ปลัด สธ. ชี้จัดสรรงบบัตรทองต้นเหตุหนึ่งทำ รพ. ขาดทุน เผยรอบ 3 ปี มี รพ. 105 แห่ง ขาดทุนรุนแรง เผยข้อมูลจัดสรรงบไปไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย พบกองทุนตำบลค้างท่ออื้อ ย้ำการจัดสรรงบผ่านระบบเขตช่วยแก้ปัญหาได้ ขณะที่ ชมรม รพศ./รพท. นพ.สสจ. ร่วมหนุนจัดสรรงบผ่านเขต ไม่ต้องเกลี่ยเงิน รพ. ใหญ่ ช่วย รพ. เล็ก
วันนี้ (9 ธ.ค.) ที่โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวระหว่างเป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนงบลงทุน ภายใต้แผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพปี พ.ศ. 2559 - 2560 โดยมีนายแพทย์สาธารณสุข (นพ.สสจ.) และผู้อำนวยการโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป (รพศ./รพท.) ทั่วประเทศเข้าร่วม ว่า การบริหารงานของโรงพยาบาลสังกัด สธ. ที่ผ่านมา มีรายได้ประมาณ 108,000 ล้านบาท เป็นเงินทุนหมุนเวียน 14,000 ล้านบาท ส่วนปัญหาโรงพยาบาลขาดสภาพคล่องนั้น ปัจจัยหนึ่งมาจากการจัดสรรงบประมาณหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าหรือบัตรทอง โดยพบว่ามีการขาดทุนประมาณ 7,000 ล้านบาท ทั้งที่หากมีการบริหารจัดการงบประมาณที่ดีกว่านี้ คือ จัดสรรงบผ่านเขตสุขภาพซึ่งถือเป็นคำตอบ ก็จะช่วยให้โรงพยาบาลมีสภาพคล่องตัวมากขึ้น เพราะโดยภาพรวมมีเงินเหลือในระบบประมาณ 1,800 ล้านบาท จากการที่มีสิทธิการรักษาของกองทุนอื่นเข้ามาช่วย ทำให้มีรายได้มากกว่าต้นทุน 9,000 ล้านบาท
“ที่น่าเป็นห่วงและต้องเร่งแก้ไข คือ โรงพยาบาลหลายแห่งประสบปัญหาวิกฤตทางการเงินระดับ 7 ซึ่งเป็นระดับรุนแรงสูงสุด โดยในรอบ 3 ปีมีมากถึง 105 แห่ง โดยพบข้อมูลหนึ่งที่ว่า การบริหารงบหลักประกันสุขภาพฯ ไปยังโรงพยาบาลไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย คือ งบกองทุนตำบลที่กระจายปีละประมาณ 2,000 ล้านบาท มีการค้างท่อ 4,104 ล้านบาท ซึ่งสะสมมาตั้งแต่ปี 2549-2557” ปลัด สธ. กล่าว
นพ.สุทัศน์ ศรีวิไล ผอ.รพ.เชียงรายประชานุเคราะห์ ในฐานะประธานชมรมโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป (รพศ./รพท.) กล่าวว่า ที่ผ่านมา หน่วยบริการจำนวนมากประสบปัญหาจากการจัดสรรงบรูปแบบเดิม จึงเสนอให้มีการจัดสรรผ่านเขต เพื่อให้สามารถพิจารณางบร่วมกันในพื้นที่ได้ว่าหน่วยบริการแต่ละแห่งควรได้รับการจัดสรรอย่างไร เป็นการเฉลี่ยทุกข์เฉลี่ยสุขในพื้นที่ แต่เมื่อบอร์ด สปสช. ยังไม่มีมติในเรื่องแนวทางการปรับปรุง ก็จะส่งผลให้เกิดปัญหากับหน่วยบริการ โดยเฉพาะแห่งที่มีปัญหาสภาพคล่องทางการเงิน จึงอยากให้ รมว.สาธารณสุข ในฐานะประธานบอร์ด สปสช.มองเห็นปัญหาทั้งของผู้ให้และผู้รับบริการ ซึ่งผู้ให้บริการ 70-80% อยู่ในสังกัด สธ. เมื่อประสบปัญหาก็อยากให้รับฟังและร่วมกันแก้ไขปรับปรุง
ด้าน นพ.สุพร ลอยหา นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด (นพ.สสจ) อุบลราชธานี ในฐานะประธานชมรม นพ.สสจ. กล่าวว่า ที่ผ่านมาภายในเขตสุขภาพที่ 10 ประกอบด้วย จ.มุกดาหาร อำนาจเจริญ ยโสธร อุบลราชธานี และ ศรีสะเกษ ได้มีการเกลี่ยงบระหว่างหน่วยบริการภายในเขตอยู่แล้ว โดยหน่วยบริการขนาดใหญ่ใน จ.อุบลราชธานี และ จ.ศรีสะเกษ ได้มีการจัดสรรงบประมาณให้กับหน่วยบริการในอีก 3 จังหวัดที่มีขนาดเล็ก เพื่อช่วยแก้ปัญหาทางการเงิน ดังนั้น หากบอร์ด สปสช. มีมติเห็นชอบให้มีการจัดสรรงบในระดับเขตตั้งแต่เริ่มต้นปีงบประมาณจะช่วยแก้ปัญหาหน่วยบริการขาดสภาพคล่องทางการเงิน เนื่องจากจะมีการจัดสรรงบประมาณภายในเขตเดียวกันไปให้แต่ละแห่งอย่างเพียงพอ หน่วยบริการก็จะไม่เกิดปัญหาทางการเงิน ไม่ต้องมีการมาเกลี่ยช่วยเหลือกันและกันในช่วงปลายปีงบประมาณเหมือนที่เป็นอยู่
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (9 ธ.ค.) ที่โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวระหว่างเป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนงบลงทุน ภายใต้แผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพปี พ.ศ. 2559 - 2560 โดยมีนายแพทย์สาธารณสุข (นพ.สสจ.) และผู้อำนวยการโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป (รพศ./รพท.) ทั่วประเทศเข้าร่วม ว่า การบริหารงานของโรงพยาบาลสังกัด สธ. ที่ผ่านมา มีรายได้ประมาณ 108,000 ล้านบาท เป็นเงินทุนหมุนเวียน 14,000 ล้านบาท ส่วนปัญหาโรงพยาบาลขาดสภาพคล่องนั้น ปัจจัยหนึ่งมาจากการจัดสรรงบประมาณหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าหรือบัตรทอง โดยพบว่ามีการขาดทุนประมาณ 7,000 ล้านบาท ทั้งที่หากมีการบริหารจัดการงบประมาณที่ดีกว่านี้ คือ จัดสรรงบผ่านเขตสุขภาพซึ่งถือเป็นคำตอบ ก็จะช่วยให้โรงพยาบาลมีสภาพคล่องตัวมากขึ้น เพราะโดยภาพรวมมีเงินเหลือในระบบประมาณ 1,800 ล้านบาท จากการที่มีสิทธิการรักษาของกองทุนอื่นเข้ามาช่วย ทำให้มีรายได้มากกว่าต้นทุน 9,000 ล้านบาท
“ที่น่าเป็นห่วงและต้องเร่งแก้ไข คือ โรงพยาบาลหลายแห่งประสบปัญหาวิกฤตทางการเงินระดับ 7 ซึ่งเป็นระดับรุนแรงสูงสุด โดยในรอบ 3 ปีมีมากถึง 105 แห่ง โดยพบข้อมูลหนึ่งที่ว่า การบริหารงบหลักประกันสุขภาพฯ ไปยังโรงพยาบาลไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย คือ งบกองทุนตำบลที่กระจายปีละประมาณ 2,000 ล้านบาท มีการค้างท่อ 4,104 ล้านบาท ซึ่งสะสมมาตั้งแต่ปี 2549-2557” ปลัด สธ. กล่าว
นพ.สุทัศน์ ศรีวิไล ผอ.รพ.เชียงรายประชานุเคราะห์ ในฐานะประธานชมรมโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป (รพศ./รพท.) กล่าวว่า ที่ผ่านมา หน่วยบริการจำนวนมากประสบปัญหาจากการจัดสรรงบรูปแบบเดิม จึงเสนอให้มีการจัดสรรผ่านเขต เพื่อให้สามารถพิจารณางบร่วมกันในพื้นที่ได้ว่าหน่วยบริการแต่ละแห่งควรได้รับการจัดสรรอย่างไร เป็นการเฉลี่ยทุกข์เฉลี่ยสุขในพื้นที่ แต่เมื่อบอร์ด สปสช. ยังไม่มีมติในเรื่องแนวทางการปรับปรุง ก็จะส่งผลให้เกิดปัญหากับหน่วยบริการ โดยเฉพาะแห่งที่มีปัญหาสภาพคล่องทางการเงิน จึงอยากให้ รมว.สาธารณสุข ในฐานะประธานบอร์ด สปสช.มองเห็นปัญหาทั้งของผู้ให้และผู้รับบริการ ซึ่งผู้ให้บริการ 70-80% อยู่ในสังกัด สธ. เมื่อประสบปัญหาก็อยากให้รับฟังและร่วมกันแก้ไขปรับปรุง
ด้าน นพ.สุพร ลอยหา นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด (นพ.สสจ) อุบลราชธานี ในฐานะประธานชมรม นพ.สสจ. กล่าวว่า ที่ผ่านมาภายในเขตสุขภาพที่ 10 ประกอบด้วย จ.มุกดาหาร อำนาจเจริญ ยโสธร อุบลราชธานี และ ศรีสะเกษ ได้มีการเกลี่ยงบระหว่างหน่วยบริการภายในเขตอยู่แล้ว โดยหน่วยบริการขนาดใหญ่ใน จ.อุบลราชธานี และ จ.ศรีสะเกษ ได้มีการจัดสรรงบประมาณให้กับหน่วยบริการในอีก 3 จังหวัดที่มีขนาดเล็ก เพื่อช่วยแก้ปัญหาทางการเงิน ดังนั้น หากบอร์ด สปสช. มีมติเห็นชอบให้มีการจัดสรรงบในระดับเขตตั้งแต่เริ่มต้นปีงบประมาณจะช่วยแก้ปัญหาหน่วยบริการขาดสภาพคล่องทางการเงิน เนื่องจากจะมีการจัดสรรงบประมาณภายในเขตเดียวกันไปให้แต่ละแห่งอย่างเพียงพอ หน่วยบริการก็จะไม่เกิดปัญหาทางการเงิน ไม่ต้องมีการมาเกลี่ยช่วยเหลือกันและกันในช่วงปลายปีงบประมาณเหมือนที่เป็นอยู่
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่