่า สิ่งที่เปลี่ยนแปลงจะทำให้ทุกคนดีขึ้นจริง ต้องมีหลักฐานชัดเจน ไม่ใช่แค่หลักการเท่านั้น” ดร.คณิศ กล่าว
นพ.ณรงค์ กล่าวภายในที่ประชุมว่า หากไม่รับในหลักการก็ยกเลิกการจัดสรรงบรูปแบบใหม่ตามที่ สธ.เสนอไปเลยดีกว่า เพราะเรื่องนี้ยืดเยื้อมานานพอแล้ว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เขตสุขภาพที่ 2 ประกอบด้วย จ.ตาก พิษณุโลก เพชรบูรณ์ สุโขทัย อุตรดิตถ์ และเขตสุขภาพที่ 10 ประกอบด้วย จ.มุกดาหาร ยโสธร ศรีสะเกษ อุบลราชธานี และ อำนาจเจริญ
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (8 ธ.ค.) ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ในฐานะประธานคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) กล่าวภายหลังการประชุมซึ่งมีวาระการพิจารณาแนวทางจัดสรรงบกองทุนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือบัตรทอง ตามข้อเสนอของ สธ. ซึ่งในฝั่งของ สธ. มี นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัด สธ. นพ.วชิระ เพ็งจันทร์ รองปลัด สธ. เข้าร่วมด้วย ว่า ที่ประชุมยังไม่สามารถพิจารณาปรับปรุงระบบการจัดสรรงบประมาณเหมาจ่ายรายหัวได้ ดังนั้น ในไตรมาส 2 จะจัดสรรงบตามหลักเกณฑ์เดิมเหมือนปี 2557 ไปก่อน ส่วนในไตรมาสที่ 3 - 4 ต้องรอคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบการเงินการคลัง ที่มี ดร.คณิศ แสงสุพรรณ เป็นประธาน สรุปผลการทดลองนำร่องการจัดสรรงบรูปแบบใหม่ใน 2 เขต มาเสนอต่อบอร์ด หากดำเนินการได้ทัน
ด้าน ดร.คณิศ แสงสุพรรณ ประธานคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบการเงินการคลัง ในบอร์ด สปสช. กล่าวว่า ข้อสรุปของคณะอนุฯที่เสนอบอร์ด สปสช. คือ รับทราบข้อเสนอการบริหารงบเหมาจ่ายรายหัว ของ สธ. ที่ให้ปรับปรุงการบริหารงบผู้ป่วยนอก ผู้ป่วยใน งบส่งเสริมป้องกันโรค โดยให้ไปทดลองนำร่องการจัดสรรงบรูปแบบใหม่ใน 2 เขตสุขภาพคือ เขต 2 และ 10 โดยจะให้มีการพิจารณาจัดสรรงบผ่านเขตสุขภาพ และ จัดสรรงบเหมาจ่ายรายหัวขาลง เป็น 4 กลุ่ม จากเดิมที่เป็น 9 หมวด เป็นการทดลองระบบการบริหารงบเสมือนจริง เพื่อเปรียบเทียบกับการบริหารรูปแบบเดิม จากนั้นจึงจะสรุปผลก่อนนำไปขยายทดลองในทุกเขต
ดร.คณิศ กล่าวว่า นอกจากนี้ เสนอให้รับหลักการการปรับปรุงเกี่ยวกับการบริการโรคเฉพาะ โดยให้เหตุผลว่า โรคเฉพาะบางประเภทหากบริหารในระดับเขตจะมีประสิทธิภาพดีขึ้น และ เสนอให้ปรับปรุงการบริหารกองทุนที่ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) โดยเสนอให้แยกเงินส่วนนี้ออกมาต่างหากตั้งแต่ปี 2559 เป็นต้นไป โดยในขณะที่อยู่ในกระบวนการดำเนินการทดลองจัดสรรงบประมาณฯ ขอให้ สปสช. บริหารงบไปตามประกาศของบอร์ด สปสช. ไปก่อน
“รมว.สาธารณสุข ให้เวลา 1 เดือน แต่คาดว่าไม่น่าจะเสร็จได้ทันทั้งหมด โดยเฉพาะการปรับเปลี่ยนในส่วนผู้ป่วยนอก ผู้ป่วยใน และงบส่งเสริมป้องกัน แต่เรื่องบริการโรคเฉพาะน่าจะสามารถทำได้ทันเป็นลำดับแรก ทั้งนี้ เมื่อแล้วเสร็จจะนำกลับมาเสนอบอร์ด สปสช. เพื่อพิจารณาปรับปรุงหลักการวิธีการจัดสรรงบประมาณใหม่ อย่างไรก็ตาม การที่ยังไม่สามารถทำตามที่ สธ. เสนอได้ทั้งหมด เพราะเรื่องดังกล่าวมีรายละเอียดมาก หากจะต้องเปลี่ยนแปลงก็ต้องพิสูจน์ให้ได้ก่อนว่า สิ่งที่เปลี่ยนแปลงจะทำให้ทุกคนดีขึ้นจริง ต้องมีหลักฐานชัดเจน ไม่ใช่แค่หลักการเท่านั้น” ดร.คณิศ กล่าว
นพ.ณรงค์ กล่าวภายในที่ประชุมว่า หากไม่รับในหลักการก็ยกเลิกการจัดสรรงบรูปแบบใหม่ตามที่ สธ.เสนอไปเลยดีกว่า เพราะเรื่องนี้ยืดเยื้อมานานพอแล้ว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เขตสุขภาพที่ 2 ประกอบด้วย จ.ตาก พิษณุโลก เพชรบูรณ์ สุโขทัย อุตรดิตถ์ และเขตสุขภาพที่ 10 ประกอบด้วย จ.มุกดาหาร ยโสธร ศรีสะเกษ อุบลราชธานี และ อำนาจเจริญ
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่