xs
xsm
sm
md
lg

ยันจัดสรรงบบัตรทองผ่านเขต รวมโรคค่าใช้จ่ายสูงกองทุนเดียว

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

สธ. ย้ำจุดยืนเดิมบริหารงบบัตรทองต้องจัดสรรผ่านเขตสุขภาพ ยุบงบเหลือเพียง 4 หมวด ส่วนโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูงให้เหลือเพียงกองทุนเดียว บริหารโรคค่าใช้จ่ายสูงทั้งหมด ไม่ต้องแยกเป็นรายโรค เตรียมหารือร่วม สปสช. 20 ต.ค.

วันนี้ (29 ต.ค.) ที่สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ผู้สื่อข่าวรายงานว่า มีการประชุมเรื่อง “การบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าหรือบัตรทอง” โดยมี นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เป็นประธาน โดยประชุมร่วมกับชมรมนายแพทย์สาธารณสุข ชมรมสาธารณสุขแห่งประเทศไทย ชมรมผู้อำนวยการโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป ชมรมผู้อำนวยการโรงพยาบาลชุมชน ชมรมหมออนามัยแห่งประเทศไทย ภาคีเครือข่ายวิชาชีพและตัวแทนกลุ่มประกัน ซึ่งเป็นการประชุมเพื่อหาแนวทางการบริหารจัดการงบบัตรทองปี 2558 ตามมติคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) กำหนด คือให้ สธ. และ สปสช. หารือแนวทางการจัดสรรงบบัตรทองปี 2558 ในไตรมาส 2 เป็นต้นไป หลังจากที่ให้งบไตรมาสแรกใช้หลักเกณฑ์การจัดสรรแบบปี 2557

ทั้งนี้ นพ.สุรพร ลอยหา นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด (นพ.สสจ.) อุบลราชธานี ในฐานะประธานชมรมนายแพทย์สาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมว่า สธ. มีข้อเสนอในการบริหารจัดการงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า 3 ประเด็น ได้แก่ 1. การบริหารจัดการงบประมาณดังกล่าวต้องดำเนินการในระดับเขตสุขภาพ 2. การจัดสรรงบประมาณควรดำเนินการเป็น 4 หมวดแทนที่จะเป็น 14 หหมวดเหมือนในปัจจุบัน คือ หมวดผู้ป่วยใน หมวดผู้ป่วยนอก หมวดส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค และหมวดเงินชดเชยตามมาตรา 41 พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 และ 3. ตั้งกองทุนโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูงต่างหาก แยกเพียงกองทุนเดียวแล้วบริหารจัดการโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูงทั้งหมด ไม่ใช่แยกเป็นกองทุนย่อยๆ รายโรค โดยผลประชุมที่ได้ทั้งหมดนี้ จะมีการนำเข้าหารือร่วมกับผู้แทนของ สปสช. ในวันที่ 30 ตุลาคม 2557

ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่

Loading

เครื่อง oncothermia ความหวังใหม่รักษามะเร็งเต้านม-ตับระยะท้าย ใช้คลื่นวิทยุยิงเฉพาะจุดมะเร็งจนเกิดความร้อน เอื้อยาเคมีบำบัดเข้าถึงมะเร็งง่ายขึ้น ผลศึกษาก้แนมะเร็งเต้านมยุบทั้งหมด 22% ผู้ป่วยมะเร็งตับอายุยืนขึ้น

View on Instagram




กำลังโหลดความคิดเห็น