ส่ง “สารี” ออกหน้าท่องคาถาเดิม “ปลัด สธ.” ขอปรับการจัดสรรงบบัตรทองผ่านเขต สุ่มเสี่ยงผิดกฎหมาย ทั้งที่ “หมอณรงค์” ยันไม่แตะงบประมาณ ด้านชมรม ผอ.รพช. เรียกร้องสร้างบรรยากาศเอกภาพ สามัคคีในกระทรวงหมอ
น.ส.สารี อ๋องสมหวัง สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ และคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) กล่าวว่า ขอชื่นชมที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) พยายามจะปรับปรุง พัฒนาระบบบริการให้เป็นเครือข่ายช่วยเหลือกัน แต่ไม่เห็นด้วยที่ นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอให้บอร์ด สปสช. รับหลักการตามข้อเสนอที่ให้โอนอำนาจการออกหลักเกณฑ์การบริหารและจัดสรรเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จากเดิมเป็นอำนาจของบอร์ด สปสช. ไปให้กับเขตสุขภาพของ สธ. โดยไม่มีรายละเอียดชัดเจนว่าจะบริหารจัดการอย่างไรที่ดีกว่ากลไกที่มีอยู่แล้วของ สปสช. และทำแล้วประชาชนจะได้ประโยชน์เพิ่มเติมอย่างไร แถมสุ่มเสี่ยงอย่างมากกับการทำผิดหลักการของ พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 ที่ต้องการให้แยกผู้ซื้อบริการออกจากผู้จัดบริการ เพื่อถ่วงดุลกัน
“ปลัด สธ. น่าจะใช้อำนาจหน้าที่ของตัวเองไปทำให้งานในความรับผิดชอบ เช่น การพัฒนาและแก้ไขปัญหาความไม่พอเพียงของหน่วยบริการในสังกัด หรือการบริหารจัดการสิทธิประกันสุขภาพของคนชายขอบที่อยู่ในระหว่างพิสูจน์สัญชาติและแรงงานต่างด้าวอีกล้านกว่าคน ที่งบประมาณอยู่ในความรับผิดชอบบริหารจัดการของกระทรวงสาธารณสุขมาหลายปีแล้ว ให้มีประสิทธิภาพ โปร่งใส ประชาชนคนนอก และ สตง.สามารถตรวจสอบได้เหมือนระบบประกันสุขภาพอื่นๆ และควรจับมือกับ สปสช. รวมทั้ง ภาคีต่างๆ เพื่อทำให้ประชาชน คนป่วยได้รับประโยชน์มากขึ้น ไม่ควรเสียเวลาไปกับข้อเสนอที่สุ่มเสี่ยงกับการขัดแย้งกฎหมาย หรือถ้าเห็นว่ากฏหมายหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 มีปัญหาข้อบกพร่อง ก็ควรเสนอแก้ไขหรือเสนอยกเลิกกฏหมายต่อรัฐบาล และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือจะเสนอมายังสภาปฏิรูปแห่งชาติ จะดีกว่า” น.ส.สารี กล่าว
นพ.พรเจริญ เจียมบุญศรี ประธานชมรมผู้อำนวยการ รพ.ชุมชน ได้มีหนังสือถึงปลัด สธ. เรียกร้องให้ผู้นำองค์กรสร้างบรรยากาศใน สธ.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เป็นเอกภาพ มิตรภาพ มีความสามัคคี หยุดสร้างเงื่อนไขและปัจจัยเพิ่มความขัดแย้ง ในหนังสือดังกล่าวประธานชมรมฯ ยังได้แสดงความเห็นถึงการบริหารกองทุนย่อยของ สปสช. ว่า กองทุนย่อยของ สปสช. ส่วนใหญ่เน้นกลุ่มเป้าหมายผู้ป่วยที่ประสบปัญหาในด้านคุณภาพชีวิต การเข้าถึงบริการ รวมทั้งแก้ไขปัญหาภาระค่าใช้จ่ายจากโรคค่าใช้จ่ายสูงที่สถานบริการต่างๆ จะได้รับผลกระทบ เน้นการบริการเชิงรุกเชิง ป้องกันก่อนเกิดภาวะแทรกซ้อน เพื่อวางระบบบริการให้ครอบคลุมและเกิดประสิทธิภาพโดยตรงกับผู้ป่วยมากที่สุดภายใต้การบริหารจัดการคน เงิน
“ทางชมรมผู้อำนวยการ รพ.ชุมชน พิจารณาแล้วเห็นว่าการกล่าวหาว่าใช้ระบบการเงินนำระบบบริการจึงเป็นเรื่องไม่ถูกต้อง เป็นการมองอย่างมีอคติ” นพ.พรเจริญ กล่าว
นพ.ประทีป ธนกิจเริญ รองเลขาธิการ สปสช. เปิดเผยว่า จากมติบอร์ด สปสช. เมื่อวันที่ 8 ธ.ค.ให้ สปสช. ยังคงใช้ประกาศการบริหารเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพปี 2558 ที่ รมว.สธ.ได้ลงนามแล้ว ทำให้มีความชัดเจนมากขึ้น ทาง สปสช. จะเร่งการจัดสรรงบและส่งตรงไปยังหน่วยบริการทันทีเพื่อบรรเทาปัญหาทางการเงินที่เกิดขึ้นจากความไม่ชัดเจนที่ผ่านมาตลอด 2 เดือน และเชื่อว่าปัญหาดังกล่าวจะทุเลาลงโดยเร็ว
ทั้งนี้ นพ.ณรงค์ เคยให้สัมภาษณ์กรณีดังกล่าวชัดเจนแล้วว่า งบประมาณทั้งหมดยังคงอยู่ที่ สปสช. และให้ สปสช. เป็นผู้โอนงบประมาณไปยังหน่วยบริการโดยตรง แต่การแก้ปัญหาโรงพยาบาลขาดสภาพคล่องนั้น จำเป็นต้องให้เขตสุขภาพเข้ามาร่วมรับรู้ข้อมูลและจัดสรรตัวเลขเพื่อเฉลี่ยทุกข์เฉลี่ยสุขภของโรงพยาบาลภายในเขต ซึ่งการจัดสรรก็เหมือนการจัดสรรแต่เพียงบัญชี แต่เงินยังคงเป็น สปสช. โอนงบประมาณโดยตรง
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
น.ส.สารี อ๋องสมหวัง สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ และคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) กล่าวว่า ขอชื่นชมที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) พยายามจะปรับปรุง พัฒนาระบบบริการให้เป็นเครือข่ายช่วยเหลือกัน แต่ไม่เห็นด้วยที่ นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอให้บอร์ด สปสช. รับหลักการตามข้อเสนอที่ให้โอนอำนาจการออกหลักเกณฑ์การบริหารและจัดสรรเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จากเดิมเป็นอำนาจของบอร์ด สปสช. ไปให้กับเขตสุขภาพของ สธ. โดยไม่มีรายละเอียดชัดเจนว่าจะบริหารจัดการอย่างไรที่ดีกว่ากลไกที่มีอยู่แล้วของ สปสช. และทำแล้วประชาชนจะได้ประโยชน์เพิ่มเติมอย่างไร แถมสุ่มเสี่ยงอย่างมากกับการทำผิดหลักการของ พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 ที่ต้องการให้แยกผู้ซื้อบริการออกจากผู้จัดบริการ เพื่อถ่วงดุลกัน
“ปลัด สธ. น่าจะใช้อำนาจหน้าที่ของตัวเองไปทำให้งานในความรับผิดชอบ เช่น การพัฒนาและแก้ไขปัญหาความไม่พอเพียงของหน่วยบริการในสังกัด หรือการบริหารจัดการสิทธิประกันสุขภาพของคนชายขอบที่อยู่ในระหว่างพิสูจน์สัญชาติและแรงงานต่างด้าวอีกล้านกว่าคน ที่งบประมาณอยู่ในความรับผิดชอบบริหารจัดการของกระทรวงสาธารณสุขมาหลายปีแล้ว ให้มีประสิทธิภาพ โปร่งใส ประชาชนคนนอก และ สตง.สามารถตรวจสอบได้เหมือนระบบประกันสุขภาพอื่นๆ และควรจับมือกับ สปสช. รวมทั้ง ภาคีต่างๆ เพื่อทำให้ประชาชน คนป่วยได้รับประโยชน์มากขึ้น ไม่ควรเสียเวลาไปกับข้อเสนอที่สุ่มเสี่ยงกับการขัดแย้งกฎหมาย หรือถ้าเห็นว่ากฏหมายหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 มีปัญหาข้อบกพร่อง ก็ควรเสนอแก้ไขหรือเสนอยกเลิกกฏหมายต่อรัฐบาล และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือจะเสนอมายังสภาปฏิรูปแห่งชาติ จะดีกว่า” น.ส.สารี กล่าว
นพ.พรเจริญ เจียมบุญศรี ประธานชมรมผู้อำนวยการ รพ.ชุมชน ได้มีหนังสือถึงปลัด สธ. เรียกร้องให้ผู้นำองค์กรสร้างบรรยากาศใน สธ.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เป็นเอกภาพ มิตรภาพ มีความสามัคคี หยุดสร้างเงื่อนไขและปัจจัยเพิ่มความขัดแย้ง ในหนังสือดังกล่าวประธานชมรมฯ ยังได้แสดงความเห็นถึงการบริหารกองทุนย่อยของ สปสช. ว่า กองทุนย่อยของ สปสช. ส่วนใหญ่เน้นกลุ่มเป้าหมายผู้ป่วยที่ประสบปัญหาในด้านคุณภาพชีวิต การเข้าถึงบริการ รวมทั้งแก้ไขปัญหาภาระค่าใช้จ่ายจากโรคค่าใช้จ่ายสูงที่สถานบริการต่างๆ จะได้รับผลกระทบ เน้นการบริการเชิงรุกเชิง ป้องกันก่อนเกิดภาวะแทรกซ้อน เพื่อวางระบบบริการให้ครอบคลุมและเกิดประสิทธิภาพโดยตรงกับผู้ป่วยมากที่สุดภายใต้การบริหารจัดการคน เงิน
“ทางชมรมผู้อำนวยการ รพ.ชุมชน พิจารณาแล้วเห็นว่าการกล่าวหาว่าใช้ระบบการเงินนำระบบบริการจึงเป็นเรื่องไม่ถูกต้อง เป็นการมองอย่างมีอคติ” นพ.พรเจริญ กล่าว
นพ.ประทีป ธนกิจเริญ รองเลขาธิการ สปสช. เปิดเผยว่า จากมติบอร์ด สปสช. เมื่อวันที่ 8 ธ.ค.ให้ สปสช. ยังคงใช้ประกาศการบริหารเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพปี 2558 ที่ รมว.สธ.ได้ลงนามแล้ว ทำให้มีความชัดเจนมากขึ้น ทาง สปสช. จะเร่งการจัดสรรงบและส่งตรงไปยังหน่วยบริการทันทีเพื่อบรรเทาปัญหาทางการเงินที่เกิดขึ้นจากความไม่ชัดเจนที่ผ่านมาตลอด 2 เดือน และเชื่อว่าปัญหาดังกล่าวจะทุเลาลงโดยเร็ว
ทั้งนี้ นพ.ณรงค์ เคยให้สัมภาษณ์กรณีดังกล่าวชัดเจนแล้วว่า งบประมาณทั้งหมดยังคงอยู่ที่ สปสช. และให้ สปสช. เป็นผู้โอนงบประมาณไปยังหน่วยบริการโดยตรง แต่การแก้ปัญหาโรงพยาบาลขาดสภาพคล่องนั้น จำเป็นต้องให้เขตสุขภาพเข้ามาร่วมรับรู้ข้อมูลและจัดสรรตัวเลขเพื่อเฉลี่ยทุกข์เฉลี่ยสุขภของโรงพยาบาลภายในเขต ซึ่งการจัดสรรก็เหมือนการจัดสรรแต่เพียงบัญชี แต่เงินยังคงเป็น สปสช. โอนงบประมาณโดยตรง
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่