กลุ่มเภสัชกรฯ ยื่นรายชื่อสมาชิกกว่า 1,600 รายชื่อ ต่อสภาเภสัชกรรมขอเปิดประชุมใหญ่วิสามัญ ทำประชามติร่าง พ.ร.บ.วิชาชีพเภสัชกรรม ช่วยลดข้อโต้แย้ง แจง 5 ประเด็นคัดค้าน หวั่นสภาเภสัชกรรมไม่ถอนร่างกฎหมายออกจาก สนช.
วันนี้ (17 พ.ย.) เมื่อเวลา 10.00 น. กลุ่มเภสัชกรผู้คัดค้านร่าง พ.ร.บ.วิชาชีพเภสัชกรรม ประมาณ 10 คน นำโดย ผศ.ภก.ไกรสร ชัยโรจน์กาญจนา อาจารย์คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ในฐานะตัวแทนกลุ่มฯ เดินทางมายื่นรายชื่อสมาชิกสภาเภสัชกรรมจำนวน 1,633 รายชื่อ เพื่อขอให้สภาเภสัชกรรมให้เปิดประชุมใหญ่วิสามัญ ในการระดมความคิดเห็นของเภสัชกรซึ่งเป็นสมาชิกของสภาเภสัชกรรมได้ร่วมแสดงความคิดเห็นต่อร่าง พ.ร.บ.วิชาชีพเภสัชกรรมฉบับปรับปรุงจาก พ.ศ. 2537 เนื่องจากร่าง พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าวไม่ผ่านการประชาพิจารณ์แสดงความเห็นของสมาชิกสภาเภสัชกรรม และมีประเด็นที่ต้องคัดค้าน
ผศ.ภก.ไกรสร กล่าวว่า กลุ่มฯ ได้นำรายชื่อสมาชิกสภาเภสัชกรรมจำนวน 1,633 รายชื่อมายื่นเพื่อขอให้เปิดประชุมใหญ่วิสามัญ เพื่อให้เภสัชกรซึ่งเป็นสมาชิกของสภาเภสัชกรรมได้แสดงความคิดเห็นต่อร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้ โดยจำนวนรายชื่อดังกล่าวถือว่ามากกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนผู้มาเลือกตั้งคณะกรรมการสภาเภสัชกรรมชุดปัจจุบันด้วยซ้ำ ที่มาเลือกตั้งไม่ถึง 3,000 คน ซึ่งการที่มีคนคัดค้านมากเช่นนี้ก็แสดงให้เห็นว่าการเสนอร่าง พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าวนั้นไม่ชอบธรรม อย่างไรก็ตาม หากสภาเภสัชกรรมสามารถถอนร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้ มาหารือใหม่ได้ก็เป็นเรื่องดี ข้อโต้แย้งก็จะลดน้อยลง และเรื่องก็จะจบลงตามผลประชามติ ทั้งนี้ ขณะนี้ร่าง พ.ร.บ. ฉบับดังกล่าวนั้นสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ได้รับหลักการแล้ว และกำลังเข้าสู่การพิจารณาของ สนช. ในวาระ 2 และ 3 ต่อไป แต่ไม่แน่ใจว่าสภาเภสัชกรรมจะถอนร่างออกมาได้หรือไม่ หรือหากถอนได้จะดำเนินการถอนหรือไม่
ผศ.ภก.ไกรสร กล่าวว่า นอกจากประเด็นเรื่องการมีส่วนร่วมแล้ว ทางกลุ่มยังคัดค้านร่าง พ.ร.บ. ฉบับดังกล่าวในอีก 4 ประเด็น คือ 1. นิยามของวิชาชีพเภสัชกรรม ซึ่งความจริงแล้วควรจะสั้น กระชับ บ่งบอกได้ชัดเจน โดยไม่ต้องไปผูกพันกับกฎหมายฉบับอื่น แต่ร่าง พ.ร.บ. ฉบับดังกล่าวนิยามกลับไปผูกโยงกับวิชาชีพอื่นและกฎหมายอื่นอย่างชัดเจน คือ เพิ่มหน้าที่ในการปรุงยาและจ่ายยาให้แก่ผู้ประกอบวิชาชีพด้านการแพทย์และสาธารณสุข และการดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยยา กฎหมายว่าด้วยวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท และกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ ที่สำคัญ ยังตัดสาระสำคัญของนิยามที่เป็นสากลของวิชาชัพเภสัชกรรม คือ การปรุงยาและขายยาออกไป เท่ากับว่า เปิดช่องให้ผู้ที่ไม่ได้ตรวจคนไข้สามารถปรุงยาและจ่ายยาได้ โดยที่ไม่ต้องมีการตรวจสอบ และจะยิ่งลำบากเมื่อต้องการตรวจสอบว่าคนนี้ปรุงยาและขายยาถูกกฎหมายหรือไม่ ก็ต้องไปเปิดกฎหมายวิชาชีพทั้งหมดว่ามีการทำผิดหรือไม่
ผศ.ภก.ไกรสร กล่าวว่า 2. การกำหนดให้เภสัชกรทั้งหมดต้องต่ออายุใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมทุก 5 ปี ควรออกเป็นข้องบังคับมากกว่ากำหนดลงในร่าง พ.ร.บ. เพราะปรับเปลี่ยนแก้ไขได้ยาก 3. ค่าธรรมเนียมในการออกใบอนุญาตฯ ฉบับละ 2,500 บาทนั้น ก็ควรออกเป็นประกาศข้อบังคับเช่นกัน และ 4. เดิมผู้ที่สอบได้ใบประกอบวิชาชีพฯ จะมีอายุตลอดชีพ แต่การกำหนดให้ต้องต่ออายุทุก 5 ปี เป็นการลิดรอนสิทธิ หากจะปรับให้มีการต่ออายุทุก 5 ปี ควรเป็นเฉพาะผู้ขออนุญาตรายใหม่
“ร่าง พ.ร.บ. ฉบับดังกล่าวไม่ชอบธรรม เพราะไม่ผ่านการแสดงความเห็นอย่างมีส่วนร่วม และที่น่าสงสัยคือ มีการตั้งคณะอนุกรรมการร่าง พ.ร.บ. วิชาชีพเภสัชกรรมใหม่ขึ้นมาแทนฉบับปี พ.ศ. 2537 ซึ่งขณะนี้ร่าง พ.ร.บ. วิชาชีพฉบับใหม่ร่างเสร็จเรียบร้อยแล้ว ทำไมจึงต้องผลักดันร่างพ.ร.บ.ฉบับปรับปรุงนี้ ซึ่งเนื้อหาเปิดช่องและสอดคล้องกับร่าง พ.ร.บ.ยา พ.ศ. ... ที่เอื้อให้วิชาชีพอื่นสามารถขายยาได้ มันมีความประจวบเหมาะเกินไป” ผศ.ภก.ไกรสร กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า สภาเภสัชกรรมเป็นผู้ออกมาคัดค้านร่าง พ.ร.บ.ยา พ.ศ. ... โดยคัดค้านไม่ให้วิชาชีพอื่นทำหน้าที่ขายยา เหตุใดจึงสงสัยว่าเขียนร่าง พ.ร.บ.วิชาชีพเภสัชกรรมฉบับปรับปรุงที่เอื้อต่อ ร่าง พ.ร.บ.ยา ผศ.ภก.ไกรสร กล่าวว่า เรื่องนี้ตนไม่ทราบ คงต้องสอบถามจากสภาเภสัชกรรมว่าทำไมจึงเขียนนิยามวิชาชีพเภสัชกรรมที่สอดคล้องกับร่าง พ.ร.บ.ยา พ.ศ. ...
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (17 พ.ย.) เมื่อเวลา 10.00 น. กลุ่มเภสัชกรผู้คัดค้านร่าง พ.ร.บ.วิชาชีพเภสัชกรรม ประมาณ 10 คน นำโดย ผศ.ภก.ไกรสร ชัยโรจน์กาญจนา อาจารย์คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ในฐานะตัวแทนกลุ่มฯ เดินทางมายื่นรายชื่อสมาชิกสภาเภสัชกรรมจำนวน 1,633 รายชื่อ เพื่อขอให้สภาเภสัชกรรมให้เปิดประชุมใหญ่วิสามัญ ในการระดมความคิดเห็นของเภสัชกรซึ่งเป็นสมาชิกของสภาเภสัชกรรมได้ร่วมแสดงความคิดเห็นต่อร่าง พ.ร.บ.วิชาชีพเภสัชกรรมฉบับปรับปรุงจาก พ.ศ. 2537 เนื่องจากร่าง พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าวไม่ผ่านการประชาพิจารณ์แสดงความเห็นของสมาชิกสภาเภสัชกรรม และมีประเด็นที่ต้องคัดค้าน
ผศ.ภก.ไกรสร กล่าวว่า กลุ่มฯ ได้นำรายชื่อสมาชิกสภาเภสัชกรรมจำนวน 1,633 รายชื่อมายื่นเพื่อขอให้เปิดประชุมใหญ่วิสามัญ เพื่อให้เภสัชกรซึ่งเป็นสมาชิกของสภาเภสัชกรรมได้แสดงความคิดเห็นต่อร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้ โดยจำนวนรายชื่อดังกล่าวถือว่ามากกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนผู้มาเลือกตั้งคณะกรรมการสภาเภสัชกรรมชุดปัจจุบันด้วยซ้ำ ที่มาเลือกตั้งไม่ถึง 3,000 คน ซึ่งการที่มีคนคัดค้านมากเช่นนี้ก็แสดงให้เห็นว่าการเสนอร่าง พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าวนั้นไม่ชอบธรรม อย่างไรก็ตาม หากสภาเภสัชกรรมสามารถถอนร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้ มาหารือใหม่ได้ก็เป็นเรื่องดี ข้อโต้แย้งก็จะลดน้อยลง และเรื่องก็จะจบลงตามผลประชามติ ทั้งนี้ ขณะนี้ร่าง พ.ร.บ. ฉบับดังกล่าวนั้นสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ได้รับหลักการแล้ว และกำลังเข้าสู่การพิจารณาของ สนช. ในวาระ 2 และ 3 ต่อไป แต่ไม่แน่ใจว่าสภาเภสัชกรรมจะถอนร่างออกมาได้หรือไม่ หรือหากถอนได้จะดำเนินการถอนหรือไม่
ผศ.ภก.ไกรสร กล่าวว่า นอกจากประเด็นเรื่องการมีส่วนร่วมแล้ว ทางกลุ่มยังคัดค้านร่าง พ.ร.บ. ฉบับดังกล่าวในอีก 4 ประเด็น คือ 1. นิยามของวิชาชีพเภสัชกรรม ซึ่งความจริงแล้วควรจะสั้น กระชับ บ่งบอกได้ชัดเจน โดยไม่ต้องไปผูกพันกับกฎหมายฉบับอื่น แต่ร่าง พ.ร.บ. ฉบับดังกล่าวนิยามกลับไปผูกโยงกับวิชาชีพอื่นและกฎหมายอื่นอย่างชัดเจน คือ เพิ่มหน้าที่ในการปรุงยาและจ่ายยาให้แก่ผู้ประกอบวิชาชีพด้านการแพทย์และสาธารณสุข และการดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยยา กฎหมายว่าด้วยวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท และกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ ที่สำคัญ ยังตัดสาระสำคัญของนิยามที่เป็นสากลของวิชาชัพเภสัชกรรม คือ การปรุงยาและขายยาออกไป เท่ากับว่า เปิดช่องให้ผู้ที่ไม่ได้ตรวจคนไข้สามารถปรุงยาและจ่ายยาได้ โดยที่ไม่ต้องมีการตรวจสอบ และจะยิ่งลำบากเมื่อต้องการตรวจสอบว่าคนนี้ปรุงยาและขายยาถูกกฎหมายหรือไม่ ก็ต้องไปเปิดกฎหมายวิชาชีพทั้งหมดว่ามีการทำผิดหรือไม่
ผศ.ภก.ไกรสร กล่าวว่า 2. การกำหนดให้เภสัชกรทั้งหมดต้องต่ออายุใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมทุก 5 ปี ควรออกเป็นข้องบังคับมากกว่ากำหนดลงในร่าง พ.ร.บ. เพราะปรับเปลี่ยนแก้ไขได้ยาก 3. ค่าธรรมเนียมในการออกใบอนุญาตฯ ฉบับละ 2,500 บาทนั้น ก็ควรออกเป็นประกาศข้อบังคับเช่นกัน และ 4. เดิมผู้ที่สอบได้ใบประกอบวิชาชีพฯ จะมีอายุตลอดชีพ แต่การกำหนดให้ต้องต่ออายุทุก 5 ปี เป็นการลิดรอนสิทธิ หากจะปรับให้มีการต่ออายุทุก 5 ปี ควรเป็นเฉพาะผู้ขออนุญาตรายใหม่
“ร่าง พ.ร.บ. ฉบับดังกล่าวไม่ชอบธรรม เพราะไม่ผ่านการแสดงความเห็นอย่างมีส่วนร่วม และที่น่าสงสัยคือ มีการตั้งคณะอนุกรรมการร่าง พ.ร.บ. วิชาชีพเภสัชกรรมใหม่ขึ้นมาแทนฉบับปี พ.ศ. 2537 ซึ่งขณะนี้ร่าง พ.ร.บ. วิชาชีพฉบับใหม่ร่างเสร็จเรียบร้อยแล้ว ทำไมจึงต้องผลักดันร่างพ.ร.บ.ฉบับปรับปรุงนี้ ซึ่งเนื้อหาเปิดช่องและสอดคล้องกับร่าง พ.ร.บ.ยา พ.ศ. ... ที่เอื้อให้วิชาชีพอื่นสามารถขายยาได้ มันมีความประจวบเหมาะเกินไป” ผศ.ภก.ไกรสร กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า สภาเภสัชกรรมเป็นผู้ออกมาคัดค้านร่าง พ.ร.บ.ยา พ.ศ. ... โดยคัดค้านไม่ให้วิชาชีพอื่นทำหน้าที่ขายยา เหตุใดจึงสงสัยว่าเขียนร่าง พ.ร.บ.วิชาชีพเภสัชกรรมฉบับปรับปรุงที่เอื้อต่อ ร่าง พ.ร.บ.ยา ผศ.ภก.ไกรสร กล่าวว่า เรื่องนี้ตนไม่ทราบ คงต้องสอบถามจากสภาเภสัชกรรมว่าทำไมจึงเขียนนิยามวิชาชีพเภสัชกรรมที่สอดคล้องกับร่าง พ.ร.บ.ยา พ.ศ. ...
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่