กรมแพทย์ชี้ “โรคเกาต์” พบบ่อยสุดในโรคข้ออักเสบเฉียบพลัน เหตุกรดยูริกพุ่งสูง แนะเลี่ยงดื่มเหล้า เบียร์ กินอาหารพวกเครื่องในสัตว์ สัตว์ปีก และอาหารทะเล
นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า โรคเกาต์เป็นโรคข้ออักเสบเฉียบพลันที่พบบ่อยที่สุด เป็นผลจากภาวะกรดยูริกในเลือดสูงเป็นเวลานานหลายๆ ปี ทำให้เกิดการตกผลึกของเกลือยูเรตในเนื้อเยื่อต่างๆ ของร่างกาย ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเพศชาย โดยเฉพาะผู้ที่อายุตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไป สำหรับในเพศหญิงมักเริ่มต้นอาการในวัยหลังหมดประจำเดือนไปแล้ว กรดยูริกพบมากในเนื้อสัตว์ เครื่องในสัตว์ ถั่วต่างๆ และยอดผักอ่อนๆ รวมทั้งเกิดจากการสลายตัวของเซลล์ภายในร่างกาย กรดยูริกจะถูกขับออกทางปัสสาวะ หากร่างกายมีการสร้างกรดยูริกมากเกินไปหรือไตขับยูริกได้น้อยลง เนื่องจากไตเสื่อมลง กรดยูริกก็จะตกผลึกที่บริเวณผนังหลอดเลือด ไตและอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย โดยเฉพาะบริเวณข้อ ทำให้เกิดอาการปวดข้อและโรคแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายได้ เช่น ข้อพิการ นิ่วในไต นิ่วในทางเดินปัสสาวะ กระดูกพรุน เป็นต้น สำหรับผู้ป่วยโรคเกาต์ที่เป็นเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูงหรือมีภาวะหลอดเลือดแดงแข็งจะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ อัมพฤกษ์ อัมพาต ได้มากยิ่งขึ้น
นพ.สุพรรณ กล่าวอีกว่า อาการที่พบบ่อย คือ ปวดข้อรุนแรง เฉียบพลัน ถ้าเป็นการปวดครั้งแรกมักจะปวดข้อเดียวและปวดไม่กี่วัน ข้อที่ปวดบ่อย คือ นิ้วหัวแม่เท้าข้างใดข้างหนึ่ง บางรายอาจปวดที่ข้อเข่า ซึ่งข้อจะบวมและเจ็บมากจนทนไม่ไหว ผิวหนังบริเวณที่ปวดจะตึง ร้อนและแดง เมื่ออาการเริ่มทุเลา ผิวหนังบริเวณนั้นก็จะลอกและคัน มักจะเริ่มปวดตอนกลางคืนหรือมีอาการกำเริบหลังจากทานอาหารที่มีกรดยูริกสูง นอกจากนี้ อาจมีไข้ หนาวสั่น ใจสั่น อ่อนเพลียหรือเบื่ออาหารร่วมด้วย
“การป้องกันโรคเกาต์ คือ กินยาตามคำแนะนำของแพทย์อย่างสม่ำเสมอ หากมีอาการผิดปกติ หรือมีผลข้างเคียงจากการรับประทานยาให้รีบปรึกษาแพทย์ทันที ไม่ควรหยุดยา ปรับขนาดยา หรือซื้อยารับประทานเอง เพราะนอกจากจะเสี่ยงต่อการแพ้ยาแล้ว ยังอาจจะทำให้ควบคุมโรคได้ไม่ดี เข้ารับการรักษาอย่างสม่ำเสมอตามที่แพทย์นัด เพื่อดูระดับกรดยูริกและการทำงานของตับและไตเป็นระยะๆ ควรรับประทานอาหารให้ ครบ 5 หมู่ รวมทั้งดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อยวันละ 3,000 มิลลิลิตร หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ ลดการกินอาหารประเภทเครื่องในสัตว์ สัตว์ปีก อาหารทะเล เป็นต้น ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่มีแรงกระแทกต่อข้อที่รุนแรง หลีกเลี่ยงการบีบ นวด ถู บริเวณข้อ เนื่องจากสามารถกระตุ้นให้ข้ออักเสบกำเริบได้ ดังนั้น การให้ความร่วมมือในการรักษาและรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้ และทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น” อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า โรคเกาต์เป็นโรคข้ออักเสบเฉียบพลันที่พบบ่อยที่สุด เป็นผลจากภาวะกรดยูริกในเลือดสูงเป็นเวลานานหลายๆ ปี ทำให้เกิดการตกผลึกของเกลือยูเรตในเนื้อเยื่อต่างๆ ของร่างกาย ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเพศชาย โดยเฉพาะผู้ที่อายุตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไป สำหรับในเพศหญิงมักเริ่มต้นอาการในวัยหลังหมดประจำเดือนไปแล้ว กรดยูริกพบมากในเนื้อสัตว์ เครื่องในสัตว์ ถั่วต่างๆ และยอดผักอ่อนๆ รวมทั้งเกิดจากการสลายตัวของเซลล์ภายในร่างกาย กรดยูริกจะถูกขับออกทางปัสสาวะ หากร่างกายมีการสร้างกรดยูริกมากเกินไปหรือไตขับยูริกได้น้อยลง เนื่องจากไตเสื่อมลง กรดยูริกก็จะตกผลึกที่บริเวณผนังหลอดเลือด ไตและอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย โดยเฉพาะบริเวณข้อ ทำให้เกิดอาการปวดข้อและโรคแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายได้ เช่น ข้อพิการ นิ่วในไต นิ่วในทางเดินปัสสาวะ กระดูกพรุน เป็นต้น สำหรับผู้ป่วยโรคเกาต์ที่เป็นเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูงหรือมีภาวะหลอดเลือดแดงแข็งจะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ อัมพฤกษ์ อัมพาต ได้มากยิ่งขึ้น
นพ.สุพรรณ กล่าวอีกว่า อาการที่พบบ่อย คือ ปวดข้อรุนแรง เฉียบพลัน ถ้าเป็นการปวดครั้งแรกมักจะปวดข้อเดียวและปวดไม่กี่วัน ข้อที่ปวดบ่อย คือ นิ้วหัวแม่เท้าข้างใดข้างหนึ่ง บางรายอาจปวดที่ข้อเข่า ซึ่งข้อจะบวมและเจ็บมากจนทนไม่ไหว ผิวหนังบริเวณที่ปวดจะตึง ร้อนและแดง เมื่ออาการเริ่มทุเลา ผิวหนังบริเวณนั้นก็จะลอกและคัน มักจะเริ่มปวดตอนกลางคืนหรือมีอาการกำเริบหลังจากทานอาหารที่มีกรดยูริกสูง นอกจากนี้ อาจมีไข้ หนาวสั่น ใจสั่น อ่อนเพลียหรือเบื่ออาหารร่วมด้วย
“การป้องกันโรคเกาต์ คือ กินยาตามคำแนะนำของแพทย์อย่างสม่ำเสมอ หากมีอาการผิดปกติ หรือมีผลข้างเคียงจากการรับประทานยาให้รีบปรึกษาแพทย์ทันที ไม่ควรหยุดยา ปรับขนาดยา หรือซื้อยารับประทานเอง เพราะนอกจากจะเสี่ยงต่อการแพ้ยาแล้ว ยังอาจจะทำให้ควบคุมโรคได้ไม่ดี เข้ารับการรักษาอย่างสม่ำเสมอตามที่แพทย์นัด เพื่อดูระดับกรดยูริกและการทำงานของตับและไตเป็นระยะๆ ควรรับประทานอาหารให้ ครบ 5 หมู่ รวมทั้งดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อยวันละ 3,000 มิลลิลิตร หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ ลดการกินอาหารประเภทเครื่องในสัตว์ สัตว์ปีก อาหารทะเล เป็นต้น ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่มีแรงกระแทกต่อข้อที่รุนแรง หลีกเลี่ยงการบีบ นวด ถู บริเวณข้อ เนื่องจากสามารถกระตุ้นให้ข้ออักเสบกำเริบได้ ดังนั้น การให้ความร่วมมือในการรักษาและรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้ และทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น” อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่