“ณรงค์” มอบ สทศ. ถกบอร์ดถามความเห็นลดวิชาสอบ O-Net เหลือแค่ 4 วิชาหลัก ชี้ส่วนใหญ่เห็นด้วยแต่ยังต้องการให้คงวิชาสังคมไว้แต่อาจปรับลดสัดส่วนลง เนื่องจากมีวิชาย่อยที่สำคัญ ทั้งประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมือง จำเป็นต้องมีข้อสอบกลางที่วัดมาตรฐานเดียวกัน ระบุเห็นด้วยเดินหน้าสอบ U-Net แต่ต้องไม่บังคับให้สอบเพื่อสมัครใจ เป็นหน้าที่ สทศ. ต้องสร้างความเชื่อมั่น ขณะที่ ผอ.สทศ. แจงไม่เรียกสอบ U-Net แต่เป็นการวัดสมรรถนะสื่อสารภาษาไทยและอังกฤษ รูปแบบหนึ่งขึ้นอยู่กับสถานประกอบการจะนำไปใช้หรือไม่
วันนี้ (20 พ.ย.) ที่สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) พร้อมด้วยนายกฤษณพงศ์ กีรติกร รมช.ศึกษาธิการ เปิดเผยภายหลังประชุมร่วมกับ ศ.(กิตติคุณ) ดร.สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ ประธานคณะกรรมการบริหาร สทศ. รศ.ดร.สัมพันธ์ พันธุ์พฤกษ์ ผู้อำนวยการ สทศ. เพื่อตรวจเยี่ยมและติดตามการดำเนินงานของ สทศ. ว่า ที่ประชุมได้มีหารือถึงแนวคิดของผู้บริหารองค์กรหลักของ ศธ. ที่ได้เสนอให้มีการลดจำนวนกลุ่มสาระวิชาในการจัดสอบแบบทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-Net) จากเดิมสอบทั้งหมด 8 กลุ่มสาระ ให้เหลือเฉพาะ 4 วิชาหลัก ได้แก่ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ ส่วนวิชาอื่นๆ เช่น สังคมศึกษา พลศึกษา สุขศึกษา เป็นต้นให้ทางโรงเรียนเป็นผู้จัดสอบเอง ซึ่งที่ประชุมได้มีแสดงความคิดอย่างกว้างขวาง โดยส่วนใหญ่เห็นด้วยแต่มีข้อเสนอว่าอยากให้ สทศ. จัดสอบวิชากลุ่มสาระสังคมศึกษา เนื่องจากในกลุ่มนี้มีวิชาย่อยที่สำคัญ เช่น ประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมือง ซึ่งก็ถือว่าเป็นวิชาที่สำคัญ ที่ควรจะใช้ข้อสอบกลางเดียวกันเพื่อให้เพื่อให้ได้มาตรฐานแต่อาจจะปรับสัดส่วนให้น้อยลงและที่เหลือให้โรงเรียนจัดสอบ เพราะเนื้อหาบางส่วนเชื่อมโยงกับท้องถิ่น อีกทั้ง ในแต่ละพื้นที่มีบริบทที่แตกต่างกันโรงเรียนน่าจะออกข้อสอบได้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของเด็กและสามารถวัดผลได้ดีกว่า อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ยังไม่ถือเป็นข้อสรุปตนได้มอบให้ สทศ. นำแนวคิดดังกล่าว ไปหารือในที่ประชุมคณะกรรมการ สทศ. ว่ามีความเห็นอย่างไรและสรุปข้อเสนอว่าจะดำเนินการอย่างไรให้ ศธ. พิจารณา
“ขณะนี้ ศธ. กำลังจัดทำโครงการปฏิรูปสู่การปฏิบัติ กระจายอำนาจให้ 300 โรงเรียน ใน 20 เขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศ สามารถบริหารจัดการในทุกเรื่องด้วยตนเอง ซึ่งหลักสูตรการเรียนการสอนก็เป็นส่วนหนึ่งที่โรงเรียนจะต้องไปดำเนินการออกให้สอดคล้องกับบริบทของแต่ละพื้นที่ ดังนั้น หากใช้ข้อสอบที่ออกโดยส่วนกลางทั้งหมด ก็อาจจะไม่สอดคล้องกับหลักสูตรของแต่ละพื้นที่ ส่วนข้อกังวลว่าหากให้โรงเรียนจัดสอบเอจะมีมาตรฐานไม่เท่าเทียมกัน และจะมีผลต่อการนำไปใช้ในการเข้าศึกษาต่อคิดว่าที่สุดแล้วผู้ใช้จะเป็นผู้ตัดสินเองว่าจะพิจารณาใช้คะแนน O-Net วิชาใด ในสัดส่วนเท่าใด ซึ่งเรื่องนี้ยังเป็นรายละเอียดที่จะต้องมีการหารือต่อไป” รมว.ศึกษาธิการ กล่าว
พล.ร.อ.ณรงค์ กล่าวต่อว่า ที่ประชุมได้หารือถึงการจัดการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติระดับอุดมศึกษา หรือ U-Net ซึ่งจะต้องเดินหน้าต่อแต่จะไม่มีการบังคับให้ต้องสอบทุกคน ให้เป็นเรื่องของความสมัครใจ เบื้องต้นจะเป็นการวัดสมรรถนะการสื่อสารด้านภาษาไทย และภาษาอังกฤษ ในระดับปริญญาตรี ทั้งนี้ แม้ที่ผ่านมาเคยมีการคัดค้านการสอบ U-Net แต่ก็ยังควรที่จะต้องมีการสอบเพื่อเป็นไม่บรรทัดวัดมาตรฐานของเราที่เทียบเคียงมาตรฐานต่างประเทศได้ แต่ที่ผ่านมาเราเชื่อการวัดมาตรฐานของต่างประเทศมานาน ทั้งนี้ สทศ. จะต้องพยายามสร้างความน่าเชื่อถือ โดยเริ่มต้นจากให้สถานประกอบการเห็นความสำคัญของการสอบ U-Net และนำคะแนนไปใช้ในการพิจารณารับคนเข้าทำงาน ซึ่งหากทำได้เช่นนี้ต่อไปมหาวิทยาลัยและบัณฑิต ก็จะให้ความสำคัญมาสอบยูเน็ตมากขึ้น
ด้าน รศ.ดร.สัมพันธ์ กล่าวว่า การจัดสอบดังกล่าวยังไม่ได้เรียกว่าเป็นการจัดสอบ U-Net แต่เป็นการให้บริการสอบวัดสมรรถนะของ สทศ.ในรูปแบบหนึ่ง ซึ่งหากสถานประกอบการมีความพึงพอใจก็สามารถนำคะแนนไปใช้ในการพิจารณารับคนเข้าทำงานได้
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (20 พ.ย.) ที่สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) พร้อมด้วยนายกฤษณพงศ์ กีรติกร รมช.ศึกษาธิการ เปิดเผยภายหลังประชุมร่วมกับ ศ.(กิตติคุณ) ดร.สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ ประธานคณะกรรมการบริหาร สทศ. รศ.ดร.สัมพันธ์ พันธุ์พฤกษ์ ผู้อำนวยการ สทศ. เพื่อตรวจเยี่ยมและติดตามการดำเนินงานของ สทศ. ว่า ที่ประชุมได้มีหารือถึงแนวคิดของผู้บริหารองค์กรหลักของ ศธ. ที่ได้เสนอให้มีการลดจำนวนกลุ่มสาระวิชาในการจัดสอบแบบทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-Net) จากเดิมสอบทั้งหมด 8 กลุ่มสาระ ให้เหลือเฉพาะ 4 วิชาหลัก ได้แก่ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ ส่วนวิชาอื่นๆ เช่น สังคมศึกษา พลศึกษา สุขศึกษา เป็นต้นให้ทางโรงเรียนเป็นผู้จัดสอบเอง ซึ่งที่ประชุมได้มีแสดงความคิดอย่างกว้างขวาง โดยส่วนใหญ่เห็นด้วยแต่มีข้อเสนอว่าอยากให้ สทศ. จัดสอบวิชากลุ่มสาระสังคมศึกษา เนื่องจากในกลุ่มนี้มีวิชาย่อยที่สำคัญ เช่น ประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมือง ซึ่งก็ถือว่าเป็นวิชาที่สำคัญ ที่ควรจะใช้ข้อสอบกลางเดียวกันเพื่อให้เพื่อให้ได้มาตรฐานแต่อาจจะปรับสัดส่วนให้น้อยลงและที่เหลือให้โรงเรียนจัดสอบ เพราะเนื้อหาบางส่วนเชื่อมโยงกับท้องถิ่น อีกทั้ง ในแต่ละพื้นที่มีบริบทที่แตกต่างกันโรงเรียนน่าจะออกข้อสอบได้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของเด็กและสามารถวัดผลได้ดีกว่า อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ยังไม่ถือเป็นข้อสรุปตนได้มอบให้ สทศ. นำแนวคิดดังกล่าว ไปหารือในที่ประชุมคณะกรรมการ สทศ. ว่ามีความเห็นอย่างไรและสรุปข้อเสนอว่าจะดำเนินการอย่างไรให้ ศธ. พิจารณา
“ขณะนี้ ศธ. กำลังจัดทำโครงการปฏิรูปสู่การปฏิบัติ กระจายอำนาจให้ 300 โรงเรียน ใน 20 เขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศ สามารถบริหารจัดการในทุกเรื่องด้วยตนเอง ซึ่งหลักสูตรการเรียนการสอนก็เป็นส่วนหนึ่งที่โรงเรียนจะต้องไปดำเนินการออกให้สอดคล้องกับบริบทของแต่ละพื้นที่ ดังนั้น หากใช้ข้อสอบที่ออกโดยส่วนกลางทั้งหมด ก็อาจจะไม่สอดคล้องกับหลักสูตรของแต่ละพื้นที่ ส่วนข้อกังวลว่าหากให้โรงเรียนจัดสอบเอจะมีมาตรฐานไม่เท่าเทียมกัน และจะมีผลต่อการนำไปใช้ในการเข้าศึกษาต่อคิดว่าที่สุดแล้วผู้ใช้จะเป็นผู้ตัดสินเองว่าจะพิจารณาใช้คะแนน O-Net วิชาใด ในสัดส่วนเท่าใด ซึ่งเรื่องนี้ยังเป็นรายละเอียดที่จะต้องมีการหารือต่อไป” รมว.ศึกษาธิการ กล่าว
พล.ร.อ.ณรงค์ กล่าวต่อว่า ที่ประชุมได้หารือถึงการจัดการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติระดับอุดมศึกษา หรือ U-Net ซึ่งจะต้องเดินหน้าต่อแต่จะไม่มีการบังคับให้ต้องสอบทุกคน ให้เป็นเรื่องของความสมัครใจ เบื้องต้นจะเป็นการวัดสมรรถนะการสื่อสารด้านภาษาไทย และภาษาอังกฤษ ในระดับปริญญาตรี ทั้งนี้ แม้ที่ผ่านมาเคยมีการคัดค้านการสอบ U-Net แต่ก็ยังควรที่จะต้องมีการสอบเพื่อเป็นไม่บรรทัดวัดมาตรฐานของเราที่เทียบเคียงมาตรฐานต่างประเทศได้ แต่ที่ผ่านมาเราเชื่อการวัดมาตรฐานของต่างประเทศมานาน ทั้งนี้ สทศ. จะต้องพยายามสร้างความน่าเชื่อถือ โดยเริ่มต้นจากให้สถานประกอบการเห็นความสำคัญของการสอบ U-Net และนำคะแนนไปใช้ในการพิจารณารับคนเข้าทำงาน ซึ่งหากทำได้เช่นนี้ต่อไปมหาวิทยาลัยและบัณฑิต ก็จะให้ความสำคัญมาสอบยูเน็ตมากขึ้น
ด้าน รศ.ดร.สัมพันธ์ กล่าวว่า การจัดสอบดังกล่าวยังไม่ได้เรียกว่าเป็นการจัดสอบ U-Net แต่เป็นการให้บริการสอบวัดสมรรถนะของ สทศ.ในรูปแบบหนึ่ง ซึ่งหากสถานประกอบการมีความพึงพอใจก็สามารถนำคะแนนไปใช้ในการพิจารณารับคนเข้าทำงานได้
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่