นักวิชาการเผยผลศึกษาสวัสดิการแรงงาน 13 ประเทศ เน้นคลอดบุตร - ออมเงินเพื่อเพิ่มประชากร - ให้แรงงานมีเงินสำรองเกษียณอายุ แนะไทยเอาอย่างรองรับสังคมผู้สูงอายุ
ผศ.ดร.วิชัย โถสุวรรณจินดา ผู้บริหารโครงการปริญญาเอกสาขานโยบายสาธารณะและการจัดการ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต เปิดเผยว่า จากการศึกษาด้านสวัสดิการแรงงานของ 10 ประเทศสมาชิกอาเซียน และประเทศสหรัฐอเมริกา อังกฤษ ออสเตรเลีย ซึ่งเป็นประเทศต้นแบบ พบว่า หลายประเทศเน้นสวัสดิการการคลอดบุตรและเลี้ยงดูบุตร เพื่อส่งเสริมให้ประชากรมีบุตรเพิ่มขึ้น การส่งเสริมสวัสดิการออมเงินผ่านกองทุนประกันสังคม และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เพื่อให้แรงงานมีเงินไว้ใช้ในยามเกษียณจากการทำงาน และการรักษาพยาบาลจากการเจ็บป่วยและบาดเจ็บจากการทำงาน
ผศ.ดร.วิชัย กล่าวอีกว่า จากผลการศึกษามีข้อเสนอแนะต่อรัฐบาล กระทรวงแรงงาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะต้องปรับปรุงสวัสดิการแรงงานและระบบประกันสังคมเพื่อส่งเสริมให้ประชากรมีบุตรและรองรับสังคมผู้สูงอายุของไทยโดยในเรื่องสวัสดิการการคลอดบุตรและเลี้ยงดูบุตรนั้นควรเพิ่มวันลาคลอดจาก 90 วัน เพิ่มเป็น 120 วัน โดยได้รับค่าจ้างและรัฐบาลจัดสรรงบอุดหนุนการเลี้ยงดูลูก และสถานประกอบการที่มีลูกจ้าง 100 คนขึ้นไปมีสถานเลี้ยงเด็ก รวมทั้งสถานประกอบการต้องให้โอกาสแรงงานชายลางานเพื่อช่วยภรรยาเลี้ยงดูบุตร ได้ 15 วันโดยได้รับค่าจ้าง
ทั้งนี้ ในส่วนของสวัสดิการออมเงิน รัฐบาลจะต้องปรับปรุงกฎหมายโดยให้ทุกสถานประกอบการต้องมีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพและให้นายจ้างจ่ายเงินเข้ากองทุนร้อยละ 10 ของค่าจ้างและลูกจ้างจ่ายร้อยละ 5 ของค่าจ้างหรือตามกำลังที่ลูกจ้างจะจ่ายได้ ขณะเดียวกัน สำนักงานประกันสังคมจะต้องขยายอายุเกษียณจาก 55 ปี เป็น 60 ปีและค่อยทยอยเพิ่มเป็น 65 ปี และเพิ่มอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคมในส่วนของเงินสิทธิประโยชน์กรณีสงเคราะห์บุตรและชราภาพจากปัจจุบันอยู่ที่ร้อยละ 3 เพิ่มเป็นร้อยละ 8 ภายในเวลา 5 ปี แรงงานจะได้มีเงินเพียงพอไว้ใช้จ่ายในยามเกษียณ ซึ่งควรอยู่ที่เดือนละ 5 พันบาท ไม่ใช่เดือนละ 3 พันบาทเช่นปัจจุบัน ซึ่งไม่พอใช้จ่าย รวมทั้งส่งเสริมการจ้างงานผู้สูงอายุหากเกษียณแล้วยังจ้างงานต่อไปนายจ้างจ่ายค่าจ้างร้อยละ 80 และกองทุนประกันสังคมหรือรัฐบาลจ่ายร้อยละ 20
นอกจากนี้ การรักษาพยาบาลจากการเจ็บป่วย หรือบาดเจ็บจากการทำงานควรยุบรวมกองทุนเงินทดแทนเข้ากับกองทุนประกันสังคม เพื่อให้แรงงานใช้สิทธิประโยชน์กรณี เจ็บป่วย/บาดเจ็บจากการทำงานได้อย่างคล่องตัวและนายจ้างไม่ต้องกังวลกับการถูกปรับต้องเพิ่มอัตราเงินสมทบ หากลูกจ้างเจ็บป่วย/บาดเจ็บจากการทำงานเพิ่มขึ้น
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
ผศ.ดร.วิชัย โถสุวรรณจินดา ผู้บริหารโครงการปริญญาเอกสาขานโยบายสาธารณะและการจัดการ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต เปิดเผยว่า จากการศึกษาด้านสวัสดิการแรงงานของ 10 ประเทศสมาชิกอาเซียน และประเทศสหรัฐอเมริกา อังกฤษ ออสเตรเลีย ซึ่งเป็นประเทศต้นแบบ พบว่า หลายประเทศเน้นสวัสดิการการคลอดบุตรและเลี้ยงดูบุตร เพื่อส่งเสริมให้ประชากรมีบุตรเพิ่มขึ้น การส่งเสริมสวัสดิการออมเงินผ่านกองทุนประกันสังคม และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เพื่อให้แรงงานมีเงินไว้ใช้ในยามเกษียณจากการทำงาน และการรักษาพยาบาลจากการเจ็บป่วยและบาดเจ็บจากการทำงาน
ผศ.ดร.วิชัย กล่าวอีกว่า จากผลการศึกษามีข้อเสนอแนะต่อรัฐบาล กระทรวงแรงงาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะต้องปรับปรุงสวัสดิการแรงงานและระบบประกันสังคมเพื่อส่งเสริมให้ประชากรมีบุตรและรองรับสังคมผู้สูงอายุของไทยโดยในเรื่องสวัสดิการการคลอดบุตรและเลี้ยงดูบุตรนั้นควรเพิ่มวันลาคลอดจาก 90 วัน เพิ่มเป็น 120 วัน โดยได้รับค่าจ้างและรัฐบาลจัดสรรงบอุดหนุนการเลี้ยงดูลูก และสถานประกอบการที่มีลูกจ้าง 100 คนขึ้นไปมีสถานเลี้ยงเด็ก รวมทั้งสถานประกอบการต้องให้โอกาสแรงงานชายลางานเพื่อช่วยภรรยาเลี้ยงดูบุตร ได้ 15 วันโดยได้รับค่าจ้าง
ทั้งนี้ ในส่วนของสวัสดิการออมเงิน รัฐบาลจะต้องปรับปรุงกฎหมายโดยให้ทุกสถานประกอบการต้องมีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพและให้นายจ้างจ่ายเงินเข้ากองทุนร้อยละ 10 ของค่าจ้างและลูกจ้างจ่ายร้อยละ 5 ของค่าจ้างหรือตามกำลังที่ลูกจ้างจะจ่ายได้ ขณะเดียวกัน สำนักงานประกันสังคมจะต้องขยายอายุเกษียณจาก 55 ปี เป็น 60 ปีและค่อยทยอยเพิ่มเป็น 65 ปี และเพิ่มอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคมในส่วนของเงินสิทธิประโยชน์กรณีสงเคราะห์บุตรและชราภาพจากปัจจุบันอยู่ที่ร้อยละ 3 เพิ่มเป็นร้อยละ 8 ภายในเวลา 5 ปี แรงงานจะได้มีเงินเพียงพอไว้ใช้จ่ายในยามเกษียณ ซึ่งควรอยู่ที่เดือนละ 5 พันบาท ไม่ใช่เดือนละ 3 พันบาทเช่นปัจจุบัน ซึ่งไม่พอใช้จ่าย รวมทั้งส่งเสริมการจ้างงานผู้สูงอายุหากเกษียณแล้วยังจ้างงานต่อไปนายจ้างจ่ายค่าจ้างร้อยละ 80 และกองทุนประกันสังคมหรือรัฐบาลจ่ายร้อยละ 20
นอกจากนี้ การรักษาพยาบาลจากการเจ็บป่วย หรือบาดเจ็บจากการทำงานควรยุบรวมกองทุนเงินทดแทนเข้ากับกองทุนประกันสังคม เพื่อให้แรงงานใช้สิทธิประโยชน์กรณี เจ็บป่วย/บาดเจ็บจากการทำงานได้อย่างคล่องตัวและนายจ้างไม่ต้องกังวลกับการถูกปรับต้องเพิ่มอัตราเงินสมทบ หากลูกจ้างเจ็บป่วย/บาดเจ็บจากการทำงานเพิ่มขึ้น
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่