หมอออร์โธปิดิกส์ ย้ำ กินยารักษาโรคกระดูกพรุนต่อเนื่อง 3 - 5 ปี ต้องมีระยะพักยา 1 - 2 ปี เหตุกระดูกพรุนจะแข็งและหนาขึ้น ทำให้กระดูกใกล้เคียงมีโอกาสหักง่ายเพราะเปราะกว่า ชี้การพักยาอยู่ที่การพิจารณาของแพทย์ แนะตรวจมวลกระดูกต่อเนื่องแม้หยุดยารักษา เหตุกระดูกเริ่มบางจนเกิดภาวะกระดูกพรุนได้อีก
พ.อ.นพ.ดุษฎี ทัตตานนท์ ผู้อำนวยการกองออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้า กล่าวถึงกรณีการรับประทานยารักษาโรคกระดูกพรุน แล้วมีความเสี่ยงทำให้กระดูกหักเปราะง่ายขึ้นว่า ผู้สูงอายุมักมีภาวะกระดูกบางเป็นธรรมชาติ เนื่องจากกระดูกไม่ได้มีความแข็งแรงเหมือนคนเป็นหนุ่มสาว แต่หากกระดูกบางมากจนเกิดภาวะกระดูกหักง่าย จึงเรียกว่า โรคกระดูกพรุน ซึ่งโรคนี้ไม่ได้เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุทุกคน แต่ส่วนมากมักพบในผู้สูงอายุ 60 - 65 ปีขึ้นไป หรือผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน หรือผู้หญิงที่ตัดมดลูกหรือรังไข่ออกไป ทำให้ร่างกายสูญเสียฮอร์โมนจึงเกิดภาวะกระดูกพรุนได้ไว โดยเกณฑ์ที่บ่งบอกว่ามีอาการกระดูกพรุนคือ มีอาการกระดูกหักง่ายในจุดที่พบบ่อยคือ กระดูกสันหลัง กระดูกสะโพก และกระดูกข้อมือ นอกจากนี้ ยังสามารถตรวจภาวะกระดูกพรุนได้จากความหนาแน่นของมวลกระดูก คือ มีค่าน้อยกว่า -2.5 ถือว่ามีภาวะกระดูกพรุน
พ.อ.นพ.ดุษฎี กล่าวว่า ผู้สูงอายุจึงควรตรวจสุขภาพกระดูกอย่างต่อเนื่อง เพื่อหาภาวะโรคกระดูกพรุน ซึ่งหากเป็นโรคกระดูกพรุน แพทย์ก็จะรักษาด้วยการให้ยา ซึ่งยาส่วนใหญ่ในการรักษาจะเป็นกลุ่มฟลูออไรด์ที่ไปช่วยให้กระดูกที่พรุนแข็งแรงขึ้น เมื่อกินอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานก็จะช่วยให้กระดูกที่พรุนแข็งขึ้น โดยต้องกินยาตามที่แพทย์กำหนด ซึ่งแพทย์จะนัดผู้ป่วยมาตรวจและรับยาเป็นช่วงๆ ทั้งนี้ ยาบางตัวใช้เวลาประมาณ 6 เดือนก็เริ่มเห็นผล ลดการกระดูกหักซ้ำได้ แต่การรักษาให้มีผลอย่างต่อเนื่องต้องกินยาอย่างต่อเนื่องประมาณ 3 - 5 ปี และจะต้องมีระยะพักยาประมาณ 1 - 2 ปี มิเช่นนั้นกระดูกที่พรุนจะแข็งเกินไป จนทำให้กระดูกใกล้เคียงมีภาวะบางกว่า ก็จะเกิดโอกาสกระดูกหักได้ง่าย
พ.อ.นพ.ดุษฎี กล่าวว่า เกณฑ์ที่บ่งบอกว่าถึงระยะพักยารักษากระดูกพรุนแล้วสามารถตรวจได้จาก 1. ความหนาแน่นของมวลกระดูก คล้ายการเอกซเรย์ โดยวัดความหนาแน่นของกระดูกที่พรุนว่าดีขึ้นแล้วตามเกณฑ์หรือไม่ 2. การเจาะเลือดตรวจดูเอนไซม์ที่ช่วยให้กระดูกแข็งมีมากพอแล้วหรือยัง และ 3. กำหนดระยะเวลากินยา 3 ปีแล้วไม่พบภาวะกระดูกหักซ้ำเลย ก็สามารถหยุดยาได้ 1 - 2 ปี ซึ่งหลังจากหยุดยาแล้วจะต้องมีการตรวจความหนาแน่นของมวลกระดูกซ้ำด้วย เพราะเมื่อหยุดยากระดูกก็จะบางลงไปตามธรรมชาติ เมื่อความหนาแน่นน้อยกว่า -2.5 อีก แพทย์ก็จะสั่งให้รับประทานยารักษากระดูกพรุนอีกครั้ง
“กระดูกจะมีความเปลี่ยนแปลงช้า เมื่อกระดูกพรุนจึงต้องใช้เวลาในการกินยานาน 3 - 5 ปี กว่ากระดูกจะหนาขึ้น และเมื่อมีความหนามากพอจึงค่อยหยุดยา ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 1 - 2 ปี กระดูกจึงบางลงเรื่อยๆ ตามธรรมชาติ เมื่อบางลงจนถึงเกณฑ์กระดูกพรุนแพทย์ก็จะสั่งยาให้รับประทาน ดังนั้น ผู้สูงอายุจึงควรมีการตรวจมวลกระดูกเป็นประจำ เพื่อดูว่ามีภาวะกระดูกพรุนแล้วหรือไม่ เพื่อรับการรักษา” พ.อ.นพ.ดุษฎี กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
พ.อ.นพ.ดุษฎี ทัตตานนท์ ผู้อำนวยการกองออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้า กล่าวถึงกรณีการรับประทานยารักษาโรคกระดูกพรุน แล้วมีความเสี่ยงทำให้กระดูกหักเปราะง่ายขึ้นว่า ผู้สูงอายุมักมีภาวะกระดูกบางเป็นธรรมชาติ เนื่องจากกระดูกไม่ได้มีความแข็งแรงเหมือนคนเป็นหนุ่มสาว แต่หากกระดูกบางมากจนเกิดภาวะกระดูกหักง่าย จึงเรียกว่า โรคกระดูกพรุน ซึ่งโรคนี้ไม่ได้เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุทุกคน แต่ส่วนมากมักพบในผู้สูงอายุ 60 - 65 ปีขึ้นไป หรือผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน หรือผู้หญิงที่ตัดมดลูกหรือรังไข่ออกไป ทำให้ร่างกายสูญเสียฮอร์โมนจึงเกิดภาวะกระดูกพรุนได้ไว โดยเกณฑ์ที่บ่งบอกว่ามีอาการกระดูกพรุนคือ มีอาการกระดูกหักง่ายในจุดที่พบบ่อยคือ กระดูกสันหลัง กระดูกสะโพก และกระดูกข้อมือ นอกจากนี้ ยังสามารถตรวจภาวะกระดูกพรุนได้จากความหนาแน่นของมวลกระดูก คือ มีค่าน้อยกว่า -2.5 ถือว่ามีภาวะกระดูกพรุน
พ.อ.นพ.ดุษฎี กล่าวว่า ผู้สูงอายุจึงควรตรวจสุขภาพกระดูกอย่างต่อเนื่อง เพื่อหาภาวะโรคกระดูกพรุน ซึ่งหากเป็นโรคกระดูกพรุน แพทย์ก็จะรักษาด้วยการให้ยา ซึ่งยาส่วนใหญ่ในการรักษาจะเป็นกลุ่มฟลูออไรด์ที่ไปช่วยให้กระดูกที่พรุนแข็งแรงขึ้น เมื่อกินอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานก็จะช่วยให้กระดูกที่พรุนแข็งขึ้น โดยต้องกินยาตามที่แพทย์กำหนด ซึ่งแพทย์จะนัดผู้ป่วยมาตรวจและรับยาเป็นช่วงๆ ทั้งนี้ ยาบางตัวใช้เวลาประมาณ 6 เดือนก็เริ่มเห็นผล ลดการกระดูกหักซ้ำได้ แต่การรักษาให้มีผลอย่างต่อเนื่องต้องกินยาอย่างต่อเนื่องประมาณ 3 - 5 ปี และจะต้องมีระยะพักยาประมาณ 1 - 2 ปี มิเช่นนั้นกระดูกที่พรุนจะแข็งเกินไป จนทำให้กระดูกใกล้เคียงมีภาวะบางกว่า ก็จะเกิดโอกาสกระดูกหักได้ง่าย
พ.อ.นพ.ดุษฎี กล่าวว่า เกณฑ์ที่บ่งบอกว่าถึงระยะพักยารักษากระดูกพรุนแล้วสามารถตรวจได้จาก 1. ความหนาแน่นของมวลกระดูก คล้ายการเอกซเรย์ โดยวัดความหนาแน่นของกระดูกที่พรุนว่าดีขึ้นแล้วตามเกณฑ์หรือไม่ 2. การเจาะเลือดตรวจดูเอนไซม์ที่ช่วยให้กระดูกแข็งมีมากพอแล้วหรือยัง และ 3. กำหนดระยะเวลากินยา 3 ปีแล้วไม่พบภาวะกระดูกหักซ้ำเลย ก็สามารถหยุดยาได้ 1 - 2 ปี ซึ่งหลังจากหยุดยาแล้วจะต้องมีการตรวจความหนาแน่นของมวลกระดูกซ้ำด้วย เพราะเมื่อหยุดยากระดูกก็จะบางลงไปตามธรรมชาติ เมื่อความหนาแน่นน้อยกว่า -2.5 อีก แพทย์ก็จะสั่งให้รับประทานยารักษากระดูกพรุนอีกครั้ง
“กระดูกจะมีความเปลี่ยนแปลงช้า เมื่อกระดูกพรุนจึงต้องใช้เวลาในการกินยานาน 3 - 5 ปี กว่ากระดูกจะหนาขึ้น และเมื่อมีความหนามากพอจึงค่อยหยุดยา ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 1 - 2 ปี กระดูกจึงบางลงเรื่อยๆ ตามธรรมชาติ เมื่อบางลงจนถึงเกณฑ์กระดูกพรุนแพทย์ก็จะสั่งยาให้รับประทาน ดังนั้น ผู้สูงอายุจึงควรมีการตรวจมวลกระดูกเป็นประจำ เพื่อดูว่ามีภาวะกระดูกพรุนแล้วหรือไม่ เพื่อรับการรักษา” พ.อ.นพ.ดุษฎี กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่