กรมอุตุนิยมวิทยา คาดว่า ตอนบนของประเทศไทยจะมีอุณหภูมิสูงขึ้นเล็กน้อย ตั้งแต่วันที่ 18 - 22 ตุลาคม 2557 และจะกลับมามีฝนอีกครั้ง จากแผนที่อากาศของกรมอุตุนิยมวิทยา จะเห็นว่า ความกดอากาศสูง หรือมวลอากาศเย็น ยังปกคลุมจนถึงภาคกลาง ทำให้วันนี้ (17 ต.ค.) ตอนบนยังคงมีอากาศเย็น แต่กรมอุตุนิยมวิทยาคาดว่าความกดอากาศสูงจะอ่อนกำลังลง ให้ตอนบนของประเทศมีอุณหภูมิสูงขึ้น ส่วนมวลอากาศเย็นที่อ่อนกำลังลง ทำให้ภาคใต้มีฝนลดลงตามไปด้วย โดยภาคใต้ฝั่งอันดามันจะมีฝนร้อยละ 40 ของพื้นที่ ส่วนอ่าวไทยมีฝนร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีพื้นที่ที่ยังต้องระวังฝนตกหนัก คือ สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง และสงขลา
ขณะที่ภาคกลาง กรุงเทพฯ และปริมณฑล อุณหภูมิต่ำสุด 22-23 องศาเซลเซียส และไม่มีฝนตก แต่กรมอุตุนิยมวิทยาคาดว่าวันที่ 18 - 22 ตุลาคม 2557 จะกลับมามีฝน เช่นเดียวกับภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประมาณร้อยละ 20-40 ของพื้นที่
กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศเมื่อวันพุธที่ผ่านมา (15 .ต.ค.) ว่าตอนบนของประเทศไทยจะสิ้นสุดฤดูฝน และเข้าสู่ฤดูหนาว ทำให้โอกาสที่จะมีฝนตกลงมาเพิ่มเติมน้ำในเขื่อนภูมิพลและสิริกิติ์ลดน้อยลงตามไปด้วย ขณะนี้เขื่อนภูมิพล จ.ตาก มีปริมาณน้ำที่กักเก็บไว้ร้อยละ 43 ของความจุอ่าง โดยอยู่ในเกณฑ์ที่พอใช้ แต่มีปริมาณน้ำที่สามารถใช้การได้จริงร้อยละ 21 หรือ 1,988 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งน้อยกว่าช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา (2556) ที่มีน้ำใช้การได้อยู่ที่ร้อยละ 27
นายวีระศักดิ์ ศรีกาวี ผู้ช่วยผู้อำนวยการเขื่อนภูมิพล ระบุว่า เขื่อนภูมิพลเก็บน้ำได้มากสุดของประเทศ หากมีน้ำไหลเข้าเขื่อนน้อยก็จะส่งผลกระทบกับพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาทันที
รศ.เสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยการศูนย์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและภัยพิบัติ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวว่า หลังจากนี้การบริหารจัดการน้ำของประเทศจะต้องมีความยืดหยุ่นมากขึ้น และไม่สามารถใช้ข้อมูลคาดการปริมาณฝนเพียงอย่างเดียวในการบริหารจัดการน้ำ เพราะข้อมูลอาจจะมีการคาดเคลื่อน ขณะเดียวกันเกษตรกรต้องมีการปรับตัวให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ
ขณะนี้เขื่อนภูมิพลหยุดการระบายน้ำ เพื่อเก็บน้ำในเขื่อนให้ได้มากที่สุด แต่ก็ยังต้องระบายน้ำไปให้ชาวบ้านใช้อุปโภคบริโภควันละกว่า 2,000,000 ลูกบาศ์กเมตร ขณะที่เขื่อนสิริกิติ์ระบายน้ำวันละ 3,000,000 ลูกบาศ์กเมตร ซึ่งขณะนี้น้ำในเขื่อนมีระดับน้ำต่ำกว่าในช่วงปี 2535 ที่เกิดภัยแล้งอย่างหนักขึ้นในประเทศไทย จึงเป็นเหตุผลให้กรมชลประทานตัดสินใจประกาศงดส่งน้ำเพื่อปลูกข้าวนาปีต่อเนื่องและข้าวนาปรังลุ่มน้ำเจ้าพะยา ตั้งแต่วันนี้่ถึงวันที่ 30 เมษายน 2558
ขณะที่ภาคกลาง กรุงเทพฯ และปริมณฑล อุณหภูมิต่ำสุด 22-23 องศาเซลเซียส และไม่มีฝนตก แต่กรมอุตุนิยมวิทยาคาดว่าวันที่ 18 - 22 ตุลาคม 2557 จะกลับมามีฝน เช่นเดียวกับภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประมาณร้อยละ 20-40 ของพื้นที่
กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศเมื่อวันพุธที่ผ่านมา (15 .ต.ค.) ว่าตอนบนของประเทศไทยจะสิ้นสุดฤดูฝน และเข้าสู่ฤดูหนาว ทำให้โอกาสที่จะมีฝนตกลงมาเพิ่มเติมน้ำในเขื่อนภูมิพลและสิริกิติ์ลดน้อยลงตามไปด้วย ขณะนี้เขื่อนภูมิพล จ.ตาก มีปริมาณน้ำที่กักเก็บไว้ร้อยละ 43 ของความจุอ่าง โดยอยู่ในเกณฑ์ที่พอใช้ แต่มีปริมาณน้ำที่สามารถใช้การได้จริงร้อยละ 21 หรือ 1,988 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งน้อยกว่าช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา (2556) ที่มีน้ำใช้การได้อยู่ที่ร้อยละ 27
นายวีระศักดิ์ ศรีกาวี ผู้ช่วยผู้อำนวยการเขื่อนภูมิพล ระบุว่า เขื่อนภูมิพลเก็บน้ำได้มากสุดของประเทศ หากมีน้ำไหลเข้าเขื่อนน้อยก็จะส่งผลกระทบกับพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาทันที
รศ.เสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยการศูนย์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและภัยพิบัติ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวว่า หลังจากนี้การบริหารจัดการน้ำของประเทศจะต้องมีความยืดหยุ่นมากขึ้น และไม่สามารถใช้ข้อมูลคาดการปริมาณฝนเพียงอย่างเดียวในการบริหารจัดการน้ำ เพราะข้อมูลอาจจะมีการคาดเคลื่อน ขณะเดียวกันเกษตรกรต้องมีการปรับตัวให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ
ขณะนี้เขื่อนภูมิพลหยุดการระบายน้ำ เพื่อเก็บน้ำในเขื่อนให้ได้มากที่สุด แต่ก็ยังต้องระบายน้ำไปให้ชาวบ้านใช้อุปโภคบริโภควันละกว่า 2,000,000 ลูกบาศ์กเมตร ขณะที่เขื่อนสิริกิติ์ระบายน้ำวันละ 3,000,000 ลูกบาศ์กเมตร ซึ่งขณะนี้น้ำในเขื่อนมีระดับน้ำต่ำกว่าในช่วงปี 2535 ที่เกิดภัยแล้งอย่างหนักขึ้นในประเทศไทย จึงเป็นเหตุผลให้กรมชลประทานตัดสินใจประกาศงดส่งน้ำเพื่อปลูกข้าวนาปีต่อเนื่องและข้าวนาปรังลุ่มน้ำเจ้าพะยา ตั้งแต่วันนี้่ถึงวันที่ 30 เมษายน 2558